เครดิตที่มาของข่าว
https://globthailand.com/germany-16082019/
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 62 เวลา 11.00 น. กงสุลใหญ่ได้นําทีมประเทศไทย ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการผู้ช่วยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจการลงทุน (BOI) ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และข้าราชการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานทีมประเทศไทย เข้าพบหารือกับ ดร.Jurgen Ratzinger หัวหน้าแผนกเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และคณะกรรมการหอการค้าและอุตสาหกรรม (IHK) นครแฟรงก์เฟิร์ต ที่สำนักงาน IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต เกี่ยวกับโอกาสและลู่ทางในการขยายการค้าและ การลงทุนระหว่างไทยและเยอรมนี ให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนใน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
(1) กงสุลใหญ่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความใกล้ชิดทางการค้าและการลงทุนกับเยอรมนีมาเป็น เวลานาน อย่างไรก็ตามทางกงสุลใหญ่มีความเห็นว่า ไม่มีการจัดการสัมมนาในนครแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งเป็นศูนย์กลางของธุรกิจของ เยอรมันมาเป็นเวลานานแล้ว จึงประสงค์ที่จะเชิญชวน IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต ร่วมกันจัดการสัมมนาเพื่อให้ข้อแนะนำด้าน การลงทุนใน ประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ EEC ซึ่งผู้อำนวยการ BOI ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สืบเนื่องจากการเยือนของ นายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม 2561ที่ผ่านมา และคณะกรรมการ EEC ต้องการสร้างความตระหนักรู้และดึงดูดนักลงทุนชาวเยอรมันให้เข้าไปลงทุนใน พื้นที่ EECเนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดกฎระเบียบด้านการลงทุนใน พื้นที่ EEC ที่แตกต่างจากเขตการลงทุนอื่น ๆ โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 10 สาขา ที่นักลงทุนเยอรมันมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งในอดีต BOI เคยจัดสัมมนาร่วมกับ IHK Frankfurt มาแล้วในปี 2558 และต่อมาได้จัดการสัมมนา ASEAN Investment Forum ครั้งแรกในปี 2559 และครั้งที่สองในปี 2560 ที่นครแฟรงก์เฟิร์ต โดยเชิญ IHK Frankfurt เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่จัดไปตามหัวเมืองสําคัญต่าง ๆ ของเยอรมนี โดยครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่เมืองดีสเซลดอร์ฟในปี 2561 และปลายปีนี้กําหนดจัดขึ้นที่นครมิวนิก ทั้งนี้ การจัดสัมมนาดังกล่าว อาจจัดขึ้นในรูปแบบ Thailand focus หรือ จัดร่วมกับ ประเทศอาเซียนอื่น ๆ ก็ได้
(2) กงสุลใหญ่ ได้กล่าวถึงนโยบายของ รัฐบาลไทย ในการสนับสนุนการจับคู่ทางธุรกิจ และส่งเสริม SME โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นําคณะผู้แทน SME เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาลู่ทางการเปิดตลาด เพื่อสร้างโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจ และทางด้าน IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต ก็ยินดีสนับสนุนข้อมูลด้านหน่วยงานที่สามารถทําหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านการจับคู่ทางธุรกิจให้ได้ อย่างไรก็ดี การจัดทํานัดหมายดังกล่าว ต้องใช้เวลาวางแผนล่วงหน้า รวมถึงขึ้นอยู่กับความสนใจของบริษัทเยอรมันด้วย ซึ่ง IHK นครแฟรงก์เฟิร์ตเห็นว่า วิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการ SME หรือนักลงทุนไทยที่สนใจจะสามารถเข้าไปเปิดตลาดในเยอรมนี คือ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่สําคัญต่าง ๆ ตามประเภทของสินค้า ซึ่งจะเป็นก้าวแรกในการแนะนําผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มลูกค้าชาวเยอรมันและยุโรป รวมถึงยังเป็นการเปิดโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจได้อีกด้วย
(3) สถานกงสุลใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ชาวไทย ด้วยการนำคณะธุรกิจชาวเยอรมันเยือนประเทศไทย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ดร. Ratzinger กล่าวว่า ที่ผ่านมา IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต ไม่ได้จัดกิจกรรมนําคณะนักธุรกิจร่วมเดินทางเป็นหมู่คณะไปยังประเทศต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลาถึง 7-8 ปี เนื่องจากนักธุรกิจต่าง ๆ มีช่องทางและเครือข่ายใน การประสานการดําเนินธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับประเทศไทย นอกเสียจากว่าประเทศนั้น ๆ จะเป็นประเทศที่เปิดตลาดใหม่ อาทิ เมียนมา และมองโกเลีย ทั้งนี้ หาก IHK นครแฟรงก์เฟิร์ตจะนําคณะนักธุรกิจเดินทางไปต่างประเทศ ให้เป็นไปในลักษณะการไปเยือนด้วยเหตุผลทางการเมือง (political lead) มากกว่า กล่าวคือเมื่อมีการเยือนต่างประเทศของผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลรัฐเฮสเซิน ซึ่งมีความประสงค์จะนําคณะนักธุรกิจร่วมเดินทางไปด้วย IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต จึงจะประสานงานกับคณะนักธุรกิจให้ ดังนั้นหากฝ่ายไทยประสงค์จะให้เกิดการเยือนของคณะนักธุรกิจชาวเยอรมัน ก็ควรจะผลักดันให้มีการเยือนระดับสูงผ่านผู้แทน รัฐบาลรัฐเฮส
