บทความตามใจฉัน “PC Engine, First of 16”
PC Engine เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลเครื่อง 16 Bit เครื่องแรกที่ออกวางจำหน่ายในยุคเครื่องเกมเจนเนเรชั่นที่ 4 (ช่วงปลาย 80s ถึงต้น 90s) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง NEC กับ Hudson Soft ที่เป็นบริษัทลูกของ Konami โดย NEC จะเป็นผู้ผลิต Hardware และทำการตลาด ส่วน Hudson รับหน้าที่ออกแบบ Hardware และผลิต Software เกม
PC Engine วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม 1987 โดยขายหลังจากที่ Sega Mega Drive วางตลาดเพียง 2 สัปดาห์และประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่วนหนึ่งของความสำเร็จผู้เขียนคาดว่ามาจากขนาดของเครื่องและสื่อบรรจุข้อมูลเกมที่เล็กกระทัดรัด จัดเก็บได้สะดวก เหมาะกับประเทศที่อาคารบ้านเรือนมีพื้นที่ใช้สอยน้อยอย่างญี่ปุ่น
ปัจจัยความสำเร็จของ PC Engine ในญี่ปุ่นนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
1. การแสดงผลกราฟฟิกที่ถูกใจคนเล่นมากกว่า โดยภาพที่ PC Engine ให้นั้นมีจุดเด่นที่สีสันสดสวยและสว่างกว่าภาพที่ Mega Drive ทำได้ในเกมเดียวกัน
ในรูปคือเกม Altered Beast ฝั่งซ้ายคือ PC Engine Ver ขวาคือ Mega Drive Ver
ภาพเปรียบเทียบระหว่างเกมต่าง ๆ ในเวอร์ชั่นของ PC Engine กับ Mega Drive ดูได้ที่
http://itscoolfromsaturn.blogspot.com/2013/04/graphics-showdown-turbografx-vs-mega.html
2. ระบบเสียงที่สร้างเสียงได้ถูกใจผู้เล่นมากกว่า ผู้เขียนได้ลองฟังตัวอย่างเพลงประกอบของเกม Street Fighter 2 ฉากริวของทั้งสองระบบแล้วก็เห็นว่าเพลงของเวอร์ชั่น PC Engine นั้นใกล้เคียงกับเพลงต้นฉบับเวอร์ชั่นเกมอาเขตมากกว่าเวอร์ชั่นของ Mega Drive ที่เสียงออกมาค่อนข้างเป็น Electronic มากเกินไป
เพลงประกอบ Street Fighter 2 ฉากของริว PC Engine Ver
https://www.youtube.com/watch?v=_crIMkoI7rk
เพลงประกอบ Street Fighter 2 ฉากของริว Mega Drive Ver
https://www.youtube.com/watch?v=1Cgsyy2GhK0
เพลงประกอบ Street Fighter 2 ฉากของริว อาเขต Ver
https://www.youtube.com/watch?v=LQw-a8sApLQ&list=PLE2E559466D613EE2&index=2
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากที่ญี่ปุ่น NEC และ Hadson Soft ก็ “ย้อมแมว” PC Engine ในชื่อ TurboGrafx-16 เพื่อบุกตลาดในต่างประเทศโดยเริ่มที่อเมริกาก่อนเป็นแห่งแรก ที่ใช้คำว่า “ย้อมแมว” ก็เพราะนอกจากตัวเครื่องที่ใหญ่ขึ้นแล้วฟังชั่นหรือประสิทธิ์ภาพของเครื่องไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขใด ๆ เลย
เดือนสิงหาคม ปี 1989 NEC ได้วางจำหน่าย TurboGrafx-16 ที่อเมริกาและประสบความล้มเหลว โดยสาเหตุมาจากหลาย ๆ ปัจจัย ดังนี้
1. แนวทางการตลาดที่ไม่เหมาะสม
