บางครั้งการรอคอยก็ทำให้เรารู้สึกคุ้มค่าและตื่นตาเมื่อปรากฏการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมันก็จะเป็นเพียงหนเดียวในช่วงชีวิตที่เราจะได้สัมผัสมันด้วยตนเองเลยทีเดียว มาดูบางส่วนของปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเรา
24 ธันวาคม 2024 ยาน Parker Solar Probe เฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์
Parker Solar Probe เป็นยานอวกาศลำที่จะถูกส่งไปเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยในตอนนี้มันกำลังค่อย ๆ ลดระยะห่างจากดวงอาทิตย์ลงไปทีละนิด โดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์เหวี่ยงให้ยานเข้าไปใกล้มากยิ่งขึ้น
ก่อนที่ในปลายปี 2024 ยานจะทำความเร็วได้มากถึง 192 กิโลเมตร/วินาที และมีระยะห่างจากใจกลางดวงอาทิตย์เพียง 6.9 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น ทำสถิติเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเร็วที่สุดไปพร้อม ๆ กัน ยาน Parker Solar Probe ยังมีกำหนดการบินผ่านดวงอาทิตย์อีกอย่างน้อย 23 ครั้ง ตลอดอายุการใช้งานของมัน
ยาน Parker Solar Probe มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยกล้องถ่ายภาพ เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ เครื่องตรวจวัดลมสุริยะและอนุภาคในลมสุริยะ โดยมันมีเป้าหมายที่จะตอบสองคำถามที่นักดาราศาสตร์ยังคงสงสัย ว่าทำไมบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ถึงร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ และทำไมลมสุริยะถึงถูกเร่งความเร็วออกมาได้
ยาน Parker Solar Probe ถูกตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ Eugene Parker ผู้ให้คำนิยามของ “ลมสุริยะ” เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1958 ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศขององค์การนาซาถูกตั้งชื่อตามบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยยานได้ถูกปล่อยขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมานี้
13 กุมภาพันธ์ 2056 ดวงจันทร์บดบังดาวพุธและดาวอังคารพร้อม ๆ กัน
เหตุการณ์นี้อาจฟังดูไม่มีอะไร แต่แท้จริงแล้วมันเกิดขึ้นได้ยากมาก
นั่นก็เพราะถึงแม้ดวงจันทร์จะเคลื่อนผ่านบดบังดวงดาวอยู่บ่อยครั้ง แต่กับดาวเคราะห์สองดวงพร้อม ๆ กันในทีเดียวนี่เกิดขึ้นยากมาก ๆ ในระดับที่ทุก ๆ 1000 ปีจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 1-2 ครั้งเพียงเท่านั้น
28 กรกฏาคม 2061 ดาวหางฮัลเล่ย์เฉียดใกล้ดวงอาทิตย์อีกครั้ง
ดาวหางฮัลเล่ย์ เป็นดาวหางที่มีคาบโคจรสั้น เพียง 75-76 ปีต่อหนึ่งรอบการโคจรเท่านั้น (มีหลายดวงที่คาบโคจรนานหลักพันปี) ฮัลเล่ย์เป็นดาวหางคาบโคจรหนึ่งเดียวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ และมีโอกาสที่ช่วงชีวิตของคนหนึ่งคนจะทันสังเกตมันสองหน
เป็นดาวหางที่โคจรกลับมาให้คนบนโลกเห็นบนท้องฟ้าประมาณทุกๆ 76 ปี นั่นหมายความว่าโดยทั่วไปแล้ว แต่ละคนมีโอกาสเห็นดาวหางฮัลเลย์ปรากฏตัวบนท้องฟ้าได้ครั้งเดียวเท่านั้นในชั่วชีวิต โดยครั้งล่าสุดที่มันมาปรากฏตัวคือ ปี ค.ศ. 1986 และจะปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 2061 โดยมันมีความโดดเด่นตรงที่มันมีความสว่างมากสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน โดยมันเป็นก้อนขนาดใหญ่มีขนาด 15 กิโลเมตร * 8 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นและแอมโมเนีย
ดาวหางฮัลเลย์เป็นดาวหางดวงแรกที่มนุษย์สามารถใช้คณิตศาสตร์ในการทำนายการกลับมาของมันได้ โดยใน ค.ศ. 1705 นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อเอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (Edmond Halley) ตีพิมพ์ผลงานของเขาแสดงการคำนวณให้เห็นว่า ดาวหางที่เห็นบนท้องฟ้าใน ปี ค.ศ. 1531 ค.ศ. 1607 และ ค.ศ. 1682 จริงๆแล้วเป็นดาวหางดวงเดียวกัน และเขายังทำนายว่ามันจะปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1758 และก็มันก็ปรากฏตัวเป็นตามที่ไว้จริงๆ แม้น่าเสียดายที่แฮลลีย์ได้เสียชีวิตไปก่อนหลายปี แต่เราก็ได้เรียกชื่อดาวหางนี้ในปัจจุบันตามชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
