สวัสดีพุทธศาสนิกชนทุกท่านครับ วันนี้ผมจะมารีวิวขั้นตอนการเตรียมการถวายพระพุทธครั้งแรกของผม จากประสบการณ์ตรงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาครับ
อันดับแรก เริ่มจากเห็นเพื่อนๆ ใน facebook ไปทำบุญ ถวายพระ ไปนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม บริจากของ ทาสีโรงเรียน ก็เลยกลับมานั่งคิดว่า ปีนี้เราจะทำอะไรดี ปีก่อนเราไปบริจากของให้บ้านเด็กกำพร้า ปีนี้ก็เลยคิดว่า น่าจะลองถวายพระในถิ่นทุรกันดารดีกว่า ประกอบกับคุณยายเพิ่งเสียด้วยก็เลยคิดว่า จะถวายพระที่บ้านเกิดคุณแม่ ก็เลยติดต่อสอบถามไปยังน้าๆ ว่าวัดที่บ้านเกิดยาย ยังไม่มีพระอะไรบ้าง...
สรุปคือ พระแก้วมรกต ตั้งใจถวายที่วัดคลองรังสิตท่าแสง บ้านท่าแสง ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งตอนนั้น ยังไม่ได้ดูเลยว่าราคาเป็นอย่างไร ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ก็เริ่มจากถามคนใกล้ตัว ก็ได้ข้อสรุปว่า การสถายพระแต่ละแบบ แต่ละปรางค์ ราคาไม่เท่ากัน
1. งานปูน โดยส่วนมากจะเป็นการปั้นหน้างานเป็นหลัก ถ้าเห็นบ่อยๆ ก็ในโบราณสถานต่างๆ ปั้นแล้วจะทาสี หรือ เคลือบทอง ตามความชอบ และกำลังทรัพย์
2. งานไฟเบอร์ อันนี้จะถูกสุด เหมาะกับการถวายในพื้นที่ร่ม เพราะถ้าเป็นกลางแจ้งจะกรอบและแตกง่าย จะเป็นทั้งพระพุทธรูป และพระเกจิปั้นเสมือนจริง
3. งานอลูมิเนียม หรืออัลลอย แล้วพ่นทอง มีน้ำหนัก แต่เบากว่าทองเหลือง บางที่จะเรียกว่างานเสมือนทองเหลือง แข็งแรงทนทานรองจากทองเหลือง ถ้ามองจากข้างนอกจะแยกไม่ค่อยออกว่าเป็นงานชนิดไหน แต่ถึงแม้จะแข็งแรง แต่ก็ไม่ควรตั้งกลางแจ้งอยู่ดี เพราะจะอมความร้อน ทำให้สีแตก ถ้าเป็นฝังดิน จะมีอายุใช้งานประมาณ 50
4. งานหล่อเรซิ่นใส แต่จะเรียกกันว่างานพระแก้ว มีเกรดพรีเมียม กับ เกรดวัดพระแก้ว มีน้ำหนัก ทำได้หลายสี
5. งานทองเหลือง อันนี้เป็นแบบที่แพงที่สุด ถ้าไม่นับงานพระแก้วมรกต จะมี 2 แบบ คือ พ่นทอง กับ ขัดเงา ข้อดีของพ่นทอง คือ เช็ดล้างทำความสะอาดได้ ไม่ดำด่างในอนาคต และปกป้องเนื้อภายในให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น ส่วนข้อดีของขัดเงา คือสีสุกเงา เล่นไฟในช่วงแรก ดูสวยงาม แต่ข้อเสีย คือ จะด่างดำไปเรื่อยๆ ต้องขัดตลอด ดูแลยาก ซึ่งถ้ามองในระยะยาว แนะนำเป็นพ่นทอง จะดีกว่า
ตัวอย่างทองเหลืองขัดเงา
ตัวอย่างทองเหลือง พ่นทอง
