ตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ทั่วไปในท้องตลาด ขอแยกง่ายๆ ดังนี้จร้า
1.บริษัทวินาศภัย
- ประกันสุขภาพ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทั้งหลาย
- ประกันชดเชยรายได้จากการป่วยจนต้องนอน ร.พ.
- ประกันโรคร้ายแรง
ถึงจะถือกรมธรรม์ต่อเนื่องมาเป็นสิบปี
ถึงจะมีหลักฐานชัดเจนว่าติดเชื้อ HIV หรือเป็นเอดส์ หลังจากทำประกัน
บริษัทก็ไม่จ่ายทุกกรณีนะจ๊ะ
เอาไงต่อ จะถือกรมธรรม์ต่อไปหรือยกเลิก??
- แนะนำว่าเลิกจ่ายเบี้ยไปเถอะ ถ้าคุณเป็นเอดส์จนมีอาการ เพราะมีโอกาสน้อยมากที่กรมธรรม์จะคุ้มครอง
ยกตัวอย่างเช่น
- ถ้าคุณไข้สูงต้องนอน ร.พ.ให้ยาฆ่าเชื้อ บริษัทก็พิจารณาจากหลักฐานการรักษา และผลภูมิคุ้มกันของคุณ เขาก็ไม่จ่าย หรืออาจตัดจ่าย
- เป็นไข้เลือดออก เขาก็อาจจ่ายไม่ครบ อย่างคุณนอนไป 10 วัน เขาอาจตัดจ่ายแค่ 3 วัน หรือแย่สุดก็ไม่จ่ายเลย
- ท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ นี่ก็เป็นกรณีคลาสสิค ส่วนใหญ่เขาจะไม่จ่าย
อ้าววววว คนปกติก็เป็นได้นิ่ กินส้มตำปูปลาร้าปูม้าดิบๆ ตอนเดือนเมษา ก็เป็นได้นิ่
มันก็ใช่ค่ะ แต่เขาก็จะดูค่าผลเลือดคุณประกอบด้วยไง ค่า CD4 อ่ะ
(ของผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จะอยู่ระหว่าง 500–1,500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แต่โดยตามปกติแล้วค่า CD4 ทั้งของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและคนปกติ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงได้)
สมมุติว่าคุณได้รับยาต้านไวรัสและมีค่า CD4 ที่ระดับ 500 – 600 บริษัทเขาก็มองว่าอาหารเป็นพิษครั้งนี้มันเกี่ยวกับ HIV
- หรือแย่ถึงเป็นโรคหัวใจวาย โรคตับ โรคไต เขาก็จะโยงค่า CD4 ของคุณมาและไม่จ่าย
เก็บเงินไว้ดูแลตัวเองดีกว่าเนอะ จ่ายเบี้ยไปก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
2.บริษัทประกันชีวิต
แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ
2.1 ประกันชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นสะสมทรัพย์ หรือตลอดชีพ หรือชั่วระยะเวลา
ถ้าคุณถือมาเกิน 2 ปีแล้ว ให้เก็บไว้ให้เหนียวแน่นเลยค่ะ เพราะเสียชีวิตคุณจะได้รับความคุ้มครอง ถึงจะเสียชีวิตด้วย AIDS ก็เถอะ
ถ้าจ่ายเบี้ยรายเดือนนี่ต้องตัดบัตรหรือหักบัญชีอัตโนมัติไว้เลยนะ อย่าเผลอปล่อยขาดอายุเด็ดขาดนะ เพราะบริษัทจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ให้คุณ
2.2 พวกค่ารักษาต่างๆ
- ประกันสุขภาพ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทั้งหลาย
- ประกันชดเชยรายได้จากการป่วยจนต้องนอน ร.พ.
- ประกันโรคร้ายแรง
เรามาทำความเข้าใจกันก่อน ว่า
ก. สัญญาพวกนี้มีเงื่อนไข เหมือนของฝั่งประกันวินาศภัยเลย
ข. พวกนี้มันเป็นอนุสัญญาที่ต้องซื้อคู่กับประกันชีวิตซึ่งเป็นสัญญาหลักตามข้อ 2.1 เสมอ
ดังนั้น คุณอาจตัดสินใจเลิกจ่ายเบี้ยส่วนของสัญญาเพิ่มเติม หรืออนุสัญญาได้
แต่คุณต้องเก็บข้อ 2.1 ไว้นะ เพราะคุณได้ใช้ ได้มีเงินก้อนให้ครอบครัวเมื่อคุณจากไป
คร่าวๆ แค่นี้ก่อนเน้ออออ
แล้วจะมาแบ่งปันใหม่
ด้วยรัก และห่วงใย จากใจ Underwrite & Claim
หมายเหตุ : กรมธรรม์ที่กล่าวถึงคือกรมธรรม์มาตรฐาน หรือกรมธรรม์ File and use ของ คปภ. เท่านั้น ที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้
ไม่รวมถึงกรมธรรม์แบบพิเศษหรือแบบเฉพาะที่บางบริษัทอาจมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข และคุ้มครองเพิ่มเติมจร้า ^^
เป็นเอดส์ประกันไม่จ่ายนะ รู้ยัง?
1.บริษัทวินาศภัย
- ประกันสุขภาพ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทั้งหลาย
- ประกันชดเชยรายได้จากการป่วยจนต้องนอน ร.พ.
- ประกันโรคร้ายแรง
ถึงจะถือกรมธรรม์ต่อเนื่องมาเป็นสิบปี
ถึงจะมีหลักฐานชัดเจนว่าติดเชื้อ HIV หรือเป็นเอดส์ หลังจากทำประกัน
บริษัทก็ไม่จ่ายทุกกรณีนะจ๊ะ
เอาไงต่อ จะถือกรมธรรม์ต่อไปหรือยกเลิก??
- แนะนำว่าเลิกจ่ายเบี้ยไปเถอะ ถ้าคุณเป็นเอดส์จนมีอาการ เพราะมีโอกาสน้อยมากที่กรมธรรม์จะคุ้มครอง
ยกตัวอย่างเช่น
- ถ้าคุณไข้สูงต้องนอน ร.พ.ให้ยาฆ่าเชื้อ บริษัทก็พิจารณาจากหลักฐานการรักษา และผลภูมิคุ้มกันของคุณ เขาก็ไม่จ่าย หรืออาจตัดจ่าย
- เป็นไข้เลือดออก เขาก็อาจจ่ายไม่ครบ อย่างคุณนอนไป 10 วัน เขาอาจตัดจ่ายแค่ 3 วัน หรือแย่สุดก็ไม่จ่ายเลย
- ท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ นี่ก็เป็นกรณีคลาสสิค ส่วนใหญ่เขาจะไม่จ่าย
อ้าววววว คนปกติก็เป็นได้นิ่ กินส้มตำปูปลาร้าปูม้าดิบๆ ตอนเดือนเมษา ก็เป็นได้นิ่
มันก็ใช่ค่ะ แต่เขาก็จะดูค่าผลเลือดคุณประกอบด้วยไง ค่า CD4 อ่ะ
(ของผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จะอยู่ระหว่าง 500–1,500 ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แต่โดยตามปกติแล้วค่า CD4 ทั้งของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและคนปกติ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงได้)
สมมุติว่าคุณได้รับยาต้านไวรัสและมีค่า CD4 ที่ระดับ 500 – 600 บริษัทเขาก็มองว่าอาหารเป็นพิษครั้งนี้มันเกี่ยวกับ HIV
- หรือแย่ถึงเป็นโรคหัวใจวาย โรคตับ โรคไต เขาก็จะโยงค่า CD4 ของคุณมาและไม่จ่าย
เก็บเงินไว้ดูแลตัวเองดีกว่าเนอะ จ่ายเบี้ยไปก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
2.บริษัทประกันชีวิต
แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ
2.1 ประกันชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นสะสมทรัพย์ หรือตลอดชีพ หรือชั่วระยะเวลา
ถ้าคุณถือมาเกิน 2 ปีแล้ว ให้เก็บไว้ให้เหนียวแน่นเลยค่ะ เพราะเสียชีวิตคุณจะได้รับความคุ้มครอง ถึงจะเสียชีวิตด้วย AIDS ก็เถอะ
ถ้าจ่ายเบี้ยรายเดือนนี่ต้องตัดบัตรหรือหักบัญชีอัตโนมัติไว้เลยนะ อย่าเผลอปล่อยขาดอายุเด็ดขาดนะ เพราะบริษัทจะไม่ต่ออายุกรมธรรม์ให้คุณ
2.2 พวกค่ารักษาต่างๆ
- ประกันสุขภาพ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทั้งหลาย
- ประกันชดเชยรายได้จากการป่วยจนต้องนอน ร.พ.
- ประกันโรคร้ายแรง
เรามาทำความเข้าใจกันก่อน ว่า
ก. สัญญาพวกนี้มีเงื่อนไข เหมือนของฝั่งประกันวินาศภัยเลย
ข. พวกนี้มันเป็นอนุสัญญาที่ต้องซื้อคู่กับประกันชีวิตซึ่งเป็นสัญญาหลักตามข้อ 2.1 เสมอ
ดังนั้น คุณอาจตัดสินใจเลิกจ่ายเบี้ยส่วนของสัญญาเพิ่มเติม หรืออนุสัญญาได้
แต่คุณต้องเก็บข้อ 2.1 ไว้นะ เพราะคุณได้ใช้ ได้มีเงินก้อนให้ครอบครัวเมื่อคุณจากไป
คร่าวๆ แค่นี้ก่อนเน้ออออ
แล้วจะมาแบ่งปันใหม่
ด้วยรัก และห่วงใย จากใจ Underwrite & Claim
หมายเหตุ : กรมธรรม์ที่กล่าวถึงคือกรมธรรม์มาตรฐาน หรือกรมธรรม์ File and use ของ คปภ. เท่านั้น ที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้
ไม่รวมถึงกรมธรรม์แบบพิเศษหรือแบบเฉพาะที่บางบริษัทอาจมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข และคุ้มครองเพิ่มเติมจร้า ^^