11 เมษายน 2070 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป ที่สังเกตได้จากประเทศไทย
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งล่าสุดในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 25 ตุลาคม 1993 และหลังจากนั้นในไทยก็สามารถสังเกตเห็นได้เพียงแค่สุริยุปราคาวงแหวนกับบางส่วนเท่านั้น ก่อนที่ในปี 2070 นี้ เราจะตกอยู่ในเงามืดของดวงจันทร์แบบเต็ม ๆ อีกหน ที่จะเปลี่ยนเวลากลางวันให้มืดเหมือนดั่งกลางคืนขึ้นมาได้
หากพลาดครั้งนี้ไป ต้องรอถึงปี 2114 ก่อนที่สุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในไทยอีกครั้ง
ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ เหตุการณ์จะเริ่มต้นในช่วงเช้าของวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 โดยสุริยุปราคาบางส่วนจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 07:00 น. ซึ่งแนวคราสเต็มดวงจะทอดผ่านตอนบนของจังหวัดระนอง ส่วนมากของจังหวัดชุมพร และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะพาดผ่านอ่าวไทยตอนกลาง และแนวคราสเต็มดวงจะผ่านประเทศไทยอีกครั้ง โดยพาดผ่านตอนล่างของจังหวัดจันทบุรี และทั้งหมดของจังหวัดตราด ส่วนบริเวณอื่นของประเทศไทยสามารถเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน โดยกรุงเทพมหานครดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ไป 95% (th.wikipedia.or)
2091 รถยนต์ Tesla Roadster กลับมาเฉียดใกล้โลกอีกครั้ง
เดือนกุมภาพันธ์ 2018 SpaceX ได้ปล่อยจรวด Falcon Heavy ออกเดินทางขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก พร้อมกับนำหุ่น Starman นั่งไปกับรถยนต์ Tesla Roadster ลำเก่าของ Elon Musk ออกเดินทางสู่อวกาศด้วย โดยในตอนนี้ยานก็กำลังเดินทางอยู่ในอวกาศลึกอยู่
แต่ครั้งถัดไปที่ยานจะเข้ามาเฉียดใกล้โลกจริง ๆ นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2091 ซึ่งอาจใกล้มากพอที่นักดาราศาสตร์จะส่องกล้องไปสำรวจดูสภาพของรถ หลังจากผ่านสภาพอันโหดร้ายของอวกาศลึกมานานกว่า 70 ปีได้อีกด้วย
เว็บไซต์ Where is Roadster ที่ทำการติดตามการเดินทางในอวกาศของ Tesla Roadster อย่างใกล้ชิด ได้ออกมาเปิดเผยว่า รถสปอร์ตจาก Tesla ใช้ระยะเวลากว่า 557 วัน (ประมาณ 1 ปี 6 เดือน 12 วัน) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ โดยรัศมีวงโคจรคิดเป็นระยะทาง 1,226 ล้านกิโลเมตร หรือมากกว่าระยะทางในการรับประกันกว่า 21,000 เท่า
10-11 ธันวาคม 2117 ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์
ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อสังเกตนั้นเกิดขึ้นเป็นคู่ ๆ ห่างกันครั้งละ 8 ปี และระหว่างแต่ละคู่จะต้องรอนานกว่า 105-121 ปีก่อนจะเกิดขึ้นอีกหน โดยครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นนั้นคือเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมานี้เอง
ย้อนในปี 1639 ระหว่างที่ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์นั้น นักดาราศาสตร์สมัยนั้นสามารถคำนวณระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ด้วยเทคนิค Parallax ได้อย่างแม่นยำมากกว่าทุกค่าที่มีในตอนนั้น ส่วนในปี 2012 นักดาราศาสตร์ก็ใช้ช่วงเวลานี้นำหลักการสำรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมาทดสอบอีกด้วย
น่าเสียดายที่เหตุการณ์ถัดจากนี้ไป จะเกิดขึ้นช้ากว่าที่ผู้อ่านทุกคน (ที่อ่านบทความนี้ในปี 2019) จะอยู่ทันสังเกตเห็น ดังนั้นทั้งหมดต่อจากนี้คือสิ่งที่เราจะพลาดไป แต่รุ่นลูก ๆ และหลาน ๆ ของเราจะได้เป็นผู้อยู่สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดังนี้
