ไทยในอดีต ชาวบ้านเดินทางไกล ด้วยสัตว์พาหนะเร็วชนิดใดครับ

ม้า - ไม่ใช่ เป็นสัตว์ต่างถิ่น  นำเข้ามาภายหลัง

ช้าง - ไม่ใช่ ใช้เป็นพาหนะในการทำศึก

วัว ควาย - เดินช้ามาก ไม่เหมาะเดินทางไกล

คน -  เดินเท้าเปล่า ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ที่จริงผมว่าข้อความทั้งหลายข้างบนก็น่าจะเกือบครบถ้วนกระบวนความแล้วแต่มาช่วยขยายความหน่อยนะกัน


ช้างไม่ใช่แค่พาหนะทำศึกหรอกครับ ชาวบ้านทั่วไปก็มี บ้านตาผมก็เคยยังมีเลย ทางภาคเหนือ  
แต่พี่ช้างทั้งหลาย ไมใช่พาหนะสำหรับทางไกลถ้าต้องเร่งรีบ เพราะเดินอุ้ยอ้าย เคลื่อนตัวช้าอย่างนั้น ไปเรื่อยๆอย่างนั้น แต่พละกำลังมหาศาล ก็ใช้สำหรับการทำป่า ลากซุง ภาพที่ติดตาก็คือใช้งางัดแล้วใช้งวงพัน ประคองซุงส่งเป็นท่อนๆ ได้ ยังกะรถแบคโฮที่ดัดแปลงเป็นรถปากคีบปากซ่อมปัจจุบันเลย
ยุคที่ผมยังเด็กในหนังสือแบบเรียนประถม เขียนอย่างภูมิใจว่า ประเทศไทยเป็นประเทศทีส่งออกไม้มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะไม้สักจากภาคเหนือ
บ้านเกิดผม บ้านเพื่อนผม ตัวย้านเรือน ทางแพร่ น่าน อุตรดิตถ์สุโขทัย พิษณุโลก ลำพูน ลำปาง สมัยนั้นไม้สร้างกันทั้งนั้นโดยไม่ผิดกฎหมาย และไม่ได้ร่ำรวยอะไรด้วย ฐานะธรรมดาไปถึงปานกลาง

ช้างจากภาคอื่น ผมว่าอย่างน้อยคงผ่านตา เราก็ได้ยินว่าทางสุรินทร์ ก็มีเหมือนกันแต่ผมไม่แน่ใจว่าอันนั้นทำไม้เหมือนกันหรือเปล่า


ถ้าเดินทางระยะกลาง้ข้ามอำเภอข้ามจังหวัด ก่อนที่จะมีรถไฟ ก็ส่วนใหญ่วัวควายลากล้อเกวียน  อย่างท่านทั้งหลายว่ากันข้างบนแหละ (หรือเรียกกันอีกแบบว่า เทียมเกวียน ตัวเกวียน บางแห่งเรียกคำวัา "ล้อ" เฉยๆ ก็มี ) จะมีรถม้าก็เยอะทางลำปางอย่างที่ส่วนใหญ่คงได้ยินกันแล้วก็เป็นแค่บางพื้นที่
แต่ก็คือ ก็เรียกกันว่า "ตามมีตามเกิด" จะทำยังไงได้ ก็เหมือนเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิด มีแค่นกพิราบ มีแต่คนส่งสาร จะให้ใช้อินเตอร์เน็ต ใช้อีเมลติดต่อกันได้จากไหน

รวมถึงขายข้าวของกิน บางรายถ้วยถังกะละมังหม้อ ที่ระยะแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นหม้อดินเผาอยู่ แต่ตอนผมโตมา ยุคพลาสสิคมา รถยนต์มา พอจะยังเหลือเกวียนขายของพวกนี้บ้างประปราย แต่สรุปคือทยอยล้มหายตายจากไปแล้ว

รูปร่างเกวียนที่เดินทางไกลหน่อยจะมีหลังคา ผมเป็นรุ่นเกือบสุดท้ายที่ยังได้เรียนแบบเรียนชุดนี้อยู่ ก่อนที่จะเป็น มานีมานะชูใจปิติสีเทาเจ้าแก่


ไกลมากๆ นิยมใช้ทางน้ำกันมากกว่า จะเห็นว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยยังติดคำว่าขึ้นเหนือ-ล่องใต้อยู่ เพราะดูจากการขึ้น-ล่องของเรือเป็นหลัก
สถานีทางเหนือ มีร่องรอยอดีต ที่เหลือแค่การเป็นเมืองผ่านงั้นๆ ในปัจจุบัน
คืออุตรดิตถ์ ที่แปลว่า "ท่าเหนือ" (ลองนึกถึงคำว่าท่าราชวรดิษฐ์  ส่วนคำว่าอุตระ ก็อุดร แปลว่าทิศเหนือ จังหวัดอุดรธานีก็เป็นเมืองด้านเหนือของอีสาน ในอินเดียก็มีรักทางเหนือชื่อว่ารัฐอุตตรประเทศ)