ในญี่ปุ่นนั้น NEC ใช้กลยุทธการตลาดโดยโหมโฆษณาในเมืองใหญ่ ๆ และประสบความสำเร็จจึงนำกลยุทธ์เดียวกันมาใช้ในตลาดที่อเมริกาโดยเริ่มที่เมือง New York และ LA ซึ่งกลับไม่ได้ผล คาดว่าชื่อเสียงของ NEC และ Hudson Soft นั้นแทบไม่เป็นที่รู้จักในอเมริกาเลยทำให้ร้านค้าปลีกไม่กล้านำสินค้ามาวางจำหน่ายเพราะกลัวขายไม่ออก ซึ่งต่างกับ SEGA ที่เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้วจากธุรกิจตู้เกมอาเขตหรือ Nintendo ที่ในช่วงทำตลาดเครื่อง NES นั้นตกลงกับร้านค้าปลีกว่าจะลงทุนตกแต่งบูตขาย NES ที่ร้านให้และรับซื้อเครื่องคืนราคาเต็มถ้าขายไม่ออกทำให้ร้านค้าปลีกกล้าเอาสินค้ามาลง
ผลคือผู้ที่สนใจซื้อ TurboGrafx-16 ไม่สามารถหาซื้อได้จนหันไปซื้อเครื่องของคู่แข่งที่หาซื้อได้ง่ายกว่าแทน
2. มีจอยให้จอยเดียว
ตัวเครื่องนั้นมีจอยมาให้เพียงอันเดียว หากผู้เล่นต้องการจะเล่นเกมที่เล่นได้พร้อมกันสองคนหรือมากกว่า ผู้เล่นจะต้องจ่ายเพิ่มเพื่อซื้อจอยและตัวต่อขยายมาใช้ ซึ่งขัดกับวัฒนธรรมการเล่นเกมสมัยนั้นที่มักจะเล่นกันกับเพื่อน ๆ ไม่ใช่เล่นคนเดียว
3. ขาดเกมที่เป็นตัวแทนของเครื่อง
เนื่องจากนโยบายของ Hudson Soft ที่จะทำเกมลงเครื่องเกมคอนโซลเจ้าอื่น ๆ ด้วยนั้น ทำให้ PC Engine ไม่มี Exclusive เกมจนผู้เล่นตัดสินใจไปซื้อเครื่องเล่นเกมเครื่องอื่นเพราะเกมที่อยากเล่นก็ลงในเครื่องนั้นเหมือนกัน
“ผู้เล่นซื้อเครื่องเพราะเกม ไม่ใช่ซื้อเกมเพราะเครื่อง”
อีกทั้งยังขาดเกมจากผู้พัฒนา Third Party อีกด้วยจนทำให้จำนวนเกมมีน้อยกว่าคู่แข่ง
อันที่จริงจำนวนเกม PC-Engine จากผู้พัฒนา Third Party นั้นมีจำนวนไม่น้อยแต่เกมเหล่านั้นเป็นเกมที่วางจำหน่ายเฉพาะในโซนของญี่ปุ่น ไม่ทราบว่ามีปัญหาอะไรอย่างไรจึงแทบจะไม่มีการนำเกมเหล่านั้นมาแปลและจำหน่ายที่อเมริกา
4. ขีดจำกัดของ Hucard
เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่เก็บได้บน HuCard สื่อเกมข้อมูลเกมสำหรับ PC Engine นั้นน้อยกว่าแบบตลับที่คู่แข่งใช้ จึงทำให้รายละเอียดของตัวเกมจึงต้องถูกลดทอนลงไป เกมที่ไม่สามารถลดทอนได้ก็จะทำเกมในเวอร์ชั่น CD แทน ทำให้ผู้เล่นหากต้องการเล่นเกมดังกล่าวจะต้องซื้อ CD Add-on มาซึ่งราคาของ PC Engine CD Add-on ในอเมริกานั้นราคาสูงมาก บางแหล่งข้อมูลบอกว่าสูงถึง 400 USD เลยทีเดียว ทำให้คนไม่ซื้อเครื่อง PC Engine
5. ความยุ่งยากในการใช้ Add-on ในการเล่นเกมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ PC Engine ไม่ได้รับความนิยมเช่นกันเพราะต้องคอยสลับใช้ Add-on ให้ถูกต้องในการเล่นเกมแต่ละเกม เช่น
บางเกมเป็นเกม CD ต้องมี CD Add-on ถึงเล่นได้ อันนี้คือพื้นฐานทั่วไป ยังไม่มีอะไร
บางเกมต้องมี CD Add-on ควบคู่กับ Add-on แบบการ์ด ชื่อ Arcade Card Duo
บางเกมต้องมี CD Add-on ควบคู่กับ Add-on แบบการ์ด ชื่อ Arcade Card Pro (ต้องเป็น Pro ใช้ Duoไม่ได้)
ต้องมี CD Add-on ควบคู่กับ Add-on แบบการ์ด ชื่อ Super System Card (ตอนนี้มี Card Add-on สามใบแล้ว และต้องคอยสลับเมื่อเปลี่ยนเกม)
