เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาว(ฮินะ)ผู้มีพลังวิเศษที่จะขอพรให้ท้องฟ้าแจ่มใสได้ในวันที่ฝนตก
กับหนุ่มบ้านนอก(โฮดากะ)ที่เสี่ยงดวงเข้าเมืองเพื่อตามหาชีวิตที่ดีกว่า
แต่ก็พบว่าสังคมเมืองมันไม่ง่ายอย่างที่คิด
เป็นผลงานล่าสุดถัดจาก Your Name ที่ทำให้ อ.ชินไค โด่งดังในวงกว้างอย่างเต็มตัว
พล๊อตเรื่องโดยรวมยังคงอยู่กับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์/ลี้ลับ ชนบท/เมือง คู่พระคู่นาง เช่นเดียวกับ Your Name
จากข้อมูลขั้นต้น
ผลงานกำกับ อ.ชินไค
เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยมจากวง RADWIMPS เจ้าเดิม
และ งานภาพที่พัฒนาขึ้นไปอีกระดับ
เรามีความคาดหวังว่าเรื่องนี้จะต้องดียิ่งขึ้นไปกว่า YN แน่นอน
ชินไคเดิม
ในผลงานก่อนๆของ อ. เราจะพบการนำเสนอในรูปแบบ
ให้ผู้ชมอยู่กับตัวละคร และ รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร มาเรื่อยๆตลอดเรื่อง
ทำให้ผู้ชมเห็นตัวตนของตัวละครแต่ละตัวอย่างชัดเจน และเป็นการสร้างความผูกพันต่อผู้ชม
จนเมื่อถึงจุดสำคัญของเรื่อง การตัดสินใจของตัวละครจึงทรงพลังมาก (...มากจนปวดไปถึงตับ)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน YN
ที่ อ. ให้เราซึมซับรับรู้ กิจกรรมประจำวัน ความรู้สึกนึกคิดของ ทะคิและมิซึฮะ
จนเราหลงรักและเอาใจเชียร์คู่นี้อย่างเต็มที่
แต่กับ WWY เราแทบไม่รับรู้ความคิดของฮินะเลย
อ. เลือกจะให้เรารับรู้ผ่านเหตุการณ์ และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ ของฮินะมาตลอดเรื่อง
เป็นไปได้ที่ อ. พยายามไม่เฉลยปมนางเอกเพื่อเก็บไว้เฉลยทีหลัง
เหมือนใน Garden Of Words ที่ อ. จะซ่อนว่า ผู้หญิงลึกลับที่เจอในศาลา เป็นใคร?
ก่อนที่จะเฉลยทุกอย่าง รวมถึงความคิดในใจของทั้งคู่ ตอนจบ ซึ่งสร้าง impact ได้มาก
แต่เพราะเรื่อง WWY เรื่องราวซับซ้อนขึ้น ตัวละครเยอะขึ้น
ฮินะ จึงมีบทที่น้อย จนกลายเป็นไม่ได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ชม?
