เอมิ ฮากะ มีความสนใจในเรื่องราวของนินจา หลังได้เห็นการแสดงความสามารถในรายการโทรทัศน์ / BBC
นักศึกษาญี่ปุ่นใช้ “หมึกล่องหน” เขียนเรียงความวิชาประวัติศาสตร์นินจา – BBCไทย
น.ส. เอมิ ฮากะ นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งของมหาวิทยาลัยมิเอะในญี่ปุ่น ได้เกรดเอจากการส่งผลงานการเขียนเรียงความเป็นกระดาษเปล่า เนื่องจากภายหลังอาจารย์ผู้สอนพบว่า เรียงความนั้นเขียนด้วย “หมึกล่องหน” ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของศาสตร์วิชานินจา
น.ส. ฮากะ วัย 19 ปี ใช้วิธีการที่เรียกว่า “อะบุริดะชิ” แช่ถั่วเหลืองในน้ำเป็นเวลาหนึ่งคืน จากนั้นนำมาบดและคั้นน้ำ ก่อนจะนำไปเจือจางอีกครั้งให้ได้ความเข้มข้นที่พอเหมาะ แล้วจึงนำไปใช้เขียนข้อความลงในกระดาษ เธอบอกว่ารู้จักวิธีทำหมึกล่องหนนี้จากหนังสือที่เคยอ่านในวัยเด็ก
เหตุที่น.ส. ฮากะ เกิดความคิดพิสดารในการเขียนเรียงความครั้งนี้ขึ้น เนื่องมาจากอาจารย์ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์นินจาได้สั่งให้นักศึกษาทุกคนส่งรายงาน หลังการไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์นินจา “อิงะริว” และย้ำว่าจะให้คะแนนกับผู้ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเขียนเป็นพิเศษ
น.ส. ฮากะ ซึ่งสนใจในเรื่องราวของนินจามาตั้งแต่เด็กหลังได้รับชมการ์ตูนทางโทรทัศน์ บอกกับบีบีซีว่า “ฉันขบคิดเรื่องนี้อยู่นานทีเดียว ก่อนจะนึกถึงการทำอะบุริดะชิขึ้นมาได้ ฉันมั่นใจว่าวิธีนี้จะทำให้เรียงความของฉันโดดเด่นกว่าใครแน่นอน ตอนนั้นก็ได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้มีเพื่อนนักศึกษาที่คิดเหมือนกันเลย”
เธอบอกด้วยว่า ได้ใช้พู่กันคุณภาพสูงจุ่มหมึกล่องหน แล้วจึงเขียนเรียงความลงในกระดาษ “วาชิ” หรือกระดาษบางแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อหมึกบนกระดาษแห้งแล้วจะไม่หลงเหลือข้อความใด ๆ ให้เห็น นอกเสียจากว่าจะนำกระดาษนั้นไปลนไฟหรือให้ความร้อน ตัวหนังสือจึงจะปรากฏขึ้นอีกครั้ง
เพื่อให้แน่ใจว่าอาจารย์ผู้สอนจะไม่เข้าใจผิด คิดว่าผลงานของเธอเป็นเพียงกระดาษเปล่าธรรมดาและโยนทิ้งไป น.ส.ฮากะจึงแนบข้อความที่เขียนด้วยหมึกชนิดปกติไปด้วยว่า “เอากระดาษไปอุ่นให้ร้อนนะคะ”
ด้านอาจารย์ ยูจิ ยามาดะ ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์นินจาของ น.ส. ฮากะ บอกกับบีบีซีว่า เขาประหลาดใจมากที่ได้เห็นเรียงความที่เขียนด้วยหมึกล่องหน “ผมเคยเห็นแต่ข้อความของนินจาที่เขียนด้วยรหัสลับ ยังไม่เคยเห็นข้อความที่เขียนด้วยหมึกล่องหนของจริง”
“ตอนแรกผมคิดว่า หมึกล่องหนทำเองจะใช้งานได้สักแค่ไหนกัน แต่พอทดลองเอากระดาษนั้นไปอังความร้อนจากเตาทำครัวในบ้านพัก ตัวหนังสือปรากฏขึ้นมาอย่างชัดเจนมาก ผมคิดว่านักศึกษาทำได้ดีจริง ๆ ”
“ผมให้คะแนนเต็มอย่างไม่ลังเลเลย ทั้งที่ยังอ่านเรียงความของเธอไม่จบด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะผมคิดจะเหลือข้อความล่องหนบางส่วนไว้ เผื่อว่าเรื่องนี้จะโด่งดังขึ้นมาและผู้สื่อข่าวอยากจะถ่ายรูป” อาจารย์ยามาดะกล่าว
อย่างไรก็ตาม น.ส. ฮากะบอกว่าเนื้อหาของเรียงความที่เขียนด้วยหมึกล่องหนนั้นไม่มีอะไรพิเศษ แต่เธอไม่กลัวจะได้คะแนนน้อย เพราะเชื่อมั่นว่าอาจารย์จะต้องชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งมองเห็นความพยายามของเธอที่อุตส่าห์ทุ่มเทเวลาและแรงงานหลายชั่วโมงทำหมึกนินจาดังกล่าว
ทั้งนี้ นินจาคือสายลับและมือลอบสังหารของญี่ปุ่นในยุคศักดินาเมื่อหลายร้อยปีก่อน โดยผู้ที่จะเป็นนินจาได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนศาสตร์วิชานินจาหรือนินจุซึ ซึ่งเน้นใช้กลยุทธ์การต่อสู้
