U Drink I Drive กับข้อพิพาทที่เหล่า Start Up ควรศึกษา


ถ้าจำไม่ผิดเมื่อประมาณ 3-4 ปี ที่แล้ว แอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า U Drink I Drive (ยูดริ้งค์ไอไดร์ฟ) ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายกันมากยิ่งขึ้น เพราะการให้บริการที่อยู่ภายใต้คอนเซปเรียกคนอื่นมาขับรถแทนเราเวลาที่เราไปสังสรรค์ปาร์ตี้จนทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง คอนเซปเปิดตัวว้าวมาก เพราะนอกจากมันจะทำให้ผู้ใช้บริการได้สนุกสนานอย่างเต็มที่แล้ว ก็ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุด้วย 
แต่ตอนนี้ยูดริ้งค์ฯ กลับเป็นข่าวอีกครั้งหลังจากที่หุ้นส่วนทั้ง 3 คน มีข้อพิพาทกันนำไปสู่การฟ้องร้อง ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ Start Up จึงอยากจะนำเรื่องราวมาเพื่อมาร่วมสังเกตการณ์ไปพร้อมๆ กันค่ะ
เริ่มจาก คุณสิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์” หรือ “สิ” ผู้ก่อตั้ง ผู้คิดริเริ่มและถือหุ้นกว่า 40% ส่วนอีก 2 รายนั้นที่ถือ 30% คือ   คุณจิรายุ พิริยะเมธา” และ คุณอภินารา ศรีกาญจนา” หรือ “ปรางค์”  ทั้ง 3 คนเป็นเพื่อนกัน ปัญหาอยู่ตรงที่ คุณจิรายุ กับคุณอภินาราเนี่ย จะทำการขายบริษัทยูดริ้งค์ฯ ในราคาเพียง 3 ล้าน โดยในข่าวบอกว่ามูลค่าของมันมีมากถึง 100 ล้านบาท 
เมื่อมีการขายในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การฟ้องร้องก็เลยเกิดขึ้น โดย คุณสิรโสมย์ เป็นคนฟ้องเพื่อนอีก 2 คน ในข้อหารวมหัวกันพยายามขาย “สินทรัพย์หลัก” ของบริษัทออกในราคาที่ถูกเกินจริง (3 ล้านบาท) 
ซึ่งการฟ้องร้องครั้งนี้  ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราว… ห้ามมิให้มีการ จ่ายหรือโอน ทรัพย์สิน และห้ามจดทะเบียนโอน ขาย ยักย้ายจําหน่ายเครื่องหมายการค้า “ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์” 