สมัยก่อนอุตรดิตถ์ ถือว่าเป็นหนึ่งในจังหวัดมีความสำคัญมากในทางคมนาคม เมื่อพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้น ทรงพยายามจัดระเบียบการปกครองใหม่
อุตรดิตถ์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีอะไรมากมาย เป็นแค่พื้นที่ในฐานะตำบลขึ้นกับเมืองพิชัย และเมืองพิชัยขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก (ที่ปัจจุบันยังสำคัญอันดับต้นๆ อยู่เมื่อจากทางน้ำเมืองสองแควชื่อแม่น้ำสองสายมาเป็นทางบก)
ทรงสั่งย้ายที่ทำการเมืองพิชัย มาอยู่ตรงที่เป็นอำเภอเมืองปัจจุบันเลย เพราะทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เห็นเป็นชุมชนที่ชาวบ้านมาแวะพักค้าขายหนาแน่นกว่าตัวเมือง และเป็นท่าเรือ รวมถึงเรือข้ามจังหวัดกัน ขณะที่พิชัยอำเภอบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก กลับอยู่ไกลจากประชาชนส่วนใหญ่ ทำให้การว่าราชการไม่สะดวกสำหรับประชาชน ที่สัญจรทางน้ำเป็นหลัก

เรือขนของกิน หรือบางและของใช้เยอะๆ ลักษณะเดียวกับเกวียนอย่างที่บอกข้างบน ทางน่าน ทางอุตรดิตถ์ ทางพิษณุโลก เรียกกันว่า เรือมอญ ลักษณะเป็นเรือขนาดกลางหลังคาคลุม กันแดดกันฝนสำหรับเดินทางไกลๆแบบนี้
ไม่แน่ใจเพราะมอญเป็นเจ้าของเยอะหรือเปล่า ก็ล่องๆ ขึ้นๆ กันมา ไม่ใช่แค่เรือโดยสารเท่านั้น

รวมถึงมีการล่องซุงมา โดยต่อเป็นแพ อันนี้อาจจะกินเวลากันหลายเดือนหน่อย บางจุดพักซุงทิ้งไว้เป็น 8-9 เดือนก็มี รอจังหวะส่งซุงรอบเก่าให้หมดก่อน
ญาติผมคนหนึ่งสติไม่สมประกอบ ต้องมาตายเพราะซุงนี่แหละ คือดำน้ำไปแล้วไปโผล่ติดซุงที่ต่อเป็นแพแวะพักระยะยาวที่ว่า


และพอพูดจากน่าน แล้ต่อมาแพร่ ต่อไปถึงสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ที่นั่นสร้างเพื่อเชื่อมต่อทางน้ำจริงๆ เพราะอยู่ห่างจากแม่น้ำน่าน ที่เป็นท่าที่เรียกว่าตำบลท่าอิฐห่างกันไม่กี่ร้อยเมตร
เดิมที อิฐ สะกดคำว่า สระอิ ดอ เด็ก อิด ภาษาลาว ภาษาเหนือ ก็แปลว่าอิดโรย คือเดินทางมาจากทางกรุงเทพ ผ่านเมืองสองแควคือพิษณุโลกก่อนจะขึ้นไปทางน่านต้องแวะพักที่นี่ก่อน เพราะหนักมานานอรมเดือนแล้ว

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์เป็นสถานีที่เป็นโรงซ่อมจักรของทางภาคเหนือเลย
ตัวสถานีก็สร้างอย่างอลังการมากถึงขั้นจ้างนายช่างเยอรมัน จ้างสถาปนิกเยอรมัน ที่ออกแบบพระราชวังทั้งหลาย เป็นคนออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปเลยทีเดียว
เหตุนี้เองคนอุตรดิตถ์ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงที่รถไฟผ่านอย่างแพร่ จึงเป็นกลุ่มประชาชนที่ต้องหลบระเบิดเพราะเป็นเป้าหมายโจมตีสถานีและสะพานรถไฟช่วงสงครามโลกเลยโดนบอมบ์ซะยับเยิน เพราะจัดเส้นทางการคมนาคมและขนส่งกำลังบำรุงของญี่ปุ่น หรือทางทหารเรียกกันว่าพลาธิการที่สมัยใหมเรียกกันว่าโลจิสติกส์ในศัพท์ยุคใหม่
มีคำว่าเมืองแพร่ แห่ระเบิด ให้เจ็บใจเล่น แต่ไม่เล่าละ เดี๋ยวนอกประเด็นเกินไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่