ในโอกาสที่ Godzilla: King of the Monsters (2019) เริ่มออกวางจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอล/แผ่นโฮมเอ็นเทอร์เมนท์ และเผื่อมีใครยังไม่ทราบเรื่องราวเหล่านี้มาก่อน ผมเลยอยากนำเสนอข้อมูลเบื้องหลังบางส่วน สำหรับการสร้างตัวละครสี่สัตว์ประหลาดยักษ์ ที่เรียกตามท้องเรื่องว่า 'ไททันส์' ทั้ง
ก็อดซิลล่า ,
มอธร่า ,
โรดัน ,
คิง กิโดร่า
โดยทั้งสี่ตัวนี้ล้วนเป็นตัวละครเก่าแก่จากสตูดิโอโตโฮแห่งญี่ปุ่น ซึ่งถูกนำมาปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์ใหม่จากฝีมือสตูดิโอเลเจนดารี่ เพื่อให้โลดแล่นในเวอร์ชั่นฮอลลีวู้ด
เพราะความคลาสสิกและมีชื่อเสียง - การปรับลุคสี่สัตว์ประหลาดให้กลายเป็นไททันส์และเข้ากับเรื่องราว จึงกลายเป็นงานหนักสำหรับทีมสร้าง King of the Monsters
และนี่คือความพยายามปลุกชีพสี่ไททันส์ของพวกเขา
*****คำเตือน มีสปอยล์เนื้อหาในหนัง*****
>>>>>หนอน (ไม่) น้อย ผู้น่ารักน่าชัง<<<<<
หลังจากเปิดเรื่องด้วยฉากในอดีต - King of the Monsters ก็พาคนดูไปพบกับไททันส์ตัวแรก นั่นคือ มอธร่า ซึ่งยังอยู่ในระยะตัวอ่อน เพิ่งฟักออกมาจากไข่
"มันมีรูปร่างที่ง่ายมากเมื่อเป็นแสงเงา แต่นั่นคือสิ่งที่คุณอยากให้คนดูรู้สึกได้ตั้งแต่ความน่ากลัว ไปจนถึงการเป็นที่รัก" แซค ชีลด์ส นักเขียนบทร่วมและโปรดิวเซอร์ฝ่ายบริหาร พูดถึงความประทับใจที่มีต่อดีไซน์มอธร่าร่างหนอน ซึ่งดูร้ายกาจในช่วงแรก ก่อนจะแสดงความอ่อนโยนออกมา
"มันคือตัวหนอนขนาด 65 ฟุตอย่างแท้จริง"
"มันมีขนาดใหญ่มาก เป็นตัวอ่อนที่ก้าวร้าว" ดาร์เนล ไอซัม นักออกแบบสัตว์ประหลาด พูดเสริม
"เราอยากทำให้แน่ใจว่าตัวอ่อนจะให้ความรู้สึกแบบเดียวกับมอธร่า ทั้งความผ่าเผย และความแข็งแกร่ง สามารถรองรับน้ำหนักได้ด้วยตัวของมันเอง"
แล้วภาพที่เราได้เห็นบนจอนั้นก็คือ หนอนยักษ์ที่มีทั้งความสง่างามและมีกรงเล็บไว้ป้องกันตัวเอง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยากของการออกแบบตัวอ่อนนี้คือ หนอนไม่ได้มีใบหน้าแบบชัดๆ ทีมงานเลยต้องดีไซน์ใบหน้าให้มัน โดยพยายามทำให้ออกมาดูน่าเชื่อถือมากที่สุด
"คุณสามารถนำบางสิ่งจากตัวหนอน หรือว่าจากแมลงที่โตเต็มวัยแล้ว เอามารวมกัน เพื่อใช้สร้างใบหน้าที่ระบุตัวตนได้ ด้วยตาสองข้าง มีปาก และสิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นจมูก" มิเกล ออร์เตกา แห่ง Half M.T Studios เผยแนวคิดการสร้างใบหน้าให้หนอนมอธร่า
ซึ่งออร์เตกาและทีมงานก็ศึกษาดูหนอนผีเสื้อตัวจริงจำนวนมาก
"สิ่งที่เจ๋งเกี่ยวกับหนอนผีเสื้อก็คือ วิธีการที่พวกมันมีลายหน้าตาอยู่บนตัว พวกมันดูน่ารักมาก กระทั่งคุณตระหนักว่า อ้าว นั่นไม่ใช่หน้าจริงๆนี่ พวกมันมีดวงตาเล็กๆ มีปากน้อยๆ"
ส่วนไข่ที่หนอนทะลุออกมา และตอนจบของหนัง (