บางเกมต้องใช้ PC Engine SuperGrafx (เครื่องรุ่นปรับปรุงที่ออกมาภายหลัง) ในการเล่นเท่านั้น มี PC Engine รุ่นแรก? เสียใจด้วยคุณต้องซื้อเครื่องใหม่ถึงจะเล่นได้
จะเห็นได้ว่ามีความยุ่งยากที่ต้องมาสับเปลี่ยน Add-on เมื่อจะเปลี่ยนเกมที่เล่น
6. ไม่ใช่ 16bit ที่แท้จริง
เนื่องจาก PC Engine เป็นเครื่องเกมที่มีชิปกราฟฟิกแบบ 16 bit แต่ชิปประมวลผลกลาง (CPU) นั้นยังใช้ชิป 8 bit อยู่ทำให้ตัวเกมเพลย์ช้ากว่าเกมเดียวกันในเครื่องระบบอื่น เกมบางเกมจะมีการหน่วงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยทีเดียว
ตัวอย่างเปรียบเทียบเกมเพลย์ของเกม Street Fighter 2 ของ PC Engine(ซ้าย) และ Mega Drive(ขวา) ประมาณนาทีที่ 1:17 ตอนตัวละครกระโดดจะเห็นการหน่วงเกิดขึ้นได้ชัดเจน
https://www.youtube.com/watch?v=BjBl-I6fVdo&t=62s
ด้วยปัญหาดังกล่าวและประกอบกับช่วงนั้น SEGA ซึ่งนำโดย ทอม คาลินสกี รุกทำตลาดเครื่องเล่นเกมของ SEGA ในอเมริกาอย่างหนักทำให้ PC Engine ในอเมริกาถูกกลืนและเลือนหายไปในเวลาไม่นาน ต่อมาเมื่อ Nintendo วางจำหน่ายเครื่องเกม 16 Bit ของตน PC Engine ก็เสียที่มั่นสุดท้ายในญี่ปุ่นไป
NEC ได้พยายามจะกลับเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจเครื่องเล่นเกมอีกครั้งโดยพัฒนาเครื่องเกมเครื่องเกม 32 Bit รุ่นใหม่ของตนเองโดยใช้ชื่อว่า PC-FX วางจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม 1994 ที่ญี่ปุ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
PC-FX กลายเป็นที่รู้จักในฐานะเครื่องเกมคอนโซลที่มีเกมแนว Life simulation, Date-Sim, Visual novel จำนวนมากให้เล่น ซึ่งรวมถึงเกมเรทสำหรับผู้ใหญ่ด้วย คาดว่าเพื่อเพิ่มจำนวนเกมของ PC-FX ให้ได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นเกมแบบไหน NEC ก็ยินดีที่จะเอามาลงระบบของตนเอง แต่ถึงกระนั้นจำนวนเกมทั้งหมดของเครื่อง PC-FX ก็มีเพียง 62 เกม
โดยเกมสุดท้ายที่ลงให้กับ PC-FX คือ First Kiss Story ที่เป็นเกมแนว Visual novel วางจำหน่ายเมื่อเดือน เมษายน 1998 เฉลี่ยแล้ว PC-FX มีเกมใหม่ออกเพียงประมาณ 15 เกมต่อปีเท่านั้น
PC-FX ยุติการผลิตเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 1998 โดยทำยอดขายไปได้ทั้งหมดเพียง 4 แสนเครื่อง
จนถึงปัจจุบัน NEC ก็ไม่เคยกลับมาในตลาดเครื่องเกมคอนโซลอีกเลย
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
REF
History of Consoles: TurboGrafx 16
http://gamester81.com/history-of-consoles-turbografx-16-1989/
Fourth generation of video game consoles
https://en.wikipedia.org/wiki/Fourth_generation_of_video_game_consoles
TurboGrafx-16
https://en.wikipedia.org/wiki/TurboGrafx-16
Graphics Showdown: Turbografx vs. Mega Drive
http://itscoolfromsaturn.blogspot.com/2013/04/graphics-showdown-turbografx-vs-mega.html