เมื่อเราเข้าใจรูปแบบของแต่ละเนื้อแล้ว กลับมาดูงบประมาณที่มี เราตั้งไว้ไม่เกิน 35,000 - 40,000 บาท เมื่อเทียบราคากับพระพุทธรูปแต่ละแบบ ตัดงานปูนออกไป จะได้เป็น
1. งานไฟเบอร์ ได้หน้าตักประมาณ 50 นิ้ว
2. งานอลูมิเนียม หรืออัลลอย จะได้หน้าตักประมาณ 40 นิ้ว
3. งานเรซิ่นใส เกรดวัดพระแก้ว จะได้หน้าตักประมาณ 30 นิ้ว (ถ้าเป็นเกรดพรีเมียม จะถูกกว่านี้)
4. งานทองเหลือง จะได้หน้าตักประมาณ 35 นิ้ว
งานส่วนใหญ่จะมีพร้อมส่ง ยกเว้นหน้าถวายพระ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ออกพรรษา หรือปั้นงานใหม่ จะเป็น 2 - 4 เดือน ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ซึ่งหลังจากเลือกได้แล้ว ว่าจะถวายพระพุทธรูปแบบไหน ก็จะเป็นข้อความสลัก ใต้ฐานพระ เริ่มจาก ชื่อผู้ถวาย............. สร้างอุทิศ แด่ เทวดาประจำตัว บรรพบุรุษ เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณทุกภพชาติ
ด้านการขนส่ง ปกติถ้าในกรุงเทพมหานคร จะส่งฟรี แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดจะมีคิดค่าใช้จ่ายตามระยะทาง น่าจะอยู่ประมาณ 12 - 15 บาท ต่อกิโลเมตร ของเราไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะทางฝั่งคุณน้าร่วมบุญ เป็นธุระในด้านการขนส่งไป รวมถึงการแห่ และพิธีกรรมต่างๆ พอถึงวันรับพระ ทางโรงหล่อให้เลือกจุดรับพระได้ 2 จุด คือ เข้าไปรับที่เสาชิงช้า หรือ มารับที่สาขา 2 ซอยโพธิ์แก้ว เราเลือกรับที่ สาขา 2 เพราะไม่อยากเข้าเมืองไปเจอรถติด แถมหาที่จอดยากอีกต่างหาก เจ้าของโรงหล่อสวย และและให้บริการดี
วันงาน ก็จะเรียบง่ายหน่อย มีการแห่เล็กๆ มีต้นกฐิน แห่รอบหมู่บ้าน และอุโบสถ
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กันผู้ที่ต้องการถวายพระพุทธรูปมือใหม่ ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ โรงหล่อพระรุ่งเจริญชัย ที่ให้คำปรึกษา และคำแนะนำอย่างดี ถ้ามีโอกาสถวายพระอีกในปีหน้าจะกลับมาอุดหนุนใหม่ครับ
[CR] แชร์ประสบการณ์สร้างพระพุทธรูปถวายครั้งแรก
อันดับแรก เริ่มจากเห็นเพื่อนๆ ใน facebook ไปทำบุญ ถวายพระ ไปนั่งสมาธิปฏิบัติธรรม บริจากของ ทาสีโรงเรียน ก็เลยกลับมานั่งคิดว่า ปีนี้เราจะทำอะไรดี ปีก่อนเราไปบริจากของให้บ้านเด็กกำพร้า ปีนี้ก็เลยคิดว่า น่าจะลองถวายพระในถิ่นทุรกันดารดีกว่า ประกอบกับคุณยายเพิ่งเสียด้วยก็เลยคิดว่า จะถวายพระที่บ้านเกิดคุณแม่ ก็เลยติดต่อสอบถามไปยังน้าๆ ว่าวัดที่บ้านเกิดยาย ยังไม่มีพระอะไรบ้าง...
