คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ตามประกาศรับสมัคร ส่วนมากจะรับสมัครสอบบ่อยๆ อยู่ 3 ประเภทครับ
คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้าราชการ ส่วนมาก จะบังคับต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน
ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู, ขรก.ศาลฯ, ขรก.ตำรวจ ฯลฯ
ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ, ข้าราชการครู เป็นต้น
แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่ดี
ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบ ภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ.
ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ฯลฯ ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ
แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ ไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก.
เช่นในกรณี บรรจุในสาขาขาดแคลน, บรรจุด้วยสัญญาผูกพักกับราชการ ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ
ข้าราชการมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง
มีสิทธิสวัสดิการเต็มขั้น บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ
มีฐานเงินเดือนปัจจุบัน ดังนี้ ครับ
ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
ระดับ ปวท., อนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
ระดับ ปวส., อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ เช่น
นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
บางตำแหน่งในบางส่วนราชการ อาจมีเงินเพิ่มพิเศษให้ เช่น
ปลัดอำเภอ ได้รับ 5,000 บาท/เดือน หากได้ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไข
https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2017/10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%9E.pdf
นักการทูต เมื่อออกประจำการอยู่ต่างประเทศ จะได้รับ เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ (พ.ข.ต.)
http://saraban-law.cgd.go.th/easinetimage/inetdoc?id=show_CGD.A.17936_1_BCS_1_pdf
บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
เช่น ศาล, ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ
สามารถก้าวหน้าเป็นระดับ ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ได้
หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ
พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้
พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง
โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น
เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก)
มีสถานะเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน ไม่มีการเลื่อนขั้นเป็นผู้อำนวยการ/บริหาร เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง
มีสิทธิลาทุกประเภทคล้ายข้าราชการ ใช้ประกันสังคมเหมือนลูกจ้างเอกชน
ไม่มี สิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร บำเหน็จ บำนาญ
ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่นโยบายในขณะนั้นด้วย
ทั้งนี้ ตามหลักแล้วหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา
ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้นะครับ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบแข่งขันบรรจุมาใหม่
ทั้งนี้ พนักงานราชการบางสังกัด อาจได้สิทธิประโยชน์ในการนับเวลาปฏิบัติงานตอนเป็นพนักงานราชการ
เพื่อเลื่อนระดับและรับเงินเดือนเริ่มต้นตอนบรรจุเป็นข้าราชการได้ เช่น
สำหรับพนักงานราชการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ไม่ใช่พนักงานกระทรวงสาธารณสุข นะครับ)
ถ้าได้บรรจุเป็นข้าราชการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
1. จะได้นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่อง เพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้น
เช่น เป็นพนักงานราชการ ป.ตรี มา 5 ปี แล้วได้บรรจุเป็นข้าราชการ จะเอาอายุงานมาคำนวนเพื่อเลื่อนเป็นชำนาญการได้
ปกติ มีวุฒิ ป.ตรี ต้องครองปฏิบัติการ 6 ปี จึงจะเลื่อนเป็นชำนาญการได้
แต่ถ้าเอาอายุงานมารวม ก็คอรงอีก 1 ปี ขึ้นชำนาญการได้เลย
2. ค่าตอบแทนที่ขึ้นมาตอนเป็นพนักงานราชการ
เมื่อได้บรรจุเป็นข้าราชการ จะเอาค่าตอบแทนที่ขึ้นมานั้น บวกกับเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการได้
เช่น เป็นพนักงานราชการ ฐานค่าตอบแทน 18,000 ทำงานมา 2 ปี เงินขึ้นมาเป็น 20,000
เมื่อบรรจุข้าราชการได้ ก็เอาเงินที่ขึ้นมา 2,000 นั้น มารวมกับฐานเงินเดือนข้าราชการ 15,000 รวมแรกบรรจุ 17,000
ตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/154 ลงวันที่ 6 มิ.ย. 2556
http://203.157.7.46/uploadFiles/document/D00000001597_26695.pdf
ส่วนพนักงานราชการสังกัดอื่นจะไม่มีการนับอายุงานต่อให้ (อาจมีพนักงานราชการครูอีก 1 ที่จะนับอายุงานให้เมื่อสอบบรรจุข้าราชการครูได้)
ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557)
วุฒิ ปวช. 11,280 บาท
วุฒิ ปวส. 13,800 บาท
วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารทั่วไป 18,000 บ.
วุฒิปริญญาโท บริหารทั่วไป 21,000 บ.
วุฒิปริญญาเอก บริหารทั่วไป 25,200 บ.
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf
พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะจัดการสอบเองทั้ง ภาค ก. (ความรู้ทั่วไป) ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) ค. (สัมภาษณ์) **ไม่ใช้ภาค ก. ของ ก.พ.