น่าจะหมายถึงไข่ที่เห็นในเอ็นด์เครดิต)
สก็อตต์ แชมบลิส นักออกแบบงานสร้าง ก็เผยว่า
"พวกเราดูไข่ทุกแบบเท่าที่จะนึกออกในโลกของแมลง พยายามนึกว่ามันจะมีลักษณะยังไง กระทั่งเราก็เลือกองค์ประกอบในแบบที่เราชื่นชอบ"
>>>>>ละอองและเหล็กในของราชินีแห่งสัตว์ประหลาด<<<<<
ใน King of the Monsters ภาพมอธร่าขยับปีกแล้วเปล่งประกายคล้ายดาวหางพร้อมผงละออง เป็นการคาวระภาพดั้งเดิมของมอธร่าโตโฮที่มีละอองอยู่รอบๆตัว
ทว่าในขณะเดียวกัน ทีมงานก็ยังต้องการยึดความสมจริงอยู่
"เราพยายามสร้างเวอร์ชั่นที่ดูไม่พิสดารจนเกินไป" กีโยม โรเชรอน ผู้ควบคุมวิชวลเอฟเฟกต์ อธิบาย
"ดังนั้น เราจึงใช้ทฤษฎีต่างๆมากมาย อย่างตอนที่เธอกระพือปีก เธอทำให้เมฆที่อยู่รอบๆตัวเคลื่อนที่ และเมฆเหล่านั้นก็มาผสมกับละอองของเธอ"
และอย่างที่เราเห็นในหนัง มอธร่าเวอร์ชั่น 2019 นี้ ไม่ได้มีเพียแต่ความสง่างามเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นตัวอันตรายที่ประมาทไม่ได้ โดยเฉพาะอาวุธร้ายอย่างเหล็กใน ซึ่งทีมงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวต่อ
"เราสำรวจตัวเลือกสองสามอย่างสำหรับเหล็กใน" ดาร์เนล ไอซัม เล่า
"กระทั่งเมื่อถึงจุดนึง ก็ได้หนามอันเล็กๆ เพราะว่าเราไม่อยากให้มันเป็นอาวุธที่ใหญ่โตอะไร"
>>>>>โรดัน นกยักษ์นักเลงขี้เมา<<<<<
แม้ว่าโรดันเวอร์ชั่นต้นฉบับของโตโฮ จะเป็นเทอราโนดอนกลายพันธุ์ขนาดยักษ์ แต่ในเวอร์ชั่นของหนัง King of the Monsters ทีมงานได้ตัดสินใจนำตัวละครนี้ให้เข้าใกล้กับความเป็นนกมากขึ้น
"เราดูพวกแร้งไก่งวง พวกมันดูน่าขนลุกดี เป็นนกที่ดูเจ๋งมาก" มิเกล ออร์เตกา กล่าว ในขณะที่ สก็อตต์ แชมบลิส ก็เล่าว่าโรดันดีไซน์แรกๆจะมีขนแบบนกด้วย
"ความคิดดั้งเดิมคือ มันจะดูเหมือนนกมากขึ้น แต่เพราะเราคุยกันว่าโรดันจะอยู่ในภาวะหยุดนิ่งภายในภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น ปีกของมันจึงควรดูเหมือนหิน เหมือนเปลือก"
นอกจากนี้ ทีมออกแบบยังต้องการให้ดวงตาของโรดันมีขนาดเล็กกว่าของเวอร์ชั่นโตโฮ
"มันทำให้สัตว์ประหลาดดูมีความน่าสะพรึงกลัวและดูชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น" ทอม วูดรัฟฟ์ จูเนียร์ หนึ่งในผู้ออกแบบเผย
ส่วนรูปแบบการบิน โรดันก็มีสไตล์การโผบินที่แตกต่างจากคิง กิโดร่าที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก
"โรดันนั้นมีความเป็นนกนักล่าเหยื่อ มันปราดเปรียว ว่องไว และมีความรุนแรงอยู่ในการเคลื่อนไหว" ศิลปินคนนึงให้ความเห็น
"มันใช้กรงเล็บเยอะมาก ทั้งจับเครื่องบินเจ็ท , บดขยี้ , และจับเขวี้ยง ดังนั้น อาจพูดได้ว่ากิโดร่าบินได้แพงกว่า ในขณะที่โรดันดูเป็นพวกนักเลงขี้เมา"
>>>>>แฝดสาม (หัว) ที่มีปีก<<<<<
