“The Golden Song เวทีเพลงเพราะ” เป็นรายการประกวดร้องเพลงที่จับ “โจทย์ยาก” และถ้าไม่จัดองค์ประกอบดีๆ จะเป็นรายการ “น่าเบื่อ” ไปในทันที แต่รายการนี้ ตีโจทย์แตก
ผู้เข้าแข่งขันต้องร้องเพลง “ลูกกรุง” ในสไตล์ต้นตำรับ หรือจับมาประดิษฐ์ในรูปแบบตัวเอง แต่ห้ามละเลยการเป็น ลูกกรุง “เด็ดขาด”
แบบแผนตายตัวที่ตั้งกติกากันไว้ถือว่าหินทีเดียว เพราะลำพังเพลง “ลูกกรุง” ก็ร้องยากเพราะมีความเป็นอมตะเป็น “ของขลัง” อยู่แล้ว แถมยังต้องร้องให้โดนใจกรรมการภายในเวลา 90 วินาที ถ้าหากกรรมการ 4 ท่าน กดไม่ถึง 3 ถือว่าไม่ผ่าน เมื่อครบจบเวลา ดนตรีจะหยุดกึ้ก ไม่ต้องร้องต่อกันล่ะ จนตรงนั้น ไม่ให้เสียเวลาคนดู!
ผ่านไปแล้วหลาย Episode สร้างความประทับใจให้คนรักเพลงเก่าไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ชมกลุ่มผู้ใหญ่ สะท้อนให้เห็นภาพว่า Content ต่อไปนี้ควรคิดค้นให้คละเคล้าไปกับสภาพสังคมวัยชราที่กำลังมาเยือนในบ้านเราจะเป็นทางเลือกในการรับชมความบันเทิงอีกทาง แต่เอาเข้าจริง นึกว่าจะมีแต่ผู้ใหญ่มาประกวด ไม่ใช่นะ ไม่ใช่คนรุ่นพ่อรุ่นรุ่นยายมาเท่านั้น รุ่นเด็ก รุ่นนักเรียน รุ่นหนุ่มสาว เข้ามาชิงเงินรางวัลกันไม่น้อย ใครชนะได้ไปครึ่งล้าน
จุดนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเพลงลูกกรุงที่ได้รับการถ่ายทอดอยู่แล้วในครัวเรือน ไม่ได้หายไปไหน ผู้เข้าประกวดหลายคนบอกเล่าถึงวัยเด็กและส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สอดคล้องกัน นั่นคือ ตอนเด็กได้ยินคุณยาย หรือคุณแม่ คุณพ่อเปิดเพลงลูกกรุง แล้วเกิดความประทับใจมิรู้ลืม น่าแปลกที่เพลงเหล่านี้ถูกเชื่อมโยงระหว่างเจนเนอเรชั่นได้ คงเป็นเพราะเนื้อร้อง ทำนอง และความคลาสสิคในการได้ฟัง
เราจะเห็นเด็กประถม มัธยม อุดมศึกษา คุณพ่ออายุ 50+ คุณแม่วัยทอง อาจารย์ที่คร่ำเคร่งกับการสอน และผู้บกพร่องทางสายตา มายืนจับไมค์พร้อมประกาศความพร้อมที่จะถ่ายทอดบทเพลงที่ตรึงใจพวกเขา หลายคนต้องการมาสร้างความดัง แต่ก็มีอีกหลายคน เขาขอแค่ได้มายืนออกทีวี ก็พีคสุดชีวิตแล้ว
ความลงตัวอีกจุดและต้องเรียกว่า น่าจะเป็น “Dream Team” ก็คือคณะกรรมการ มีทั้งหมดสี่คนที่ไม่น่าจะเคยนั่งทำหน้าที่นี้พร้อมๆ กันแบบนี้มาก่อน พี่โจ้-สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา เม้า-สุดา ชื่นบาน กบ-สุวนันท์ ปุณณกันต์ กัน-นภัทร
