แน่นอนว่าบทสุดท้ายของฤดูกาลใหม่ที่กำลังมาถึงจะมีเพียงหนึ่งในโค้ชทั้งหมดที่มีโอกาสได้ชูถาดแชมป์บุนเดสลีการ่วมกับเหล่าลูกทีมของเขา แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ เฮ้ดโค้ชเหล่านี้แหละ ที่จะเป็นผู้กุมพวงมาลัยนำทางสโมสรผ่านความยากลำบากและอุปสรรคมากมายทั้งในและนอกสนามแข่งขัน มาดูกันว่าในบุนเดสลีกาฤดูกาลนี้มีโค้ชจอมแทคติกคนไหนคุมทีมอะไรกันบ้าง...
บาเยิร์น มิวนิค: นิโก้ โควัช
ฤดูกาลแรกของโควัชในการคุมบาเยิร์น มิวนิคถือว่าสอบผ่าน สามารถคว้าแชมป์ในประเทศได้ถึงสามรายการ แถมยังต่อสู้แย่งชิงแชมป์ลีกมาได้อย่างเร้าใจ โดยก่อนหน้าที่เขาจะย้ายมาคุมบาเยิร์น เขาเพิ่งจะนำไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ตโค่นทีมเสือใต้ในรอบชิงชนะเลิศศึกเดเอฟเบ โพคาลได้อีกด้วย ซึ่งทำให้โควัชกลายเป็นโค้ชชาวโครแอตคนแรกในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์ในเยอรมนีกับสองสโมสรได้สำเร็จ และยังเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์เยอรมันที่คว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้ทั้งในฐานะผู้เล่นและโค้ช
ปีนี้บาเยิร์นจึงหวังให้โควัชรักษาฟอร์มเดิมเอาไว้ให้ได้ ยิ่งถ้าระเบิดฟอร์มในเวทียุโรปได้ด้วยก็ยิ่งดีเลย
โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์: ลูเซียง ฟาฟร์
ยอดกุนซือที่เล่นเกมสไตล์ “โมเดิร์น แจ๊ซ” ฟาฟร์พลาดท่าให้กับโควัชไปอย่างฉิวเฉียดในการแย่งชิงบัลลังก์แชมป์เมื่อซีซั่นที่ผ่านมาด้วยแต้มห่างเพียงแค่ 2 คะแนน ในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมาฟาฟร์เสริมทัพได้อย่างน่ากลัว คว้าตัวแข้งบิ๊กเนมเข้ามาในทีมมากมาย นั่นหมายความว่าทีมเสือเหลืองจะต้องอันตรายขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
แอร์เบ ไลป์ซิก: ยูเลียน นาเกลส์มันน์
หลังจากที่พาฮอฟเฟนไฮม์บินสูงได้สำเร็จ ก็ถึงเวลาที่โค้ชอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์บุนเดสลีการายนี้จะได้ย้ายบ้านไปหาความท้าทายใหม่ๆ
เสียที กุนซือหนุ่มคนนี้สั่งลูกทีมให้เล่นเกมรุกอย่างไม่เกรงกลัวใคร แถมยังมีความสามารถในการเค้นฟอร์มผู้เล่นออกมาให้ได้อีกด้วย นาเกลส์มันน์ย้ายมาไลป์ซิกด้วยความทะเยอทะยานอันสูงส่ง เขาตั้งเป้าไปถึงตำแหน่งแชมป์หรือรองแชมป์ด้วยซ้ำ และยังหวังลึกๆ ว่าจะมีถ้วยติดไม้ติดมือมาประดับตู้โชว์ของสโมสรบ้างในฤดูกาลนี้
ไบเออร์ เลเวอร์คูเซน: ปีเตอร์ บอซ