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

 เรื่องราวก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาก เป็นการฟ้องร้องหุ้นส่วนที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ถ้าเรื่องมันเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็คงจะไม่น่าติดตามอะไร จนกระทั่งมีการเพิกถอนคำสั่งคุ้มครอง และพบความผิดปกติในทางบัญชี
ล่าสุด มื่อวันที่ 22 ก.ย. แหล่งข่าวทางบริษัทยูดริ้งค์ฯ แจ้งว่าได้มอบหมายให้ทนายนำหลักฐานความเป็นจริงทั้งหมดไปดำเนินการยื่นคำร้อง เพิกถอน คำสั่ง ในวันเดียวกัน ศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในทันที เนื่องจากคำเบิกความที่ น.ส.สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ได้ยื่นให้ศาล อันซึ่งทำให้ได้มาซึ่งความคุ้มครองดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ และคุณสิรโสมย์ ก็ถูกฟ้องในคดีอาญา ฐานเบิกความเท็จต่อศาลด้วย
และทางบริษัท ยูดริ้งค์ฯ ได้มีการชี้แจงประเด็นที่คุณสิรโสมย์ เคยออกมาให้ข่าว ในประเด็นการขายบริษัทยูดริ้งค์ฯ  ในราคา 3 ล้าน โดยเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน กันยายน ปี 61 จนมาถึงเดือน มิถุนายน ปี 62 ทางยูดริ้งค์ฯ  จึงได้แจกแจงประเด็นได้กระจ่างมากกว่าตอนที่คุณสิรโสมย์ออกมาให้ข่าวในครั้งแรก (รายละเอียดแนะนำให้ไปอ่านลิ้งค์ข่าวจากเว็บเดลินิวส์ นะคะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เนื่องจากมีความยาวมาก จะขอเล่าสรุปแบบกระชับที่สุดเท่าที่จะทำได้ว่า 
• ทางยูดริ้งค์ฯ ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการหานักลงทุนมาลงทุน แต่ก็ไม่มีใครเข้ามาเพราะงบบัญชีของทางบริษัทไม่ถูกต้อง 
• และในขณะที่บริษัทกำลังมีปัญหา คุณสิรโสมย์ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง CEO โดยขอเป็นแค่ผุ้ถือหุ้นและคณะกรรมการเท่านั้น บริษัทยูดริ้งค์ฯ จึงอยู่ภายใต้การบริหารงานของหุ้นส่วนอีก 2 คนแทน 
• โดยระหว่างนั้นก็ได้มีการระดมเงินทุนเพิ่มไปถึง 2 ครั้ง จากหุ้นส่วน ครั้งแรก 300,000 บาท และครั้งที่สอง 700,000 บาท 
• แล้วทางคุณพ่อของอภินาราในฐานะผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายได้แนะให้ลองหารือกับบริษัท เอเชียพลัส แอสซิสแทนท์ จำกัด คู่ค้าของบริษัท เอเชียประกันภัย ให้มาร่วมลงทุน โดยอาศัยความน่าเชื่อถือของคุณพ่อ เพราะถ้าดูจากบัญชี นักลงทุนทั่วไปคงไม่กล้าลงทุน
• จากนั้นก็ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีวาระพิจารณางบดุลปี 2561 ซึ่งคุณสิรโสมย์) ในฐานะ CEO & CFO ไม่ยอมเซ็นต์รับรองงบดุลที่ตนเองเป็นคนทำไว้ตั้งแต่ก่อนที่ น.ส.อภินารา และนายจิรายุจะขึ้นมาดูแลแทน 
• ในการประชุมครั้งนี้คุณอภินารานำข้อเสนอบริษัทเอเชียพลัสฯ ซึ่งดีลคือ ตีมูลค่าบริษัทที่ 20 ล้านบาท จ่ายก่อน 3 ล้านบาทที่เหลือจะจ่ายตาม KPI 
• แต่คุณสิรโสมย์ บอกว่าข้อเสนอจากเอเชียพลัสยังไม่ดีพอ และตนเองมีข้อเสนอที่ดีกว่า ทางน.ส.อภินารา จึงบอกว่า ให้นำข้อเสนอดังกล่าว มาเป็นเอกสารที่ถูกต้อง และ หากเราตกลงจะได้เซ็นกลับไปให้ได้เลย 
• ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2562 วาระ: อนุมัติงบดุล และเซ็นต์รับรองงบดุลโดย น.ส.อภินารา และนายจิรายุ เพราะไม่เช่นนั้นบริษัทฯ จะโดนปรับเป็นงบดุลปี 2561 
• แล้วคุณสิรโสมย์ก็ไม่มีข้อเสนอที่ดีกว่าเอเชียพลัส  มาเสนอที่ประชุม
• ต่อมาคุณสิรโสมย์ขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งเพื่อ พิจารณาวาระเดิมเรื่องข้อเสนอขายให้บริษัทเอเชียพลัสฯ และขอให้พิจารณาโอนหุ้นให้พี่สาวของตนครึ่งหนึ่ง ซึ่งแจ้งว่าได้ดำเนินการโอนเรียบร้อยแล้ว 
• ความเห็นของเลขานุการที่ประชุมแจ้งกับคุณสิรโสมย์ว่า ถ้าอยากทำก็ไม่มีสิทธิห้าม แต่ไม่น่าจะถูกต้องกับข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 5 “บริษัทจะถือหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของบริษัทเองไม่ได้ และหากผู้ถือหุ้นต้องการขายหุ้น จะต้องประกาศขายให้กับบุคลลภายในก่อน และหากบุคคลภายในไม่ซื้อ จึงจะขายให้บุคคลภายนอกได้ และจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมเสียงข้างมากก่อน” แต่ถ้า ยืนยันจะทำ ก็ให้ไปทำและให้นำเอกสารมาให้เรียบร้อย เพื่อเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
• ในวันที่ 31 พ.ค. 62 คุณสิรโสมย์ ยื่นขอคำสั่งศาลห้ามชั่วคราวในการขายให้บริษัทเอเชียพลัสฯ ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อ 7 พ.ค.62 แต่ศาลยกคำร้อง 
• ทางบริษัทยูดริ้งฯ ได้มีการติดตามบัญชีงบดุล ในสมัยที่คุณสิรโสมย์เป็น CEO 
• พบเห็นความพิรุธ ในเส้นทางการเงิน เพื่อจะตรวจสอบ ในประเด็นหลัก คือ 
• 1. เงินหายไปไหน จนบริษัทขาดทุนและขาดสภาพคล่องอย่างมาก ทั้งที่ตามที่ น.ส.สิรโสมย์ กลับแจ้งเองต่อสรรพากรเองว่าบริษัทมีรายได้มากมาย2. เงินหายไปได้อย่างไร 3. จำนวนเงินเบื้องต้นเท่าไร ที่หายออกไปและหากพบว่ามีการทุจริต ฉ้อฉล ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่นาน จะดำเนินคดีอย่างถึงที่สุดให้แก่ผู้กระทำผิด 

เรื่องราวของ Start Up ที่ดูน่าสนใจในครั้งนี้จะจบเช่นไรเราก็ต้องคอยติดตามกันต่อไป และในการที่เราเอามาเขียนเป็นกระทู้ครั้งนี้เพื่ออยากให้เป็นกรณีศึกษาสำหรับการทำธุรกิจให้แก่ Start Up ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อนหรือใคร เมื่อร่วมธุรกิจกันแล้วควรที่จะมีระบบที่ตรวจสอบได้ คานอำนาจซึ่งกันและกัน  และหวังว่าเรื่องนี้จะจบด้วยดี เราเสียดายที่ธุรกิจคอนเซปดีดีแบบนี้ต้องหายไปจากตลาด และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ยูดริ้งไอไดร์ฟ จะกลับมาแข็งแรง เป็นที่นิยมเหมือนอย่างพวกแกร้ป และไลน์แมนนะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่