10 Fight 10 บทเรียนล้ำค่าสำหรับการขาย ใช้คอนเทนต์ให้เป็นชีวิตเปลี่ยน

สวัสดีครับ ช่วงเดือนที่ผ่านมาผมมีรายการโปรดอีกรายการ ที่ไม่เคยคิดว่าจะชอบดูมาก่อน นั่นคือ 10 Fight 10 ไม่ใช่เเค่ผม เพื่อนๆรอบตัวที่ล้วนไม่ชอบมวยมาก่อนหลายคนก็มาติดตามคุยกัน  มีใครเป็นเเบบผมไหม 555? ส่วนตัวผมนั้นได้คำตอบเเล้วครับ เเละไอเดียของมันผมคิดว่าเพื่อนๆอาจสนใจเลยอยากเเชร์กันครับ


ถามว่ารายการมวยปกติมีคนดูมากน้อยแค่ไหน ตอบได้จากเรตติ้งว่าไม่มากคนดูส่วนมากเป็นผู้ใหญ่เพศชาย จะเรียกรายการมวยว่าเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มก็ได้นะ  แต่ปรากฏการณ์ของ 10 Fight 10 พอเราลองๆมาดูที่เมนต์ที่แชร์กัน ในโซเชียลจะพบกลุ่มผู้ชมที่กว้างขึ้น ทั้งเพศ หญิง ชาย ช่วงอายุตั้งเเต่วัยรุ่นถึงผู้ใหญ่ ซึ่งบางกลุ่มไม่น่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าของรายการมวยได้ กลุ่มคนที่ดูมวยเองก็รู้สึกว่าจะดูรายการนี้เหมือนกันนะ (มีการรับแทงมวยเวทีไหน เวทีนั้นคอมวยดูแน่นอน 5555) แล้ว 10 Fight 10 ทำได้อย่างไร ???

เพี้ยนมองบนเพี้ยนมองบนเพี้ยนมองบน

สิ่งที่เห็นชัดเจนเลยคือ การเปลี่ยนคอนเทนต์ในการนำเสนอเรื่องราวของมวยให้แตกต่างไปจากเดิม
+ รายการมวยทั่วไปเน้นขายความเก่งของนักมวย ความรู้สึกมันของผู้ชมเวลานักมวยชกต่อยกันบนเวทีด้วยชั้นเชิงที่สุดยอด จึงดูเหมาะกับผู้ชาย

+ 10 Fight 10 เน้นขายเรื่องเอนเตอร์เทน มีความเรียลลิตี้ ทั้งการที่ใช้ดาราขึ้นชก ใช้ดาราที่เรารู้จักมาอวยเชียร์กันในห้องส่ง  นักชกแต่ละคนมีคาร์เเรคเตอร์ มีสตอรี่ของตัวเอง มีการเกทับกันของทั้งดาราที่มาเชียร์และหัวหน้าทีม ทำให้รายการดูง่ายและสนุกกว่ามวยธรรมดา กลุ่มผู้ที่ดูรายการนี้อาจเป็น คนที่ชอบดารา และหรือ คนที่ชอบรายการเอนเตอร์เทน และหรือคนที่ชอบกีฬา  ก็ได้

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ VTR เปิดตัวนักชกที่เล่าถึงจุดเริ่มต้น บางคนเล่าถึงปมชีวิต ความพยายาม แรงบันดาลใจในการขึ้นเวทีชกในครั้งนี้ ผมว่านี่ทำให้การเชียร์เป็นความชอบในมิติความเป็นตัวบุคคลมากขึ้น นักชกเเต่ละคนเหมือนตัวละครในหนังที่มีเรื่องราวมีสีสัน ทำให้ผู้ดูรู้ความเป็นมาผูกพันกับตัวนักชกมากขึ้น ถึงเเม้ฝีมือไม่ดีเเต่ชอบในเรื่องราวของนักชกก็จะตามเชียร์ และถึงแม้ดาราบางคนจะมีชั้นเชิงมวยที่ดี แต่ก็ถือว่ายังห่างไกลนักมวยอาชีพมาก เราจะเดาไม่ออกตั้งแต่แรกว่าใครจะชนะเพราะไม่มีประวัติแพ้ชนะใดๆให้เห็น เราจะเลือกคนที่เราชอบ หรือคนที่คิดว่าหน่วยก้านดีเเต่เเรกเป็นตัวตั้ง แล้วคอยตามลุ้นคนที่เราชอบไปเรื่อยๆให้ชนะ นี่คือความสนุกของมัน

เพี้ยนหืม

การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้ชมในครั้งนี้ยังเห็นได้ชัดจากโฆษณาตัวหนึ่ง ที่ไม่น่าจะมีในรายการประเภทนี้ ไม่รู้ว่าทุกท่านที่ดูจะยังจำกันได้ไหม !!

>>>>> โฆษณาที่มีเด็กตัวเล็กๆมาซื้อไอติม และเมื่อได้ยินเสียงเพลงจากรถไอติมเด็กคนนี้ก็ร้องเสียงที่ได้ยินออกมาเป็นตัวโน้ต นี่คือโฆษณาของโรงเรียนดนตรียามาฮ่าหลักสูตรดนตรีเด็ก

ประมาณว่าเป็นคอร์สเรียนนี้ช่วยพัฒนาเด็ก ให้มีประสาทของหูที่ดี  มีสมาธิ ความจำที่ดี มีความคิดที่เฉียบไวและสร้างสรรค์ มีอารมณ์ดี เด็กจึงนึกสนุกสามารถคิดแปลงเพลงเป็นตัวโน้ตได้ด้วยการฟังเพียงครั้งเดียว ซึ่งตรงนี้เราทุกคนก็คงคุ้นเคยกับโรงเรียนดนตรียามาฮ่าอยู่เเล้ว เพราะมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในด้านสอนดนตรีมานาน

แต่คำถามอยู่ที่ว่าทำไมถึงกล้าลงโฆษณาสินค้าสำหรับเด็กในรายการมวย ???? โฆษณาพวกนี้ ก็เหมือนพวกนมผง แพมเพิส ซึ่งเรามักพบในรายการสำหรับผู้หญิง แสดงว่าทาง Work point เองต้องมีความมั่นใจถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆอย่างผู้หญิงจึงขายโฆษณาให้ และถึงแม้ว่าโรงเรียนดนตรียามาฮ่า และ GS Battery ผู้สนับสนุนหลักจะมีเครือบริหารเดียวกันก็ตาม แต่ไม่น่ามีเหตุผลเพียงพอให้ต้องลงโฆษณาในรายการที่ไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 

และนี่ก็คือพลังของคอนเทนต์  ที่จะเปลี่ยนตัวสินค้าให้ขายใครก็ได้ อีกตัวอย่างที่ผมชอบถ้าพอจะจำกันได้คือ Utip  จากสมุนไพร น้ำยาอุทัย ที่ใช้หยดกับน้ำเพื่อให้ได้รสที่ดี บำรุงร่างกายซึ่งเคยเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มของผู้ใหญ่ กลายมาเป็นแฟชั่นทาปากของสาวๆวัยรุ่นไประยะหนึ่ง นี่ก็เป็นอิทธิพลของการจับของเก่ามาปัดฝุ่นเปลี่ยนคอนเทนต์ใหม่เช่นกัน

*** ดังนั้นเราอาจไม่จำเป็นต้องหาสิ่งใหม่ๆในตลาด เพราะใดๆในตลาดล้วนเก่ามาก่อน แต่อาจต้องรู้วิธีการเขียนคอนเทนต์ให้เป็นเท่านั้นเอง ***

 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่