ที่นี่สถานีกรุงเทพ Bangkok Station on film.

กระทู้นี้เป็นกระทู้ภาพถ่ายสถานีรถไฟกรุงเทพผ่านกล้องฟิล์ม ที่ต้องการแสดงความสามารถของการให้ภาพของฟิล์มในสภาพที่แย่ที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยเลือกใช้กล้องฟิล์มราคาถูกอย่าง Canon EOS 500n กับเลนส์ราคาถูก Canon Zoom Lens EF 28-80mm F/3.5-5.6 IV
ใช้ฟิล์ม Kodak ROYAL GOLD 200 หมดอายุปี 2004 ในสภาพแสงน้อยมากในวันจันทร์ที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา
โดยเนื้อหาประกอบภาพจะเป็นการบอกเหล่าเกี่ยวกับสถานีรถไฟกรุงเทพ


ที่นี่สถานีกรุงเทพ ที่นีหลายคนมักจะเรียกผิดเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งสถานีหัวลำโพงเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
ซึ่งแต่เดิมสถานีรถไฟหัวลำโพงและรางรถไฟจากสถานีหัวลำโพงตั้งอยู่บริเวณริมคลองหัวลำโพงหรือบริเวณจุดที่ผมยืนยาวไปตลอดเส้นถนนพระราม4 โดยวงเวียนน้ำพุเป็นของสถานีกรุงเทพ
โดยสถานีกรุงเทพถูกเปิดใช้งานในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459 เปิดใช้งานหลังจากสถานีหัวลำโพง 23ปี
ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพงถูกเปิดใช้งานในวันที่ 11เมษายน พ.ศ.2436 และเป็นสถานีรถไฟฟ้าแห่งแรกของไทยในปี 2492
โดยเปิดให้บริการรถไฟฟ้าพร้อมกับรถไฟฟ้าในโตเกียว ก่อนที่จะมีคำสั่งให้ยกเลิกและรื้อทางรถไฟสายนี้ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อสร้างเป็นถนนพระราม4 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2503


ป้ายสถานีรถไฟกรุงเทพภายในสถานีไฟกรุงเทพ บริเวณชานชลาที่5


ภายในโดมสถานีรถไฟกรุงเทพโดยจะเห็นสถานีเดิมตั้งแต่สถานีรถไฟกรุงเทพเดิมก่อนทำเป็นโดมแบบในปัจจุบัน อยู่ทางด้านขวา
และเบื้องหน้าเป็นจุดแสดงภาพวาดรณรงค์การโดยสารรถไฟอย่างปลอดภัย
รวมถึงภาพถ่ายสถานีรถไฟหัวลำโพงและภาพถ่ายทางอากาศแสดงถึงจุดที่ตั้งของสถานีรถไฟหัวลำโพงและสถานีรถไฟกรุงเทพ


ขบวนรถไฟใหม่ ที่หลายคนเข้าใจว่ารถไฟขบวนนี้เป็นขบวนรถโดยสารที่ดีที่สุดแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่เลย
ยังมีขบวนรถไฟ eastern&oriental express ของบริษัท belmond และการรถไฟไทยอีกด้วย แต่ราคาก็ใช่เล่นเช่นกัน
ความสะอาด ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ก็เป็นไปตามราคา


รถจักร GE (General electric)
รถจักรดีเซลไฟฟ้าที่เก่าที่สุดที่วิ่งเข้าสถานีรถไฟกรุงเทพ
มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเป็นระบบไฟฟ้าและมีเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องปั่นไฟ
เป็นรถจักรไฟฟ้าที่นำเข้าจากประเทศสหรัฐ ผลิตโดย บริษัท เจเนอรัล อิเลคทริค
โดยหัวรถจักรหมายเลข 4010 เป็นหนึ่งในหัวรถจักร GE ที่วิ่งเองเข้าสู่สถานีรถไฟกรุงเทพโดยไม่มีพนักงานขับรถแต่อย่างใด
ซึ่งกรณีแบบนี้ก็เคยเกิดกับรถไฟในสหรัฐอเมริกาเช่นกันและเป็นรถจักรยี่ห้อเดียวกันจากบริษัทผู้ผลิตเดียวกัน แต่คนละรุ่น


ปิดท้ายด้วยภาพตั๋วรถไฟรุ่นเก่าที่ถูกแทนที่ด้วยตั๋วรถไฟแบบกระดาษบางพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่