หากมนุษย์ผลิตยานอวกาศที่เร็วเท่าแสง สามารถสำรวจอวกาศได้ขนาดไหน ?

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 39
อ่าน ๆ ดู ถ้าเรามีความเร็วเท่าแสง เราจะหดขนาดจนเหลือศูนย์และเดินทางไปที่ใดก็ได้ด้วยความรู้สึกแค่พริบตา แบบนี้มันก็เหมือน การวาร์ปเลย เพียงแต่เป็นการวาร์ปไปอนาคต

เช่นเดินทางไประยะทาง 100 ปีแสง ออกเดินทางปุ๊บถึงที่หมายปั๊บแต่เป็นในอีก 100 ปีข้างหน้า

หรือความเร็วเข้าใกล้แสง ก็ถูกบีบจนเล็กมากกลายเป็นอณูวิ่งผ่านรูหนอนไปสู่อนาคตในที่ ๆ ห่างไกลออกไป เพราะเวลาของผู้เดินทางรู้สึกแบบนั้น เหมือนไปอนาคต

รูหนอนอาจหมายถึงแบบนี้ ในทางกลับกัน ถ้าเราบีบวัตถุให้เล็กที่สุดได้ อาจมีการเคลื่อนที่ ๆ เป็นไปไม่ได้เกิดขึ้นมากมาย เช่น การเดินทางไกล ๆ โดยไม่อาศัยเวลา เพราะสามารถเคลื่อนผ่านรูหนอนของกาลเวลาได้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ผมขอเสริมเรื่อง "เวลา" ที่ไม่เท่ากันของยานอวกาศ กับ เวลาบนโลกนะครับ

ตามที่คุณ sb*star  และคุณ pinitsoft บอกไปครับ   หากเราเดินทางได้ 100% เท่าความเร็วแสง
เวลาของเราจะหยุดนิ่งไปเลย  ไม่ว่าระยะทางจะไกลแค่ใหนเราจะใช้เวลาแค่ "พริบตา" เท่านั้น
ขอสมมุติตัวเลขนะครับ  หากเราจะไปที่ดาวดวงหนึ่งที่ไกลจากโลก 250 ปีแสง  และเราเดินทางได้เร็วเท่าแสง
ตัวเราที่อยู่ในยานจะพบว่าใช้เวลาพริบตาเดียวก็ถึงที่หมายแล้ว ..... ขณะเดียวกัน  เวลาบนโลกจะผ่านไปนานถึง 250 ปี

ปรากฏการณ์เช่นนี้  เป็นไปตามทฤษฏีสัมพัทธภาพของ Einstien ครับ  ที่ว่า  เวลาของวัตถุใด ๆ ที่เคลื่อนที่เร็วจะเดินช้าลง

แต่ .... จะมีกฏเหล็กที่สำคัญที่สุดของเอกภพนี้ คือ วัตถุที่มีมวลทุกอย่างจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าแสง
ดังนั้น  ยานอวกาศก็จะเคลื่อนที่ได้เร็วสุดคือใกล้ความเร็วแสงเท่านั้น   และ .... เมื่อยานวิ่งเร็วใกล้แสงมาก ๆ
ก็จะเกิดปรากฏการณ์ Time dilation ขึ้นครับ   time dilation คือ factor ตัวคูณความแตกต่างของเวลา
ว่า  เวลาในยานที่เคลื่อนที่ กับ เวลาของอีก 1 สถานที่  จะต่างกันเท่าใด

การคำนวณ Time dilation ทำได้ง่าย ๆ ครับ  ตัวอย่างเวบนี้  http://www.1728.org/reltivty.htm
ลองใส่ค่าความเร็วลงไป  อย่างในภาพใส่เป็น 0.999999 (หรือ 99.9999% ของความเร็วแสง)
เมื่อกดที่ C = 1  ก็จะคำนวณ factor ความต่างของเวลาได้ 707.11  

..... ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ
สมมุติว่าเราเดินทางไปดาวที่ห่างจากโลก 45 ปีแสง  ด้วยความเร็ว 0.999999 c  
คนบนโลกจะรับรู้ว่าเราจะใช้เวลาเดินทาง = 45/0.999999 = 45.000045 ปี
แต่...ในยานของเราจะรับรู้ว่าเวลาผ่านไปเพียง (45.000045 ปี)/707.11 = 23 วัน เท่านั้น

