สวัสดีครับ ผมตามอ่านบอร์ด Patip มาสักพักแล้ว ต่อมาเกิดต้องการเลือกซื้อตู้เชื่อมสักตู้ พยายามหาข้อมูล ดูยูทุบต่างๆ แต่มันก็ไม่ค่อยจะเจาะลึกตามที่ผมต้องการเท่าไหร่ วันนี้เลยตัดสินใจมาเขียนเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนที่กำลังมองหาครับ
ผมเป็นแค่มือสมัครเล่น แต่ตอนนี้ตู้เชื่อมปาไป 3 ตู้แล้วครับ แต่ละเครื่องก็มีฟังก์ชั่นแตกต่างกันไปข้อเล่าตามลำดับการซื้อนะครับ(ไม่ได้รับเงินสนับสนุนใดๆครับ เงินตัวเองล้วนๆ แต่อยากจะลงชื่อเต็มเผื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านครับ)
1.เครื่องตู้เชื่อมธูป ยี่ห้อ iWeld mma 140 สีม่วง นะครับตัวนี้เป็นตัวแรกเลยที่ได้ซื้อ โดยซื้อห้าง Global house ครับ ราคาราวๆ 5 นิดๆนะครับจัดโปรพอดี(แต่ยังถือว่าแพงครับ อยากได้คำแนะนำเพิ่ม ทักข้อความนะครับ) ตัวนี้เอามาเชื่อมได้สะดวกมากๆ ก้ามคีบที่แถมคือแบบทั่วไปสีแดง ถามว่าคีบดีไหมก็ปกตินะครับ ไม่น่าเกลียดใช้ได้เลย อาจจะไม่แน่นเท่าสีขาวดำแบบใหญ่อันนั้นรองรับแอมป์ที่มากกว่า ใหญ่ และหนีบแน่นกว่าครับ ตัวนี้ใช้งานทั่วไป ไม่ลากเยอะ แต้มเรื่อยๆ โดยธูป 2.6 mm ก็เหลือๆครับ ตัวนี้ถ้าถามว่าพอไหม ใช้งานทั่วไปในบ้านก็บอกได้เลยว่าเอาอยู่ครับ เราอาจมาทำงาน DIY ทั่วไปเหล้กหน้า 1-2 มิล เชื่อมสบายมาก เชื่อมได้ทั้งวัน (เชื่อมสเตนเลสได้ด้วยนะ เปลี่ยนลวดเอาครับ)
ข้อดี : ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เหมาะทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน ตัวเครื่องเบามากๆ ตัวเลขดิจิตอลบอกแอมเพอเรจขัดเจน Portable มากๆครับ
ข้อเสีย : คีมสายดิน(สายกราวน์) ห่วยมากๆ เส้นทองแดงมาเป็นเส้นเลยไม่เหมือนอีกเครื่องครับ
ความยากในการเชื่อม : 2/5
2.ตู้เชื่อม Jasic TIG 200s พอเชื่อมไปสักพักก็เริ่มบ้าเห่อ เห็นเขาเชื่อมรอยกันเนียน ไอเราก็อยากจะมีแบบเขาบ้าง เอาวะ หลังจากนั้นก็ก่อนอื่นเลยตู้เชื่อมนี้เรียกภาษาอังกฤษว่า Tungsten Inert Gas แปลง่ายๆเลย เชื่อมทังสเตน โดยเอาแก๊สเฉื่อยคลุม(ถ้าถามว่าไม่ใช้แก๊สจะเกิดไรขึ้น คำตอบคือไฟประทุกระจายครับ ออกแนวไหม้) คือตามความเข้าใจผมนะ คือเอาแก๊สเฉื่อย มีคุณสมบัติไม่ติดไป ไปลดอุณหภูมิชิ้นงานไม่ให้ร้อนเกินไป เกริ่นซะยาว เข้าเรื่องครับ ถ้าใครเล็งตัวนี้แล้วไม่ได้ใช้งานโดยเฉพาะ แนะนำให้เบรคความคิดไว้เลยครับ การเชื่อมแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ทักษะสูง(มาก) อุณหภูมิต้องได้ การเติมลวดต้องเร็วเหมาะสม ไหนจะปรับแก๊สอีก แต่ความสวยงามระดับ 5 ดาว ถ้าถามว่าเหมาะเอามาทำอะไร ก็แนะนำว่าเอามาเชื่อมแนวสวยๆ หรือ สเตนเลสครับ และอุปกรณ์นอกจากจะแน่นอนว่ามีแก๊สแล้วหนึ่ง จักต้องมีแท่งทังสเตนครับ แบ่วตามเกรดได้ตามสีหัวครับ แดง ทอง เขียว หรือน้ำเงินก็ว่ากันไป แนะนำสีทองครับ และ แนะนำว่าให้เอาขนาด 2 มิลขึ้นไปครับ จะเชื่อมง่ายมาก ส่วนร้านผมแนะนำที่ร้าน นครเกษมครับ บริการดีมากๆ มีเว็บให้เข้าไปเลือกแล้วทักไลน์ได้เลยครับ
ข้อดี : แนวเชื่อมสวย งานเนียน
ข้อเสีย : เชื่อมได้ช้า อุปกรณ์จุกจิกเยอะมาก แก๊ส แท่งทังสเตน และชิ้นล้วนคัพอีก เวลาเชื่อมก็ต้องเอาสายมาพานไว้ ไม่โต๊ะก็ตัวเราครับ (เยอะไปไหน) อีกอย่างเวลาเชื่อมเปิดพัดลมไม่ได้(โคตรร้อน!!)
ความยากในการเชื่อม : 5/5 (เชื่อมยากจริง จ่อนานไปมีทะลุเหมือนกันครับ)
3. ตู้เชื่อม Jasic MIG 160 เอาละครับมาถึงพระเอกแล้ว ตัวนี้ทำใจอยู่นานว่าจะซื้อดีมั้ย คิดแล้วคิดอีก (คิดคนเดียวนี้ยิ่งหนัก ไม่รู้จะปรึกษาใคร เพราะมีตู้เชื่อมลวดอยุ่แล้ว จะซื้ออีกก็กลัวจะซ้อนกัน) ในที่สุดครับ ฝ่ายกิเลสมันชนะ มันเอาข้ออ้างเรื่องเชื่อมเร็วมาอ้าง แล้วก็สั่งไปแบบไม่รู้ตัว บังเอิญว่ามันลดราคาด้วยอีก เลยเถียงมัน(กิเลส)ยากครับ ตอนซื้อก็เอาเซ็ทฟลักคอร์ครับ เอาง่ายๆก่อน เพราะเชื่อมแบบไม่ต้องใช้แก๊สได้ เพราะในจังหวัดผม ผมยังหาไม่เจอว่าที่ไหนขายก๊าซคาร์บอนบ้าง(ในขณะนั้น) หลังจากเครื่องมาถึงก็ฟ้าเปิดครับ เชื่อมกระจาย มีเท็มเพลทเซ็ทติ้งข้างๆเครื่องให้เราดูครับ ว่าต้องตั้งยังไง ถามว่าผมได้ดูไหม(ก็ไม่) แถมยังต่อสายผิดอีก สลับสายดิน กับ สายตัวจ่ายไฟ (ด้านข้างจะมีบอกนะครับ ว่าเราใช้แก๊สหรือไม่ใช้จะมีแยกระหว่าง DCEN และ DCEP) ถ้าถามผมอีกว่าต่อสายผิดแล้วเกิดอะไรขึ้น สแปตเตอร์ครับ กระจาย กระจายในชนิดที่เราร้องเหี้- ทำไมเยอะจังวะ แล้วจะเชื่อมงานยังไงวะเนี่ย หาเว็บไทยก็หาไม่เจออีก(เพราะไม่ดูคู่มือแท้ๆ) สุดท้ายไปสะดุดเว็บ ตปทครับ (มึ- ต่อสายผิดโว้ย) จากนั้นก็ลงไปห้องช่างครับ สลับทันใด จากนั้นก็ละเลงเชื่อมครับ อื้อหือ เราทำผิดไปมหันต์ จากนั้นก็เชื่อมกระจายและเร็วกว่าเดิม แทบจะ 2-3 เท่า และอย่าไปเทียบกับ TIG เชียวครับ พอได้เครื่องนี้มาก็เชื่อมยาวๆครับ ยาวมากๆ เพราะงานมันลื่น เวลาแท็กชิ้นงานมันง่ายกว่าธูปมากๆ และด้วยข้อจำกัดของ TIG ทำให้การเชื่อม MIG เหมือนขึ้นสวรรค์ (เกินไป) พอเชื่อมไปสักพัก เราก็ค้นพบอีกว่าการเชื่อมแบบใช้แก๊สเติมลวดดีกว่า เดือดร้อนสิครับ กิเลสมันทำงานอีกแล้ว ก็เลยต้องหาข้อมูลอีก สุดท้ายก็เจอครับ เป็นร้านใกล้บ้านด้วยซ้ำ(ฮ่วย!) ถ้าถามว่าทำไมต้องเชื่อมแก๊ส ทั้งๆที่เราเชื่อมแบบฟลักคอร์ได้ คำตอบผมคือ มันเติมลวดลงไปดีกว่า และความร้อนซึมประสานชิ้นงาน ผมมองว่าดีกว่า อีกอย่างลวดธรรมดาราคาถูกกว่ามากครับ ฟลักคอร์ 5 กก ปาไป 1000 บาทแล้ว ในขณะที่ลวดธรรมดา 3-400 บาท ก็ต้องเลือกเอาเนอะ แล้วแต่สะดวกครับ แต่แน่นอนครับ ลวดฟลักซ์คอร์เชื่อมได้แม้กระทั่งลมแรงๆครับ เฉกเช่นเชื่อมธูป
ข้อดี : เชื่อมเร็ว สะดวก อุปกรณ์ไม่เยอะ ทุกข้อดีรวมในนี้หมด ถ้ามีกำลังทรัพย์ แนะนำให้จัดตัวนี้ เพราะมัน 2 ระบบ เชื่อมธูปได้ด้วยครับ
ข้อเสีย : ตัวเครื่องหนัก เพราะเราต้องเอาลวดใส่ และมีค่าใช้จ่ายพวกถังแก๊ส อีกอย่างอีกลวดฟลักซ์คอร์ มีราคาสูง
ความยากในการเชื่อม : 1/5 ปิดตามเชื่อมยังได้ ง่ายมาจอร์จ
สรุป : ถ้าเป็นการแนะนำจากผมจริงๆจากใจ และหากมีกำลังทรัพย์นะครับ ให้จัดออพชั่น 3 เจ็บแต่จบทีเดียว กัดฟันสักนิด แล้วการเชื่อมจะเป็นอะไรที่สนุกมากๆ จริงๆแล้วตามบ้านทั่วไปแนะนำให้มีตู้เชื่อมสักตู้ ตู้เชื่อมธูปถูกๆก็ได้ครับ ไว้ทำโน่นนี่หัดทำ ฝึกทักษะ การเชื่อมยังมีอีกมากที่ผมไม่ได้เขียน เดี๊ยวมันจะล้นกรอบหัวข้อที่ตั้งไว้ เทคนิคการเชื่อมตะแกรง การเชื่อมเหล็กบาง การปรับไฟแต่ละงาน การตัดไฟเบอร์ ฯลฯ มีอีกเยอะ สงสัยอะไร ถามได้นะครับ ถ้าว่างผมจะมาตอบนะ อยากแชร์ความรู้ เพราะผมหาอ่านยากมากๆ ไม่ค่อยมีคัมภีร์หาอ่าน สวัสดีครับ...