ถ้า อ. ใส่รายละเอียดของความคิดเข้าไป
อย่างการให้แฮมเบอเกอร์พระเอก
หรือ ความกดดันต่อการแบกรับพลัง/ราคาที่ต้องจ่าย
เช่นให้เริ่มเห็นอาการเล็กน้อยก่อน แต่ก็ยังตัดสินใจใช้พลังต่อเพื่อผู้คน
ถ้าใส่เข้ามา
ผู้ชมจะถูกดึงให้รู้สึกว่า
คนแบบนางเอกนี่แหละที่จะทำให้โลกน่าอยู่จริงๆ ไม่ใช่ท้องฟ้าที่แจ่มใส หรือเมืองที่สวยงาม
และการเลือก
"ให้นางเอกกลับมา โดยไม่ต้องสนใจโลกมันจะเป็นยังไงหรอก" จะสมเหตุสมผลและมีพลังกว่านี้มาก
แต่ อ. เลือกจะนำเสนอ
ให้ ฮินะ เก็บซ่อนอาการโปร่งแสงต่อผู้ชม (ถ้าการที่เธอชอบมองดวงอาทิตย์ผ่านมือคือความนัยที่ อ. วางไว้)
หรือ อาจจะไม่ปรากฎอาการมาตลอดจนแม้แต่ฮินะเองก็ไม่รู้ จนถึงเวลาผีลักซ่อนทีเดียว (น่าจะเป็นแบบนี้มากกว่า)
ทำให้ "การสร้างความผูกพันต่อผู้ชมต่อฮินะ" มันไม่มี/มีไม่ถึง
ผลก็คือมันไม่ impact อย่างที่ควร
อ. อาศัยแค่ impact จากฟากมุมมองของ โฮดากะ ฝั่งเดียว
โดยคนดูยังไม่ได้อินกับคาแรกเตอร์ของฮินะมากพอ
เราคนดูจึงรู้สึกแค่ว่า ฮินะ เป็น "คนดี" ที่ "น่าช่วยเหลือ"
แต่เรายังไม่ได้ "รัก" ฮินะ แบบที่ โฮดากะ รัก
หรือ รัก ฮินะ/โฮดากะ แบบ ทะคิ/มิซึฮะ
ซึ่งมันจะช่วยเสริมให้คนดูเอาใจช่วยให้โฮดากะไปช่วยฮินะได้อย่างมีพลังมากกว่านี้ อย่างที่ YN เคยทำ
หลายคนเมื่อเดินออกจากโรง จึงรู้สึกผิดหวัง ที่บทไม่ทรงพลังอย่างที่ควร
เหมือนมีความรู้สึกไม่สุด "รีบ/ไม่ชัดเจน" แฝงอยู่ในบทมากมายอย่างอธิบายไม่ถูก
ทั้งๆที่วัตถุดิบ ไอเดีย โปรดักชั่น ไม่ได้ด้อยไปกว่า YN เลย
อ.พลาด? มือตก? ไม่มีเวลาเกลาบท เพราะทำต่อจาก YN ทันที?
... หรือ ... จริงๆแล้ว อ. ไม่ได้พลาด?
แต่ อ. ไม่คิดจะให้เราประทับใจกับ ตัวละคร อย่างที่เคยเป็นใน YN แต่แรกแล้ว!!!
จุดที่น่าสังเกต คือ บทของสุกะ
มีสัดส่วนที่เยอะมากเมื่อเทียบกับคนอื่น
เป็นความจำเป็นเพื่อปูพื้นในการตัดสินใจของสุกะในตอนท้าย?
หรือ มีเหตุผลอะไรอื่นอีก?
การก้าวข้ามแนว Pop สู่ เนื้อหาที่ลึกขึ้น
ถ้าเราวางความคาดหวังแบบ YN ลง
มองถอยห่างออกมา
เราจะเริ่มเห็นสัญลักษณ์อย่าง
- ท้องฟ้าแจ่มใส = ความสุข
- ฝนตก = ความทุกข์ลำบาก
แล้วเราจะเริ่มเห็นว่า WWY กำลังเล่นกับประเด็น
"ความสุขและราคาที่ต้องจ่าย"
- เราคิดยังไง ถ้าเราสร้างความสุข(หยุดฝน)ได้ แล้วคนที่จ่ายเป็นคนอื่น? (น้ำฝนก็รวมตัวกันไปหล่นใส่ที่อื่น/คนอื่น)
-จะดีขนาดไหน
ถ้าเราสามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่น โดยคนอื่นก็ไม่ต้องจ่ายอะไรมากมาย และเราก็ไม่ได้เสียอะไร?
- เรารับได้มั๊ย ถ้าความสุขนั้น กลับเรียกค่าตอบแทนอย่างสาหัสเกินกว่าที่จะคิดไว้แต่แรก?