18 กุมภาพันธ์ 2177 ดาวพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ นับตั้งแต่ที่ถูกค้นพบ
ดาวพลูโตนั้นถูกค้นพบในปี 1930 ซึ่งด้วยความที่มันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ทำให้พลูโตใช้เวลานานกว่า 248 ปีเพื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ และในช่วงเวลานี้มันเคยได้ถูกให้นิยามเป็นดาวเคราะห์มาแล้ว ก่อนจะโดนลดขั้นลงไปเป็นเพียงดาวเคราะห์แคระเท่านั้น และก็ไม่รู้ว่าอีกร้อยกว่าปีต่อจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกไหม
แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ดาวพลูโตจะยังคงเป็นดาวเคราะห์แคระที่เรารักกันมากที่สุด (หรือจะได้กลับมาเป็นดาวเคราะห์ด้วยก็เป็นได้)
16 กรกฏาคม 2186 สุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในรอบ 10,000 ปี
สุริยุปราคาหนนี้จะมีเวลารวมทั้งสิ้น 7 นาที 29 วินาที ยาวนานที่สุดในรอบ 10,000 ปี เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มาลงตัวกันพอดี ตั้งแต่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เกือบมากที่สุด ดวงจันทร์โคจรมาใกล้โลกมากที่สุด ทำให้เงาของดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ได้มิดและยาวนานขนาดนี้
เหตุการณ์ดาราศาสตร์บางครั้งมันก็เกิดขึ้นมาเพียงแค่หนเดียวในช่วงชีวิตของเรา ดังนั้นอยากแนะนำให้ปักหมุดวันเวลาดังกล่าวไว้ และออกไปสัมผัสช่วงเวลาที่อาจเป็นเพียงหนึ่งครั้งเอาไว้ พร้อมกับอีกหลาย ๆ เหตุการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้าอีกด้วย
“ทุกครั้งที่รู้ว่าดาวตกทั้งโลกจะมองขึ้นฟ้า รอคอยอยากเห็นชั่วพริบตาที่ดาวลงมาบนนั้น กี่สิบร้อยพันปีจะมีสักหนึ่งครั้ง มีแค่เสี้ยวนาทีที่เราจะเห็นมัน”
พริบตา – Stamp x เบิร์ด ธงไชย
Cr.
https://spaceth.co/future-astronomical-events/
เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO
บทความโดย KornKT / October 14, 2019
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เกิดขึ้นยากที่จะเกิดในช่วงชีวิตของเรา
24 ธันวาคม 2024 ยาน Parker Solar Probe เฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์
Parker Solar Probe เป็นยานอวกาศลำที่จะถูกส่งไปเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยในตอนนี้มันกำลังค่อย ๆ ลดระยะห่างจากดวงอาทิตย์ลงไปทีละนิด โดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์เหวี่ยงให้ยานเข้าไปใกล้มากยิ่งขึ้น
ก่อนที่ในปลายปี 2024 ยานจะทำความเร็วได้มากถึง 192 กิโลเมตร/วินาที และมีระยะห่างจากใจกลางดวงอาทิตย์เพียง 6.9 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น ทำสถิติเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเร็วที่สุดไปพร้อม ๆ กัน ยาน Parker Solar Probe ยังมีกำหนดการบินผ่านดวงอาทิตย์อีกอย่างน้อย 23 ครั้ง ตลอดอายุการใช้งานของมัน
ยาน Parker Solar Probe มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยกล้องถ่ายภาพ เครื่องตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ เครื่องตรวจวัดลมสุริยะและอนุภาคในลมสุริยะ โดยมันมีเป้าหมายที่จะตอบสองคำถามที่นักดาราศาสตร์ยังคงสงสัย ว่าทำไมบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ถึงร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ และทำไมลมสุริยะถึงถูกเร่งความเร็วออกมาได้
ยาน Parker Solar Probe ถูกตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ Eugene Parker ผู้ให้คำนิยามของ “ลมสุริยะ” เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1958 ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศขององค์การนาซาถูกตั้งชื่อตามบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยยานได้ถูกปล่อยขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมานี้