มีฐานเงินเดือนไม่แน่นอนแล้วแต่องค์กร โดยสามารถแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจ ได้ 3 ประเภท ดังนี้
กลุ่มที่ 1 รัฐวิสาหกิจที่สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ เองได้
เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว
กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง
กลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือน 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
http://relation.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=65&Itemid=168
บางที่จะมีฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ เช่น การไฟฟ้านครหลวง เป็น รัฐวิสาหกิจ กลุ่มที่ 2
ป.โท 20,240 บาท, ป.ตรี 16,840 บาท, ปวส. 14,170 บาท เป็นต้น
http://mea.thaijobjob.com/201505/f99.pdf
การประปานครหลวง
ป.โท วศ.ม. 22,580, ป.โท อื่น 20,030, ป.ตรี วศ.บ. 17,830, ป.ตรี อื่น 16,830
http://www.ประกาศผลสอบ.com/pdf/082557/1419475441.pdf
แต่บางที่ก็จะมีฐานเงินเดือนน้อยกว่า ข้าราชการ ที่คุณวุฒิเท่ากัน
โดยจะได้ค่าครองชีพเพิ่มจนครบ 15,000 บาทครับ เช่น
ตีเลขกลมๆเงินเดือนได้ 11,000 แล้วก็บวกค่าครองชีพอีก 4,000 เพื่อให้ครบ 15,000
แล้วปีถัดๆไปก็จะขึ้นเงินเดือน และลดค่าครองชีพลง สมมุตินะ
ปีที่ 1 เงินเดือน 11,500 บวกค่าครองชีพ 3,500
ปีที่ 2 เงินเดือน 12,000 บวกค่าครองชีพ 3,000
ปีที่ 3 ................ ไปเรื่อยๆ จนค่าครองชีพหมด เงินเดือนถึงจะเกิน 15,000
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจ มีการจ่ายโบนัส จะเยอะหรือน้อยก็แล้วแต่หน่วยงานครับ
สิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ เทียบเท่าข้าราชการ มีบำเหน็จแต่ไม่มีบำนาญครับ
***อย่าลืมว่าถ้าจะสมัครสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีผลผ่านภาค ก. ของ ก.พ. มาก่อน
หากไม่มีก็สมัครได้แต่ พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานมหาวิทยาลัย
และ ข้าราชการบางประเภทที่ไม่ใช้ผลผ่าน ก.พ. อย่างที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นครับ
คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้าราชการ ส่วนมาก จะบังคับต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน
ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู, ขรก.ศาลฯ, ขรก.ตำรวจ ฯลฯ
ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ, ข้าราชการครู เป็นต้น
แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่ดี
ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบ ภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ.
ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ฯลฯ ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ
แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ ไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก.
เช่นในกรณี บรรจุในสาขาขาดแคลน, บรรจุด้วยสัญญาผูกพักกับราชการ ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ
ข้าราชการมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง
มีสิทธิสวัสดิการเต็มขั้น บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ
มีฐานเงินเดือนปัจจุบัน ดังนี้ ครับ
ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
ระดับ ปวท., อนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
ระดับ ปวส., อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ เช่น
นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
บางตำแหน่งในบางส่วนราชการ อาจมีเงินเพิ่มพิเศษให้ เช่น
ปลัดอำเภอ ได้รับ 5,000 บาท/เดือน หากได้ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไข
https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2017/10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%9E.pdf
นักการทูต เมื่อออกประจำการอยู่ต่างประเทศ จะได้รับ เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ต่างประเทศ (พ.ข.ต.)
