หนี้ที่เกิดจากคู่สมรส .. ถ้าหย่าแล้ว ยังต้องรับผิดชอบอยู่ไหมครับ

เรื่องย่อสำหรับคนขี้เกียจอ่านคือ ภรรยาผมไปเป็นผู้กู้ร่วมในขณะที่สมรสแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถ้าผมหย่าไปแล้ว .. หนี้สินจะตกถึงผมไหมครับ

เรื่องทั้งหมดคือผมกับภรรยาแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันมา 10 ปีแล้วมีบุตรด้วยกัน 1 คน .. ผมกับภรรยาเคยอยู่และทำงานด้วยกันที่ต่างประเทศกันมาก่อน .. ภรรยาย้ายกลับมาอยู่ไทยมาก่อนและทำงานที่เมืองไทยมาได้ 7 ปีแล้ว ส่วนตัวผมยังทำงานอยู่ที่ต่างประเทศและบินไปมาๆอยู่เป็นประจำ .. แต่ตัวผมกำลังย้ายกลับมาทำที่เมืองไทยในเร็ว ๆ นี้

ปัญหาอยู่ที่ว่าภรรยาผมได้เซ็นเป็นผู้กู้ร่วมในการซื้อบ้านร่วมกับครอบครัวของฝั่งเค้า .. บ้านเป็นชื่อของน้องชายเค้าเพียงคนเดียว
ไม่มีชื่อภรรยาอยู่ด้วย แต่ที่ไปเป็นผู้กู้ร่วมก็เพราะว่ายอดกู้สูงมาก และภรรยาผมก็มีรายได้จากงานประจำสูง
.. ซึ่ง ณ ตอนนั้นผมเองก็มีเซ็นเอกสารยินยอมกับทางแบงค์ เรื่องรับรู้การกู้ของภรรยานี้ด้วย
.. ที่ผ่านมาภาระในการจ่าย ฝั่งครอบครัวเค้าเป็นคนรับผิดชอบมาโดยตลอด โดยที่ภรรยาผมไม่ได้ยุ่ง ใส่ชื่อกู้แต่ในนามเท่านั้น เพื่อให้มันผ่าน
.. ต่อมาธุรกิจของครอบครัวเค้ามีปัญหา ผิดชำระอยู่บ่อยครั้ง หนี้ก็เพิ่มพูน ไม่น่าจะที่ขายทอดตลาดแล้วครอบคลุมหนี้สินทั้งหมด
.. ตัวผมไม่อยากติดร่างแหไปด้วย

คำถามคือ

1. ถ้าไม่หย่า .. ตัวผมต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินนี้ด้วยไหมครับ
2. ถ้าหย่า .. ตัวผมยังต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินนี้ด้วยไหมครับ เพราะว่ามันเกิดอยู่ในช่วงเวลาที่สมรส
3. ปัจจุบันทรัพย์สินของผมและภรรยามีในประเทศไทยอยู่บ้างแต่ไม่เยอะ ส่วนใหญ่อยู่ที่ต่างประเทศทั้งหมดในรูปแบบเงินสด และอสังหาริมทรัพย์ ..
แล้วศาลหรือแบงค์จะไปยึดทรัพย์สินของพวกผมที่ต่างประเทศด้วยไหมครับ

คำถามเพิ่มเติมครับ
4. ถ้าหย่า.. ก่อนที่ตัวผมจะเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวปีหน้า ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาหลังหย่าแล้วจะถูกนำไปชำระหนี้ด้วยไหมครับ

ขอบคุณในทุกคำตอบและความคิดเห็นล่วงหน้าครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่