ซอมบี้...ชื่อนี้คงทำให้ใครหลายๆคนนึกถึงคนผีดิบที่เดินไปมาเรื่อยเฉื่อยไร้จิตใจ ทว่าทันทีที่เห็นมนุษย์ไม่ติดเชื้อ พวกมันจะร้องระงมอย่างบ้าคลั่งแล้วพุ่งเข้ามาด้วยหวังจะฉีกเนื้อกินสดๆ !!
ถึงจะรอดจากเงื้อมมือมันมาได้ก็จงสำรวจเนื้อตัวดีๆเพราะแผลกัดข่วนเล็กน้อยก็เพียงพอให้ยีนส์ซอมบี้เข้าสู่ร่างและสาปคนโชคร้ายผู้นั้นให้กลายเป็นหนึ่งในพวกมันในไม่ช้า
แต่สำหรับสัตว์อื่นๆแล้ว ซอมบี้นั้นไม่ใช่เพียงจินตนาการหรือฝันร้าย หากแต่เป็นความจริงที่น่าหวาดหวั่นในการเอาชีวิตรอด เพราะ Parasite หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าปรสิตหลายชนิด มีความสามารถเปลี่ยนโฮสต์ให้กลายเป็นผีดิบได้จริงๆ! เชิญมาชมเชื้อพันธุ์สัตว์ซอมบี้กันได้เลย
Sacculina Carcini
เป็นหอยเพรียงตระกูลหนึ่ง ตามปกติเพรียงจะมีวงจรชีวิตสองช่วงคือเป็นตัวอ่อนว่ายน้ำได้นานสักสามสี่อาทิตย์ ก่อนจะหาพื้นผิวเกาะแบบถาวรตลอดชีวิตอย่างที่เราเห็นอยู่ข้างเรือประมงแถวภูเก็ตหรือระยอง
แต่แทนที่ Sacculina จะหาท่อนไม้เกาะ ตัวเมียจะว่ายน้ำไปเรื่อยจนเจอะกับโฮสต์ซึ่งในกรณีนี้คือปูตัวผู้ (เจาะจงด้วยว่าตัวผู้) เมื่อ Sacculina เกาะเหยื่อได้มันจะกระดืบบนแผ่นกระดองของปูจนถึงส่วนข้อต่อเกราะกับเนื้อซึ่งอาจเป็นขาหรือตามลำตัว ระหว่างนี้ปูโชคร้ายก็พยายามปัดตัวอ่อนปรสิตออกอย่างบ้าคลั่งแต่ก็ยากสำเร็จ
พอเจ้า Sacculina ตัวเมียหาจุดเหมาะเจาะได้ มันจะเจาะรูตรงเนื้อแล้วแทรกเข้าไปในตัวปู ไชลึกเข้าไปๆจนถึงส่วนท้อง ไม่ใช่เพื่อกิน...แต่เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองร่าง
SRC ตัวอ่อน Sacculina
Sacculina จะเริ่มเติบโตจนท้องปูตัวผู้บวมเป่งเหมือนกำลังตั้งไข่ ขณะเดียวกันเพรียงร้ายจะแพร่เส้นใยคล้ายด้ายไปทั่วร่างเหยื่อเพื่อดูดซับอาหารผ่านเลือด (เส้นนี่พันกระทั่งรอบก้านตาเชียวนา บรื๋อ) และปล่อยสารเปลี่ยนปูเป็นซอมบี้อย่างช้าๆ
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างผีดิบแล้ว ปูจะมีชีวิตอยู่เพื่อรับใช้ปรสิตเพียงอย่างเดียว มันจะเลิกสนใจผสมพันธุ์กับเพศตรงข้าม กิจวัตรเหลือแค่กินและกินเพื่อป้อนอาหารทั้งหมดให้กับปรสิตจนถึงขนาดว่ามันไม่สามารถเติบโต ลอกคราบ หรือสร้างก้ามใหม่ได้หากถูกตัดเหมือนปูทั่วไป ที่ใหญ่ขึ้นอย่างเดียวคือส่วนท้องปูซึ่งถูกขยายให้พอสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน Sacculina ได้
หลังจาก Sacuulina ตัวผู้ลอยน้ำมาผสมกับปรสิตในร่างแล้ว พฤติกรรมของปู (แต่เดิมเพศผู้) จะเปลี่ยนเป็นเพศเมียโดยสิ้นเชิง มันจะช่วยปกป้องดูแลไข่ของปรสิตซึ่งฟักอยู่ใต้ท้องโดยใช้ก้ามขัดสาหร่ายหรือราที่มาเกาะไม่ต่างกับแม่ปูดูแลลูก พอตัวอ่อน Sacculina ฟัก ปูผีดิบก็จะใช้ก้ามช่วยพุ้ยน้ำส่งให้ปรสิตน้อยๆลอยไปแพร่เชื้อซอมบี้ให้เพื่อนร่วมพันธุ์ปูตัวอื่นๆอีกด้วย
เรียกได้ว่าเข้ายึดร่างแล้วก็เปลี่ยนทั้งร่างกายและของจิตใจโฮสต์ให้กลายเป็นพาหะฟักไข่ไปเลย ฟังดูแล้วก็สยองคล้ายๆกับหนังซอมบี้ทั่วไป แต่ธรรมชาติยังมีเซอไพรซ์ที่น่ากลัวกว่านั้นรออยู่อีก
Cr.