หลังก้าวเข้ามาคุมทีมเลเวอร์คูเซนแทนไฮโค แฮร์ลิช เมื่อเดือนมกราคม บอซก็สามารถพาทีมทำผลงานได้ยอดเยี่ยมไม่เบา ดีดตัวจากอันดับ 9 ขึ้นไปจบอันดับ 4 ในลีก คว้าตั๋วกลับไปลุยศึกยูเอฟ่า แชมเปียนส์ลีกได้สำเร็จ และในฤดูกาลนี้จะเป็นอีกบทสอบของบอซว่าจะรักษาสมดุลย์ของทีมได้ดีแค่ไหน เมื่อมีทั้งเกมลีกและรายการยุโรปที่ต้องโฟกัส นับเป็นครั้งแรกที่เขาจะได้คุมทีมอย่างเต็มฤดูกาลในถิ่นเบย์อารีน่า
โบรุสเซีย เมินเชนกลัดบัค: มาร์โค โรเซ่อ
อดีตกองหลังทีมไมนซ์ผู้เดินตามรอยเท้าของดีเทอร์ เฮคคิ่ง โรเซ่อได้รับการยกย่องอย่างมากเมื่อครั้งคุมทีมเร้ดบูล ซัลซ์บวร์ก จบฤดูกาล 2018/19 ด้วยการคว้าดับเบิ้ลแชมป์ในออสเตรีย และเคยพาทีมเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูเอฟ่า ยูโรปาลีกเมื่อปีก่อน เขาจึงเป็นความหวังของแฟนๆ ทีมสิงห์หนุ่มว่าพวกเขาจะบินขึ้นสูงในตารางลีกและในเวทียุโรปด้วยเหมือนกัน
โวล์ฟสบวร์ก: โอลิเวอร์ กลาสเนอร์
แม้บรูโน่ ลับบาเดียจะพาพลพรรคหมาป่าเมืองเบียร์รอดตกชั้นจากเกมเพลย์ออฟในฤดูกาล 2017/18 สำเร็จและพาทีมจบอันดับ 6 ในฤดูกาลที่ผ่านมา แต่เขากลับตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับสโมสร โวล์ฟสบวร์กจึงต้องแต่งกลาสเนอร์เข้ามากุมบังเหียนแทนเนื่องจากเขาเพิ่งทำผลงานยอดเยี่ยม พาทีมต้นสังกัดเก่าคว้ารองแชมป์ได้ในออสเตรีย ซึ่งหมายความว่ากลาสเนอร์จะได้กลับมาดวลกับโรเซ่ออีกครั้งในเยอรมนี แถมยังพ่วงศึกยูโรปาลีกมาให้ลุ้นอีกรายการด้วย
ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต: อาดี้ ฮึทเทอร์
ผ่านไปแล้วสำหรับฤดูกาลแรกของฮึทเทอร์กับสโมสรอินทรีแดง-ดำ นับว่าเป็นที่น่าเสียดายเมื่อแฟรงค์เฟิร์ตทำผลงานในช่วงโค้งสุดท้ายได้ไม่ดีเท่าไหร่ ร่วงจากอันดับ 4
ลงไปจบที่อันดับ 7 และกระเด็นตกรอบรองชนะเลิศศึกยูโรปาลีกด้วยการพ่ายแพ้ต่อเชลซีในการดวลจุดโทษ ฮึทเทอร์จะยิ่งเจองานหนักเข้าไปอีกในซีซั่นนี้เมื่อไม่มีแข้งตัวเก่งประจำซีซั่นก่อนอย่างลูก้า โยวิช และเซบาสเตียน อัลแลร์ ในทีมอีกแล้ว
แวร์เดอร์ เบรเมน: ฟลอเรียน โคห์เฟลด์
โคห์เฟลด์เข้ามารับเผือกร้อนในขณะที่เบรเมนกำลังตกที่นั่งลำบากในปี 2017 ซึ่งตอนนั้นเบรเมนรั้งอยู่ในอันดับ 17 เขาสามารถนำทีมหนีตกชั้นได้สำเร็จและคว้ารางวัชโค้ชเยอรมันยอดเยี่ยมแห่งปี 2018 ฤดูกาลต่อมาเขาพาทีมจบอันดับ 7 พลาดตั๋วฟุตบอลยุโรปใบสุดท้ายไปนิดเดียว ฤดูกาลนี้จึงเป็นโอกาสที่เขาจะได้แก้มืออีกครั้ง
ฮอฟเฟนไฮม์: อัลเฟรด ชรอยเดอร์