สรุปคือ พระแก้วมรกต ตั้งใจถวายที่วัดคลองรังสิตท่าแสง บ้านท่าแสง ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งตอนนั้น ยังไม่ได้ดูเลยว่าราคาเป็นอย่างไร ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ก็เริ่มจากถามคนใกล้ตัว ก็ได้ข้อสรุปว่า การสถายพระแต่ละแบบ แต่ละปรางค์ ราคาไม่เท่ากัน
1. งานปูน โดยส่วนมากจะเป็นการปั้นหน้างานเป็นหลัก ถ้าเห็นบ่อยๆ ก็ในโบราณสถานต่างๆ ปั้นแล้วจะทาสี หรือ เคลือบทอง ตามความชอบ และกำลังทรัพย์
2. งานไฟเบอร์ อันนี้จะถูกสุด เหมาะกับการถวายในพื้นที่ร่ม เพราะถ้าเป็นกลางแจ้งจะกรอบและแตกง่าย จะเป็นทั้งพระพุทธรูป และพระเกจิปั้นเสมือนจริง
3. งานอลูมิเนียม หรืออัลลอย แล้วพ่นทอง มีน้ำหนัก แต่เบากว่าทองเหลือง บางที่จะเรียกว่างานเสมือนทองเหลือง แข็งแรงทนทานรองจากทองเหลือง ถ้ามองจากข้างนอกจะแยกไม่ค่อยออกว่าเป็นงานชนิดไหน แต่ถึงแม้จะแข็งแรง แต่ก็ไม่ควรตั้งกลางแจ้งอยู่ดี เพราะจะอมความร้อน ทำให้สีแตก ถ้าเป็นฝังดิน จะมีอายุใช้งานประมาณ 50
4. งานหล่อเรซิ่นใส แต่จะเรียกกันว่างานพระแก้ว มีเกรดพรีเมียม กับ เกรดวัดพระแก้ว มีน้ำหนัก ทำได้หลายสี
5. งานทองเหลือง อันนี้เป็นแบบที่แพงที่สุด ถ้าไม่นับงานพระแก้วมรกต จะมี 2 แบบ คือ พ่นทอง กับ ขัดเงา ข้อดีของพ่นทอง คือ เช็ดล้างทำความสะอาดได้ ไม่ดำด่างในอนาคต และปกป้องเนื้อภายในให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้น ส่วนข้อดีของขัดเงา คือสีสุกเงา เล่นไฟในช่วงแรก ดูสวยงาม แต่ข้อเสีย คือ จะด่างดำไปเรื่อยๆ ต้องขัดตลอด ดูแลยาก ซึ่งถ้ามองในระยะยาว แนะนำเป็นพ่นทอง จะดีกว่า
ตัวอย่างทองเหลืองขัดเงา
ตัวอย่างทองเหลือง พ่นทอง
เมื่อเราเข้าใจรูปแบบของแต่ละเนื้อแล้ว กลับมาดูงบประมาณที่มี เราตั้งไว้ไม่เกิน 35,000 - 40,000 บาท เมื่อเทียบราคากับพระพุทธรูปแต่ละแบบ ตัดงานปูนออกไป จะได้เป็น
1. งานไฟเบอร์ ได้หน้าตักประมาณ 50 นิ้ว
2. งานอลูมิเนียม หรืออัลลอย จะได้หน้าตักประมาณ 40 นิ้ว
3. งานเรซิ่นใส เกรดวัดพระแก้ว จะได้หน้าตักประมาณ 30 นิ้ว (ถ้าเป็นเกรดพรีเมียม จะถูกกว่านี้)
4. งานทองเหลือง จะได้หน้าตักประมาณ 35 นิ้ว
งานส่วนใหญ่จะมีพร้อมส่ง ยกเว้นหน้าถวายพระ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ออกพรรษา หรือปั้นงานใหม่ จะเป็น 2 - 4 เดือน ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ซึ่งหลังจากเลือกได้แล้ว ว่าจะถวายพระพุทธรูปแบบไหน ก็จะเป็นข้อความสลัก ใต้ฐานพระ เริ่มจาก ชื่อผู้ถวาย............. สร้างอุทิศ แด่ เทวดาประจำตัว บรรพบุรุษ เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณทุกภพชาติ
ด้านการขนส่ง ปกติถ้าในกรุงเทพมหานคร จะส่งฟรี แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดจะมีคิดค่าใช้จ่ายตามระยะทาง น่าจะอยู่ประมาณ 12 - 15 บาท ต่อกิโลเมตร ของเราไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะทางฝั่งคุณน้าร่วมบุญ เป็นธุระในด้านการขนส่งไป รวมถึงการแห่ และพิธีกรรมต่างๆ พอถึงวันรับพระ ทางโรงหล่อให้เลือกจุดรับพระได้ 2 จุด คือ เข้าไปรับที่เสาชิงช้า หรือ มารับที่สาขา 2 ซอยโพธิ์แก้ว เราเลือกรับที่ สาขา 2 เพราะไม่อยากเข้าเมืองไปเจอรถติด แถมหาที่จอดยากอีกต่างหาก เจ้าของโรงหล่อสวย และและให้บริการดี
วันงาน ก็จะเรียบง่ายหน่อย มีการแห่เล็กๆ มีต้นกฐิน แห่รอบหมู่บ้าน และอุโบสถ
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กันผู้ที่ต้องการถวายพระพุทธรูปมือใหม่ ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ โรงหล่อพระรุ่งเจริญชัย ที่ให้คำปรึกษา และคำแนะนำอย่างดี ถ้ามีโอกาสถวายพระอีกในปีหน้าจะกลับมาอุดหนุนใหม่ครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้