- เราจะยอมมั๊ย ที่จะให้คนๆนึงต้องแบกรับ ราคาที่สาหัส ให้ต้องจ่ายไปคนเดียว
เพื่อให้คนอื่นนับล้านได้มีความสุข?
ถ้าคนนั้นเป็นแค่คนรู้จัก?
ถ้าคนนั้นเป็นคนที่เรารัก?
การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เท่าเทียมกันยังไงละ ... เดี๋ยวก่อนนะ!! ผิดเรื่องแระ
จะเห็นว่า อ. ใส่ประเด็นที่ก้าวข้ามการดึงอารมณ์ร่วม
ให้ความประทับใจ ตัวละคร/เหตุการณ์ในเรื่อง
จากนั้นก็จบไป ตามสูตรสำเร็จ แนว Pop ที่เคยทำมา
มาใส่ประเด็นที่หนักขึ้นกว่าเดิม ให้ผู้ชมได้เกิดคำถามให้ขบคิดมากขึ้น
Coming of age และสังคมการทำงาน
ประเด็นใหญ่อีกประเด็นก็คือ
เด็กที่ต้องเริ่มเผชิญชีวิตในโลก และการทำงานเพื่อแลกปัจจัยชีพเพื่อดำรงอยู่ในสังคม
เราอาจได้เคยพบกับเรื่องราวของเด็กที่ต้องเผชิญกับโลก และการทำงานที่โหดร้าย มาแล้ว
ใน Spirited Away ของ อ.มิยาซากิ
ในเรื่องนั้น เราได้เจอกับแม่มด ที่เอาเปรียบคนทั้งเมืองเพื่อลูกตัวเอง
ด้วยการให้เซ็นสัญญาการทำงานเพื่อให้ได้ปัจจัยดำรงชีพ
โดยแลกกับ "การรู้จักตัวตน" ของคนที่เซ็นเอง จนทุกคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร
รู้แต่ว่าต้องทำงานอยู่ในระบบ และหาทางที่ตนจะมีกินมีใช้และร่ำรวยขึ้น
และอาจต้องยอมกระทั่งถูกบังคับให้ไปทำในสิ่งที่ผิด
เป็นการเสียดสี สังคมทำงานบริโภคนิยมที่เฟื่องฟูในยุค '90 อย่างถึงแก่น
และนำเสนอความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มพบเจอในยุคนั้น ด้วย
WWY ก็นำเสนอถึงประเด็นเดียวกันนี้
แต่ปัญหาการเผชิญโลกของตัวเอกทั้ง 2 ดูจะสาหัสกว่ามาก
โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในสังคมที่หาประโยชน์จากเด็กทั้ง 2 อย่างไม่ใยดี
(นายหน้า ที่เสนองานในสังคมมืดให้ฮินะ
สุกะ ที่ทำทุกอย่างเพื่อจะได้พบกับลูก
แล้วจ้าง โฮดากะ มาทำงานแบบกดค่าแรง)
จิตสำนึกคนเมือง อยู่กับการแค่การ "ทำเพื่อตัวเองก่อน" เป็นเรื่องปกติอย่างที่สุกะพูด
และสิ่งที่ทำให้กังวลต่อการกระทำตัวเองได้คือ ตำรวจและกฎหมาย เท่านั้น
ในโลกของ SA นั้น ผู้ใหญ่ในเมือง
ถึงจะง่วนอยู่กับงานจนไม่ค่อยสนใจคนอื่น แต่ยังมีความเป็นมิตรกว่ามาก
เมื่อเอาประเด็น Coming of age และสังคมการทำงาน
มารวมกับ ฉากต่างๆ ที่ใส่มา
ให้ยาเพื่อต่อชีวิต = ให้แฮมเบอเกอร์
ตัวใส กำลังจะหายไป
เจ้าของกิจการที่เอาเปรียบลูกน้อง เพื่อลูกของตัวเอง
มังกร
ฉากอยู่ในน้ำ
จับมือกันบนท้องฟ้า
แท้ที่จริงแล้ว WWY นี่คือ Spirited Away ver.ชินไค นั่นเอง!!!
