หลังจากคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ได้ผลักดันหลักสูตร Coding
ต้องการให้ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่ 3 และต้องการให้เด็กไทยได้เรียนหลักสูตรนี้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
โดยมีการเปิดอบรมให้กับครูที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้โฟกัสว่าต้องเป็นครูที่จบจากสาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่หลักสูตร Coding
ที่เด็กไทยได้เรียน วิทยาการคำนวน อยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) จากเดิมที่เด็กไทยได้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์
ในฐานะผู้ใช้ในหลักสูตรนี้จะสอนให้เป็นผู้เขียน ผู้พัฒนาและได้ฝึกหัดคิดอย่างเป็นระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น
โดยโครงสร้างหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก
1.Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หัวใจหลักของวิชานี้
ทำให้คิดได้เป็นขั้นตอน โดยใช้การเขียนโปรแกรมมาเป็นเครื่องมือ ตามแนวทาง ComputationalThinking
2.ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล และทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลได้
3.Digital Literacy (รู้เท่าทันดิจิทัล)การรรู้ทันเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งสามารถสร้างสรรค์ผลงานบนเทคโนโลยีได้
ที่กล่าวมาในโครงสร้างหลักสูตรนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นความรู้พื้นฐานด้าน หลักการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์C,C++,VB,JAVA,Python,HTML,PHP,Mysql โครงสร้างโปรแกรม
โปรแกรมเชิงโครงสร้าง โปรแกรมเชิงวัตถุ โครงสร้างข้อมูล ระบบฐานข้อมูล ฯ
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือเรื่องที่ครูผู้สอนต้องมีความรู้พื้นฐานมาเป็นอย่างดีแล้ว...แต่ปัจจุบันหลังจากที่ สพฐ. ผลักดันหลักสูตร Coding นี้ให้เกิดขึ้นจริงเป็นจริงเป็นจัง...แต่ก็ไม่ได้โฟกัสที่ครูผู้สอนว่าต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้โดยตรง
คิดแค่ว่าเอาครูวิชาเอกไหนมาอบรมก็สอนเด็กได้เหมือนๆกัน
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่าการที่จะให้หลักสูตร Coding ประสบผลสําเร็จและเกิดขึ้นได้จริงกับเด็กไทย
สพฐ. ต้องมุ่งเน้นที่ครูที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้ตรงๆซะก่อน ไม่ใช่ว่าให้ครูที่ยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่คล่อง
ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องที่ผมกล่าวมาเลยแล้วมาอบรมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มันไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อทั้งครูผู้สอน
สถานศึกษา และตัวเด็กเลย...ยกตัวอย่างการจัดอบรม KidBright
ที่ผ่านมาหลายโรงเรียนอบรมกลับมาแล้วก็ไม่ได้นำมาต่อยอดให้เกิดกับเด็ก ได้ชุด KidBright มาก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ
เพราะว่าหลายโรงเรียนครูที่ถูกส่งไปอบรมก็ไม่ใช่ครูคอมพิวเตอร์โดยตรง
อบรมกลับมาแบบ งงๆ ก็หลายคน....ขอเป็นตัวแทนของผู้ที่สอบขึ้นบัญชีครูผู้ช่วยรอบทั่วไปเอกคอมพิวเตอร์บัญชีปี 2561
ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ เคยดีใจกับนโยบายผลักดันหลักสูตร Coding
คิดว่าถ้าผลักดันให้ใช้ได้จริงแล้วจะเรียกบรรจุเอกคอมพิวเตอร์มากขึ้น
แต่ที่ผ่านมาเกือบทุก กศจ. ยังคงเรียกน้อยอยู่เพราะ นโยบาย สพฐ.ผลักดันหลักสูตร Coding แต่ไม่ได้ผลักดันครูผู้สอน
เพื่อนๆคิดยังไงกันบ้าง...ถ้าไม่ใช้ครูคอมสอน Coding เด็กจะได้ความรู้มากน้อยเพียงใด
ถ้าได้เรียนกับครูคอมสายตรงจะมีความรู้และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาตนเองได้ขนาดไหน...