สี่คนสี่สไตล์ สี่วัยที่ให้ความเห็นได้หลากหลายและ “ไม่เว่อร์” ไม่มุ่งเอาแต่อวดตัวหรือภูมิรู้ จนล้น หรือ “อวยไส้แตก”ส่งให้ผู้เข้าประกวดแบบกลวงๆ เพื่อสร้างสีสันให้รายการและผู้เข้าประกวด ดังรายการประกวดร้องเพลงบางรายการที่ปล่อยให้กรรมการใช้เวลาไปกับการบรรยายความชอบในตัวผู้เข้าประกวดแบบเลื่อนลอย หรือให้กรรมการยิงมุขมาราธอนจนลืมไปว่า มีคนยื่นเมื่อยบนรองเท้าส้นสูงตรงกลางเวที
พิธีกรหน้าใหม่ จับงานนี้ครั้งแรกอย่าง ป้อง ณวัฒน์ ทำหน้าที่ได้ดีในฐานะมือใหม่ ดีที่มีมือเก่า กิตติ เชี่ยววงศ์กุล คอยช่วยกำกับดูแลให้ ใน Ep หลังๆ ป้องทำได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มากไม่น้อย
รายการนี้กำกับ ลำดับ กำหนดสัดส่วน Comments นี้ได้อย่างลงตัว พี่โจ้ กับป้าเม้าให้คำแนะนำและความเห็นอย่างมืออาชีพ คุณกบ แม้บางเพลงไม่เคยรู้จัก ก็ไม่ได้แสร้งว่ารู้จัก เธอดูเป็นธรรมชาติมาก ต่างจากดาราสาวบางคนในรายการประกวดบางรายการที่พอได้นั่งเก้าอี้กรรมการ กลับหาคำพูดมาอธิบายความรู้สึกที่เกิดขั้นไม่ได้ ไม่สามารถ “Engage” คนดูได้ หรือบางคนที่ชอบแสดงอาการชอบมากเว่อร์วัง หรือแสดงอาการตกใจมากแบบสุดกู่ ดูแล้วอยากติดป้าย “Fake News” ให้จริงๆ
อีกส่วนที่ต้องพูดไว้ตรงนี้ก็คือ การเรียกเพลงแต่ละเพลงว่า เป็น “Golden Song” เป็นเวทีเพลงเพราะ ไม่ต้องไปแปลตรงๆ ว่าเป็นเพลงเก่า หรือเพลงอมตะนิรันดร์กาล ซึ่งจะทำให้ดูเก่ายิ่งขั้นไปอีก
ให้สี่ผ่าน! รายการน่าจะได้ฟีดแบคที่ดี เตรียมประกาศรับ Season 2 แล้ว
Invited writer : วิทยา แสงอรุณ
ที่มา :
https://www.tvdigitalwatch.com/analysis-rating-goldensong-6ep-62/
โอ้โห!! ไม่น่าเชื่อ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ช่อง ONE เรตติ้งไม่เบาเลยนะเนี่ยะ
ผู้เข้าแข่งขันต้องร้องเพลง “ลูกกรุง” ในสไตล์ต้นตำรับ หรือจับมาประดิษฐ์ในรูปแบบตัวเอง แต่ห้ามละเลยการเป็น ลูกกรุง “เด็ดขาด”
แบบแผนตายตัวที่ตั้งกติกากันไว้ถือว่าหินทีเดียว เพราะลำพังเพลง “ลูกกรุง” ก็ร้องยากเพราะมีความเป็นอมตะเป็น “ของขลัง” อยู่แล้ว แถมยังต้องร้องให้โดนใจกรรมการภายในเวลา 90 วินาที ถ้าหากกรรมการ 4 ท่าน กดไม่ถึง 3 ถือว่าไม่ผ่าน เมื่อครบจบเวลา ดนตรีจะหยุดกึ้ก ไม่ต้องร้องต่อกันล่ะ จนตรงนั้น ไม่ให้เสียเวลาคนดู!