https://www.facebook.com Jesus Apple
Ophiocordyceps camponoti-balzani
รูป "เขา" ที่งอกบนหัวมด คือ ก้านสปอร์เชื้อราที่เข้าไปควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบ
Ophiocordyceps Polyrhachis furcata เป็นเชื้อราแมลงในกลุ่ม O. unilateralis ที่สามารถก่อโรคหรือพฤติกรรมสุดแปลกในมดสายพันธุ์ Polyrhachis furcata
มดสายพันธุ์ Polyrhachis Furcata โดยปกติแล้วมดจะหากินกันเป็นกลุ่มและไม่แยกออกไปหาอาหารแบบฉายเดี่ยว แต่เมื่อมันถูกเชื้อรา Ophiocordyceps Polyrhachis-Furcata เข้ามาในร่างกาย เชื้อราจะยึดครองร่างของพวกมันผ่านสมอง หรือปมประสาทและเข้าควบคุมมด โดยเปลี่ยนนิสัยของมันจากที่เดินแบบรวดเร็วก็จะช้าลงและไม่เดินหาอาหารพร้อมกับฝูงแต่จะแยกตัวออกมาโดดเดี่ยว และห้อยหัวลงมาจากกิ่งไม้และตายในที่สุด ซึ่งพฤติกรรมนี้เรียกว่า มดซอมบี้ (Zombie Ant)
เชื้อราจะบังคับร่างของมดให้พาไปในที่ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ เมื่อเจอสถานที่ๆ เหมาะสมแล้วมันจะสังหารมดและใช้ร่างกายของมดเป็นแหล่งอาหารเพื่อปล่อยสปอร์ไปยังมดตัวอื่น โดยจะงอกสปอร์ออกมาจากหัวหรือตามข้อต่อของมด เชื้อรา Ophiocordyceps Polyrhachis-furcata จะพบมากที่สุดในป่าเขตร้อนชื้นของประเทศบราซิล
Cr: SpokeDark.TV
Ichneumonoidea
ในป่าคอสตาริก้ามีตัวต่ออยู่ชนิดหนึ่งในตระกูล Ichneumonoidea ซึ่งพูดถึงไปแล้วในตอนก่อน แต่เจ้านี่แยบยลกว่า เพราะไม่ใช่แค่ฝังไข่ในตัวเหยื่อเท่านั้น มันถึงกับสร้างซอมบี้มาดูแลลูกเลยทีเดียว!
ต่อพันธุ์นี้จะเลือกแมงมุมโชคร้าย เพื่อปรี่เข้าฉีดยาชาตามด้วยการพ่นไข่เข้าร่าง จากนั้นตัวอ่อนจะฟักแล้วค่อยๆกัดกินแมงมุมอย่างทรมานจากภายใน โดยเริ่มจากส่วนไม่สำคัญก่อน การยึดครองร่าง...จะเริ่มในคืนสุดท้าย
เมื่อตัวอ่อนต่อพร้อมเข้ารังไหมแล้ว มันจะควบคุมให้เหยื่อผู้ถึงฆาตชักใยครั้งสุดท้ายเป็นรูปทรงที่ตัวแมงมุมเองยังไม่เคยสร้างมาก่อนในชีวิต
แทนที่จะเป็นใยแบนๆอย่างที่เราเห็นในภาพบนสุด แมงมุมซอมบี้จะสร้างใยเป็นรูปฐานเหมาะกับการรับน้ำหนักของรังไหม (ตามรูป) เมื่อเรียบร้อยแล้วตัวอ่อนต่อก็ฆ่าโฮสต์ผู้มีพระคุณทิ้งร่างหมดประโยชน์ของผีดิบร่วงลงแห้งตายกับพื้น ตัวมันเองก็คลานไปฟักตัวตรงกลางใย รอเติบใหญ่มาสร้างความสยดสยองอีกครั้ง
ต่อสายพันธุ์ Ichneumonoidea ยังมีวิธีสร้างผีดิบอีกมาก บางชนิดตัวอ่อนสามารถควบคุมหนอนบุ้งให้ดิ้นเร่าๆทุกครั้งเพื่อไล่อันตราย หรือตัวเต็มวัยของบางสายพันธุ์ถึงขั้นฝังเข็มเข้าไปในหัวแมลงสาบแล้วควบคุมไปให้ลูกกินถึงรังก็ยังได้
Cr.
https://www.facebook.com Jesus Apple
Leucochloridium paradoxum
L. paradoxum เป็นพยาธิตัวแบนที่เป็นปรสิตในนก แต่มี intermediate host เป็นหอยทาก
เมื่อตัวอ่อน
L. paradoxum เข้าสู่ร่างกายของหอยทาก มันจะเจริญเติบโตในทางเดินอาหารของหอยทาก เมื่อโตขึ้นก็อาศัยอยู่ในโครงสร้างคล้ายท่อที่เรียกว่า broodsacs ภายในบรรจุพยาธิ 10-100 ตัว ท่อ broodsacs ดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปยังก้านตาของหอยทาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันน่าสะพรึง
ก้านตาหอยทากจะบวมเป่งขึ้น มีการสั่นไหวเป็นจังหวะและมีสีสันฉูดฉาดตา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไปรบกวนการรับรู้แสงของหอยทากอีกด้วย ทำให้จากเดิมนิสัยหอยทากนั้นชอบอยู่ที่มืดก็กลายเป็นไม่เกรงกลัวต่อแสงสว่าง หอยทากจะปรากฏตัวในที่โล่ง ลักษณะก้านตาที่บวมเป่งมองไกลๆก็คล้ายตัวหนอนจะล่อให้นกบินมาจิกกิน นกที่กินหอยทากเข้าไปก็จะได้รับพยาธิจำนวนมากเข้าสู่ร่างกาย
Cr.
http://zentonize.blogspot.com
Spinochordodes tellinii
พยาธิ ขนม้า (hairworm) เป็นปรสิตในแมลงกลุ่มตั๊กแตนและจิ้งหรีด (Orthoptera) ตั้งแต่ตัวอ่อนยันโตเต็มตัว ในขณะที่เป็นตัวอ่อนมันจะดำรงชีวิตอยู่เฉยๆแต่เมื่อโตเต็มวัยก็จะออกจากร่าง ของแมลงมาใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำเพื่ออาหารและสืบพันธุ์ต่อไป นี่คืออารัมภบทซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงความน่ากลัวของเจ้าพยาธิตัวนี้แต่อย่างใด
วงจรชีวิตของพยาธิขนม้าเริ่มจากไข่ถูกวางบนวัชพืชตามแหล่งน้ำ host จะได้รับไข่เข้าไปในร่างกาย ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมากแต่สุดท้ายเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดยาวกว่า ร่างกายของ host ประมาณ 4 เท่า (ครับ ตัวเลขนี้ไม่ผิด ปรสิตจะกินอวัยวะภายในของ host เกือบหมดสิ้น ขดลำตัวที่ยาวกว่า host หลายเท่าอยู่ภายในร่างกายนั้น) และเปลี่ยนพฤติกรรมของ host ให้ตามหาแหล่งน้ำแล้วกระโดดลงไปจมน้ำตาย เพื่อให้ปรสิตออกจากตัวhost ไปอาศัยและสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำต่อไปได้
ประเด็นที่น่าสนใจคือกลไกที่ ปรสิตเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ host ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของโปรตีนกลุ่มหนึ่งใน สมอง (ปมประสาท) ของ host ที่ถูกเหนี่ยวนำโดยปรสิตที่โตเต็มวัยแล้ว โปรตีนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของระบบประสาทโดยตรงและการทำงานของสาร สื่อประสาทต่างๆ
Cr.