สรุป
จริงๆ แล้ว WWY นั้นเป็นการเปิดตัวรูปแบบ "ชินไคใหม่"
ที่ก้าวสูงขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการใส่ ปรัชญาและสัญลักษณ์ เข้าไปในผลงาน
เพื่อให้เทียบเท่ากับ อ.มิยาซากิ/Studio Ghibli
มันจึงดูให้อินและเข้าใจไม่ง่ายอย่างที่เคย
ที่เราผิดหวัง เป็นเพราะเราเองต่างหากที่คาดหวังจะให้ WWY เป็นแบบ YN
แต่ถึงกระนั้น
เราก็เห็นมุมมองที่แตกต่างของคนทั้ง 2 รุ่นอย่างมาก
อ.มิยาซากิ : เน้น มนุษย์-ธรรมชาติ
อ.ชินไค : เน้น มนุษย์-มนุษย์
อ.มิยาซากิ : จะอยู่ในโลกแฟนตาซีเป็นหลัก (World of Form)
อ.ชินไค : จะอยู่ในโลกความจริงเป็นหลัก (World of Matter)
ในมุมมองปรัชญา
นี่สามารถเทียบได้กับ พลาโต vs อริสโตเติล เลยทีเดียว
เราต้องรักษ์โลก!! ... โลกมันเพี้ยนอยู่แล้ว!!
เอาละถึงแม้ว่าความรู้สึกแรกหลังดูจบจะรู้สึกผิดหวังไปบ้าง
แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกแล้ว ก็ถือเป็นพัฒนาการที่ดีของ อ.
ถึงแม้อาจจะยังไม่ลงตัวนัก
แต่คาดว่าผลงานต่อไปของ อ. น่าจะดีกว่านี้ แน่นอน
[CR] [Review/Spoil] Weathering With You โลกนี้สดใส ขอแค่มีเธอ
เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาว(ฮินะ)ผู้มีพลังวิเศษที่จะขอพรให้ท้องฟ้าแจ่มใสได้ในวันที่ฝนตก
กับหนุ่มบ้านนอก(โฮดากะ)ที่เสี่ยงดวงเข้าเมืองเพื่อตามหาชีวิตที่ดีกว่า
แต่ก็พบว่าสังคมเมืองมันไม่ง่ายอย่างที่คิด
เป็นผลงานล่าสุดถัดจาก Your Name ที่ทำให้ อ.ชินไค โด่งดังในวงกว้างอย่างเต็มตัว
พล๊อตเรื่องโดยรวมยังคงอยู่กับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์/ลี้ลับ ชนบท/เมือง คู่พระคู่นาง เช่นเดียวกับ Your Name
จากข้อมูลขั้นต้น
ผลงานกำกับ อ.ชินไค
เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยมจากวง RADWIMPS เจ้าเดิม
และ งานภาพที่พัฒนาขึ้นไปอีกระดับ
เรามีความคาดหวังว่าเรื่องนี้จะต้องดียิ่งขึ้นไปกว่า YN แน่นอน
ชินไคเดิม
ในผลงานก่อนๆของ อ. เราจะพบการนำเสนอในรูปแบบ
ให้ผู้ชมอยู่กับตัวละคร และ รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร มาเรื่อยๆตลอดเรื่อง
ทำให้ผู้ชมเห็นตัวตนของตัวละครแต่ละตัวอย่างชัดเจน และเป็นการสร้างความผูกพันต่อผู้ชม
จนเมื่อถึงจุดสำคัญของเรื่อง การตัดสินใจของตัวละครจึงทรงพลังมาก (...มากจนปวดไปถึงตับ)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน YN
ที่ อ. ให้เราซึมซับรับรู้ กิจกรรมประจำวัน ความรู้สึกนึกคิดของ ทะคิและมิซึฮะ
จนเราหลงรักและเอาใจเชียร์คู่นี้อย่างเต็มที่
แต่กับ WWY เราแทบไม่รับรู้ความคิดของฮินะเลย
อ. เลือกจะให้เรารับรู้ผ่านเหตุการณ์ และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ ของฮินะมาตลอดเรื่อง
เป็นไปได้ที่ อ. พยายามไม่เฉลยปมนางเอกเพื่อเก็บไว้เฉลยทีหลัง
เหมือนใน Garden Of Words ที่ อ. จะซ่อนว่า ผู้หญิงลึกลับที่เจอในศาลา เป็นใคร?