บทความของฮากะซึ่งมีทั้งส่วนที่ลนไฟแล้วจนปรากฏข้อความ และส่วนที่ยังมองไม่เห็น / BBC
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
นักศึกษาญี่ปุ่นใช้ “หมึกล่องหน” เขียนเรียงความวิชาประวัติศาสตร์นินจา
น.ส. เอมิ ฮากะ นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งของมหาวิทยาลัยมิเอะในญี่ปุ่น ได้เกรดเอจากการส่งผลงานการเขียนเรียงความเป็นกระดาษเปล่า เนื่องจากภายหลังอาจารย์ผู้สอนพบว่า เรียงความนั้นเขียนด้วย “หมึกล่องหน” ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของศาสตร์วิชานินจา
น.ส. ฮากะ วัย 19 ปี ใช้วิธีการที่เรียกว่า “อะบุริดะชิ” แช่ถั่วเหลืองในน้ำเป็นเวลาหนึ่งคืน จากนั้นนำมาบดและคั้นน้ำ ก่อนจะนำไปเจือจางอีกครั้งให้ได้ความเข้มข้นที่พอเหมาะ แล้วจึงนำไปใช้เขียนข้อความลงในกระดาษ เธอบอกว่ารู้จักวิธีทำหมึกล่องหนนี้จากหนังสือที่เคยอ่านในวัยเด็ก
เหตุที่น.ส. ฮากะ เกิดความคิดพิสดารในการเขียนเรียงความครั้งนี้ขึ้น เนื่องมาจากอาจารย์ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์นินจาได้สั่งให้นักศึกษาทุกคนส่งรายงาน หลังการไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์นินจา “อิงะริว” และย้ำว่าจะให้คะแนนกับผู้ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเขียนเป็นพิเศษ
น.ส. ฮากะ ซึ่งสนใจในเรื่องราวของนินจามาตั้งแต่เด็กหลังได้รับชมการ์ตูนทางโทรทัศน์ บอกกับบีบีซีว่า “ฉันขบคิดเรื่องนี้อยู่นานทีเดียว ก่อนจะนึกถึงการทำอะบุริดะชิขึ้นมาได้ ฉันมั่นใจว่าวิธีนี้จะทำให้เรียงความของฉันโดดเด่นกว่าใครแน่นอน ตอนนั้นก็ได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้มีเพื่อนนักศึกษาที่คิดเหมือนกันเลย”
เธอบอกด้วยว่า ได้ใช้พู่กันคุณภาพสูงจุ่มหมึกล่องหน แล้วจึงเขียนเรียงความลงในกระดาษ “วาชิ” หรือกระดาษบางแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อหมึกบนกระดาษแห้งแล้วจะไม่หลงเหลือข้อความใด ๆ ให้เห็น นอกเสียจากว่าจะนำกระดาษนั้นไปลนไฟหรือให้ความร้อน ตัวหนังสือจึงจะปรากฏขึ้นอีกครั้ง
เพื่อให้แน่ใจว่าอาจารย์ผู้สอนจะไม่เข้าใจผิด คิดว่าผลงานของเธอเป็นเพียงกระดาษเปล่าธรรมดาและโยนทิ้งไป น.ส.ฮากะจึงแนบข้อความที่เขียนด้วยหมึกชนิดปกติไปด้วยว่า “เอากระดาษไปอุ่นให้ร้อนนะคะ”
ด้านอาจารย์ ยูจิ ยามาดะ ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์นินจาของ น.ส. ฮากะ บอกกับบีบีซีว่า เขาประหลาดใจมากที่ได้เห็นเรียงความที่เขียนด้วยหมึกล่องหน “ผมเคยเห็นแต่ข้อความของนินจาที่เขียนด้วยรหัสลับ ยังไม่เคยเห็นข้อความที่เขียนด้วยหมึกล่องหนของจริง”
“ตอนแรกผมคิดว่า หมึกล่องหนทำเองจะใช้งานได้สักแค่ไหนกัน แต่พอทดลองเอากระดาษนั้นไปอังความร้อนจากเตาทำครัวในบ้านพัก ตัวหนังสือปรากฏขึ้นมาอย่างชัดเจนมาก ผมคิดว่านักศึกษาทำได้ดีจริง ๆ ”
“ผมให้คะแนนเต็มอย่างไม่ลังเลเลย ทั้งที่ยังอ่านเรียงความของเธอไม่จบด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะผมคิดจะเหลือข้อความล่องหนบางส่วนไว้ เผื่อว่าเรื่องนี้จะโด่งดังขึ้นมาและผู้สื่อข่าวอยากจะถ่ายรูป” อาจารย์ยามาดะกล่าว
อย่างไรก็ตาม น.ส. ฮากะบอกว่าเนื้อหาของเรียงความที่เขียนด้วยหมึกล่องหนนั้นไม่มีอะไรพิเศษ แต่เธอไม่กลัวจะได้คะแนนน้อย เพราะเชื่อมั่นว่าอาจารย์จะต้องชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งมองเห็นความพยายามของเธอที่อุตส่าห์ทุ่มเทเวลาและแรงงานหลายชั่วโมงทำหมึกนินจาดังกล่าว
ทั้งนี้ นินจาคือสายลับและมือลอบสังหารของญี่ปุ่นในยุคศักดินาเมื่อหลายร้อยปีก่อน โดยผู้ที่จะเป็นนินจาได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนศาสตร์วิชานินจาหรือนินจุซึ ซึ่งเน้นใช้กลยุทธ์การต่อสู้