แบน 3 สารพิษ ในที่สุดก็ได้ข้อยุติซะที

“อนุทิน” ขอบคุณ “เฉลิมชัย” เซ็นรับมติ 4 ฝ่าย แบน 3 สารพิษ ลุ้นลุยต่อเพื่อสุขภาพ ปชช.

วันนี้ (16 ต.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้โพสต์รูปภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “อนุทิน ชาญวีรกูล” ซึ่งเป็นภาพเอกสารแจ้งมติคณะทำงานเพื่อพิจารณาความคิดเห็นของภาครัฐ ผู้นำเข้า เกษตรกร และผู้บริโภค ต่อการยกเลิกคลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกรโฟเซต ลงนามโดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีใจความว่า คณะทำงานฯ มีมติให้สารดังกล่าวทั้ง 3 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 มีผลตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562

https://mgronline.com/qol/detail/9620000099573

ปล่อยให้คนอื่นโต้เถียงกันไป
ส่วนท่านอนุทินก็แค่สร้างผลงานเพื่อประชาชนก็พอ

ไม่ว่าจะเป็นพรรคอะไร ขอแค่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนก็สมควรยกย่องทั้งนั้น
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ทำไมต้องเป็นพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต
https://rakbankerd.com/agriculture/hilight-view.php?id=150&s=tblheight





"พาราควอต"
เพราะเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) สารเคมีชนิดนี้มีพิษเฉียบพลันสูงต่อมนุษย์ ไม่มียาถอนพิษ และมี ผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพ เช่น ก่อโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม แม้ใส่อุปกรณ์ป้องกันก็ยังสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังรวมทั้งบาดแผล แล้วซึมเข้าร่างกายจนเกิดอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังพบตกค้างในอาหาร สิ่งแวดล้อมและมนุษย์จากการวิจัยของหลายสถาบัน นอกจากนี้พาราควอตยังสามารถผ่านจากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ จากการศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบการตกค้างของพาราควอตในซีรั่มทารกแรกเกิดและมารดา และหากมีประวัติการขุดดินในพื้นที่เกษตร ยิ่งมีความเสี่ยงในการตรวจพบพาราควอต คิดเป็น 6 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีการขุดดิน

"คลอร์ไฟริฟอส"
เพราะเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกหนึ่งชนิดที่ส่งผลกระทบต่อแม่และเด็กได้ มีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่ระบุว่า สารเคมีดังกล่าวส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ทำให้มีอาการสมาธิสั้น ไปจนถึงปัญหาด้านความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ได้

งานวิจัยตรวจสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล และข้อมูลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก-ผลไม้ ของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกัน โดยพบว่าคลอร์ไฟริฟอสเป็นสารเคมีที่ตกค้างมากที่สุดในกลุ่มสารกำจัดแมลง

"ไกลโฟเซต"
เพราะเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช สารเคมีชนิดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อแม่และเด็กได้ ซึ่งสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติภายใต้องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่รายงานในปี 2558 โดยกำหนดให้ไกลโฟเซตเป็น "สารที่น่าจะก่อมะเร็ง" (probably carcinogenic to humans) ในมนุษย์ เนื่องจากมีหลักฐานเพียงพอว่าก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และหลักฐานที่หนักแน่นว่าก่อให้เกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรม (ทำลายยีน-โครโมโซม) นอกจากนี้ยังมีข้อค้นพบว่า ไกลโฟเซตสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิดเพิ่มมากขึ้น เช่น เบาหวาน โรคอ้วน อัลไซเมอร์ และทำให้เซลล์รกได้รับความเสียหายด้วยเช่นกัน

ในประเทศไทยพบไกลโฟเซตปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร พบการตกค้างของไกลโฟเซตในน้ำดื่มบรรจุขวดที่ผลิตในจังหวัดน่านเฉลี่ย 10.1 ไมโครกรัมต่อลิตร และพบในน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค 11.26 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยมีระดับการตกค้างในหลายตัวอย่างที่เกินค่ามาตรฐานของบางประเทศ การตกค้างของไกลโฟเซตในสิ่งแวดล้อมและในร่างกายของแม่และทารกเป็นสิ่งที่น่ากังวล เนื่องจากมีงานวิจัยชี้ว่าการตกค้างแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่