13 กุมภาพันธ์ 2056 ดวงจันทร์บดบังดาวพุธและดาวอังคารพร้อม ๆ กัน
เหตุการณ์นี้อาจฟังดูไม่มีอะไร แต่แท้จริงแล้วมันเกิดขึ้นได้ยากมาก
นั่นก็เพราะถึงแม้ดวงจันทร์จะเคลื่อนผ่านบดบังดวงดาวอยู่บ่อยครั้ง แต่กับดาวเคราะห์สองดวงพร้อม ๆ กันในทีเดียวนี่เกิดขึ้นยากมาก ๆ ในระดับที่ทุก ๆ 1000 ปีจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 1-2 ครั้งเพียงเท่านั้น
28 กรกฏาคม 2061 ดาวหางฮัลเล่ย์เฉียดใกล้ดวงอาทิตย์อีกครั้ง
ดาวหางฮัลเล่ย์ เป็นดาวหางที่มีคาบโคจรสั้น เพียง 75-76 ปีต่อหนึ่งรอบการโคจรเท่านั้น (มีหลายดวงที่คาบโคจรนานหลักพันปี) ฮัลเล่ย์เป็นดาวหางคาบโคจรหนึ่งเดียวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ และมีโอกาสที่ช่วงชีวิตของคนหนึ่งคนจะทันสังเกตมันสองหน
เป็นดาวหางที่โคจรกลับมาให้คนบนโลกเห็นบนท้องฟ้าประมาณทุกๆ 76 ปี นั่นหมายความว่าโดยทั่วไปแล้ว แต่ละคนมีโอกาสเห็นดาวหางฮัลเลย์ปรากฏตัวบนท้องฟ้าได้ครั้งเดียวเท่านั้นในชั่วชีวิต โดยครั้งล่าสุดที่มันมาปรากฏตัวคือ ปี ค.ศ. 1986 และจะปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 2061 โดยมันมีความโดดเด่นตรงที่มันมีความสว่างมากสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน โดยมันเป็นก้อนขนาดใหญ่มีขนาด 15 กิโลเมตร * 8 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นและแอมโมเนีย
ดาวหางฮัลเลย์เป็นดาวหางดวงแรกที่มนุษย์สามารถใช้คณิตศาสตร์ในการทำนายการกลับมาของมันได้ โดยใน ค.ศ. 1705 นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อเอ็ดมันด์ แฮลลีย์ (Edmond Halley) ตีพิมพ์ผลงานของเขาแสดงการคำนวณให้เห็นว่า ดาวหางที่เห็นบนท้องฟ้าใน ปี ค.ศ. 1531 ค.ศ. 1607 และ ค.ศ. 1682 จริงๆแล้วเป็นดาวหางดวงเดียวกัน และเขายังทำนายว่ามันจะปรากฏตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 1758 และก็มันก็ปรากฏตัวเป็นตามที่ไว้จริงๆ แม้น่าเสียดายที่แฮลลีย์ได้เสียชีวิตไปก่อนหลายปี แต่เราก็ได้เรียกชื่อดาวหางนี้ในปัจจุบันตามชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
11 เมษายน 2070 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป ที่สังเกตได้จากประเทศไทย
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งล่าสุดในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 25 ตุลาคม 1993 และหลังจากนั้นในไทยก็สามารถสังเกตเห็นได้เพียงแค่สุริยุปราคาวงแหวนกับบางส่วนเท่านั้น ก่อนที่ในปี 2070 นี้ เราจะตกอยู่ในเงามืดของดวงจันทร์แบบเต็ม ๆ อีกหน ที่จะเปลี่ยนเวลากลางวันให้มืดเหมือนดั่งกลางคืนขึ้นมาได้
หากพลาดครั้งนี้ไป ต้องรอถึงปี 2114 ก่อนที่สุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในไทยอีกครั้ง
ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ เหตุการณ์จะเริ่มต้นในช่วงเช้าของวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 โดยสุริยุปราคาบางส่วนจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 07:00 น. ซึ่งแนวคราสเต็มดวงจะทอดผ่านตอนบนของจังหวัดระนอง ส่วนมากของจังหวัดชุมพร และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะพาดผ่านอ่าวไทยตอนกลาง และแนวคราสเต็มดวงจะผ่านประเทศไทยอีกครั้ง โดยพาดผ่านตอนล่างของจังหวัดจันทบุรี และทั้งหมดของจังหวัดตราด ส่วนบริเวณอื่นของประเทศไทยสามารถเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน โดยกรุงเทพมหานครดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ไป 95% (th.wikipedia.or)
2091 รถยนต์ Tesla Roadster กลับมาเฉียดใกล้โลกอีกครั้ง
เดือนกุมภาพันธ์ 2018 SpaceX ได้ปล่อยจรวด Falcon Heavy ออกเดินทางขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก พร้อมกับนำหุ่น Starman นั่งไปกับรถยนต์ Tesla Roadster ลำเก่าของ Elon Musk ออกเดินทางสู่อวกาศด้วย โดยในตอนนี้ยานก็กำลังเดินทางอยู่ในอวกาศลึกอยู่