หลังจากไปเป็นผู้ช่วยโค้ชที่อายักซ์ในฮอลแลนด์ ในที่สุดชรอยเดอร์ก็กลับมาสู่รั้วฮอฟเฟนไฮม์อีกครั้งหนึ่ง เขาเคยเป็นลูกน้องของฮูบ สตีเวนส์ และนาเกลส์มันน์ที่ฮอฟเฟนไฮม์ และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะรับบทเฮ้ดโค้ชเสียที โดยแฟนๆ ต่างก็หวังกันว่าเขาจะสามารถพาทีมประสบความสำเร็จได้อย่างที่ทำกับอายักซ์มาในซีซั่นก่อนด้วยขุนพลนักเตะพรสวรรค์อายุน้อยในทีม
ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ: ฟรีดเฮล์ม ฟุงเคล
หลังจากที่ดุสเซลดอร์ฟเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จในฤดูกาล 2017/18 ฟุงเคลพาทีมจบอันดับที่ 10 ในฤดูกาลที่ผ่านมาในขณะที่ทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมาด้วยกันอย่างเนือร์นแบร์กต้องตกชั้นกลับไปเล่นในลีกรอง ฤดูกาลนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ดุสเซลดอร์ฟได้เล่นในลีกสูงสุดต่อกันเป็นฤดูกาลที่สอง นับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ฟุงเคลมีงานหินรออยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาทีมยิงประตูรวมได้เพียง 65 ประตู ซึ่งน้อยสุดเป็นอันดับ 3 ในลีก ซึ่งสองทีมที่ยิงน้อยกว่านี้ตกชั้นทั้งคู่
แฮร์ธ่า เบอร์ลิน: อันเต้ โควิช
โควิชคือโค้ชที่ก้าวขึ้นมาจากการคุมทีมสำรอง แม้จะไม่ได้มีประสบการณ์ในทีมชุดใหญ่ แต่เขาก็คุ้นเคยกับสโมสรนี้เป็นอย่างดีสมัยค้าแข้งกับแฮร์ธ่ามาแล้วถึง 80 เกมใน 11 ฤดูกาล แถมกุนซือชาวโครแอตคนนี้ยังช่วยทีมคว้าตัวนักเตะหลายคนเข้ามาร่วมทีมอีกด้วย
ไมนซ์: ซานโดร ชวาร์ซ
แข้งลูกหม้อที่เติบโตมากับไมนซ์คนนี้เคยร่วมงานกับเยือร์เก้น คล็อปป์ และมาร์โค โรเซ่อมาแล้ว เขาพาทีมไมนซ์ทำผลงานกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย เมื่อพัฒนาจากอันดับ 14 ในฤดูกาล 2017/18 มาจบอันดับ 12 ในฤดูกาลล่าสุด
ไฟรบวร์ก: คริสเตียน ชไตรช์
กุนซือวัย 54 ปีรายนี้กำลังจะได้ฉลองครบรอบปีที่ 25 ของเขาในรั้วไฟรบวร์กในช่วงต้นปีหน้า เส้นทางการเป็นโค้ชของเขาเริ่มต้นจากการคุมทีมเยาวชนของสโมสรก่อนก้าวขึ้นมาคุมทีมชุดใหญ่ ถึงตอนนี้เขาคุมทีมในบุนเดสลีกาไปแล้วถึง 221 นัด นับเป็นโค้ชที่คุมทีมยาวนานที่สุดในตอนนี้
ชาลเก้: ดาวิด วากเนอร์
ในที่สุดวากเนอร์ก็กลับมายังเยอรมนีอีกครั้ง หลังเคยคุมทีมเยาวชนฮอฟเฟนไฮม์และทีมสำรองของดอร์ทมุนด์ และในตอนนี้เขาจะได้กลับมาคุมชาลเค่อ สโมสรเก่าที่เคยสังกัดอยู่ในสมัยที่ยังค้าแข้ง โดยแฟนบอลต่างก็หวังว่าเขาจะสามารถปลุกสโมสรยักษ์ใหญ่อดีต เจ้าของแชมป์ลีกสูงสุดในเยอรมนี 7 สมัยให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากในฤดูกาลที่ผ่านชาลเค่อทำได้เพียงอันดับที่ 14 เท่านั้น
