ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี อัมพวา สมุทรสงคราม

หนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของชาวพุทธที่เราๆนิยม
นั่นก็คือ "วัด"
วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นสถานที่สวยงาม มีสถาปัตยกรรมที่เหนือชาติอื่นใดในโลก 
(ตัวผู้เขียนคิดเองว่าเป็นเช่นนั้น)
และนอกเหนือสิ่งสวยงาม ยังมีสิ่งที่เราพึงสักการะ กราบไหว้บูชา
นั่นก็คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
และที่จะมาแชร์ในวันนี้นอกเหนือสิ่งคู่ควรบูชาที่กล่าวมา ยังมี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยากแนะนำหรือ 
อยากจะแชร์ให้ท่านที่ได้ผ่านเข้ามาชมได้รับทราบผ่านรูปภาพและตัวอักษรนี้
นั่นก็คือ
ท้าวเวสสุวรรณ  (ท้าวเวสสุวัน) 


เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย 
 ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ 
สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือ
 สวรรค์ชั้นที่ 1 ชื่อว่า จาตุมหาราชิกา “ จาตุมหาราชิกา” สวรรค์ชั้นที่ 1 

    สวรรค์ชั้นที่ 1 ชื่อว่า จาตุมหาราชิกา
    สวรรค์ชั้นที่ 2 ชื่อว่า ดาวดึงส์
    สวรรค์ชั้นที่ 3 ชื่อว่า ยามา
    สวรรค์ชั้นที่ 4 ชื่อว่า ดุสิต
    สวรรค์ชั้นที่ 5 ชื่อว่า นิมมานรดี
    สวรรค์ชั้นที่ 6 ชื่อว่า ปรนิมมิตสวัตดี

 “ จาตุมหาราชิกา” สวรรค์ชั้นที่ 1 เป็นสวรรค์ชั้นแรกและอยู่ต่ำที่สุด ตั้งอยู่เหนือ


ท้าวเวสสุวรรณ เป็นผู้ปกครองของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4  มีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจ
เป็นบริวาร อาณาเขตที่ “ท้าวเวสสุวรรณ” ปกครองนั้นกว้างใหญ่มหาศาลมาก
เหตุด้วยท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร และทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมาก
 สวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ มี 4 เมือง โดยมีเทวดาปกครองตามเมืองของตน ได้แก่
     1. ท้าวธตรฐ “ พระอินทร์” ปกครองพวกคนธรรพ์ อยู่ทางทิศตะวันออก
     2. ท้าววิรุฬหก “พระยม”ปกครองพวกยักษ์กุมภัณฑ์และยักษ์ผีเสื้อ อยู่ทางทิศใต้
     3. ท้าววิรูปักษ์ “พระวรุณ “ปกครองพวกครุฑและนาค อยู่ทางทิศตะวันตก
     4. ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ปกครองพวกยักษ์ อยู่ทางทิศเหนือ 

     เทวดาผู้เป็นใหญ่ปกครองทั้ง 4 องคืนี้เรียกว่า “ท้าวจตุโลกบาล” หรือ “ท้าวมหาราชทั้ง 4” ซึ่งตำแหน่งของท้าวทั้ง 4 นั้น ถูกตั้งขึ้นโดย “พระอินทร์” 

ผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ชั้น “ดาวดึงส์”


ท้าวเวสสุวรรณภาค”เทวบุตร” จะรู้จักกัน ในภาษาพราหมณ์ ว่า “ท้าวกุเวร” หรือ ในพระพุทธศาสนาจะรู้จักว่า "ท้าวไพสพ" 

ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงใน”อาฏานาฏิยปริตร”ว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า 

และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน

ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น

 ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ 

แต่แท้ที่จริงแล้ว

 ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า" มหาราชลีลา "มีลักษณะอันโดดเด่นคือ"พระอุระพลุ้ยอีกด้วย "

“ท้าวกุเวร”ในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า 

เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว 

มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค 

ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง 

ท้าวเวสสุวรรณกับสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

          ส่วนใหญ่เรามักเห็นภาพ ท้าวเวสสุวรรณ ในรูปลักษณ์ของยักษ์ 
ยืนถือกระบองยาว หรือไม้เท้าขนาดใหญ่อยู่ระหว่างขา เหมือนมีขาสามขา เพื่อพิทักษ์รักษาพุทธสถาน 
ปกปักคุ้มครองพระพุทธศาสนา และปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติกรรมฐานไม่ให้หมู่มารมารังควาน 
        หากเห็นรูปปั้นยักษ์ตั้งอยู่อยู่เพียงตนเดียว นั่นก็คือ ท้าวเวสสุวรรณ 
แต่ถ้าหากมี 2 ตน ก็คือบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณ ที่จะมาคอยปกปักรักษาบริเวณวัด 
และนอกจาก ท้าวเวสสุวรรณ จะมีหน้าที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาแล้ว ท้าวเวสสุวรรณ 
ยังมีหน้าที่จดความดีของคนทางทิศเหนือไปจารึก และประกาศให้เทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้รับรู้

