สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ในหลายวัฒนธรรม หมอหลวงเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิพิเศษสามารถเข้าออกพระราชฐานชั้นในได้ เช่น จีน หรือเกาหลีซึ่งโดยปกติผู้ชายที่เข้าไปรับราชการฝ่ายในจะต้องถูกตัดองคชาติเป็นขันที แต่หมอหลวงได้รับการยกเว้นครับ
สำหรับหมอหลวงในสมัยอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์เป็นผู้ชายและเป็นข้าราชการพลเรือนครับ เพราะเข้าใจว่าวิชาแพทย์ในสมัยโบราณไม่ได้มีการสอนให้ผู้หญิงนอกจากหมอตำแย
อ้างอิงจากพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนสมัยกรุงศรีอยุทธยา แบ่งกรมหมอออกเป็นสองส่วน คือกรมแพทยาหน้าหลังที่ทำหน้าที่ว่าความ และแพทยาโรงพระโอสถ ในสมัยหลังมีการเรียกว่า "หมอศาลา" กับ "หมอโรงใน" ตามลำดับ
กรมแพทยาหน้า เจ้ากรมคือ พระศรีมโหสถราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ ศักดินา ๑๖๐๐
กรมแพทยาหลัง เจ้ากรมคือ พระศรีศักดิ์ราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ ศักดินา ๑๖๐๐
กรมแพทยาหน้าหลัง ทำหน้าที่พิจารณาคดีความ มีเจ้ากรมซ้ายขวาปลัดทูลฉลองซ้ายขวาปลัดนั่งศาลซ้ายขวา เมื่อพิจารณาจากมณเฑียรบาลแล้วพบว่าเจ้ากรมคือ พระศรีมโหสถกับพระศรีศักดิ์เป็นพราหมณ์ ซึ่งคงจะมีหน้าที่รักษาโรคด้วย
แพทยาโรงพระโอสถ คือแพทย์หลวงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่รักษาโรคในเขตพระราชฐาน ออกญาแพทยาพงษาวิสุทธาธิบดีอภัยพิริยบรมกรมพาหุ เป็นจางวางแพทยาโอสถ ศักดินา ๒๐๐๐ เทียบเท่าหัวหน้าของหมอหลวงโรงพระโอสถทั้งหมด มีกรมกองแยกย่อยคือ
- กรมหมอยาขวา เจ้ากรมคือ ออกพระทิพจักษ์ ศักดินา ๑๔๐๐
- กรมหมอยาซ้าย เจ้ากรมคือ ออกพระสิทธิสาร ศักดินา ๑๔๐๐
ในกรมหมอยามีตำแหน่งพนักงานเครื่องต้น และมีตำแหน่ง "หมอกุมาร" ๔ ตำแหน่งคือ ขุนกุมารเพช ขุนกุมารแพทย์ ขุนกุมารประสิทธิ์ ขุนกุมารประเสริฐ ขึ้นกับหลวงราชนิทาน ปลัดขวาของออกพระทิพจักษ์ (ในสมัยรัตนโกสินทร์แยกมาตั้งเป็น 'กรมหมอกุมาร')
- กรมหมอนวดขวา เจ้ากรมคือ หลวงราชรักษา ศักดินา ๑๖๐๐
- กรมหมอนวดซ้าย เจ้ากรมคือ หลวงราโช ศักดินา ๑๖๐๐
- กรมหมอยาตาขวา เจ้ากรมคือ ขุนราชเนตร์ ศักดินา ๘๐๐
- กรมหมอยาตาซ้าย เจ้ากรมคือ ขุนทิพเนตร์ ศักดินา ๘๐๐
- กรมหมอวรรณโรค เจ้ากรมคือ หลวงสิทธิแพทย์ ศักดินา ๘๐๐
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงรับชาวตะวันตกมาเป็นแพทย์หลวงหลายคน เช่น บาทหลวงโปมารด์ (Paumard) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และ ดาเนียล โบรเชอบอร์ด (Daniel Brocheboorde) ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสสัญชาติดัตช์ ซึ่งปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสคือจดหมายเหตุของบาทหลวงเดอ แบซ (Claude de Bèze) ว่า เคยให้การรักษาท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกซึ่งเป็นน้องสาวของออกพระเพทราชาด้วย