http://saraban-law.cgd.go.th/easinetimage/inetdoc?id=show_CGD.A.17936_1_BCS_1_pdf
บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
เช่น ศาล, ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ
สามารถก้าวหน้าเป็นระดับ ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ได้
หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ
พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้
พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง
โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น
เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก)
มีสถานะเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน ไม่มีการเลื่อนขั้นเป็นผู้อำนวยการ/บริหาร เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง
มีสิทธิลาทุกประเภทคล้ายข้าราชการ ใช้ประกันสังคมเหมือนลูกจ้างเอกชน
ไม่มี สิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร บำเหน็จ บำนาญ
ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่นโยบายในขณะนั้นด้วย
ทั้งนี้ ตามหลักแล้วหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา
ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้นะครับ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบแข่งขันบรรจุมาใหม่
ทั้งนี้ พนักงานราชการบางสังกัด อาจได้สิทธิประโยชน์ในการนับเวลาปฏิบัติงานตอนเป็นพนักงานราชการ
เพื่อเลื่อนระดับและรับเงินเดือนเริ่มต้นตอนบรรจุเป็นข้าราชการได้ เช่น
สำหรับพนักงานราชการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ไม่ใช่พนักงานกระทรวงสาธารณสุข นะครับ)
ถ้าได้บรรจุเป็นข้าราชการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
1. จะได้นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่อง เพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้น
เช่น เป็นพนักงานราชการ ป.ตรี มา 5 ปี แล้วได้บรรจุเป็นข้าราชการ จะเอาอายุงานมาคำนวนเพื่อเลื่อนเป็นชำนาญการได้
ปกติ มีวุฒิ ป.ตรี ต้องครองปฏิบัติการ 6 ปี จึงจะเลื่อนเป็นชำนาญการได้
แต่ถ้าเอาอายุงานมารวม ก็คอรงอีก 1 ปี ขึ้นชำนาญการได้เลย
2. ค่าตอบแทนที่ขึ้นมาตอนเป็นพนักงานราชการ
เมื่อได้บรรจุเป็นข้าราชการ จะเอาค่าตอบแทนที่ขึ้นมานั้น บวกกับเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการได้
เช่น เป็นพนักงานราชการ ฐานค่าตอบแทน 18,000 ทำงานมา 2 ปี เงินขึ้นมาเป็น 20,000
เมื่อบรรจุข้าราชการได้ ก็เอาเงินที่ขึ้นมา 2,000 นั้น มารวมกับฐานเงินเดือนข้าราชการ 15,000 รวมแรกบรรจุ 17,000
ตามหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/154 ลงวันที่ 6 มิ.ย. 2556
http://203.157.7.46/uploadFiles/document/D00000001597_26695.pdf
ส่วนพนักงานราชการสังกัดอื่นจะไม่มีการนับอายุงานต่อให้ (อาจมีพนักงานราชการครูอีก 1 ที่จะนับอายุงานให้เมื่อสอบบรรจุข้าราชการครูได้)
ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557)
วุฒิ ปวช. 11,280 บาท
วุฒิ ปวส. 13,800 บาท
วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารทั่วไป 18,000 บ.
วุฒิปริญญาโท บริหารทั่วไป 21,000 บ.
วุฒิปริญญาเอก บริหารทั่วไป 25,200 บ.
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf
พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะจัดการสอบเองทั้ง ภาค ก. (ความรู้ทั่วไป) ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) ค. (สัมภาษณ์) **ไม่ใช้ภาค ก. ของ ก.พ.
มีฐานเงินเดือนไม่แน่นอนแล้วแต่องค์กร โดยสามารถแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจ ได้ 3 ประเภท ดังนี้
กลุ่มที่ 1 รัฐวิสาหกิจที่สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ เองได้
เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว
กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง
กลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือน 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
http://relation.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=65&Itemid=168
บางที่จะมีฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ เช่น การไฟฟ้านครหลวง เป็น รัฐวิสาหกิจ กลุ่มที่ 2
ป.โท 20,240 บาท, ป.ตรี 16,840 บาท, ปวส. 14,170 บาท เป็นต้น
http://mea.thaijobjob.com/201505/f99.pdf
การประปานครหลวง
ป.โท วศ.ม. 22,580, ป.โท อื่น 20,030, ป.ตรี วศ.บ. 17,830, ป.ตรี อื่น 16,830
http://www.ประกาศผลสอบ.com/pdf/082557/1419475441.pdf
แต่บางที่ก็จะมีฐานเงินเดือนน้อยกว่า ข้าราชการ ที่คุณวุฒิเท่ากัน
โดยจะได้ค่าครองชีพเพิ่มจนครบ 15,000 บาทครับ เช่น
ตีเลขกลมๆเงินเดือนได้ 11,000 แล้วก็บวกค่าครองชีพอีก 4,000 เพื่อให้ครบ 15,000
แล้วปีถัดๆไปก็จะขึ้นเงินเดือน และลดค่าครองชีพลง สมมุตินะ
ปีที่ 1 เงินเดือน 11,500 บวกค่าครองชีพ 3,500
ปีที่ 2 เงินเดือน 12,000 บวกค่าครองชีพ 3,000
ปีที่ 3 ................ ไปเรื่อยๆ จนค่าครองชีพหมด เงินเดือนถึงจะเกิน 15,000
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจ มีการจ่ายโบนัส จะเยอะหรือน้อยก็แล้วแต่หน่วยงานครับ
สิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ เทียบเท่าข้าราชการ มีบำเหน็จแต่ไม่มีบำนาญครับ
***อย่าลืมว่าถ้าจะสมัครสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีผลผ่านภาค ก. ของ ก.พ. มาก่อน
หากไม่มีก็สมัครได้แต่ พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานมหาวิทยาลัย
และ ข้าราชการบางประเภทที่ไม่ใช้ผลผ่าน ก.พ. อย่างที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นครับ
แสดงความคิดเห็น
ตอนนี้มีวุฒิระดับ ปวส
2. ตอนนี้ไม่ได้สอบ กพ แต่หน่วยงานที่ เขียนบอกว่าไม่ต้องผ่าน กพ
3. ราชการพลเรือนสามัญ ได้ทำงานถึงอายุ 60 ปีไหม