http://zentonize.blogspot.com
Ampulex compressa (Jewel wasp)
ตัว ต่อ jewel wasp ทำให้แมลงสาบกลายเป็นสัตว์เลี้ยงได้โดยการฝังเหล็กในหนึ่งคู่ลงไป เหล็กในอันแรกจะต่อยเข้าที่อกของแมลงสาบเป็นผลให้มันกลายเป็นอัมพาตแต่บาง ส่วน เหล็กในอันที่สองที่ถูกต่อยเข้าไปยังสมองโดยตรง และเป็นผลให้แมลงสาบสูญเสียกลไกหนีเอาตัวรอด (fail to escape aversive stimuli) และเกิดภาวะสูญเสียการเคลื่อนไหว (long term-hypokinesia) ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่า พิษของตัวต่อ jewel wasp มีผลยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท Octopamine ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เคลื่อนไหวที่ซับซ้อนอย่างการเดิน เมื่อสารสื่อประสาทดังกล่าวถูกยับยั้งก็ทำให้แมลงสาบไม่สามารถเริ่มเดินได้
จาก ภาวะดังกล่าว jewel wasp ซึ่งมีขนาดตัวเล็กกว่ามากจะควบคุมแมลงสาบได้โดยสิ้นเชิง jewel wasp จะงับเอาหนวดข้างหนึ่งของแมลงสาบและลากไปยังรังของมันราวกับจูงสุนัขที่สวม ปลอกคอ ที่รังของมัน แมลงสาบจะถูกวางไข่ไว้ในท้อง สุดท้ายเมื่อตัวอ่อนถูกฟักขึ้นภายในช่องท้องของแมลงสาบ แมลงสาบก็ยังคงมีชีวิตอยู่และถูกตัวอ่อนกัดกินอวัยวะภายในไปอย่างช้าๆ
Cr..
http://zentonize.blogspot.com
Dinocampus coccinellae
Cr.ภาพจาก www.janvanduinen.nl/dinocampus-coccinellaeengels.php
ปรสิตตัวต่อ ชื่อ Dinocampus coccinellae ตักตวงประโยชน์ด้วยการ
บังคับให้แมลงเต่าทองเป็น "บอดี้การ์ดจำเป็น"
ความจริงคือ ตัวต่อบินมาต่อยแมลงเต่าทอง แค่จึ้กเดียวเท่านั้นเพื่อวางไข่ในตัวแมลง และในขณะเดียวกันก็ปล่อยไวรัสเข้าสู่ตัวแมลง
ตัวอ่อนจะกัดกินอวัยวะแมลงเต่าทองจากข้างใน แต่! จะไม่กินอวัยวะสำคัญ เพื่อให้แมลงยังมีชีวิตอยู่เป็นปกติ พอไข่ฟักแล้ว ตัวอ่อนจะคลานออกมาจากข้างในตัวแมลง และเริ่มถักใยห่อหุ้มตัวเองเป็นดักแด้อยู่บริเวณหว่างขาของเต่าทอง
ซึ่ง ถ้าในตัวแมลงเต่าทองตัวนั้นมีไข่อยู่
ตัวอ่อนของตัวต่อจะกินลูกแท้ๆ ของแมลงเต่าทองนั้นให้หมดเกลี้ยง นอกจากนี้ มันยังสำรวจว่ามีไข่ของต่อตัวอื่นที่หวังจะมาให้ "อุ้มบุญ"เหมือนกันหรือไม่ ถ้ามีก็กินไปซะให้สิ้นซากด้วย ส่วนไวรัสที่ปล่อยเข้าสู่ตัวแมลงเต่าทองตั้งแต่ทีแรก เมื่อตัวอ่อนคลานออกมาจากร่างของแมลงแล้ว
ไวรัสจะเข้าสู่สมองและทำให้แมลงเป็นซอมบี้อัมพาต กลายร่างเป็นบอดี้การ์ดผู้ซื่อสัตย์ ชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อการปกป้องดักแด้เพียงเท่านั้นโดยละทิ้งการหาอาหารให้ตัวเองโดยสิ้นเชิง ส่วนใหญ่พวกมันจึงตายจากการขาดอาหาร
25% ของแมลงเต่าทองเหล่านี้สามารถรอดชีวิตจากความหิวโหยและหายจากการเป็นอัมพาตหลังจากตัวต่อผละจากจากดักแด้ แต่! ต่อเหล่านี้ใช้เวลาเพียง 1 ชม. ก็พร้อมจะวางไข่ในแมลงเต่าทองตัวอื่นๆ ต่อไป เหมือนแปะแข็งเลย
ถิ่นที่อยู่ : ทั่วโลก แต่กำเนิดจากยุโรปและอเมริกาเหนือ พบมากช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อน
Cr.