แนะนำการเลือกตู้เชื่อม MMA, TIG, MIG
ผมเป็นแค่มือสมัครเล่น แต่ตอนนี้ตู้เชื่อมปาไป 3 ตู้แล้วครับ แต่ละเครื่องก็มีฟังก์ชั่นแตกต่างกันไปข้อเล่าตามลำดับการซื้อนะครับ(ไม่ได้รับเงินสนับสนุนใดๆครับ เงินตัวเองล้วนๆ แต่อยากจะลงชื่อเต็มเผื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านครับ)
1.เครื่องตู้เชื่อมธูป ยี่ห้อ iWeld mma 140 สีม่วง นะครับตัวนี้เป็นตัวแรกเลยที่ได้ซื้อ โดยซื้อห้าง Global house ครับ ราคาราวๆ 5 นิดๆนะครับจัดโปรพอดี(แต่ยังถือว่าแพงครับ อยากได้คำแนะนำเพิ่ม ทักข้อความนะครับ) ตัวนี้เอามาเชื่อมได้สะดวกมากๆ ก้ามคีบที่แถมคือแบบทั่วไปสีแดง ถามว่าคีบดีไหมก็ปกตินะครับ ไม่น่าเกลียดใช้ได้เลย อาจจะไม่แน่นเท่าสีขาวดำแบบใหญ่อันนั้นรองรับแอมป์ที่มากกว่า ใหญ่ และหนีบแน่นกว่าครับ ตัวนี้ใช้งานทั่วไป ไม่ลากเยอะ แต้มเรื่อยๆ โดยธูป 2.6 mm ก็เหลือๆครับ ตัวนี้ถ้าถามว่าพอไหม ใช้งานทั่วไปในบ้านก็บอกได้เลยว่าเอาอยู่ครับ เราอาจมาทำงาน DIY ทั่วไปเหล้กหน้า 1-2 มิล เชื่อมสบายมาก เชื่อมได้ทั้งวัน (เชื่อมสเตนเลสได้ด้วยนะ เปลี่ยนลวดเอาครับ)
ข้อดี : ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เหมาะทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน ตัวเครื่องเบามากๆ ตัวเลขดิจิตอลบอกแอมเพอเรจขัดเจน Portable มากๆครับ
ข้อเสีย : คีมสายดิน(สายกราวน์) ห่วยมากๆ เส้นทองแดงมาเป็นเส้นเลยไม่เหมือนอีกเครื่องครับ
ความยากในการเชื่อม : 2/5
2.ตู้เชื่อม Jasic TIG 200s พอเชื่อมไปสักพักก็เริ่มบ้าเห่อ เห็นเขาเชื่อมรอยกันเนียน ไอเราก็อยากจะมีแบบเขาบ้าง เอาวะ หลังจากนั้นก็ก่อนอื่นเลยตู้เชื่อมนี้เรียกภาษาอังกฤษว่า Tungsten Inert Gas แปลง่ายๆเลย เชื่อมทังสเตน โดยเอาแก๊สเฉื่อยคลุม(ถ้าถามว่าไม่ใช้แก๊สจะเกิดไรขึ้น คำตอบคือไฟประทุกระจายครับ ออกแนวไหม้) คือตามความเข้าใจผมนะ คือเอาแก๊สเฉื่อย มีคุณสมบัติไม่ติดไป ไปลดอุณหภูมิชิ้นงานไม่ให้ร้อนเกินไป เกริ่นซะยาว เข้าเรื่องครับ ถ้าใครเล็งตัวนี้แล้วไม่ได้ใช้งานโดยเฉพาะ แนะนำให้เบรคความคิดไว้เลยครับ การเชื่อมแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ทักษะสูง(มาก) อุณหภูมิต้องได้ การเติมลวดต้องเร็วเหมาะสม ไหนจะปรับแก๊สอีก แต่ความสวยงามระดับ 5 ดาว ถ้าถามว่าเหมาะเอามาทำอะไร ก็แนะนำว่าเอามาเชื่อมแนวสวยๆ หรือ สเตนเลสครับ และอุปกรณ์นอกจากจะแน่นอนว่ามีแก๊สแล้วหนึ่ง จักต้องมีแท่งทังสเตนครับ แบ่วตามเกรดได้ตามสีหัวครับ แดง ทอง เขียว หรือน้ำเงินก็ว่ากันไป แนะนำสีทองครับ และ แนะนำว่าให้เอาขนาด 2 มิลขึ้นไปครับ จะเชื่อมง่ายมาก ส่วนร้านผมแนะนำที่ร้าน นครเกษมครับ บริการดีมากๆ มีเว็บให้เข้าไปเลือกแล้วทักไลน์ได้เลยครับ
ข้อดี : แนวเชื่อมสวย งานเนียน
ข้อเสีย : เชื่อมได้ช้า อุปกรณ์จุกจิกเยอะมาก แก๊ส แท่งทังสเตน และชิ้นล้วนคัพอีก เวลาเชื่อมก็ต้องเอาสายมาพานไว้ ไม่โต๊ะก็ตัวเราครับ (เยอะไปไหน) อีกอย่างเวลาเชื่อมเปิดพัดลมไม่ได้(โคตรร้อน!!)
ความยากในการเชื่อม : 5/5 (เชื่อมยากจริง จ่อนานไปมีทะลุเหมือนกันครับ)
3. ตู้เชื่อม Jasic MIG 160 เอาละครับมาถึงพระเอกแล้ว ตัวนี้ทำใจอยู่นานว่าจะซื้อดีมั้ย คิดแล้วคิดอีก (คิดคนเดียวนี้ยิ่งหนัก ไม่รู้จะปรึกษาใคร เพราะมีตู้เชื่อมลวดอยุ่แล้ว จะซื้ออีกก็กลัวจะซ้อนกัน) ในที่สุดครับ ฝ่ายกิเลสมันชนะ มันเอาข้ออ้างเรื่องเชื่อมเร็วมาอ้าง แล้วก็สั่งไปแบบไม่รู้ตัว บังเอิญว่ามันลดราคาด้วยอีก เลยเถียงมัน(กิเลส)ยากครับ ตอนซื้อก็เอาเซ็ทฟลักคอร์ครับ เอาง่ายๆก่อน เพราะเชื่อมแบบไม่ต้องใช้แก๊สได้ เพราะในจังหวัดผม ผมยังหาไม่เจอว่าที่ไหนขายก๊าซคาร์บอนบ้าง(ในขณะนั้น) หลังจากเครื่องมาถึงก็ฟ้าเปิดครับ เชื่อมกระจาย มีเท็มเพลทเซ็ทติ้งข้างๆเครื่องให้เราดูครับ ว่าต้องตั้งยังไง ถามว่าผมได้ดูไหม(ก็ไม่) แถมยังต่อสายผิดอีก สลับสายดิน กับ สายตัวจ่ายไฟ (ด้านข้างจะมีบอกนะครับ ว่าเราใช้แก๊สหรือไม่ใช้จะมีแยกระหว่าง DCEN และ DCEP) ถ้าถามผมอีกว่าต่อสายผิดแล้วเกิดอะไรขึ้น สแปตเตอร์ครับ กระจาย กระจายในชนิดที่เราร้องเหี้- ทำไมเยอะจังวะ แล้วจะเชื่อมงานยังไงวะเนี่ย