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ดาเนียลมีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกพระแพทย์โอสถ" (Petosat หรือ Pitoesut เชื่อว่าเป็นคนเดียวกับ 'พระแพทยโอสถฝรั่ง' ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ) ได้หญิงชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ โมเสส (Moses) ซึ่งรับราชการเป็นศัลยแพทย์หลวงเหมือนบิดา จนได้บรรดาศักดิ์เป็น "ออกหลวงศรีสิทธิแพทย์" (Sirisitipid หรือ Sisitthiphaet) เมื่อบิดาถึงแก่กรรมจึงได้รับบรรดาศักดิ์ออกพระแพทย์โอสถต่อ โมเสสมีบุตรชายอย่างน้อยสองคนชื่อ เยเรเมียส (Jeremias) กับ ฟิเลมง (Philemon) ทั้งสองรับราชการเป็นแพทย์หลวงมาถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระครับ
ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรีสองพระองค์คือเจ้าฟ้าทัศพงษ์และเจ้าฟ้าทัศไภยเป็นเจ้าราชนิกุลในตำแหน่ง พระพงศ์อมรินทร์ (หรือพระพงษ์นรินทร์) กับ พระอินทร์อภัย ตามลำดับ ทั้งสองศึกษาวิชาแพทย์จนชำนาญได้รับราชการในกรมหมอ เข้าไปรักษาโรคในพระราชวังเป็นประจำ แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระอินทร์อภัยอาศัยตำแหน่งแพทย์หลวงที่เข้านอกออกในได้ไปลักลอบทำชู้กับเจ้าจอมฝ่ายในหลายคน ได้แก่ เจ้าจอมอ่อน เจ้าจอมอิ่ม เจ้าจอมไม้เทด รวมถึงทนายเรือกคนหนึ่ง โขลนคนหนึ่ง จึงถูกลงพระราชอาญาประหารชีวิตทั้งหญิงและชายครับ
ส่วนพระพงษ์นรินทร์ ได้เป็นผู้รับผิดชอบเรียบเรียงตำราพระโอสถ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ ปรากฏในบานแพนกของตำราพระโอสถในรัชกาลที่ ๒ ว่า
"ศุภมัสดุ จุลศักราช ๑๑๗๔ มกฎะสังวัจฉรมฤตศิรมาศกาฬปักษ์ เตรสมีดฤถีครุวารบริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมฤกราชาธิบดีศรีวิสุทธิวงษ์ องค์มหาพุทธางกูรราช บรมนาถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรมประกอบด้วยพระกรุณาธิคุณอันประเสริฐ ได้มหาปราบดาภิเษกผ่านพิภพกรุงเทพฯ ทวารวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรัมย์ เสด็จออก ณ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน โดยสถานอุตราภิมุข พร้อมด้วยเสวกากรบวรราชกระวี มนตรีมุขมาตยานุชิต อุทิตยราช สุริยวงษ์พงษ์พฤฒาโหราจารย์ พร้อมเฝ้าเบื้องบงกชมาศโดยอันดับฐานาศักดิ์ จึงทรงพระดำริว่าทุกวันนี้คัมภีร์แพทย์ ณ โรงพระโอสถเสื่อมสูญไป มิได้เป็นเรื่องต้นเรื่องปลาย อนึ่งเหล่าแพทย์ผู้เฒ่าที่ชำนิชำนาญในลักษณโรค แลสรรพคุณยาก็มีอยู่น้อย ภายหลังยากที่กุลบุตรจักเล่าเรียนให้ชัดเจนได้ แล้วทรงพระกรุณาจะให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร์ ในขอบขัณฑสีมาสืบต่อไป จึงมีพระราชโองการมา ณ พระบัณฑูรสุรสีหนาท ดำรัสสั่งพระพงษ์อมรินทร์ราชนิกูล ให้สืบเสาะหาตำรายาลักษณโรคทั้งปวง ในข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลราษฎร พระราชาคณะทุกอารามก็ได้ส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายหลายฉบับมีวิธีต่างๆ กัน"
สำหรับหมอหลวงในสมัยอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์เป็นผู้ชายและเป็นข้าราชการพลเรือนครับ เพราะเข้าใจว่าวิชาแพทย์ในสมัยโบราณไม่ได้มีการสอนให้ผู้หญิงนอกจากหมอตำแย
อ้างอิงจากพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนสมัยกรุงศรีอยุทธยา แบ่งกรมหมอออกเป็นสองส่วน คือกรมแพทยาหน้าหลังที่ทำหน้าที่ว่าความ และแพทยาโรงพระโอสถ ในสมัยหลังมีการเรียกว่า "หมอศาลา" กับ "หมอโรงใน" ตามลำดับ
กรมแพทยาหน้า เจ้ากรมคือ พระศรีมโหสถราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ ศักดินา ๑๖๐๐
กรมแพทยาหลัง เจ้ากรมคือ พระศรีศักดิ์ราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ ศักดินา ๑๖๐๐
กรมแพทยาหน้าหลัง ทำหน้าที่พิจารณาคดีความ มีเจ้ากรมซ้ายขวาปลัดทูลฉลองซ้ายขวาปลัดนั่งศาลซ้ายขวา เมื่อพิจารณาจากมณเฑียรบาลแล้วพบว่าเจ้ากรมคือ พระศรีมโหสถกับพระศรีศักดิ์เป็นพราหมณ์ ซึ่งคงจะมีหน้าที่รักษาโรคด้วย
แพทยาโรงพระโอสถ คือแพทย์หลวงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่รักษาโรคในเขตพระราชฐาน ออกญาแพทยาพงษาวิสุทธาธิบดีอภัยพิริยบรมกรมพาหุ เป็นจางวางแพทยาโอสถ ศักดินา ๒๐๐๐ เทียบเท่าหัวหน้าของหมอหลวงโรงพระโอสถทั้งหมด มีกรมกองแยกย่อยคือ
- กรมหมอยาขวา เจ้ากรมคือ ออกพระทิพจักษ์ ศักดินา ๑๔๐๐
- กรมหมอยาซ้าย เจ้ากรมคือ ออกพระสิทธิสาร ศักดินา ๑๔๐๐
ในกรมหมอยามีตำแหน่งพนักงานเครื่องต้น และมีตำแหน่ง "หมอกุมาร" ๔ ตำแหน่งคือ ขุนกุมารเพช ขุนกุมารแพทย์ ขุนกุมารประสิทธิ์ ขุนกุมารประเสริฐ ขึ้นกับหลวงราชนิทาน ปลัดขวาของออกพระทิพจักษ์ (ในสมัยรัตนโกสินทร์แยกมาตั้งเป็น 'กรมหมอกุมาร')
- กรมหมอนวดขวา เจ้ากรมคือ หลวงราชรักษา ศักดินา ๑๖๐๐
- กรมหมอนวดซ้าย เจ้ากรมคือ หลวงราโช ศักดินา ๑๖๐๐
- กรมหมอยาตาขวา เจ้ากรมคือ ขุนราชเนตร์ ศักดินา ๘๐๐
- กรมหมอยาตาซ้าย เจ้ากรมคือ ขุนทิพเนตร์ ศักดินา ๘๐๐
- กรมหมอวรรณโรค เจ้ากรมคือ หลวงสิทธิแพทย์ ศักดินา ๘๐๐
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงรับชาวตะวันตกมาเป็นแพทย์หลวงหลายคน เช่น บาทหลวงโปมารด์ (Paumard) มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และ ดาเนียล โบรเชอบอร์ด (Daniel Brocheboorde) ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสสัญชาติดัตช์ ซึ่งปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสคือจดหมายเหตุของบาทหลวงเดอ แบซ (Claude de Bèze) ว่า เคยให้การรักษาท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกซึ่งเป็นน้องสาวของออกพระเพทราชาด้วย