https://www.noozup.me
Animologic ซอมบี้ในอาณาจักรสัตว์
ถึงจะรอดจากเงื้อมมือมันมาได้ก็จงสำรวจเนื้อตัวดีๆเพราะแผลกัดข่วนเล็กน้อยก็เพียงพอให้ยีนส์ซอมบี้เข้าสู่ร่างและสาปคนโชคร้ายผู้นั้นให้กลายเป็นหนึ่งในพวกมันในไม่ช้า
แต่สำหรับสัตว์อื่นๆแล้ว ซอมบี้นั้นไม่ใช่เพียงจินตนาการหรือฝันร้าย หากแต่เป็นความจริงที่น่าหวาดหวั่นในการเอาชีวิตรอด เพราะ Parasite หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าปรสิตหลายชนิด มีความสามารถเปลี่ยนโฮสต์ให้กลายเป็นผีดิบได้จริงๆ! เชิญมาชมเชื้อพันธุ์สัตว์ซอมบี้กันได้เลย
Sacculina Carcini
เป็นหอยเพรียงตระกูลหนึ่ง ตามปกติเพรียงจะมีวงจรชีวิตสองช่วงคือเป็นตัวอ่อนว่ายน้ำได้นานสักสามสี่อาทิตย์ ก่อนจะหาพื้นผิวเกาะแบบถาวรตลอดชีวิตอย่างที่เราเห็นอยู่ข้างเรือประมงแถวภูเก็ตหรือระยอง
แต่แทนที่ Sacculina จะหาท่อนไม้เกาะ ตัวเมียจะว่ายน้ำไปเรื่อยจนเจอะกับโฮสต์ซึ่งในกรณีนี้คือปูตัวผู้ (เจาะจงด้วยว่าตัวผู้) เมื่อ Sacculina เกาะเหยื่อได้มันจะกระดืบบนแผ่นกระดองของปูจนถึงส่วนข้อต่อเกราะกับเนื้อซึ่งอาจเป็นขาหรือตามลำตัว ระหว่างนี้ปูโชคร้ายก็พยายามปัดตัวอ่อนปรสิตออกอย่างบ้าคลั่งแต่ก็ยากสำเร็จ
พอเจ้า Sacculina ตัวเมียหาจุดเหมาะเจาะได้ มันจะเจาะรูตรงเนื้อแล้วแทรกเข้าไปในตัวปู ไชลึกเข้าไปๆจนถึงส่วนท้อง ไม่ใช่เพื่อกิน...แต่เป็นจุดเริ่มต้นการยึดครองร่าง
SRC ตัวอ่อน Sacculina
Sacculina จะเริ่มเติบโตจนท้องปูตัวผู้บวมเป่งเหมือนกำลังตั้งไข่ ขณะเดียวกันเพรียงร้ายจะแพร่เส้นใยคล้ายด้ายไปทั่วร่างเหยื่อเพื่อดูดซับอาหารผ่านเลือด (เส้นนี่พันกระทั่งรอบก้านตาเชียวนา บรื๋อ) และปล่อยสารเปลี่ยนปูเป็นซอมบี้อย่างช้าๆ
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างผีดิบแล้ว ปูจะมีชีวิตอยู่เพื่อรับใช้ปรสิตเพียงอย่างเดียว มันจะเลิกสนใจผสมพันธุ์กับเพศตรงข้าม กิจวัตรเหลือแค่กินและกินเพื่อป้อนอาหารทั้งหมดให้กับปรสิตจนถึงขนาดว่ามันไม่สามารถเติบโต ลอกคราบ หรือสร้างก้ามใหม่ได้หากถูกตัดเหมือนปูทั่วไป ที่ใหญ่ขึ้นอย่างเดียวคือส่วนท้องปูซึ่งถูกขยายให้พอสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน Sacculina ได้
