คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้านอกชั้นบรรยากาศโลก คือจะไม่มีออกซิเจน ไม่มีอากาศ ไม่มีลม ไม่มีอะไรเลย ถ้ามีวัตถุนึง ไม่มีแรงขับ หรือไม่มีแรงใดมากระทบ
วัตถุนั้น ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนที่ไปไหนใช่หรือไม่
ในอวกาศของระบบสุริยะจะไม่มีบรรยากาศ ไม่มีลม ไม่มีอะไรเลย แต่ .... จะมี "แรงโน้มถ่วง" จากดวงอาทิตย์ส่งอิทธิพล
อยู่แบบเต็ม ๆ เลยครับ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ และมีมวลมากถึง 99% ของมวลระบบสุริยะ ดังนั้นวัตถุทุกอย่างในระบบสุริยะ
คือ ดาวเคราะห์หลัก ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง จะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์เสมอ และโคจรตลอดเวลาไม่มีการหยุดนิ่งด้วยครับ
ถ้าใช้ตามที่ผมเข้าใจ วัตถุพวกอุกกาบาต หรือดาวหาง อันนี้เคลื่อนที่ได้อย่างไร
ตามที่บอกไปในข้อ 1. ครับ วัตถุทุกอย่างจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้มถ่วง
วัตถุเหล่านั้นจะมีเสมือน "แรง" คอยดึงเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่มันก็จะเป็นการโคจรแทน
เพราะมันคือสภาพสมดุลย์แบบนี้มานานแล้ว
เคยจำได้ว่ามีดาวหาง ดวงนึง เคยผ่านโลกไป แล้วจะกลับมาอีกในอนาคต คือแบบนี้หมายถึงการเดินทาง
หรือเคลื่อนที่จะเป็นแบบนี้ไปตลอด แล้วอย่างนี้จะมีวันที่ดาวหางหยุดนิ่งหรือไม่ครับ ประมาณว่าหมดแรงที่กระทำกับดาวหางแล้ว
หากดาวหางใด ๆ ยังมีความเร็วในการโคจรไม่มากนัก ดาวหางดวงนั้นก็จะยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปตลอดกาลครับ
จะเป็นอีกร้อยล้าน หรือ พันล้านปี .... ก็ยังต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ ไม่มีวัน "หยุดนิ่ง" ได้เลย
อย่างในภาพนี้ คือดาวหางฮัลเล่ย์ และ ดาวหาง Ikeya–Zhang ทั้งสองดวงนี้แม้ว่าความไกลของระยะโคจรจะต่างกันมาก
แต่มันก็ยังอยู่ในอิทธิพลแรงโน้มถ่วงดวงอาทิตย์อยู่ และจะเป็นแบบนีต่อไปอีกหลายสิบ หลายร้อยล้านปี ก็เป็นได้
มีดาวหางแบบคาบยาวที่มีวงโคจรไกลยาวไปถึง Oort cloud โน่นเลยก็เช่น ดาวหาง ISON
ดวงนี้มีการประเมินคำนวณกันว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ นานมากถึง 400,000 ปี เลยทีเดียว
นั่นก็หมายความว่า ถึงแม้ว่าจะไกลถึงย่าน Oot cloud "แรง" ที่ส่งจากดวงอาทิตย์ไปกระทำต่อดาวหาง ก็ยังมีอยู่ครับ
ตามหลักฟิสิกส์เรื่องแรงโน้มถ่วง มันคือแรงที่ไม่มีขีดจำกัดในระยะทาง จะไกลเท่าใดก็ยังส่งแรงไปถึงได้
แต่....หากไกลออกไปจากดวงอาทิตย์มาก ๆ ก็หมายความว่าจะเข้าระยะอิทธิพลของดาวฤกษ์ดวงใหม่
นั่นก็หมายความว่า วัตถุที่อยู่ระหว่างทางของดวงอาทิตย์ กับ ดาวฤกษ์ดวงข้างเคียง ก็อาจถูกอิทธิพลแรงโน้มถ่วง
จากดาวดวงใหม่ ดูดเข้าไปให้โคจรเป็นสมาชิกของครอบครัวมัน ก็ได้ครับ