อาจจะพูดได้ว่า คิง กิโดร่า ในหนัง King of the Monsters เป็นสัตว์ประหลาดที่ท้าทายทีมสร้างมากที่สุดก็ว่าได้ ด้วยกายภาพที่แปลกตา และคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร
"ในช่วงเริ่มต้น สก็อตต์ (
แชมบลิส) และ
ไมเคิล (
โดเฮอร์ตี้ ผู้กำกับหนัง)
ได้ให้โฟลเดอร์ภาพแรงบันดาลใจของแต่ละตัวละครให้กับพวกเรา ซึ่งสำหรับกิโดร่า เราได้ภาพจากหนังภาคเก่าๆ และไมเคิลก็เจาะจงไปที่พวกมังกรจีน" ลินด์ซีย์ แมคโกแวน หนึ่งในนักออกแบบตัวละคร กล่าวถึงลักษณะของตัวละคร
"ทั้งหน้าอกที่แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ วิธีที่คอเคลื่อนที่แยกออกจากหน้าอกหรือลำตัว มันเป็นสิ่งสำคัญมาก เราให้ท่าโพสของคอต่างๆ โชว์ให้เห็นว่าพวกมันก้มโค้งยังไง"
แล้วคิง กิโดร่า 2019 ก็ถูกสรรค์สร้างจากองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งปีกพังผืดขนาดมหึมาเหมือนค้างคาว , ดวงตาที่ดูเฉลียวฉลาด , ขาที่งอไปข้างหลังคล้ายขาของสุนัข , ผิวหนังคล้ายงูข้าวโพดและสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น
"คุณต้องพยายามหาจุดสมดุลระหว่างสิ่งที่กำหนดไว้ กับสิ่งที่ไม่ได้นึกไว้" ไซมอน เวบเบอร์ นักออกแบบตัวละครอีกคน บอกความยากของการดีไซน์ หลังจากนั่งดูภาพของสัตว์ในโลกจริงจำนวนมาก ทั้งสัตว์เลื้อยคลาน , ไดโนเสาร์ , ยีราฟ , ม้า , และสัตว์น้ำหลากชนิด
นอกจากนี้ กิโดร่ายังถูกนำเสนอให้มีบุคลิกที่หลากหลายผ่านหัวทั้งสาม ราวกับแฝดสาม (
โดยใช้นักแสดงสามคนแสดงด้วยเทคนิคโมชั่นแคปเจอร์) อาทิ ฉากที่กิโดร่าตื่นขึ้นมาที่ขั้วโลกใต้และประจันหน้ากับมนุษย์
"เราคุยกันว่ามันอาจไม่เคยเห็นมนุษย์มาก่อน ดังนั้น ทั้งสามหัวเลยมองมนุษย์ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน" กีโยม โรเชรอน อธิบาย
"พอมนุษย์เริ่มโจมตีทั้งสามหัว หัวที่เป็นนักล่าก็รู้สึก 'โอเค นี่คือการคุกคาม' หัวนักล่าเลยบอกให้อีกสองหัวลุยไปพร้อมกับมัน แล้วหลังจากนั้น หัวนึงก็มีอาการวอกแวก หัวนักล่าเลยช่วยดึงสติหัวนั้นกลับมา มันทั้งสนุกและก็ซับซ้อนสำหรับการเคลื่อนไหว"
ส่วนฉากปะทะกับก็อดซิลล่า แม้กิโดร่าจะไม่ได้มีความสมดุลหรือล่ำเท่ากับก็อดซิลล่า แต่มันก็เลื้อยได้ไวราวกับงู
"ดังนั้น เพื่อที่ก็อดซิลล่าจะสามารถเอาชนะกิโดร่าได้ด้วยสไตล์การต่อสู้ของมัน ก็อดซิลล่าเลยต้องทำท่าเหมือนนักอเมริกันฟุตบอล ด้วยการทุบกิโดร่าลง" ทีมงานคนนึงตั้งข้อสังเกต
>>>>>ก็อดซิลล่า คุณพ่องานเยอะ<<<<<
ในขณะที่ ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ ผู้กำกับและนักเขียนบท King of the Monsters ชื่นชอบก็อดซิลล่ามาตั้งแต่เด็ก แต่ผู้เขียนบทร่วมอย่างแซค ชีลด์ส เพิ่งจะมาประทับใจก็อดซิลล่าก็ตอนทำหนังเรื่องนี้