นั่นก็คือ  กว่าจะเดินทางไปกลับ  เวลาบนโลกจะผ่านไป 90 ปี  คนที่เรารู้จักจะตายไปหมดแล้ว
แต่เวลาของเรากลับผ่านไปเพียง 46 วัน เท่านั้น !!
ความคิดเห็นที่ 3
หากมนุษย์ผลิตยานอวกาศที่เร็วเท่าแสง สามารถสำรวจอวกาศได้ขนาดไหน ?  หมายถึง ไปสำรวจดาวที่อยู่ไกลสุดได้กี่ปีแสง
หากเอาตามความหมายนั้นจริง ๆ .... ยานที่เร็วได้ใกล้เคียงความเร็วแสงมาก  (ขอสมมุติเป็น 70% ของความเร็วแสงนะครับ)
ก็ยังถือว่าจะสำรวจระบบดาวอื่น ๆ ด้วยความยากลำบากมากครับ  เพราะระบบดาวต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้โลก
จะมีระยะทางไกลหลายปีแสง  อย่างใกล้สุดก็ 4.2 ปีแสง (ระบบดาว Alpha Centauri)  และอย่างระบบดาวที่น่าสนใจมาก ๆ
เช่น Trappist-1  ก็ไกลมากถึง 38 ปีแสง ...... ดังนั้น  หากยานมีความเร็วมากถึง 80% ความเร็วแสง
ก็ยังต้องใช้เวลาประมาณ 3.15 ปี ไปยังระบบดาว Alpha Centauri   และใช้เวลามากถึง 28.5 ปี ไปยัง Trappist-1
(เวลาที่ใช้  คำนวณจาก time dilation แล้ว)   ซึ่ง .... ถือว่านานมากเกินไปสำหรับทีมผู้เดินทางครับ  เป็นไปได้ที่ทีมเดินทาง
อาจเจ็บป่วย  เสียสุขภาพจิต หรือ ตาย  ระหว่างการเดินทาง

ดังนั้น  หากเราจะสำรวจอวกาศไกลขนาดระบบดาวอื่น ๆ  เราจะต้องหาวิธีเดินทางแบบ WARP
แบบที่เราเห็นในภาพยนตร์น่ะครับ  การ WARP จะทำให้เราใช้เวลาเดินทางน้อยมาก  เช่น ...
เดินทางไประบบดาว Trappist-1  ไกล 38 ปีแสง  ภายในไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น  แต่การ WARP นี้
ยังไม่มีวี่แววว่าจะคิดค้นขึ้นมาได้เลยแม้แต่น้อยครับ

และระบบดาวที่ว่านั่น มีเยอะไหม ?
ปัจจุบันนี้  ทาง NASA และหน่วยงานอวกาศชั้นนำหลายประเทศ  ได้มีข้อมูลของระบบดาวที่น่าสนใจไว้เยอะมากครับ
แต่ก็เป็นแค่ข้อมูลพื้นฐานอย่างเช่น  ระยะทาง  จำนวนดาวเคราะห์  ชั้นบรรยากาศที่ตรวจพบ  อุณหภูมิพื้นผิวที่คำนวณได้
ระบบดาวเหล่านี้มีเยอะมากเป็นพัน ๆ ระบบเลย  แต่ที่น่าสนใจจะมีไม่กี่สิบระบบดาวครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ขอพิจารณาข้อจำกัดแค่บางอย่างนะครับ
เราไปสำรวจและกลับมาที่โลกหรือกาแลคซี่ได้ ไม่จำกัดเวลา
เนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ ทำให้เราสามารถเดินทางด้วยความเร็วแสงได้ไกลที่สุดประมาณใน local group
นับเป็นรัศมี 5 ล้านปีแสงจากโลก

ถ้าอยากไปให้ไกลกว่านี้ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่มากกว่าความเร็วแสงขึ้นไปเรื่อยๆ
ดังนั้นไปสำรวจได้ไกลสุดก็คนไม่พ้น Andromeda Galaxy ซึ่งมีขนาดประมาณที่ใหญ่กว่าและระบบดาวเยอะกว่า Milky Way Galaxy ให้สำรวจครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่