ผ่านไปแล้วหลาย Episode สร้างความประทับใจให้คนรักเพลงเก่าไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ชมกลุ่มผู้ใหญ่ สะท้อนให้เห็นภาพว่า Content ต่อไปนี้ควรคิดค้นให้คละเคล้าไปกับสภาพสังคมวัยชราที่กำลังมาเยือนในบ้านเราจะเป็นทางเลือกในการรับชมความบันเทิงอีกทาง แต่เอาเข้าจริง นึกว่าจะมีแต่ผู้ใหญ่มาประกวด ไม่ใช่นะ ไม่ใช่คนรุ่นพ่อรุ่นรุ่นยายมาเท่านั้น รุ่นเด็ก รุ่นนักเรียน รุ่นหนุ่มสาว เข้ามาชิงเงินรางวัลกันไม่น้อย ใครชนะได้ไปครึ่งล้าน
จุดนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเพลงลูกกรุงที่ได้รับการถ่ายทอดอยู่แล้วในครัวเรือน ไม่ได้หายไปไหน ผู้เข้าประกวดหลายคนบอกเล่าถึงวัยเด็กและส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สอดคล้องกัน นั่นคือ ตอนเด็กได้ยินคุณยาย หรือคุณแม่ คุณพ่อเปิดเพลงลูกกรุง แล้วเกิดความประทับใจมิรู้ลืม น่าแปลกที่เพลงเหล่านี้ถูกเชื่อมโยงระหว่างเจนเนอเรชั่นได้ คงเป็นเพราะเนื้อร้อง ทำนอง และความคลาสสิคในการได้ฟัง
เราจะเห็นเด็กประถม มัธยม อุดมศึกษา คุณพ่ออายุ 50+ คุณแม่วัยทอง อาจารย์ที่คร่ำเคร่งกับการสอน และผู้บกพร่องทางสายตา มายืนจับไมค์พร้อมประกาศความพร้อมที่จะถ่ายทอดบทเพลงที่ตรึงใจพวกเขา หลายคนต้องการมาสร้างความดัง แต่ก็มีอีกหลายคน เขาขอแค่ได้มายืนออกทีวี ก็พีคสุดชีวิตแล้ว
ความลงตัวอีกจุดและต้องเรียกว่า น่าจะเป็น “Dream Team” ก็คือคณะกรรมการ มีทั้งหมดสี่คนที่ไม่น่าจะเคยนั่งทำหน้าที่นี้พร้อมๆ กันแบบนี้มาก่อน พี่โจ้-สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา เม้า-สุดา ชื่นบาน กบ-สุวนันท์ ปุณณกันต์ กัน-นภัทร
สี่คนสี่สไตล์ สี่วัยที่ให้ความเห็นได้หลากหลายและ “ไม่เว่อร์” ไม่มุ่งเอาแต่อวดตัวหรือภูมิรู้ จนล้น หรือ “อวยไส้แตก”ส่งให้ผู้เข้าประกวดแบบกลวงๆ เพื่อสร้างสีสันให้รายการและผู้เข้าประกวด ดังรายการประกวดร้องเพลงบางรายการที่ปล่อยให้กรรมการใช้เวลาไปกับการบรรยายความชอบในตัวผู้เข้าประกวดแบบเลื่อนลอย หรือให้กรรมการยิงมุขมาราธอนจนลืมไปว่า มีคนยื่นเมื่อยบนรองเท้าส้นสูงตรงกลางเวที
พิธีกรหน้าใหม่ จับงานนี้ครั้งแรกอย่าง ป้อง ณวัฒน์ ทำหน้าที่ได้ดีในฐานะมือใหม่ ดีที่มีมือเก่า กิตติ เชี่ยววงศ์กุล คอยช่วยกำกับดูแลให้ ใน Ep หลังๆ ป้องทำได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่มากไม่น้อย
รายการนี้กำกับ ลำดับ กำหนดสัดส่วน Comments นี้ได้อย่างลงตัว พี่โจ้ กับป้าเม้าให้คำแนะนำและความเห็นอย่างมืออาชีพ คุณกบ แม้บางเพลงไม่เคยรู้จัก ก็ไม่ได้แสร้งว่ารู้จัก เธอดูเป็นธรรมชาติมาก ต่างจากดาราสาวบางคนในรายการประกวดบางรายการที่พอได้นั่งเก้าอี้กรรมการ กลับหาคำพูดมาอธิบายความรู้สึกที่เกิดขั้นไม่ได้ ไม่สามารถ “Engage” คนดูได้ หรือบางคนที่ชอบแสดงอาการชอบมากเว่อร์วัง หรือแสดงอาการตกใจมากแบบสุดกู่ ดูแล้วอยากติดป้าย “Fake News” ให้จริงๆ
อีกส่วนที่ต้องพูดไว้ตรงนี้ก็คือ การเรียกเพลงแต่ละเพลงว่า เป็น “Golden Song” เป็นเวทีเพลงเพราะ ไม่ต้องไปแปลตรงๆ ว่าเป็นเพลงเก่า หรือเพลงอมตะนิรันดร์กาล ซึ่งจะทำให้ดูเก่ายิ่งขั้นไปอีก
ให้สี่ผ่าน! รายการน่าจะได้ฟีดแบคที่ดี เตรียมประกาศรับ Season 2 แล้ว
Invited writer : วิทยา แสงอรุณ
ที่มา : https://www.tvdigitalwatch.com/analysis-rating-goldensong-6ep-62/