บทความตามใจฉัน “PC Engine, First of 16”
PC Engine เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลเครื่อง 16 Bit เครื่องแรกที่ออกวางจำหน่ายในยุคเครื่องเกมเจนเนเรชั่นที่ 4 (ช่วงปลาย 80s ถึงต้น 90s) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง NEC กับ Hudson Soft ที่เป็นบริษัทลูกของ Konami โดย NEC จะเป็นผู้ผลิต Hardware และทำการตลาด ส่วน Hudson รับหน้าที่ออกแบบ Hardware และผลิต Software เกม
PC Engine วางจำหน่ายครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม 1987 โดยขายหลังจากที่ Sega Mega Drive วางตลาดเพียง 2 สัปดาห์และประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่วนหนึ่งของความสำเร็จผู้เขียนคาดว่ามาจากขนาดของเครื่องและสื่อบรรจุข้อมูลเกมที่เล็กกระทัดรัด จัดเก็บได้สะดวก เหมาะกับประเทศที่อาคารบ้านเรือนมีพื้นที่ใช้สอยน้อยอย่างญี่ปุ่น
ปัจจัยความสำเร็จของ PC Engine ในญี่ปุ่นนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
1. การแสดงผลกราฟฟิกที่ถูกใจคนเล่นมากกว่า โดยภาพที่ PC Engine ให้นั้นมีจุดเด่นที่สีสันสดสวยและสว่างกว่าภาพที่ Mega Drive ทำได้ในเกมเดียวกัน
ในรูปคือเกม Altered Beast ฝั่งซ้ายคือ PC Engine Ver ขวาคือ Mega Drive Ver
ภาพเปรียบเทียบระหว่างเกมต่าง ๆ ในเวอร์ชั่นของ PC Engine กับ Mega Drive ดูได้ที่
http://itscoolfromsaturn.blogspot.com/2013/04/graphics-showdown-turbografx-vs-mega.html
2. ระบบเสียงที่สร้างเสียงได้ถูกใจผู้เล่นมากกว่า ผู้เขียนได้ลองฟังตัวอย่างเพลงประกอบของเกม Street Fighter 2 ฉากริวของทั้งสองระบบแล้วก็เห็นว่าเพลงของเวอร์ชั่น PC Engine นั้นใกล้เคียงกับเพลงต้นฉบับเวอร์ชั่นเกมอาเขตมากกว่าเวอร์ชั่นของ Mega Drive ที่เสียงออกมาค่อนข้างเป็น Electronic มากเกินไป
เพลงประกอบ Street Fighter 2 ฉากของริว PC Engine Ver
https://www.youtube.com/watch?v=_crIMkoI7rk
เพลงประกอบ Street Fighter 2 ฉากของริว Mega Drive Ver
https://www.youtube.com/watch?v=1Cgsyy2GhK0
เพลงประกอบ Street Fighter 2 ฉากของริว อาเขต Ver
https://www.youtube.com/watch?v=LQw-a8sApLQ&list=PLE2E559466D613EE2&index=2
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากที่ญี่ปุ่น NEC และ Hadson Soft ก็ “ย้อมแมว” PC Engine ในชื่อ TurboGrafx-16 เพื่อบุกตลาดในต่างประเทศโดยเริ่มที่อเมริกาก่อนเป็นแห่งแรก ที่ใช้คำว่า “ย้อมแมว” ก็เพราะนอกจากตัวเครื่องที่ใหญ่ขึ้นแล้วฟังชั่นหรือประสิทธิ์ภาพของเครื่องไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขใด ๆ เลย
เดือนสิงหาคม ปี 1989 NEC ได้วางจำหน่าย TurboGrafx-16 ที่อเมริกาและประสบความล้มเหลว โดยสาเหตุมาจากหลาย ๆ ปัจจัย ดังนี้
1. แนวทางการตลาดที่ไม่เหมาะสม