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ดาเนียลมีบรรดาศักดิ์เป็น "ออกพระแพทย์โอสถ" (Petosat หรือ Pitoesut เชื่อว่าเป็นคนเดียวกับ 'พระแพทยโอสถฝรั่ง' ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ ) ได้หญิงชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ โมเสส (Moses) ซึ่งรับราชการเป็นศัลยแพทย์หลวงเหมือนบิดา จนได้บรรดาศักดิ์เป็น "ออกหลวงศรีสิทธิแพทย์" (Sirisitipid หรือ Sisitthiphaet) เมื่อบิดาถึงแก่กรรมจึงได้รับบรรดาศักดิ์ออกพระแพทย์โอสถต่อ โมเสสมีบุตรชายอย่างน้อยสองคนชื่อ เยเรเมียส (Jeremias) กับ ฟิเลมง (Philemon) ทั้งสองรับราชการเป็นแพทย์หลวงมาถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระครับ
ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรีสองพระองค์คือเจ้าฟ้าทัศพงษ์และเจ้าฟ้าทัศไภยเป็นเจ้าราชนิกุลในตำแหน่ง พระพงศ์อมรินทร์ (หรือพระพงษ์นรินทร์) กับ พระอินทร์อภัย ตามลำดับ ทั้งสองศึกษาวิชาแพทย์จนชำนาญได้รับราชการในกรมหมอ เข้าไปรักษาโรคในพระราชวังเป็นประจำ แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระอินทร์อภัยอาศัยตำแหน่งแพทย์หลวงที่เข้านอกออกในได้ไปลักลอบทำชู้กับเจ้าจอมฝ่ายในหลายคน ได้แก่ เจ้าจอมอ่อน เจ้าจอมอิ่ม เจ้าจอมไม้เทด รวมถึงทนายเรือกคนหนึ่ง โขลนคนหนึ่ง จึงถูกลงพระราชอาญาประหารชีวิตทั้งหญิงและชายครับ
ส่วนพระพงษ์นรินทร์ ได้เป็นผู้รับผิดชอบเรียบเรียงตำราพระโอสถ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ ปรากฏในบานแพนกของตำราพระโอสถในรัชกาลที่ ๒ ว่า
"ศุภมัสดุ จุลศักราช ๑๑๗๔ มกฎะสังวัจฉรมฤตศิรมาศกาฬปักษ์ เตรสมีดฤถีครุวารบริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมฤกราชาธิบดีศรีวิสุทธิวงษ์ องค์มหาพุทธางกูรราช บรมนาถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรมประกอบด้วยพระกรุณาธิคุณอันประเสริฐ ได้มหาปราบดาภิเษกผ่านพิภพกรุงเทพฯ ทวารวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรัมย์ เสด็จออก ณ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน โดยสถานอุตราภิมุข พร้อมด้วยเสวกากรบวรราชกระวี มนตรีมุขมาตยานุชิต อุทิตยราช สุริยวงษ์พงษ์พฤฒาโหราจารย์ พร้อมเฝ้าเบื้องบงกชมาศโดยอันดับฐานาศักดิ์ จึงทรงพระดำริว่าทุกวันนี้คัมภีร์แพทย์ ณ โรงพระโอสถเสื่อมสูญไป มิได้เป็นเรื่องต้นเรื่องปลาย อนึ่งเหล่าแพทย์ผู้เฒ่าที่ชำนิชำนาญในลักษณโรค แลสรรพคุณยาก็มีอยู่น้อย ภายหลังยากที่กุลบุตรจักเล่าเรียนให้ชัดเจนได้ แล้วทรงพระกรุณาจะให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร์ ในขอบขัณฑสีมาสืบต่อไป จึงมีพระราชโองการมา ณ พระบัณฑูรสุรสีหนาท ดำรัสสั่งพระพงษ์อมรินทร์ราชนิกูล ให้สืบเสาะหาตำรายาลักษณโรคทั้งปวง ในข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลราษฎร พระราชาคณะทุกอารามก็ได้ส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายหลายฉบับมีวิธีต่างๆ กัน"
แสดงความคิดเห็น
ลิขิตแห่งจันทร์ : ในสมัยอยุธยา มีแยกฝ่ายหน้าฝ่ายในหรือยังคะ ทำไมหลวงโอสถเข้าไปตำหนักเสด็จเพื่อเป็นพยานให้โอปอลได้คะ