ก่อนที่จะเฉลยทุกอย่าง รวมถึงความคิดในใจของทั้งคู่ ตอนจบ ซึ่งสร้าง impact ได้มาก
แต่เพราะเรื่อง WWY เรื่องราวซับซ้อนขึ้น ตัวละครเยอะขึ้น
ฮินะ จึงมีบทที่น้อย จนกลายเป็นไม่ได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ชม?
ถ้า อ. ใส่รายละเอียดของความคิดเข้าไป
อย่างการให้แฮมเบอเกอร์พระเอก
หรือ ความกดดันต่อการแบกรับพลัง/ราคาที่ต้องจ่าย
เช่นให้เริ่มเห็นอาการเล็กน้อยก่อน แต่ก็ยังตัดสินใจใช้พลังต่อเพื่อผู้คน
ถ้าใส่เข้ามา
ผู้ชมจะถูกดึงให้รู้สึกว่า คนแบบนางเอกนี่แหละที่จะทำให้โลกน่าอยู่จริงๆ ไม่ใช่ท้องฟ้าที่แจ่มใส หรือเมืองที่สวยงาม
และการเลือก "ให้นางเอกกลับมา โดยไม่ต้องสนใจโลกมันจะเป็นยังไงหรอก" จะสมเหตุสมผลและมีพลังกว่านี้มาก
แต่ อ. เลือกจะนำเสนอ
ให้ ฮินะ เก็บซ่อนอาการโปร่งแสงต่อผู้ชม (ถ้าการที่เธอชอบมองดวงอาทิตย์ผ่านมือคือความนัยที่ อ. วางไว้)
หรือ อาจจะไม่ปรากฎอาการมาตลอดจนแม้แต่ฮินะเองก็ไม่รู้ จนถึงเวลาผีลักซ่อนทีเดียว (น่าจะเป็นแบบนี้มากกว่า)
ทำให้ "การสร้างความผูกพันต่อผู้ชมต่อฮินะ" มันไม่มี/มีไม่ถึง
ผลก็คือมันไม่ impact อย่างที่ควร
อ. อาศัยแค่ impact จากฟากมุมมองของ โฮดากะ ฝั่งเดียว
โดยคนดูยังไม่ได้อินกับคาแรกเตอร์ของฮินะมากพอ
เราคนดูจึงรู้สึกแค่ว่า ฮินะ เป็น "คนดี" ที่ "น่าช่วยเหลือ"
แต่เรายังไม่ได้ "รัก" ฮินะ แบบที่ โฮดากะ รัก
หรือ รัก ฮินะ/โฮดากะ แบบ ทะคิ/มิซึฮะ
ซึ่งมันจะช่วยเสริมให้คนดูเอาใจช่วยให้โฮดากะไปช่วยฮินะได้อย่างมีพลังมากกว่านี้ อย่างที่ YN เคยทำ
หลายคนเมื่อเดินออกจากโรง จึงรู้สึกผิดหวัง ที่บทไม่ทรงพลังอย่างที่ควร
เหมือนมีความรู้สึกไม่สุด "รีบ/ไม่ชัดเจน" แฝงอยู่ในบทมากมายอย่างอธิบายไม่ถูก
ทั้งๆที่วัตถุดิบ ไอเดีย โปรดักชั่น ไม่ได้ด้อยไปกว่า YN เลย
อ.พลาด? มือตก? ไม่มีเวลาเกลาบท เพราะทำต่อจาก YN ทันที?