เอาก์สบวร์ก: มาร์ติน ชมิดท์
อดีตโค้ชไมนซ์และโวล์ฟสบวร์กคนนี้แหละที่เข้ามานั่งเก้าอี้กุนซือในช่วงสุดท้ายของฤดูกาลแล้วสามารถพาทีมโชว์ฟอร์มแจ่ม ชนะ 3 เสมอ 1 จาก 4 เกมสุดท้าย ช่วยให้ทีมรอดตกชั้นสำเร็จ มารอดูกันว่าเขาจะทำได้ดีแค่ไหนเมื่อได้โอกาสคุมทีมเต็มฤดูกาล
โคโลญจน์: อาชิม ไบเออร์โลเซอร์
ฤดูกาลนี้จะเป็นครั้งแรกที่ไบเออร์โลเซอร์จะได้คุมทีมในบุนเดสลีกา โดยกุนซือคนนี้มีงานหนักที่ต้องทำอีกมาก เมื่อเขาเพิ่งจะถูกแต่งตั้งเข้ามาแทน มาร์คุส อันฟัง ในช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมา แฟนบอลไลป์ซิกน่าจะจำเขาได้ดี เพราะไบเออร์โลเซอร์เคยรับงานร้อนคุมทีมกระทิงแดงในฤดูกาล 2014/15 อยู่ 15 เกม (ชนะ 6 เสมอ 3 แพ้ 6) ก่อนที่ราล์ฟ รังนิค จะเข้ามานั่งเก้าอี้แทน
พาเดอร์บอร์น: ชเตฟเฟน เบาม์การ์ท
การเลื่อนชั้นขึ้นมาของพาเดอร์บอร์นถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเรื่องหนึ่ง เพราะในช่วงท้ายฤดูกาล 2016/17 พวกเขาอยู่ในอันดับที่เสี่ยงจะตกลงไปในดิวิชั่น 3 แต่เมื่อเบาม์การ์ทเข้ามาคุมทีมและเก็บชัยชนะ 3 นัดเสมอ 2 นัด ทำให้พาเดอร์บอร์นรอดตกชั้นไปได้ ก่อนที่ปีต่อมาพวกเขาจะสามารถเลื่อนขึ้นมาเล่นในบุนเดสลีกา 2 ได้อย่างสุดยอด และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาก็เลื่อนชั้นสำเร็จอีกครั้ง เบาม์การ์ทใช้เวลาเพียงสองฤดูกาลก็สามารถพาทีมก้าวขึ้นมาเล่นในบุนเดสลีกาได้อย่างยิ่งใหญ่
ยูเนียน เบอร์ลิน: อัวส์ ฟิชเชอร์
ฟิชเชอร์คืออีกหนึ่งกุนซือสมองเพชรที่สามารถเปลี่ยนทีมระดับธรรมดาให้กลายเป็นสโมสรชั้นดีได้ เขาพายูเนียนขึ้นมาเล่นในบุนเดสลีกาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อดีตนักเตะทีมชาติสวิสรายนี้เคยคว้าแชมป์ลีก 2 สมัยและคว้าถ้วยในประเทศอีก 1 สมัยกับทีมบาเซิล หลังนำทีมโค่นชตุทท์การ์ทได้สำเร็จในศึกเพลย์ออฟ การเลื่อนชั้นขึ้นมาครั้งนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของฟิชเชอร์ในฐานะโค้ชเลยทีเดียว
credit : www.siamsport.co.th
ส่องโค้ชบุนเดสลีกาซีซั่น 2019/20
บาเยิร์น มิวนิค: นิโก้ โควัช
ฤดูกาลแรกของโควัชในการคุมบาเยิร์น มิวนิคถือว่าสอบผ่าน สามารถคว้าแชมป์ในประเทศได้ถึงสามรายการ แถมยังต่อสู้แย่งชิงแชมป์ลีกมาได้อย่างเร้าใจ โดยก่อนหน้าที่เขาจะย้ายมาคุมบาเยิร์น เขาเพิ่งจะนำไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ตโค่นทีมเสือใต้ในรอบชิงชนะเลิศศึกเดเอฟเบ โพคาลได้อีกด้วย ซึ่งทำให้โควัชกลายเป็นโค้ชชาวโครแอตคนแรกในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์ในเยอรมนีกับสองสโมสรได้สำเร็จ และยังเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์เยอรมันที่คว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้ทั้งในฐานะผู้เล่นและโค้ช