วัตถุนั้น ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนที่ไปไหนใช่หรือไม่
ในอวกาศของระบบสุริยะจะไม่มีบรรยากาศ ไม่มีลม ไม่มีอะไรเลย แต่ .... จะมี "แรงโน้มถ่วง" จากดวงอาทิตย์ส่งอิทธิพล
อยู่แบบเต็ม ๆ เลยครับ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ และมีมวลมากถึง 99% ของมวลระบบสุริยะ ดังนั้นวัตถุทุกอย่างในระบบสุริยะ
คือ ดาวเคราะห์หลัก ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง จะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์เสมอ และโคจรตลอดเวลาไม่มีการหยุดนิ่งด้วยครับ
ถ้าใช้ตามที่ผมเข้าใจ วัตถุพวกอุกกาบาต หรือดาวหาง อันนี้เคลื่อนที่ได้อย่างไร
ตามที่บอกไปในข้อ 1. ครับ วัตถุทุกอย่างจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้มถ่วง
วัตถุเหล่านั้นจะมีเสมือน "แรง" คอยดึงเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่มันก็จะเป็นการโคจรแทน
เพราะมันคือสภาพสมดุลย์แบบนี้มานานแล้ว
เคยจำได้ว่ามีดาวหาง ดวงนึง เคยผ่านโลกไป แล้วจะกลับมาอีกในอนาคต คือแบบนี้หมายถึงการเดินทาง
หรือเคลื่อนที่จะเป็นแบบนี้ไปตลอด แล้วอย่างนี้จะมีวันที่ดาวหางหยุดนิ่งหรือไม่ครับ ประมาณว่าหมดแรงที่กระทำกับดาวหางแล้ว
หากดาวหางใด ๆ ยังมีความเร็วในการโคจรไม่มากนัก ดาวหางดวงนั้นก็จะยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปตลอดกาลครับ
จะเป็นอีกร้อยล้าน หรือ พันล้านปี .... ก็ยังต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ ไม่มีวัน "หยุดนิ่ง" ได้เลย
อย่างในภาพนี้ คือดาวหางฮัลเล่ย์ และ ดาวหาง Ikeya–Zhang ทั้งสองดวงนี้แม้ว่าความไกลของระยะโคจรจะต่างกันมาก
แต่มันก็ยังอยู่ในอิทธิพลแรงโน้มถ่วงดวงอาทิตย์อยู่ และจะเป็นแบบนีต่อไปอีกหลายสิบ หลายร้อยล้านปี ก็เป็นได้
มีดาวหางแบบคาบยาวที่มีวงโคจรไกลยาวไปถึง Oort cloud โน่นเลยก็เช่น ดาวหาง ISON
ดวงนี้มีการประเมินคำนวณกันว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ นานมากถึง 400,000 ปี เลยทีเดียว
นั่นก็หมายความว่า ถึงแม้ว่าจะไกลถึงย่าน Oot cloud "แรง" ที่ส่งจากดวงอาทิตย์ไปกระทำต่อดาวหาง ก็ยังมีอยู่ครับ
ตามหลักฟิสิกส์เรื่องแรงโน้มถ่วง มันคือแรงที่ไม่มีขีดจำกัดในระยะทาง จะไกลเท่าใดก็ยังส่งแรงไปถึงได้
แต่....หากไกลออกไปจากดวงอาทิตย์มาก ๆ ก็หมายความว่าจะเข้าระยะอิทธิพลของดาวฤกษ์ดวงใหม่
นั่นก็หมายความว่า วัตถุที่อยู่ระหว่างทางของดวงอาทิตย์ กับ ดาวฤกษ์ดวงข้างเคียง ก็อาจถูกอิทธิพลแรงโน้มถ่วง
จากดาวดวงใหม่ ดูดเข้าไปให้โคจรเป็นสมาชิกของครอบครัวมัน ก็ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่องการเคลื่อนที่ ของวัตถุในอวกาศ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