... หรือ ... จริงๆแล้ว อ. ไม่ได้พลาด?
แต่ อ. ไม่คิดจะให้เราประทับใจกับ ตัวละคร อย่างที่เคยเป็นใน YN แต่แรกแล้ว!!!
จุดที่น่าสังเกต คือ บทของสุกะ
มีสัดส่วนที่เยอะมากเมื่อเทียบกับคนอื่น
เป็นความจำเป็นเพื่อปูพื้นในการตัดสินใจของสุกะในตอนท้าย?
หรือ มีเหตุผลอะไรอื่นอีก?
การก้าวข้ามแนว Pop สู่ เนื้อหาที่ลึกขึ้น
ถ้าเราวางความคาดหวังแบบ YN ลง
มองถอยห่างออกมา
เราจะเริ่มเห็นสัญลักษณ์อย่าง
- ท้องฟ้าแจ่มใส = ความสุข
- ฝนตก = ความทุกข์ลำบาก
แล้วเราจะเริ่มเห็นว่า WWY กำลังเล่นกับประเด็น
"ความสุขและราคาที่ต้องจ่าย"
- เราคิดยังไง ถ้าเราสร้างความสุข(หยุดฝน)ได้ แล้วคนที่จ่ายเป็นคนอื่น? (น้ำฝนก็รวมตัวกันไปหล่นใส่ที่อื่น/คนอื่น)
-จะดีขนาดไหน
ถ้าเราสามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่น โดยคนอื่นก็ไม่ต้องจ่ายอะไรมากมาย และเราก็ไม่ได้เสียอะไร?
- เรารับได้มั๊ย ถ้าความสุขนั้น กลับเรียกค่าตอบแทนอย่างสาหัสเกินกว่าที่จะคิดไว้แต่แรก?
- เราจะยอมมั๊ย ที่จะให้คนๆนึงต้องแบกรับ ราคาที่สาหัส ให้ต้องจ่ายไปคนเดียว
เพื่อให้คนอื่นนับล้านได้มีความสุข?
ถ้าคนนั้นเป็นแค่คนรู้จัก?
ถ้าคนนั้นเป็นคนที่เรารัก?
การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เท่าเทียมกันยังไงละ ... เดี๋ยวก่อนนะ!! ผิดเรื่องแระ
จะเห็นว่า อ. ใส่ประเด็นที่ก้าวข้ามการดึงอารมณ์ร่วม
ให้ความประทับใจ ตัวละคร/เหตุการณ์ในเรื่อง
จากนั้นก็จบไป ตามสูตรสำเร็จ แนว Pop ที่เคยทำมา
มาใส่ประเด็นที่หนักขึ้นกว่าเดิม ให้ผู้ชมได้เกิดคำถามให้ขบคิดมากขึ้น
Coming of age และสังคมการทำงาน
ประเด็นใหญ่อีกประเด็นก็คือ
เด็กที่ต้องเริ่มเผชิญชีวิตในโลก และการทำงานเพื่อแลกปัจจัยชีพเพื่อดำรงอยู่ในสังคม
เราอาจได้เคยพบกับเรื่องราวของเด็กที่ต้องเผชิญกับโลก และการทำงานที่โหดร้าย มาแล้ว
ใน Spirited Away ของ อ.มิยาซากิ
ในเรื่องนั้น เราได้เจอกับแม่มด ที่เอาเปรียบคนทั้งเมืองเพื่อลูกตัวเอง
ด้วยการให้เซ็นสัญญาการทำงานเพื่อให้ได้ปัจจัยดำรงชีพ
โดยแลกกับ "การรู้จักตัวตน" ของคนที่เซ็นเอง จนทุกคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร
รู้แต่ว่าต้องทำงานอยู่ในระบบ และหาทางที่ตนจะมีกินมีใช้และร่ำรวยขึ้น
และอาจต้องยอมกระทั่งถูกบังคับให้ไปทำในสิ่งที่ผิด