ความเชื่อว่าเป็นตำนานของ ท้าวเวสสุวรรณ

          ตำนานทางพระพุทธศาสนา เชื่อว่า ในอดีตชาติ ท้าวเวสสุวรรณ เคยเป็นพราหมณ์ 
เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย ด้วยความใจบุญจึงได้นำเงินทองไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ 
และด้วยกุศลผลบุญที่ ท้าวเวสสุวรรณ บำเพ็ญมานับหลายพันปี พระพรหม และ พระอิศวร 
จึงให้พรแก่ ท้าวเวสสุวรรณ ให้เป็นอมตะ และเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั่วปฐพี 
เป็นเทพแห่งความร่ำรวย จึงทำให้ผู้คนจำหลัก ท้าวเวสสุวรรณ ไว้บูชาเพื่อความมั่งคั่ง
และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญตามความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวรรณ" คือ 

คำว่า "เวส" ซึ่งแปลว่า “พ่อค้า” 
และ”สุวรรณ” ซึ่งแปลว่า “ทองคำ”

จึงหมายถึง “พ่อค้าอันมีทรัพย์ ได้แก่ ทองคำ”

         ยังมีอีกหนึ่งตำนานในพระพุทธศาสนา เชื่อว่า ในชาติหนึ่ง ท้าวเวสสุวรรณ
 ซึ่งเดิมชื่อ “กุเวรพราหมณ์” ได้ทำบุญกุศลมาก จนชาติต่อมา ได้เป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์ พระนามว่า “พระเจ้าพิมพิสาร” และทรงเป็นพระสหายกับเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนบรรลุเป็นโสดาบัน
 และได้ถวาย”เวฬุวันมหาวิหาร” ให้พระพุทธเจ้าได้เข้าประทับ จึงเป็นอานิสงส์ให้ได้วิมาน
อันงดงาม และในการที่พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายทานอยู่เป็นนิจ จึงเป็นปัจจัยให้มีทิพยสมบัติมากมาย เมื่อได้เป็นเทวดาก็ทรงมีอำนาจมาก

      หรืออีกหนึ่งตามตำนานของพรามหณ์”ในรามเกียนติ์”เชื่อว่า ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร หรือ “กุเปรัน” เป็นพี่ชายต่างแม่ของทศกัณฐ์ แต่”กุเปรัน”ไปนับถือท้าวมหาพรหมผู้เป็นเทวดา เพราะปรารถนาจะบำเพ็ญบารมี ทำให้ผิดใจกับบิดาซึ่งอยู่ในตระกูลยักษ์ โดยท้าวมหาพรหมทรงโปรดปรานท้าวกุเวร หรือ “กุเปรัน” จึงประทานบุษบกให้ เพื่อให้ล่องลอยไปไหนมาได้ตามใจปรารถนา ทศกัณฐ์จึงแย่งบุษบกของท้าวกุเวร  หรือ “กุเปรัน” ไป และยึดกรุงลงกาที่ท้าวกุเวร  หรือ “กุเปรัน” ปกครองอยู่ ท้าวมหาพรหมจึงสร้างนครให้ท้าวกุเวรหรือ “กุเปรัน” ใหม่ 
คือ นคร "อลกา" 

หากจักบูชาองค์ท่าน ให้กระทำดังตามขั้นตอนดังนี้


ท่านผู้ใหญ่เมตตาบอกวิธีอัญเชิญที่ถูกต้องมา ดังนี้


ส่วน
*ธูปนี้เราได้แต่ใดมา 
หลวงพ่อ อิฏฐ์ ให้มาจึงได้ 

(หลวงพ่อก็เนาะ) เมตตาลูกหลาน


แม้กระทั่งรวมถึงความเชื่อของชาวจีน ก็ตาม “เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย” 
คือเทพเจ้าแห่งโชคลาภของชาวจีน
เป็นเทพระดับรองลงมาจากเทพใน สามก๊ก ถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภที่ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมบูชา
เพื่อเป็นสิริมงคลเป็นอันมากเชื่อในเรื่องการให้คุณในโชคลาภ


และตามความเชื่อว่า “เทพไฉ่ซิงเอี๊ย” เป็นเทพผู้คุ้มครองทิศเหนือแห่งจตุโลกบาล ผู้เป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งมวล 
เป็นลูกพี่ลูกน้องกับทศกันฑ์  ในชาติก่อนซึ่งเกิดในวรรณะพราห์ม ชื่อ”คูเบร่า” มีที่ดินมากมาย และได้บริจาคที่ดินทั้งหมดให้เป็นทาน 
ทำให้ตายแล้วไปเกิดใหม่บนสวรรค์ด้วยความดีนี้เอง

เมื่อครั้งพุทธกาล ได้ติดตามพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงออกแสวงธรรมในป่า ”คูเบร่า”
คิดว่าอาจจะมียักษ์หรือผู้ที่ไม่มีความนับถือในพระพุทธเจ้า และเกรงจะมาทำร้ายพระพุทธเจ้าได้ จึงได้ลงมาจุติเป็น “ท้าวเวสสุวรรณ” เพื่อคอยปกปักรักษาและต่อสู้กับเหล่ายักษ์และอสูรทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา ในวัดหลายๆแห่งจึงมีท้าวเวสสุวรรณ และ “เทพไฉ่ซิงเอี๊ย”ตั้งอยู่ที่หน้าประตูวัดอยู่ด้วย


ข้อมูลได้อักษรเพียวเท่านี้ หากอยู่ในทา
เดียวกันเข้าอ่านใน Blog ค่ะ เชิญค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่