นโยบายผลักดันหลักสูตร Coding กับการเรียกบรรจุครูผู้ช่วย
ต้องการให้ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่ 3 และต้องการให้เด็กไทยได้เรียนหลักสูตรนี้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
โดยมีการเปิดอบรมให้กับครูที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้โฟกัสว่าต้องเป็นครูที่จบจากสาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่หลักสูตร Coding
ที่เด็กไทยได้เรียน วิทยาการคำนวน อยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) จากเดิมที่เด็กไทยได้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์
ในฐานะผู้ใช้ในหลักสูตรนี้จะสอนให้เป็นผู้เขียน ผู้พัฒนาและได้ฝึกหัดคิดอย่างเป็นระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น
โดยโครงสร้างหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก
1.Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หัวใจหลักของวิชานี้
ทำให้คิดได้เป็นขั้นตอน โดยใช้การเขียนโปรแกรมมาเป็นเครื่องมือ ตามแนวทาง ComputationalThinking
2.ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล และทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลได้
3.Digital Literacy (รู้เท่าทันดิจิทัล)การรรู้ทันเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งสามารถสร้างสรรค์ผลงานบนเทคโนโลยีได้
ที่กล่าวมาในโครงสร้างหลักสูตรนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นความรู้พื้นฐานด้าน หลักการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์C,C++,VB,JAVA,Python,HTML,PHP,Mysql โครงสร้างโปรแกรม
โปรแกรมเชิงโครงสร้าง โปรแกรมเชิงวัตถุ โครงสร้างข้อมูล ระบบฐานข้อมูล ฯ
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือเรื่องที่ครูผู้สอนต้องมีความรู้พื้นฐานมาเป็นอย่างดีแล้ว...แต่ปัจจุบันหลังจากที่ สพฐ. ผลักดันหลักสูตร Coding นี้ให้เกิดขึ้นจริงเป็นจริงเป็นจัง...แต่ก็ไม่ได้โฟกัสที่ครูผู้สอนว่าต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้โดยตรง
คิดแค่ว่าเอาครูวิชาเอกไหนมาอบรมก็สอนเด็กได้เหมือนๆกัน
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่าการที่จะให้หลักสูตร Coding ประสบผลสําเร็จและเกิดขึ้นได้จริงกับเด็กไทย
สพฐ. ต้องมุ่งเน้นที่ครูที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้ตรงๆซะก่อน ไม่ใช่ว่าให้ครูที่ยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่คล่อง
ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องที่ผมกล่าวมาเลยแล้วมาอบรมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มันไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อทั้งครูผู้สอน
สถานศึกษา และตัวเด็กเลย...ยกตัวอย่างการจัดอบรม KidBright
ที่ผ่านมาหลายโรงเรียนอบรมกลับมาแล้วก็ไม่ได้นำมาต่อยอดให้เกิดกับเด็ก ได้ชุด KidBright มาก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ
เพราะว่าหลายโรงเรียนครูที่ถูกส่งไปอบรมก็ไม่ใช่ครูคอมพิวเตอร์โดยตรง
อบรมกลับมาแบบ งงๆ ก็หลายคน....ขอเป็นตัวแทนของผู้ที่สอบขึ้นบัญชีครูผู้ช่วยรอบทั่วไปเอกคอมพิวเตอร์บัญชีปี 2561
ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ เคยดีใจกับนโยบายผลักดันหลักสูตร Coding
คิดว่าถ้าผลักดันให้ใช้ได้จริงแล้วจะเรียกบรรจุเอกคอมพิวเตอร์มากขึ้น
แต่ที่ผ่านมาเกือบทุก กศจ. ยังคงเรียกน้อยอยู่เพราะ นโยบาย สพฐ.ผลักดันหลักสูตร Coding แต่ไม่ได้ผลักดันครูผู้สอน
เพื่อนๆคิดยังไงกันบ้าง...ถ้าไม่ใช้ครูคอมสอน Coding เด็กจะได้ความรู้มากน้อยเพียงใด
ถ้าได้เรียนกับครูคอมสายตรงจะมีความรู้และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาตนเองได้ขนาดไหน...