หลังจาก Sacuulina ตัวผู้ลอยน้ำมาผสมกับปรสิตในร่างแล้ว พฤติกรรมของปู (แต่เดิมเพศผู้) จะเปลี่ยนเป็นเพศเมียโดยสิ้นเชิง มันจะช่วยปกป้องดูแลไข่ของปรสิตซึ่งฟักอยู่ใต้ท้องโดยใช้ก้ามขัดสาหร่ายหรือราที่มาเกาะไม่ต่างกับแม่ปูดูแลลูก พอตัวอ่อน Sacculina ฟัก ปูผีดิบก็จะใช้ก้ามช่วยพุ้ยน้ำส่งให้ปรสิตน้อยๆลอยไปแพร่เชื้อซอมบี้ให้เพื่อนร่วมพันธุ์ปูตัวอื่นๆอีกด้วย
เรียกได้ว่าเข้ายึดร่างแล้วก็เปลี่ยนทั้งร่างกายและของจิตใจโฮสต์ให้กลายเป็นพาหะฟักไข่ไปเลย ฟังดูแล้วก็สยองคล้ายๆกับหนังซอมบี้ทั่วไป แต่ธรรมชาติยังมีเซอไพรซ์ที่น่ากลัวกว่านั้นรออยู่อีก
Cr.https://www.facebook.com Jesus Apple
Ophiocordyceps camponoti-balzani
รูป "เขา" ที่งอกบนหัวมด คือ ก้านสปอร์เชื้อราที่เข้าไปควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบ
Ophiocordyceps Polyrhachis furcata เป็นเชื้อราแมลงในกลุ่ม O. unilateralis ที่สามารถก่อโรคหรือพฤติกรรมสุดแปลกในมดสายพันธุ์ Polyrhachis furcata
มดสายพันธุ์ Polyrhachis Furcata โดยปกติแล้วมดจะหากินกันเป็นกลุ่มและไม่แยกออกไปหาอาหารแบบฉายเดี่ยว แต่เมื่อมันถูกเชื้อรา Ophiocordyceps Polyrhachis-Furcata เข้ามาในร่างกาย เชื้อราจะยึดครองร่างของพวกมันผ่านสมอง หรือปมประสาทและเข้าควบคุมมด โดยเปลี่ยนนิสัยของมันจากที่เดินแบบรวดเร็วก็จะช้าลงและไม่เดินหาอาหารพร้อมกับฝูงแต่จะแยกตัวออกมาโดดเดี่ยว และห้อยหัวลงมาจากกิ่งไม้และตายในที่สุด ซึ่งพฤติกรรมนี้เรียกว่า มดซอมบี้ (Zombie Ant)
เชื้อราจะบังคับร่างของมดให้พาไปในที่ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ เมื่อเจอสถานที่ๆ เหมาะสมแล้วมันจะสังหารมดและใช้ร่างกายของมดเป็นแหล่งอาหารเพื่อปล่อยสปอร์ไปยังมดตัวอื่น โดยจะงอกสปอร์ออกมาจากหัวหรือตามข้อต่อของมด เชื้อรา Ophiocordyceps Polyrhachis-furcata จะพบมากที่สุดในป่าเขตร้อนชื้นของประเทศบราซิล
Cr: SpokeDark.TV
Ichneumonoidea
ในป่าคอสตาริก้ามีตัวต่ออยู่ชนิดหนึ่งในตระกูล Ichneumonoidea ซึ่งพูดถึงไปแล้วในตอนก่อน แต่เจ้านี่แยบยลกว่า เพราะไม่ใช่แค่ฝังไข่ในตัวเหยื่อเท่านั้น มันถึงกับสร้างซอมบี้มาดูแลลูกเลยทีเดียว!
