บางกอกโพสต์ฉบับวันหยุดที่ผ่านมา มีรายงานสั้นเรื่องโรงงานรถไฟมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงและแหล่งผลิตหัวรถจักรที่สำคัญของประเทศ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นสุสานรถไฟเก่า ที่ถูกต้องการให้มีการอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นหลัง
โรงงานมักกะสันเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2453 ซึ่งนอกจากเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนแล้ว ยังเป็นศูนย์ผลิตรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับความเสียหายมาก และมีการบูรณะใหม่แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2500
ต่อมาปี 2526 รัฐบาลได้สั่งยุติการผลิตรถจักร เนื่องจากการนำเข้ามีราคาถูกกว่า ความสำคัญของโรงงานแห่งนี้จึงลดน้อยลง ปัจจุบันเรียกได้ว่า โรงงานมักกะสันหลงเหลือหัวรถจักร 3 ขบวน และอาคารโรงซ่อมหลังเก่า ไว้เป็นอนุสรณ์ความรุ่งเรืองในอดีต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หัวรถจักรดีเซลอายุ 62 ปี
หัวรถจักรไอน้ำ นำเข้าจากกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
รถไฟพระที่นั่ง
อาคารซ่อมบำรุงหลังเก่า สร้างขึ้นในปี 2465
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ของการรถไฟในบริเวณมักกะสัน รวมกันมีประมาณเกือบ ๆ 500 ไร่ โดยพื้นที่แปลง A ส่วนที่ใกล้กับแอร์พอร์ตเรลลิงก์
(สีส้ม) ประมาณ 140 ไร่ จะถูกนำไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ภายใต้สัญญาให้เอกชนเช่าดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ซึ่งกลุ่มธนโฮลดิ้ง (ซีพี) และพันธมิตร เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ โดยพื้นที่แปลงที่เอกชนได้รับสิทธิ์พัฒนาดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โรงงานมักกะสัน
(สีเหลือง) ตามที่มีการเข้าใจผิดกันมาตลอด
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหนึ่งในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่หวังให้ช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งจากประสบการณ์ของประเทศในซีกโลกตะวันตกและภูมิภาคเอเชีย ใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นตัวเชื่อมโยงในการปรับฐานของเศรษฐกิจและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศ ตัวอย่างประเทศจีน ที่มีการพัฒนาด้านคมนาคมทางรางเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งช่วยกระจายความเจริญ ปรับลดความเหลื่อมล้ำ โดยทำให้ความเจริญไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ
ล่าสุด รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา จีนได้พัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศอย่างรวดเร็ว และสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเมื่อปี 2561 พบว่า จีนเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและถนนที่ยาวที่สุดในโลก โดยถนนทางหลวงทั่วประเทศจีนมีความยาวรวมกันกว่า 4,850,000 กิโลเมตร และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมีความยาวรวม 143,000 กิโลเมตร
สำหรับประเทศไทยนั้น แม้จะเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชียที่มีรถไฟ แต่การเติบโตและพัฒนาการช้ามาก โดยเริ่มมีการศึกษาเรื่องรถไฟความเร็วสูงในปี พ.ศ. 2535 และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-ระยอง ได้เริ่มศึกษาในปี 2537 แต่เพิ่งเริ่มเป็นจริงเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นระบบคมนาคมหลักที่เชื่อมเมืองสู่เมือง และมีระบบการคมนาคมย่อยเชื่อมต่อเส้นทางย่อยจากสถานีหลัก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณที่มาข้อมูล:
Chugging into history https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1732047/chugging-into-history
‘จีน’ โวมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/844294?fbclid=IwAR2GILfOArS2kAgorSUij_wGuWX9eGzL-stJjmCxF3PLItIjPycavUmXyz8
รถไฟความเร็วสูง : เศรษฐกิจระบบราง ตัวช่วยเปิดทางเชื่อมโลกให้ไทยแล่น https://www.salika.co/2019/08/17/high-speed-train-economics/
รูปจาก Parinya Chukaew
มักกะสัน จากตำนานรถไฟ สู่ตัวช่วยที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาเมือง
โรงงานมักกะสันเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2453 ซึ่งนอกจากเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนแล้ว ยังเป็นศูนย์ผลิตรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับความเสียหายมาก และมีการบูรณะใหม่แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2500
ต่อมาปี 2526 รัฐบาลได้สั่งยุติการผลิตรถจักร เนื่องจากการนำเข้ามีราคาถูกกว่า ความสำคัญของโรงงานแห่งนี้จึงลดน้อยลง ปัจจุบันเรียกได้ว่า โรงงานมักกะสันหลงเหลือหัวรถจักร 3 ขบวน และอาคารโรงซ่อมหลังเก่า ไว้เป็นอนุสรณ์ความรุ่งเรืองในอดีต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ของการรถไฟในบริเวณมักกะสัน รวมกันมีประมาณเกือบ ๆ 500 ไร่ โดยพื้นที่แปลง A ส่วนที่ใกล้กับแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (สีส้ม) ประมาณ 140 ไร่ จะถูกนำไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ภายใต้สัญญาให้เอกชนเช่าดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ซึ่งกลุ่มธนโฮลดิ้ง (ซีพี) และพันธมิตร เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ โดยพื้นที่แปลงที่เอกชนได้รับสิทธิ์พัฒนาดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โรงงานมักกะสัน (สีเหลือง) ตามที่มีการเข้าใจผิดกันมาตลอด
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหนึ่งในโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่หวังให้ช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งจากประสบการณ์ของประเทศในซีกโลกตะวันตกและภูมิภาคเอเชีย ใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นตัวเชื่อมโยงในการปรับฐานของเศรษฐกิจและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศ ตัวอย่างประเทศจีน ที่มีการพัฒนาด้านคมนาคมทางรางเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งช่วยกระจายความเจริญ ปรับลดความเหลื่อมล้ำ โดยทำให้ความเจริญไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ
ล่าสุด รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา จีนได้พัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศอย่างรวดเร็ว และสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเมื่อปี 2561 พบว่า จีนเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและถนนที่ยาวที่สุดในโลก โดยถนนทางหลวงทั่วประเทศจีนมีความยาวรวมกันกว่า 4,850,000 กิโลเมตร และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมีความยาวรวม 143,000 กิโลเมตร
สำหรับประเทศไทยนั้น แม้จะเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชียที่มีรถไฟ แต่การเติบโตและพัฒนาการช้ามาก โดยเริ่มมีการศึกษาเรื่องรถไฟความเร็วสูงในปี พ.ศ. 2535 และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-ระยอง ได้เริ่มศึกษาในปี 2537 แต่เพิ่งเริ่มเป็นจริงเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นระบบคมนาคมหลักที่เชื่อมเมืองสู่เมือง และมีระบบการคมนาคมย่อยเชื่อมต่อเส้นทางย่อยจากสถานีหลัก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้