ปัญหาของ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑

....หลายคนฝากความหวังไว้ที่ "คนใหญ่คนโต ในแผ่นดินนี้" เพื่อที่จะให้เขามาปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ประเด็นสำคัญคือว่า "เราจะฝากคนเหล่านั้นได้หรือไม่ ????" ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า "คนใหญ่ คนโต เป็นใคร???" คนใหญ่คนโตเหล่านั้น ส่วนหนึ่งรับราชการมาทั้งชีวิต ประเทศไทยเป็นปัญหาเรื่องระบบอุปถัมภ์ ส่วนใหญ่จะใช้เงินซื้อตำแหน่ง ใครให้เงินมากองมากกว่า คนนั้นก็จะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ...แล้วถามต่อไปว่า "คนเหล่านั้นได้มาอย่างไร ?"... คำตอบคือ ส่วนใหญ่ได้มาในทางโดยมิชอบ เบียดเบียนเงินหลวง ฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือโดยทุจริตผิดกฎหมาย คำถามต่อไปคือ ...แล้วเงินเหล่านั้นมาจากไหน ??? คำตอบก็คือกินหัวคิวกันมาเป็นทอดๆ ๆๆๆๆๆ ตามลำดับ...นี่คือระบบราชการไทย ...เมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน ก็ต้องพากันร้องเรียน แล้วร้องเรียนกับใคร คำตอบ คือร้องเรียนกับหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ บางส่วนเคยใช้เงินซื้อตำแหน่ง ...แล้วจากนั้น เรื่องก็วนเวียนทำนองนี้...ถ้าคนที่ราษฎร์ร้องเรียน "คือโจร" คนที่เราไปร้องเรียน ก็ไม่ต่างอะไรกับคำว่า "หัวหน้าโจร" แล้วจะให้โจรหักหลังกันเองเช่นนั้นหรือ กลายเป็นจุดบอดของ พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งอย่าหวังว่าโจร จะยอมปราบโจร ซึ่งเป็นพวกเดียวกันโดยเด็ดขาด...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เข้าใจเจตนาของ จขกท ที่หมายถึงกรณีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และ กรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ซึ่งถ้าเป็นพวกเดียวกันกับหัวหน้าส่วนราชการก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะส่วนมากก็ตั้งกรรมการมาจาก คนในกรม หรือกระทรวงเดียวกันทั้งนั้น แต่เดียวนี้ความผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีช่องทางให้ร้องได้มากกว่าเดิมเช่น สื่อsocial media นักวิชาการอิสระ ngo สส.ที่ต้องการผลงาน องค์กรอิสระ ฯลฯ ที่สามารถช่วยเกาะติดเรื่องราวที่ จขกท ต้องการที่จะแจ้งและถ้าหากมีหลักฐานมากเพียงพอและมีผลกระทบร้ายแรง เชื่อว่ากระแสคงไม่ตกไปง่ายๆหรอกครับ แต่คงใช้เวลานานกว่าจะทราบข้อเท็จจริงและการเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่