ต่อพันธุ์นี้จะเลือกแมงมุมโชคร้าย เพื่อปรี่เข้าฉีดยาชาตามด้วยการพ่นไข่เข้าร่าง จากนั้นตัวอ่อนจะฟักแล้วค่อยๆกัดกินแมงมุมอย่างทรมานจากภายใน โดยเริ่มจากส่วนไม่สำคัญก่อน การยึดครองร่าง...จะเริ่มในคืนสุดท้าย
เมื่อตัวอ่อนต่อพร้อมเข้ารังไหมแล้ว มันจะควบคุมให้เหยื่อผู้ถึงฆาตชักใยครั้งสุดท้ายเป็นรูปทรงที่ตัวแมงมุมเองยังไม่เคยสร้างมาก่อนในชีวิต
แทนที่จะเป็นใยแบนๆอย่างที่เราเห็นในภาพบนสุด แมงมุมซอมบี้จะสร้างใยเป็นรูปฐานเหมาะกับการรับน้ำหนักของรังไหม (ตามรูป) เมื่อเรียบร้อยแล้วตัวอ่อนต่อก็ฆ่าโฮสต์ผู้มีพระคุณทิ้งร่างหมดประโยชน์ของผีดิบร่วงลงแห้งตายกับพื้น ตัวมันเองก็คลานไปฟักตัวตรงกลางใย รอเติบใหญ่มาสร้างความสยดสยองอีกครั้ง
ต่อสายพันธุ์ Ichneumonoidea ยังมีวิธีสร้างผีดิบอีกมาก บางชนิดตัวอ่อนสามารถควบคุมหนอนบุ้งให้ดิ้นเร่าๆทุกครั้งเพื่อไล่อันตราย หรือตัวเต็มวัยของบางสายพันธุ์ถึงขั้นฝังเข็มเข้าไปในหัวแมลงสาบแล้วควบคุมไปให้ลูกกินถึงรังก็ยังได้
Cr.https://www.facebook.com Jesus Apple
Leucochloridium paradoxum
L. paradoxum เป็นพยาธิตัวแบนที่เป็นปรสิตในนก แต่มี intermediate host เป็นหอยทาก
เมื่อตัวอ่อน L. paradoxum เข้าสู่ร่างกายของหอยทาก มันจะเจริญเติบโตในทางเดินอาหารของหอยทาก เมื่อโตขึ้นก็อาศัยอยู่ในโครงสร้างคล้ายท่อที่เรียกว่า broodsacs ภายในบรรจุพยาธิ 10-100 ตัว ท่อ broodsacs ดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปยังก้านตาของหอยทาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันน่าสะพรึง
ก้านตาหอยทากจะบวมเป่งขึ้น มีการสั่นไหวเป็นจังหวะและมีสีสันฉูดฉาดตา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไปรบกวนการรับรู้แสงของหอยทากอีกด้วย ทำให้จากเดิมนิสัยหอยทากนั้นชอบอยู่ที่มืดก็กลายเป็นไม่เกรงกลัวต่อแสงสว่าง หอยทากจะปรากฏตัวในที่โล่ง ลักษณะก้านตาที่บวมเป่งมองไกลๆก็คล้ายตัวหนอนจะล่อให้นกบินมาจิกกิน นกที่กินหอยทากเข้าไปก็จะได้รับพยาธิจำนวนมากเข้าสู่ร่างกาย
Cr.http://zentonize.blogspot.com
Spinochordodes tellinii
พยาธิ ขนม้า (hairworm) เป็นปรสิตในแมลงกลุ่มตั๊กแตนและจิ้งหรีด (Orthoptera) ตั้งแต่ตัวอ่อนยันโตเต็มตัว ในขณะที่เป็นตัวอ่อนมันจะดำรงชีวิตอยู่เฉยๆแต่เมื่อโตเต็มวัยก็จะออกจากร่าง ของแมลงมาใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำเพื่ออาหารและสืบพันธุ์ต่อไป นี่คืออารัมภบทซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงความน่ากลัวของเจ้าพยาธิตัวนี้แต่อย่างใด
วงจรชีวิตของพยาธิขนม้าเริ่มจากไข่ถูกวางบนวัชพืชตามแหล่งน้ำ host จะได้รับไข่เข้าไปในร่างกาย ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดเล็กมากแต่สุดท้ายเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดยาวกว่า ร่างกายของ host ประมาณ 4 เท่า (ครับ ตัวเลขนี้ไม่ผิด ปรสิตจะกินอวัยวะภายในของ host เกือบหมดสิ้น ขดลำตัวที่ยาวกว่า host หลายเท่าอยู่ภายในร่างกายนั้น) และเปลี่ยนพฤติกรรมของ host ให้ตามหาแหล่งน้ำแล้วกระโดดลงไปจมน้ำตาย เพื่อให้ปรสิตออกจากตัวhost ไปอาศัยและสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำต่อไปได้