แต่ครั้งถัดไปที่ยานจะเข้ามาเฉียดใกล้โลกจริง ๆ นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2091 ซึ่งอาจใกล้มากพอที่นักดาราศาสตร์จะส่องกล้องไปสำรวจดูสภาพของรถ หลังจากผ่านสภาพอันโหดร้ายของอวกาศลึกมานานกว่า 70 ปีได้อีกด้วย
เว็บไซต์ Where is Roadster ที่ทำการติดตามการเดินทางในอวกาศของ Tesla Roadster อย่างใกล้ชิด ได้ออกมาเปิดเผยว่า รถสปอร์ตจาก Tesla ใช้ระยะเวลากว่า 557 วัน (ประมาณ 1 ปี 6 เดือน 12 วัน) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ โดยรัศมีวงโคจรคิดเป็นระยะทาง 1,226 ล้านกิโลเมตร หรือมากกว่าระยะทางในการรับประกันกว่า 21,000 เท่า
10-11 ธันวาคม 2117 ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์
ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อสังเกตนั้นเกิดขึ้นเป็นคู่ ๆ ห่างกันครั้งละ 8 ปี และระหว่างแต่ละคู่จะต้องรอนานกว่า 105-121 ปีก่อนจะเกิดขึ้นอีกหน โดยครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นนั้นคือเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมานี้เอง
ย้อนในปี 1639 ระหว่างที่ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์นั้น นักดาราศาสตร์สมัยนั้นสามารถคำนวณระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ด้วยเทคนิค Parallax ได้อย่างแม่นยำมากกว่าทุกค่าที่มีในตอนนั้น ส่วนในปี 2012 นักดาราศาสตร์ก็ใช้ช่วงเวลานี้นำหลักการสำรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมาทดสอบอีกด้วย
น่าเสียดายที่เหตุการณ์ถัดจากนี้ไป จะเกิดขึ้นช้ากว่าที่ผู้อ่านทุกคน (ที่อ่านบทความนี้ในปี 2019) จะอยู่ทันสังเกตเห็น ดังนั้นทั้งหมดต่อจากนี้คือสิ่งที่เราจะพลาดไป แต่รุ่นลูก ๆ และหลาน ๆ ของเราจะได้เป็นผู้อยู่สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดังนี้
18 กุมภาพันธ์ 2177 ดาวพลูโตโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ นับตั้งแต่ที่ถูกค้นพบ
ดาวพลูโตนั้นถูกค้นพบในปี 1930 ซึ่งด้วยความที่มันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ทำให้พลูโตใช้เวลานานกว่า 248 ปีเพื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ และในช่วงเวลานี้มันเคยได้ถูกให้นิยามเป็นดาวเคราะห์มาแล้ว ก่อนจะโดนลดขั้นลงไปเป็นเพียงดาวเคราะห์แคระเท่านั้น และก็ไม่รู้ว่าอีกร้อยกว่าปีต่อจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกไหม
แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ดาวพลูโตจะยังคงเป็นดาวเคราะห์แคระที่เรารักกันมากที่สุด (หรือจะได้กลับมาเป็นดาวเคราะห์ด้วยก็เป็นได้)
16 กรกฏาคม 2186 สุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในรอบ 10,000 ปี
สุริยุปราคาหนนี้จะมีเวลารวมทั้งสิ้น 7 นาที 29 วินาที ยาวนานที่สุดในรอบ 10,000 ปี เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มาลงตัวกันพอดี ตั้งแต่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เกือบมากที่สุด ดวงจันทร์โคจรมาใกล้โลกมากที่สุด ทำให้เงาของดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ได้มิดและยาวนานขนาดนี้
เหตุการณ์ดาราศาสตร์บางครั้งมันก็เกิดขึ้นมาเพียงแค่หนเดียวในช่วงชีวิตของเรา ดังนั้นอยากแนะนำให้ปักหมุดวันเวลาดังกล่าวไว้ และออกไปสัมผัสช่วงเวลาที่อาจเป็นเพียงหนึ่งครั้งเอาไว้ พร้อมกับอีกหลาย ๆ เหตุการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้าอีกด้วย
“ทุกครั้งที่รู้ว่าดาวตกทั้งโลกจะมองขึ้นฟ้า รอคอยอยากเห็นชั่วพริบตาที่ดาวลงมาบนนั้น กี่สิบร้อยพันปีจะมีสักหนึ่งครั้ง มีแค่เสี้ยวนาทีที่เราจะเห็นมัน”
พริบตา – Stamp x เบิร์ด ธงไชย
Cr.https://spaceth.co/future-astronomical-events/
เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO
บทความโดย KornKT / October 14, 2019