เกาะติดสถานการณ์การลงทุนไทยในแฟรงก์เฟิร์ต ภายหลังการหารือร่วมกับคณะกรรมการหอการค้าและอุตสาหกรรม(IHK)
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 62 เวลา 11.00 น. กงสุลใหญ่ได้นําทีมประเทศไทย ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการผู้ช่วยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจการลงทุน (BOI) ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และข้าราชการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานทีมประเทศไทย เข้าพบหารือกับ ดร.Jurgen Ratzinger หัวหน้าแผนกเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และคณะกรรมการหอการค้าและอุตสาหกรรม (IHK) นครแฟรงก์เฟิร์ต ที่สำนักงาน IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต เกี่ยวกับโอกาสและลู่ทางในการขยายการค้าและ การลงทุนระหว่างไทยและเยอรมนี ให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนใน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
(1) กงสุลใหญ่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความใกล้ชิดทางการค้าและการลงทุนกับเยอรมนีมาเป็น เวลานาน อย่างไรก็ตามทางกงสุลใหญ่มีความเห็นว่า ไม่มีการจัดการสัมมนาในนครแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งเป็นศูนย์กลางของธุรกิจของ เยอรมันมาเป็นเวลานานแล้ว จึงประสงค์ที่จะเชิญชวน IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต ร่วมกันจัดการสัมมนาเพื่อให้ข้อแนะนำด้าน การลงทุนใน ประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ EEC ซึ่งผู้อำนวยการ BOI ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สืบเนื่องจากการเยือนของ นายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนตุลาคม 2561ที่ผ่านมา และคณะกรรมการ EEC ต้องการสร้างความตระหนักรู้และดึงดูดนักลงทุนชาวเยอรมันให้เข้าไปลงทุนใน พื้นที่ EECเนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดกฎระเบียบด้านการลงทุนใน พื้นที่ EEC ที่แตกต่างจากเขตการลงทุนอื่น ๆ โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 10 สาขา ที่นักลงทุนเยอรมันมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งในอดีต BOI เคยจัดสัมมนาร่วมกับ IHK Frankfurt มาแล้วในปี 2558 และต่อมาได้จัดการสัมมนา ASEAN Investment Forum ครั้งแรกในปี 2559 และครั้งที่สองในปี 2560 ที่นครแฟรงก์เฟิร์ต โดยเชิญ IHK Frankfurt เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนสถานที่จัดไปตามหัวเมืองสําคัญต่าง ๆ ของเยอรมนี โดยครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่เมืองดีสเซลดอร์ฟในปี 2561 และปลายปีนี้กําหนดจัดขึ้นที่นครมิวนิก ทั้งนี้ การจัดสัมมนาดังกล่าว อาจจัดขึ้นในรูปแบบ Thailand focus หรือ จัดร่วมกับ ประเทศอาเซียนอื่น ๆ ก็ได้
(2) กงสุลใหญ่ ได้กล่าวถึงนโยบายของ รัฐบาลไทย ในการสนับสนุนการจับคู่ทางธุรกิจ และส่งเสริม SME โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นําคณะผู้แทน SME เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาลู่ทางการเปิดตลาด เพื่อสร้างโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจ และทางด้าน IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต ก็ยินดีสนับสนุนข้อมูลด้านหน่วยงานที่สามารถทําหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านการจับคู่ทางธุรกิจให้ได้ อย่างไรก็ดี การจัดทํานัดหมายดังกล่าว ต้องใช้เวลาวางแผนล่วงหน้า รวมถึงขึ้นอยู่กับความสนใจของบริษัทเยอรมันด้วย ซึ่ง IHK นครแฟรงก์เฟิร์ตเห็นว่า วิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการ SME หรือนักลงทุนไทยที่สนใจจะสามารถเข้าไปเปิดตลาดในเยอรมนี คือ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่สําคัญต่าง ๆ ตามประเภทของสินค้า ซึ่งจะเป็นก้าวแรกในการแนะนําผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มลูกค้าชาวเยอรมันและยุโรป รวมถึงยังเป็นการเปิดโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจได้อีกด้วย
(3) สถานกงสุลใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ชาวไทย ด้วยการนำคณะธุรกิจชาวเยอรมันเยือนประเทศไทย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ดร. Ratzinger กล่าวว่า ที่ผ่านมา IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต ไม่ได้จัดกิจกรรมนําคณะนักธุรกิจร่วมเดินทางเป็นหมู่คณะไปยังประเทศต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลาถึง 7-8 ปี เนื่องจากนักธุรกิจต่าง ๆ มีช่องทางและเครือข่ายใน การประสานการดําเนินธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับประเทศไทย นอกเสียจากว่าประเทศนั้น ๆ จะเป็นประเทศที่เปิดตลาดใหม่ อาทิ เมียนมา และมองโกเลีย ทั้งนี้ หาก IHK นครแฟรงก์เฟิร์ตจะนําคณะนักธุรกิจเดินทางไปต่างประเทศ ให้เป็นไปในลักษณะการไปเยือนด้วยเหตุผลทางการเมือง (political lead) มากกว่า กล่าวคือเมื่อมีการเยือนต่างประเทศของผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลรัฐเฮสเซิน ซึ่งมีความประสงค์จะนําคณะนักธุรกิจร่วมเดินทางไปด้วย IHK นครแฟรงก์เฟิร์ต จึงจะประสานงานกับคณะนักธุรกิจให้ ดังนั้นหากฝ่ายไทยประสงค์จะให้เกิดการเยือนของคณะนักธุรกิจชาวเยอรมัน ก็ควรจะผลักดันให้มีการเยือนระดับสูงผ่านผู้แทน รัฐบาลรัฐเฮส