ในญี่ปุ่นนั้น NEC ใช้กลยุทธการตลาดโดยโหมโฆษณาในเมืองใหญ่ ๆ และประสบความสำเร็จจึงนำกลยุทธ์เดียวกันมาใช้ในตลาดที่อเมริกาโดยเริ่มที่เมือง New York และ LA ซึ่งกลับไม่ได้ผล คาดว่าชื่อเสียงของ NEC และ Hudson Soft นั้นแทบไม่เป็นที่รู้จักในอเมริกาเลยทำให้ร้านค้าปลีกไม่กล้านำสินค้ามาวางจำหน่ายเพราะกลัวขายไม่ออก ซึ่งต่างกับ SEGA ที่เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้วจากธุรกิจตู้เกมอาเขตหรือ Nintendo ที่ในช่วงทำตลาดเครื่อง NES นั้นตกลงกับร้านค้าปลีกว่าจะลงทุนตกแต่งบูตขาย NES ที่ร้านให้และรับซื้อเครื่องคืนราคาเต็มถ้าขายไม่ออกทำให้ร้านค้าปลีกกล้าเอาสินค้ามาลง
ผลคือผู้ที่สนใจซื้อ TurboGrafx-16 ไม่สามารถหาซื้อได้จนหันไปซื้อเครื่องของคู่แข่งที่หาซื้อได้ง่ายกว่าแทน
2. มีจอยให้จอยเดียว
ตัวเครื่องนั้นมีจอยมาให้เพียงอันเดียว หากผู้เล่นต้องการจะเล่นเกมที่เล่นได้พร้อมกันสองคนหรือมากกว่า ผู้เล่นจะต้องจ่ายเพิ่มเพื่อซื้อจอยและตัวต่อขยายมาใช้ ซึ่งขัดกับวัฒนธรรมการเล่นเกมสมัยนั้นที่มักจะเล่นกันกับเพื่อน ๆ ไม่ใช่เล่นคนเดียว
3. ขาดเกมที่เป็นตัวแทนของเครื่อง
เนื่องจากนโยบายของ Hudson Soft ที่จะทำเกมลงเครื่องเกมคอนโซลเจ้าอื่น ๆ ด้วยนั้น ทำให้ PC Engine ไม่มี Exclusive เกมจนผู้เล่นตัดสินใจไปซื้อเครื่องเล่นเกมเครื่องอื่นเพราะเกมที่อยากเล่นก็ลงในเครื่องนั้นเหมือนกัน
“ผู้เล่นซื้อเครื่องเพราะเกม ไม่ใช่ซื้อเกมเพราะเครื่อง”
อีกทั้งยังขาดเกมจากผู้พัฒนา Third Party อีกด้วยจนทำให้จำนวนเกมมีน้อยกว่าคู่แข่ง
อันที่จริงจำนวนเกม PC-Engine จากผู้พัฒนา Third Party นั้นมีจำนวนไม่น้อยแต่เกมเหล่านั้นเป็นเกมที่วางจำหน่ายเฉพาะในโซนของญี่ปุ่น ไม่ทราบว่ามีปัญหาอะไรอย่างไรจึงแทบจะไม่มีการนำเกมเหล่านั้นมาแปลและจำหน่ายที่อเมริกา
4. ขีดจำกัดของ Hucard
เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่เก็บได้บน HuCard สื่อเกมข้อมูลเกมสำหรับ PC Engine นั้นน้อยกว่าแบบตลับที่คู่แข่งใช้ จึงทำให้รายละเอียดของตัวเกมจึงต้องถูกลดทอนลงไป เกมที่ไม่สามารถลดทอนได้ก็จะทำเกมในเวอร์ชั่น CD แทน ทำให้ผู้เล่นหากต้องการเล่นเกมดังกล่าวจะต้องซื้อ CD Add-on มาซึ่งราคาของ PC Engine CD Add-on ในอเมริกานั้นราคาสูงมาก บางแหล่งข้อมูลบอกว่าสูงถึง 400 USD เลยทีเดียว ทำให้คนไม่ซื้อเครื่อง PC Engine
5. ความยุ่งยากในการใช้ Add-on ในการเล่นเกมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ PC Engine ไม่ได้รับความนิยมเช่นกันเพราะต้องคอยสลับใช้ Add-on ให้ถูกต้องในการเล่นเกมแต่ละเกม เช่น
บางเกมเป็นเกม CD ต้องมี CD Add-on ถึงเล่นได้ อันนี้คือพื้นฐานทั่วไป ยังไม่มีอะไร
บางเกมต้องมี CD Add-on ควบคู่กับ Add-on แบบการ์ด ชื่อ Arcade Card Duo
บางเกมต้องมี CD Add-on ควบคู่กับ Add-on แบบการ์ด ชื่อ Arcade Card Pro (ต้องเป็น Pro ใช้ Duoไม่ได้)
ต้องมี CD Add-on ควบคู่กับ Add-on แบบการ์ด ชื่อ Super System Card (ตอนนี้มี Card Add-on สามใบแล้ว และต้องคอยสลับเมื่อเปลี่ยนเกม)