ประเด็นที่น่าสนใจคือกลไกที่ ปรสิตเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ host ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของโปรตีนกลุ่มหนึ่งใน สมอง (ปมประสาท) ของ host ที่ถูกเหนี่ยวนำโดยปรสิตที่โตเต็มวัยแล้ว โปรตีนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของระบบประสาทโดยตรงและการทำงานของสาร สื่อประสาทต่างๆ
Cr.http://zentonize.blogspot.com
Ampulex compressa (Jewel wasp)
ตัว ต่อ jewel wasp ทำให้แมลงสาบกลายเป็นสัตว์เลี้ยงได้โดยการฝังเหล็กในหนึ่งคู่ลงไป เหล็กในอันแรกจะต่อยเข้าที่อกของแมลงสาบเป็นผลให้มันกลายเป็นอัมพาตแต่บาง ส่วน เหล็กในอันที่สองที่ถูกต่อยเข้าไปยังสมองโดยตรง และเป็นผลให้แมลงสาบสูญเสียกลไกหนีเอาตัวรอด (fail to escape aversive stimuli) และเกิดภาวะสูญเสียการเคลื่อนไหว (long term-hypokinesia) ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่า พิษของตัวต่อ jewel wasp มีผลยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท Octopamine ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เคลื่อนไหวที่ซับซ้อนอย่างการเดิน เมื่อสารสื่อประสาทดังกล่าวถูกยับยั้งก็ทำให้แมลงสาบไม่สามารถเริ่มเดินได้
จาก ภาวะดังกล่าว jewel wasp ซึ่งมีขนาดตัวเล็กกว่ามากจะควบคุมแมลงสาบได้โดยสิ้นเชิง jewel wasp จะงับเอาหนวดข้างหนึ่งของแมลงสาบและลากไปยังรังของมันราวกับจูงสุนัขที่สวม ปลอกคอ ที่รังของมัน แมลงสาบจะถูกวางไข่ไว้ในท้อง สุดท้ายเมื่อตัวอ่อนถูกฟักขึ้นภายในช่องท้องของแมลงสาบ แมลงสาบก็ยังคงมีชีวิตอยู่และถูกตัวอ่อนกัดกินอวัยวะภายในไปอย่างช้าๆ
Cr..http://zentonize.blogspot.com
Dinocampus coccinellae
Cr.ภาพจาก www.janvanduinen.nl/dinocampus-coccinellaeengels.php
ปรสิตตัวต่อ ชื่อ Dinocampus coccinellae ตักตวงประโยชน์ด้วยการบังคับให้แมลงเต่าทองเป็น "บอดี้การ์ดจำเป็น"
ความจริงคือ ตัวต่อบินมาต่อยแมลงเต่าทอง แค่จึ้กเดียวเท่านั้นเพื่อวางไข่ในตัวแมลง และในขณะเดียวกันก็ปล่อยไวรัสเข้าสู่ตัวแมลง ตัวอ่อนจะกัดกินอวัยวะแมลงเต่าทองจากข้างใน แต่! จะไม่กินอวัยวะสำคัญ เพื่อให้แมลงยังมีชีวิตอยู่เป็นปกติ พอไข่ฟักแล้ว ตัวอ่อนจะคลานออกมาจากข้างในตัวแมลง และเริ่มถักใยห่อหุ้มตัวเองเป็นดักแด้อยู่บริเวณหว่างขาของเต่าทอง
ซึ่ง ถ้าในตัวแมลงเต่าทองตัวนั้นมีไข่อยู่ ตัวอ่อนของตัวต่อจะกินลูกแท้ๆ ของแมลงเต่าทองนั้นให้หมดเกลี้ยง นอกจากนี้ มันยังสำรวจว่ามีไข่ของต่อตัวอื่นที่หวังจะมาให้ "อุ้มบุญ"เหมือนกันหรือไม่ ถ้ามีก็กินไปซะให้สิ้นซากด้วย ส่วนไวรัสที่ปล่อยเข้าสู่ตัวแมลงเต่าทองตั้งแต่ทีแรก เมื่อตัวอ่อนคลานออกมาจากร่างของแมลงแล้ว ไวรัสจะเข้าสู่สมองและทำให้แมลงเป็นซอมบี้อัมพาต กลายร่างเป็นบอดี้การ์ดผู้ซื่อสัตย์ ชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อการปกป้องดักแด้เพียงเท่านั้นโดยละทิ้งการหาอาหารให้ตัวเองโดยสิ้นเชิง ส่วนใหญ่พวกมันจึงตายจากการขาดอาหาร
25% ของแมลงเต่าทองเหล่านี้สามารถรอดชีวิตจากความหิวโหยและหายจากการเป็นอัมพาตหลังจากตัวต่อผละจากจากดักแด้ แต่! ต่อเหล่านี้ใช้เวลาเพียง 1 ชม. ก็พร้อมจะวางไข่ในแมลงเต่าทองตัวอื่นๆ ต่อไป เหมือนแปะแข็งเลย
ถิ่นที่อยู่ : ทั่วโลก แต่กำเนิดจากยุโรปและอเมริกาเหนือ พบมากช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อน
Cr.https://www.noozup.me