"มันเหมือนกับมอธร่าเป็นดั่งแม่ ส่วนก็อดซิลล่าเป็นเหมือนพ่อของคุณ ซึ่งตอนที่คุณยังเป็นเด็ก คุณก็อยากอยู่ใกล้แม่มากกว่า แต่เมื่อพอคุณโตขึ้น คุณจะเริ่มมองไปที่พ่อ และคิดว่า 'ฉันชื่นชมสิ่งที่พ่อทำ ซึ่งฉันไม่เคยเห็นมาก่อน แต่เมื่อฉันมีอายุมากขึ้น ฉันถึงได้เห็นภาระและความหนักอึ้งของความรับผิดชอบที่พ่อต้องแบกไว้'
ชีลด์สพูดเปรียบเปรย ในมุมมองส่วนตัวว่าก็อดซิลล่ามีความเป็นพ่อ
"เขาเป็นผู้ปกป้อง เป็นคนรับผิดชอบ และอาจดูขี้เหวี่ยงนิดๆ ซึ่งเป็นเพราะเขาต้องรับมือหลายเรื่อง และก็เหมือนกับว่าเขาไม่สามารถบอกเรื่องนี้กับใครได้" ชีลด์สบอกพร้อมกับหัวเราะ
ก็อดซิลล่าใน King of the Monsters ยังคงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับก็อดซิลล่าใน Godzilla (2014) แต่สิ่งนึงที่พัฒนาแตกต่างออกไปคือ การถ่ายทอดเหล่าตัวละครสัตว์ยักษ์ในฐานะนักแสดงได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
"ถ้าคุณพิจารณาว่าก็อดซิลล่าเป็นตัวละครมนุษย์คนนึงในหนัง คุณก็จะเริ่มคิดเกี่ยวกับการโคลสอัพ , ช็อตการตอบสนอง , และก็ไม่ใช่แค่การต่อสู้เท่านั้น มันยังรวมถึงรูปลักษณ์และท่าทางด้วย" กีโยม โรเชรอน อธิบาย
"ในหนังภาคแรก มันมีเรื่องเทคนิคที่ท้าทาย คุณสามารถสร้างการโคลสอัพไปที่พวกมัน รวมถึงเพิ่มรายละเอียดต่างๆในทางเทคนิคอนิเมชั่น ทว่านั่นก็ยังไม่ถึงระดับแบบที่เราทำได้ในหนังภาคสองนี้"
อย่างไรก็ดี ความยากเย็นของการนำเสนออารมณ์ของก็อดซิลล่าคือ ใบหน้าของมันที่ไม่ได้มีคุณสมบัติแบบมนุษย์ ดังนั้น ทีมงานจึงทำให้ก็อดซิลล่าสามารถเรืองแสงเพื่อบ่งบอกอารมณ์ได้ ราวกับกอริลลาทุบหน้าอกแสดงพลัง
"เพราะหน้าของมันมีแต่รอยแตก มีผิวหนังแบบสัตว์ เราเลยมีแนวคิดให้มันมีกัมมันตภาพรังสีที่สามารถมองเห็นได้" สก็อตต์ แชมบลิส เผย
"แสงมันจะวาบเป็นจังหวะ และคุณสามารถเห็นแสงในร่องผิวของมันได้"
และซีนที่ก็อดซิลล่ามาเยือนหน้าฐานใต้น้ำขององค์กรโมนาร์ค ก็เป็นฉากโปรดของ
ลอว์เรนซ์ เชอร์ ผู้กำกับภาพของหนัง
"ในแต่ละครั้งที่มันเรืองแสงขึ้นมา มันจะเผยให้เห็นแสงเงา และตอนที่แสงมันดับ ก็อดซิลล่าก็จะหายวับไปในความเว้งว้างอันมืดมิดของมหาสมุทร"
นอกจากนี้ ในฉากเด็ด ตัวละคร
ดร.เซริซาว่า เดินเข้าหาก็อดซิลล่าที่นอนแน่นิ่งเพราะหมดพลัง ก่อนจะยกมือแตะสัตว์ที่เขาศึกษามันมาตลอดทั้งชีวิต ซึ่งในตอนถ่ายทำ นักแสดง
เคน วาตานาเบะ ไม่ได้ยกมือมาแตะอากาศเปล่าๆ เพราะทีมงานได้สร้างชิ้นส่วนผิวหนังก็อดซิลล่าขนาดสี่เหลี่ยม จำลองเป็นพื้นผิวระหว่างจมูกและปากให้วาตานาเบะสัมผัส
"มันเป็นช่วงเวลาเพียงครั้งเดียว ที่ทุกคนได้เอามือแตะก็อดซิลล่า" ทีมงานคนนึงบอก
ติดตามอ่านข่าวสารและเบื้องหลังหนังชุด Godzilla จากผมได้ที่
https://www.facebook.com/GodzillaLegend/