หาเว็บไทยก็หาไม่เจออีก(เพราะไม่ดูคู่มือแท้ๆ) สุดท้ายไปสะดุดเว็บ ตปทครับ (มึ- ต่อสายผิดโว้ย) จากนั้นก็ลงไปห้องช่างครับ สลับทันใด จากนั้นก็ละเลงเชื่อมครับ อื้อหือ เราทำผิดไปมหันต์ จากนั้นก็เชื่อมกระจายและเร็วกว่าเดิม แทบจะ 2-3 เท่า และอย่าไปเทียบกับ TIG เชียวครับ พอได้เครื่องนี้มาก็เชื่อมยาวๆครับ ยาวมากๆ เพราะงานมันลื่น เวลาแท็กชิ้นงานมันง่ายกว่าธูปมากๆ และด้วยข้อจำกัดของ TIG ทำให้การเชื่อม MIG เหมือนขึ้นสวรรค์ (เกินไป) พอเชื่อมไปสักพัก เราก็ค้นพบอีกว่าการเชื่อมแบบใช้แก๊สเติมลวดดีกว่า เดือดร้อนสิครับ กิเลสมันทำงานอีกแล้ว ก็เลยต้องหาข้อมูลอีก สุดท้ายก็เจอครับ เป็นร้านใกล้บ้านด้วยซ้ำ(ฮ่วย!) ถ้าถามว่าทำไมต้องเชื่อมแก๊ส ทั้งๆที่เราเชื่อมแบบฟลักคอร์ได้ คำตอบผมคือ มันเติมลวดลงไปดีกว่า และความร้อนซึมประสานชิ้นงาน ผมมองว่าดีกว่า อีกอย่างลวดธรรมดาราคาถูกกว่ามากครับ ฟลักคอร์ 5 กก ปาไป 1000 บาทแล้ว ในขณะที่ลวดธรรมดา 3-400 บาท ก็ต้องเลือกเอาเนอะ แล้วแต่สะดวกครับ แต่แน่นอนครับ ลวดฟลักซ์คอร์เชื่อมได้แม้กระทั่งลมแรงๆครับ เฉกเช่นเชื่อมธูป
ข้อดี : เชื่อมเร็ว สะดวก อุปกรณ์ไม่เยอะ ทุกข้อดีรวมในนี้หมด ถ้ามีกำลังทรัพย์ แนะนำให้จัดตัวนี้ เพราะมัน 2 ระบบ เชื่อมธูปได้ด้วยครับ
ข้อเสีย : ตัวเครื่องหนัก เพราะเราต้องเอาลวดใส่ และมีค่าใช้จ่ายพวกถังแก๊ส อีกอย่างอีกลวดฟลักซ์คอร์ มีราคาสูง
ความยากในการเชื่อม : 1/5 ปิดตามเชื่อมยังได้ ง่ายมาจอร์จ
สรุป : ถ้าเป็นการแนะนำจากผมจริงๆจากใจ และหากมีกำลังทรัพย์นะครับ ให้จัดออพชั่น 3 เจ็บแต่จบทีเดียว กัดฟันสักนิด แล้วการเชื่อมจะเป็นอะไรที่สนุกมากๆ จริงๆแล้วตามบ้านทั่วไปแนะนำให้มีตู้เชื่อมสักตู้ ตู้เชื่อมธูปถูกๆก็ได้ครับ ไว้ทำโน่นนี่หัดทำ ฝึกทักษะ การเชื่อมยังมีอีกมากที่ผมไม่ได้เขียน เดี๊ยวมันจะล้นกรอบหัวข้อที่ตั้งไว้ เทคนิคการเชื่อมตะแกรง การเชื่อมเหล็กบาง การปรับไฟแต่ละงาน การตัดไฟเบอร์ ฯลฯ มีอีกเยอะ สงสัยอะไร ถามได้นะครับ ถ้าว่างผมจะมาตอบนะ อยากแชร์ความรู้ เพราะผมหาอ่านยากมากๆ ไม่ค่อยมีคัมภีร์หาอ่าน สวัสดีครับ...