เป็นการเสียดสี สังคมทำงานบริโภคนิยมที่เฟื่องฟูในยุค '90 อย่างถึงแก่น
และนำเสนอความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มพบเจอในยุคนั้น ด้วย
WWY ก็นำเสนอถึงประเด็นเดียวกันนี้
แต่ปัญหาการเผชิญโลกของตัวเอกทั้ง 2 ดูจะสาหัสกว่ามาก
โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในสังคมที่หาประโยชน์จากเด็กทั้ง 2 อย่างไม่ใยดี
(นายหน้า ที่เสนองานในสังคมมืดให้ฮินะ
สุกะ ที่ทำทุกอย่างเพื่อจะได้พบกับลูก
แล้วจ้าง โฮดากะ มาทำงานแบบกดค่าแรง)
จิตสำนึกคนเมือง อยู่กับการแค่การ "ทำเพื่อตัวเองก่อน" เป็นเรื่องปกติอย่างที่สุกะพูด
และสิ่งที่ทำให้กังวลต่อการกระทำตัวเองได้คือ ตำรวจและกฎหมาย เท่านั้น
ในโลกของ SA นั้น ผู้ใหญ่ในเมือง
ถึงจะง่วนอยู่กับงานจนไม่ค่อยสนใจคนอื่น แต่ยังมีความเป็นมิตรกว่ามาก
เมื่อเอาประเด็น Coming of age และสังคมการทำงาน
มารวมกับ ฉากต่างๆ ที่ใส่มา
ให้ยาเพื่อต่อชีวิต = ให้แฮมเบอเกอร์
ตัวใส กำลังจะหายไป
เจ้าของกิจการที่เอาเปรียบลูกน้อง เพื่อลูกของตัวเอง
มังกร
ฉากอยู่ในน้ำ
จับมือกันบนท้องฟ้า
แท้ที่จริงแล้ว WWY นี่คือ Spirited Away ver.ชินไค นั่นเอง!!!
สรุป
จริงๆ แล้ว WWY นั้นเป็นการเปิดตัวรูปแบบ "ชินไคใหม่"
ที่ก้าวสูงขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการใส่ ปรัชญาและสัญลักษณ์ เข้าไปในผลงาน
เพื่อให้เทียบเท่ากับ อ.มิยาซากิ/Studio Ghibli
มันจึงดูให้อินและเข้าใจไม่ง่ายอย่างที่เคย
ที่เราผิดหวัง เป็นเพราะเราเองต่างหากที่คาดหวังจะให้ WWY เป็นแบบ YN
แต่ถึงกระนั้น
เราก็เห็นมุมมองที่แตกต่างของคนทั้ง 2 รุ่นอย่างมาก
อ.มิยาซากิ : เน้น มนุษย์-ธรรมชาติ
อ.ชินไค : เน้น มนุษย์-มนุษย์
อ.มิยาซากิ : จะอยู่ในโลกแฟนตาซีเป็นหลัก (World of Form)
อ.ชินไค : จะอยู่ในโลกความจริงเป็นหลัก (World of Matter)
ในมุมมองปรัชญา
นี่สามารถเทียบได้กับ พลาโต vs อริสโตเติล เลยทีเดียว
เราต้องรักษ์โลก!! ... โลกมันเพี้ยนอยู่แล้ว!!
เอาละถึงแม้ว่าความรู้สึกแรกหลังดูจบจะรู้สึกผิดหวังไปบ้าง
แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกแล้ว ก็ถือเป็นพัฒนาการที่ดีของ อ.
ถึงแม้อาจจะยังไม่ลงตัวนัก
แต่คาดว่าผลงานต่อไปของ อ. น่าจะดีกว่านี้ แน่นอน
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้