เบื้องหลังการปลุกชีพสี่ไททันส์ใน Godzilla: King of the Monsters (มีสปอยล์เนื้อหาในหนัง)
ในโอกาสที่ Godzilla: King of the Monsters (2019) เริ่มออกวางจำหน่ายในรูปแบบดิจิตอล/แผ่นโฮมเอ็นเทอร์เมนท์ และเผื่อมีใครยังไม่ทราบเรื่องราวเหล่านี้มาก่อน ผมเลยอยากนำเสนอข้อมูลเบื้องหลังบางส่วน สำหรับการสร้างตัวละครสี่สัตว์ประหลาดยักษ์ ที่เรียกตามท้องเรื่องว่า 'ไททันส์' ทั้ง ก็อดซิลล่า , มอธร่า , โรดัน , คิง กิโดร่า
โดยทั้งสี่ตัวนี้ล้วนเป็นตัวละครเก่าแก่จากสตูดิโอโตโฮแห่งญี่ปุ่น ซึ่งถูกนำมาปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์ใหม่จากฝีมือสตูดิโอเลเจนดารี่ เพื่อให้โลดแล่นในเวอร์ชั่นฮอลลีวู้ด
เพราะความคลาสสิกและมีชื่อเสียง - การปรับลุคสี่สัตว์ประหลาดให้กลายเป็นไททันส์และเข้ากับเรื่องราว จึงกลายเป็นงานหนักสำหรับทีมสร้าง King of the Monsters
และนี่คือความพยายามปลุกชีพสี่ไททันส์ของพวกเขา
*****คำเตือน มีสปอยล์เนื้อหาในหนัง*****
>>>>>หนอน (ไม่) น้อย ผู้น่ารักน่าชัง<<<<<
หลังจากเปิดเรื่องด้วยฉากในอดีต - King of the Monsters ก็พาคนดูไปพบกับไททันส์ตัวแรก นั่นคือ มอธร่า ซึ่งยังอยู่ในระยะตัวอ่อน เพิ่งฟักออกมาจากไข่
"มันมีรูปร่างที่ง่ายมากเมื่อเป็นแสงเงา แต่นั่นคือสิ่งที่คุณอยากให้คนดูรู้สึกได้ตั้งแต่ความน่ากลัว ไปจนถึงการเป็นที่รัก" แซค ชีลด์ส นักเขียนบทร่วมและโปรดิวเซอร์ฝ่ายบริหาร พูดถึงความประทับใจที่มีต่อดีไซน์มอธร่าร่างหนอน ซึ่งดูร้ายกาจในช่วงแรก ก่อนจะแสดงความอ่อนโยนออกมา "มันคือตัวหนอนขนาด 65 ฟุตอย่างแท้จริง"
"มันมีขนาดใหญ่มาก เป็นตัวอ่อนที่ก้าวร้าว" ดาร์เนล ไอซัม นักออกแบบสัตว์ประหลาด พูดเสริม "เราอยากทำให้แน่ใจว่าตัวอ่อนจะให้ความรู้สึกแบบเดียวกับมอธร่า ทั้งความผ่าเผย และความแข็งแกร่ง สามารถรองรับน้ำหนักได้ด้วยตัวของมันเอง"
แล้วภาพที่เราได้เห็นบนจอนั้นก็คือ หนอนยักษ์ที่มีทั้งความสง่างามและมีกรงเล็บไว้ป้องกันตัวเอง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยากของการออกแบบตัวอ่อนนี้คือ หนอนไม่ได้มีใบหน้าแบบชัดๆ ทีมงานเลยต้องดีไซน์ใบหน้าให้มัน โดยพยายามทำให้ออกมาดูน่าเชื่อถือมากที่สุด
"คุณสามารถนำบางสิ่งจากตัวหนอน หรือว่าจากแมลงที่โตเต็มวัยแล้ว เอามารวมกัน เพื่อใช้สร้างใบหน้าที่ระบุตัวตนได้ ด้วยตาสองข้าง มีปาก และสิ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นจมูก" มิเกล ออร์เตกา แห่ง Half M.T Studios เผยแนวคิดการสร้างใบหน้าให้หนอนมอธร่า
ซึ่งออร์เตกาและทีมงานก็ศึกษาดูหนอนผีเสื้อตัวจริงจำนวนมาก "สิ่งที่เจ๋งเกี่ยวกับหนอนผีเสื้อก็คือ วิธีการที่พวกมันมีลายหน้าตาอยู่บนตัว พวกมันดูน่ารักมาก กระทั่งคุณตระหนักว่า อ้าว นั่นไม่ใช่หน้าจริงๆนี่ พวกมันมีดวงตาเล็กๆ มีปากน้อยๆ"