บางเกมต้องใช้ PC Engine SuperGrafx (เครื่องรุ่นปรับปรุงที่ออกมาภายหลัง) ในการเล่นเท่านั้น มี PC Engine รุ่นแรก? เสียใจด้วยคุณต้องซื้อเครื่องใหม่ถึงจะเล่นได้
จะเห็นได้ว่ามีความยุ่งยากที่ต้องมาสับเปลี่ยน Add-on เมื่อจะเปลี่ยนเกมที่เล่น
6. ไม่ใช่ 16bit ที่แท้จริง
เนื่องจาก PC Engine เป็นเครื่องเกมที่มีชิปกราฟฟิกแบบ 16 bit แต่ชิปประมวลผลกลาง (CPU) นั้นยังใช้ชิป 8 bit อยู่ทำให้ตัวเกมเพลย์ช้ากว่าเกมเดียวกันในเครื่องระบบอื่น เกมบางเกมจะมีการหน่วงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยทีเดียว
ตัวอย่างเปรียบเทียบเกมเพลย์ของเกม Street Fighter 2 ของ PC Engine(ซ้าย) และ Mega Drive(ขวา) ประมาณนาทีที่ 1:17 ตอนตัวละครกระโดดจะเห็นการหน่วงเกิดขึ้นได้ชัดเจน
https://www.youtube.com/watch?v=BjBl-I6fVdo&t=62s
ด้วยปัญหาดังกล่าวและประกอบกับช่วงนั้น SEGA ซึ่งนำโดย ทอม คาลินสกี รุกทำตลาดเครื่องเล่นเกมของ SEGA ในอเมริกาอย่างหนักทำให้ PC Engine ในอเมริกาถูกกลืนและเลือนหายไปในเวลาไม่นาน ต่อมาเมื่อ Nintendo วางจำหน่ายเครื่องเกม 16 Bit ของตน PC Engine ก็เสียที่มั่นสุดท้ายในญี่ปุ่นไป
NEC ได้พยายามจะกลับเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจเครื่องเล่นเกมอีกครั้งโดยพัฒนาเครื่องเกมเครื่องเกม 32 Bit รุ่นใหม่ของตนเองโดยใช้ชื่อว่า PC-FX วางจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม 1994 ที่ญี่ปุ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
PC-FX กลายเป็นที่รู้จักในฐานะเครื่องเกมคอนโซลที่มีเกมแนว Life simulation, Date-Sim, Visual novel จำนวนมากให้เล่น ซึ่งรวมถึงเกมเรทสำหรับผู้ใหญ่ด้วย คาดว่าเพื่อเพิ่มจำนวนเกมของ PC-FX ให้ได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นเกมแบบไหน NEC ก็ยินดีที่จะเอามาลงระบบของตนเอง แต่ถึงกระนั้นจำนวนเกมทั้งหมดของเครื่อง PC-FX ก็มีเพียง 62 เกม
โดยเกมสุดท้ายที่ลงให้กับ PC-FX คือ First Kiss Story ที่เป็นเกมแนว Visual novel วางจำหน่ายเมื่อเดือน เมษายน 1998 เฉลี่ยแล้ว PC-FX มีเกมใหม่ออกเพียงประมาณ 15 เกมต่อปีเท่านั้น
PC-FX ยุติการผลิตเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 1998 โดยทำยอดขายไปได้ทั้งหมดเพียง 4 แสนเครื่อง
จนถึงปัจจุบัน NEC ก็ไม่เคยกลับมาในตลาดเครื่องเกมคอนโซลอีกเลย
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
REF
History of Consoles: TurboGrafx 16
http://gamester81.com/history-of-consoles-turbografx-16-1989/
Fourth generation of video game consoles
https://en.wikipedia.org/wiki/Fourth_generation_of_video_game_consoles
TurboGrafx-16
https://en.wikipedia.org/wiki/TurboGrafx-16
Graphics Showdown: Turbografx vs. Mega Drive
http://itscoolfromsaturn.blogspot.com/2013/04/graphics-showdown-turbografx-vs-mega.html