ส่วนไข่ที่หนอนทะลุออกมา และตอนจบของหนัง (น่าจะหมายถึงไข่ที่เห็นในเอ็นด์เครดิต) สก็อตต์ แชมบลิส นักออกแบบงานสร้าง ก็เผยว่า "พวกเราดูไข่ทุกแบบเท่าที่จะนึกออกในโลกของแมลง พยายามนึกว่ามันจะมีลักษณะยังไง กระทั่งเราก็เลือกองค์ประกอบในแบบที่เราชื่นชอบ"
>>>>>ละอองและเหล็กในของราชินีแห่งสัตว์ประหลาด<<<<<
ใน King of the Monsters ภาพมอธร่าขยับปีกแล้วเปล่งประกายคล้ายดาวหางพร้อมผงละออง เป็นการคาวระภาพดั้งเดิมของมอธร่าโตโฮที่มีละอองอยู่รอบๆตัว
ทว่าในขณะเดียวกัน ทีมงานก็ยังต้องการยึดความสมจริงอยู่
"เราพยายามสร้างเวอร์ชั่นที่ดูไม่พิสดารจนเกินไป" กีโยม โรเชรอน ผู้ควบคุมวิชวลเอฟเฟกต์ อธิบาย "ดังนั้น เราจึงใช้ทฤษฎีต่างๆมากมาย อย่างตอนที่เธอกระพือปีก เธอทำให้เมฆที่อยู่รอบๆตัวเคลื่อนที่ และเมฆเหล่านั้นก็มาผสมกับละอองของเธอ"
และอย่างที่เราเห็นในหนัง มอธร่าเวอร์ชั่น 2019 นี้ ไม่ได้มีเพียแต่ความสง่างามเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นตัวอันตรายที่ประมาทไม่ได้ โดยเฉพาะอาวุธร้ายอย่างเหล็กใน ซึ่งทีมงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากตัวต่อ
"เราสำรวจตัวเลือกสองสามอย่างสำหรับเหล็กใน" ดาร์เนล ไอซัม เล่า "กระทั่งเมื่อถึงจุดนึง ก็ได้หนามอันเล็กๆ เพราะว่าเราไม่อยากให้มันเป็นอาวุธที่ใหญ่โตอะไร"
>>>>>โรดัน นกยักษ์นักเลงขี้เมา<<<<<
แม้ว่าโรดันเวอร์ชั่นต้นฉบับของโตโฮ จะเป็นเทอราโนดอนกลายพันธุ์ขนาดยักษ์ แต่ในเวอร์ชั่นของหนัง King of the Monsters ทีมงานได้ตัดสินใจนำตัวละครนี้ให้เข้าใกล้กับความเป็นนกมากขึ้น
"เราดูพวกแร้งไก่งวง พวกมันดูน่าขนลุกดี เป็นนกที่ดูเจ๋งมาก" มิเกล ออร์เตกา กล่าว ในขณะที่ สก็อตต์ แชมบลิส ก็เล่าว่าโรดันดีไซน์แรกๆจะมีขนแบบนกด้วย "ความคิดดั้งเดิมคือ มันจะดูเหมือนนกมากขึ้น แต่เพราะเราคุยกันว่าโรดันจะอยู่ในภาวะหยุดนิ่งภายในภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น ปีกของมันจึงควรดูเหมือนหิน เหมือนเปลือก"
นอกจากนี้ ทีมออกแบบยังต้องการให้ดวงตาของโรดันมีขนาดเล็กกว่าของเวอร์ชั่นโตโฮ "มันทำให้สัตว์ประหลาดดูมีความน่าสะพรึงกลัวและดูชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น" ทอม วูดรัฟฟ์ จูเนียร์ หนึ่งในผู้ออกแบบเผย
ส่วนรูปแบบการบิน โรดันก็มีสไตล์การโผบินที่แตกต่างจากคิง กิโดร่าที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก
"โรดันนั้นมีความเป็นนกนักล่าเหยื่อ มันปราดเปรียว ว่องไว และมีความรุนแรงอยู่ในการเคลื่อนไหว" ศิลปินคนนึงให้ความเห็น "มันใช้กรงเล็บเยอะมาก ทั้งจับเครื่องบินเจ็ท , บดขยี้ , และจับเขวี้ยง ดังนั้น อาจพูดได้ว่ากิโดร่าบินได้แพงกว่า ในขณะที่โรดันดูเป็นพวกนักเลงขี้เมา"
>>>>>แฝดสาม (หัว) ที่มีปีก<<<<<
อาจจะพูดได้ว่า คิง กิโดร่า ในหนัง King of the Monsters เป็นสัตว์ประหลาดที่ท้าทายทีมสร้างมากที่สุดก็ว่าได้ ด้วยกายภาพที่แปลกตา และคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร
"ในช่วงเริ่มต้น สก็อตต์ (แชมบลิส) และ ไมเคิล (โดเฮอร์ตี้ ผู้กำกับหนัง) ได้ให้โฟลเดอร์ภาพแรงบันดาลใจของแต่ละตัวละครให้กับพวกเรา ซึ่งสำหรับกิโดร่า เราได้ภาพจากหนังภาคเก่าๆ และไมเคิลก็เจาะจงไปที่พวกมังกรจีน" ลินด์ซีย์ แมคโกแวน หนึ่งในนักออกแบบตัวละคร กล่าวถึงลักษณะของตัวละคร "ทั้งหน้าอกที่แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ วิธีที่คอเคลื่อนที่แยกออกจากหน้าอกหรือลำตัว มันเป็นสิ่งสำคัญมาก เราให้ท่าโพสของคอต่างๆ โชว์ให้เห็นว่าพวกมันก้มโค้งยังไง"
แล้วคิง กิโดร่า 2019 ก็ถูกสรรค์สร้างจากองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งปีกพังผืดขนาดมหึมาเหมือนค้างคาว , ดวงตาที่ดูเฉลียวฉลาด , ขาที่งอไปข้างหลังคล้ายขาของสุนัข , ผิวหนังคล้ายงูข้าวโพดและสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น
"คุณต้องพยายามหาจุดสมดุลระหว่างสิ่งที่กำหนดไว้ กับสิ่งที่ไม่ได้นึกไว้" ไซมอน เวบเบอร์ นักออกแบบตัวละครอีกคน บอกความยากของการดีไซน์ หลังจากนั่งดูภาพของสัตว์ในโลกจริงจำนวนมาก ทั้งสัตว์เลื้อยคลาน , ไดโนเสาร์ , ยีราฟ , ม้า , และสัตว์น้ำหลากชนิด
นอกจากนี้ กิโดร่ายังถูกนำเสนอให้มีบุคลิกที่หลากหลายผ่านหัวทั้งสาม ราวกับแฝดสาม (โดยใช้นักแสดงสามคนแสดงด้วยเทคนิคโมชั่นแคปเจอร์) อาทิ ฉากที่กิโดร่าตื่นขึ้นมาที่ขั้วโลกใต้และประจันหน้ากับมนุษย์
"เราคุยกันว่ามันอาจไม่เคยเห็นมนุษย์มาก่อน ดังนั้น ทั้งสามหัวเลยมองมนุษย์ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน" กีโยม โรเชรอน อธิบาย "พอมนุษย์เริ่มโจมตีทั้งสามหัว หัวที่เป็นนักล่าก็รู้สึก 'โอเค นี่คือการคุกคาม' หัวนักล่าเลยบอกให้อีกสองหัวลุยไปพร้อมกับมัน แล้วหลังจากนั้น หัวนึงก็มีอาการวอกแวก หัวนักล่าเลยช่วยดึงสติหัวนั้นกลับมา มันทั้งสนุกและก็ซับซ้อนสำหรับการเคลื่อนไหว"
ส่วนฉากปะทะกับก็อดซิลล่า แม้กิโดร่าจะไม่ได้มีความสมดุลหรือล่ำเท่ากับก็อดซิลล่า แต่มันก็เลื้อยได้ไวราวกับงู "ดังนั้น เพื่อที่ก็อดซิลล่าจะสามารถเอาชนะกิโดร่าได้ด้วยสไตล์การต่อสู้ของมัน ก็อดซิลล่าเลยต้องทำท่าเหมือนนักอเมริกันฟุตบอล ด้วยการทุบกิโดร่าลง" ทีมงานคนนึงตั้งข้อสังเกต
>>>>>ก็อดซิลล่า คุณพ่องานเยอะ<<<<<
ในขณะที่ ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ ผู้กำกับและนักเขียนบท King of the Monsters ชื่นชอบก็อดซิลล่ามาตั้งแต่เด็ก แต่ผู้เขียนบทร่วมอย่างแซค ชีลด์ส เพิ่งจะมาประทับใจก็อดซิลล่าก็ตอนทำหนังเรื่องนี้
"มันเหมือนกับมอธร่าเป็นดั่งแม่ ส่วนก็อดซิลล่าเป็นเหมือนพ่อของคุณ ซึ่งตอนที่คุณยังเป็นเด็ก คุณก็อยากอยู่ใกล้แม่มากกว่า แต่เมื่อพอคุณโตขึ้น คุณจะเริ่มมองไปที่พ่อ และคิดว่า 'ฉันชื่นชมสิ่งที่พ่อทำ ซึ่งฉันไม่เคยเห็นมาก่อน แต่เมื่อฉันมีอายุมากขึ้น ฉันถึงได้เห็นภาระและความหนักอึ้งของความรับผิดชอบที่พ่อต้องแบกไว้'
ชีลด์สพูดเปรียบเปรย ในมุมมองส่วนตัวว่าก็อดซิลล่ามีความเป็นพ่อ "เขาเป็นผู้ปกป้อง เป็นคนรับผิดชอบ และอาจดูขี้เหวี่ยงนิดๆ ซึ่งเป็นเพราะเขาต้องรับมือหลายเรื่อง และก็เหมือนกับว่าเขาไม่สามารถบอกเรื่องนี้กับใครได้" ชีลด์สบอกพร้อมกับหัวเราะ
ก็อดซิลล่าใน King of the Monsters ยังคงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับก็อดซิลล่าใน Godzilla (2014) แต่สิ่งนึงที่พัฒนาแตกต่างออกไปคือ การถ่ายทอดเหล่าตัวละครสัตว์ยักษ์ในฐานะนักแสดงได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
"ถ้าคุณพิจารณาว่าก็อดซิลล่าเป็นตัวละครมนุษย์คนนึงในหนัง คุณก็จะเริ่มคิดเกี่ยวกับการโคลสอัพ , ช็อตการตอบสนอง , และก็ไม่ใช่แค่การต่อสู้เท่านั้น มันยังรวมถึงรูปลักษณ์และท่าทางด้วย" กีโยม โรเชรอน อธิบาย "ในหนังภาคแรก มันมีเรื่องเทคนิคที่ท้าทาย คุณสามารถสร้างการโคลสอัพไปที่พวกมัน รวมถึงเพิ่มรายละเอียดต่างๆในทางเทคนิคอนิเมชั่น ทว่านั่นก็ยังไม่ถึงระดับแบบที่เราทำได้ในหนังภาคสองนี้"
อย่างไรก็ดี ความยากเย็นของการนำเสนออารมณ์ของก็อดซิลล่าคือ ใบหน้าของมันที่ไม่ได้มีคุณสมบัติแบบมนุษย์ ดังนั้น ทีมงานจึงทำให้ก็อดซิลล่าสามารถเรืองแสงเพื่อบ่งบอกอารมณ์ได้ ราวกับกอริลลาทุบหน้าอกแสดงพลัง
"เพราะหน้าของมันมีแต่รอยแตก มีผิวหนังแบบสัตว์ เราเลยมีแนวคิดให้มันมีกัมมันตภาพรังสีที่สามารถมองเห็นได้" สก็อตต์ แชมบลิส เผย "แสงมันจะวาบเป็นจังหวะ และคุณสามารถเห็นแสงในร่องผิวของมันได้"
และซีนที่ก็อดซิลล่ามาเยือนหน้าฐานใต้น้ำขององค์กรโมนาร์ค ก็เป็นฉากโปรดของ ลอว์เรนซ์ เชอร์ ผู้กำกับภาพของหนัง "ในแต่ละครั้งที่มันเรืองแสงขึ้นมา มันจะเผยให้เห็นแสงเงา และตอนที่แสงมันดับ ก็อดซิลล่าก็จะหายวับไปในความเว้งว้างอันมืดมิดของมหาสมุทร"
นอกจากนี้ ในฉากเด็ด ตัวละคร ดร.เซริซาว่า เดินเข้าหาก็อดซิลล่าที่นอนแน่นิ่งเพราะหมดพลัง ก่อนจะยกมือแตะสัตว์ที่เขาศึกษามันมาตลอดทั้งชีวิต ซึ่งในตอนถ่ายทำ นักแสดง เคน วาตานาเบะ ไม่ได้ยกมือมาแตะอากาศเปล่าๆ เพราะทีมงานได้สร้างชิ้นส่วนผิวหนังก็อดซิลล่าขนาดสี่เหลี่ยม จำลองเป็นพื้นผิวระหว่างจมูกและปากให้วาตานาเบะสัมผัส
"มันเป็นช่วงเวลาเพียงครั้งเดียว ที่ทุกคนได้เอามือแตะก็อดซิลล่า" ทีมงานคนนึงบอก
ติดตามอ่านข่าวสารและเบื้องหลังหนังชุด Godzilla จากผมได้ที่
https://www.facebook.com/GodzillaLegend/