ปีนี้บาเยิร์นจึงหวังให้โควัชรักษาฟอร์มเดิมเอาไว้ให้ได้ ยิ่งถ้าระเบิดฟอร์มในเวทียุโรปได้ด้วยก็ยิ่งดีเลย
โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์: ลูเซียง ฟาฟร์
ยอดกุนซือที่เล่นเกมสไตล์ “โมเดิร์น แจ๊ซ” ฟาฟร์พลาดท่าให้กับโควัชไปอย่างฉิวเฉียดในการแย่งชิงบัลลังก์แชมป์เมื่อซีซั่นที่ผ่านมาด้วยแต้มห่างเพียงแค่ 2 คะแนน ในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมาฟาฟร์เสริมทัพได้อย่างน่ากลัว คว้าตัวแข้งบิ๊กเนมเข้ามาในทีมมากมาย นั่นหมายความว่าทีมเสือเหลืองจะต้องอันตรายขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
แอร์เบ ไลป์ซิก: ยูเลียน นาเกลส์มันน์
หลังจากที่พาฮอฟเฟนไฮม์บินสูงได้สำเร็จ ก็ถึงเวลาที่โค้ชอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์บุนเดสลีการายนี้จะได้ย้ายบ้านไปหาความท้าทายใหม่ๆ
เสียที กุนซือหนุ่มคนนี้สั่งลูกทีมให้เล่นเกมรุกอย่างไม่เกรงกลัวใคร แถมยังมีความสามารถในการเค้นฟอร์มผู้เล่นออกมาให้ได้อีกด้วย นาเกลส์มันน์ย้ายมาไลป์ซิกด้วยความทะเยอทะยานอันสูงส่ง เขาตั้งเป้าไปถึงตำแหน่งแชมป์หรือรองแชมป์ด้วยซ้ำ และยังหวังลึกๆ ว่าจะมีถ้วยติดไม้ติดมือมาประดับตู้โชว์ของสโมสรบ้างในฤดูกาลนี้
ไบเออร์ เลเวอร์คูเซน: ปีเตอร์ บอซ
หลังก้าวเข้ามาคุมทีมเลเวอร์คูเซนแทนไฮโค แฮร์ลิช เมื่อเดือนมกราคม บอซก็สามารถพาทีมทำผลงานได้ยอดเยี่ยมไม่เบา ดีดตัวจากอันดับ 9 ขึ้นไปจบอันดับ 4 ในลีก คว้าตั๋วกลับไปลุยศึกยูเอฟ่า แชมเปียนส์ลีกได้สำเร็จ และในฤดูกาลนี้จะเป็นอีกบทสอบของบอซว่าจะรักษาสมดุลย์ของทีมได้ดีแค่ไหน เมื่อมีทั้งเกมลีกและรายการยุโรปที่ต้องโฟกัส นับเป็นครั้งแรกที่เขาจะได้คุมทีมอย่างเต็มฤดูกาลในถิ่นเบย์อารีน่า
โบรุสเซีย เมินเชนกลัดบัค: มาร์โค โรเซ่อ
อดีตกองหลังทีมไมนซ์ผู้เดินตามรอยเท้าของดีเทอร์ เฮคคิ่ง โรเซ่อได้รับการยกย่องอย่างมากเมื่อครั้งคุมทีมเร้ดบูล ซัลซ์บวร์ก จบฤดูกาล 2018/19 ด้วยการคว้าดับเบิ้ลแชมป์ในออสเตรีย และเคยพาทีมเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูเอฟ่า ยูโรปาลีกเมื่อปีก่อน เขาจึงเป็นความหวังของแฟนๆ ทีมสิงห์หนุ่มว่าพวกเขาจะบินขึ้นสูงในตารางลีกและในเวทียุโรปด้วยเหมือนกัน
โวล์ฟสบวร์ก: โอลิเวอร์ กลาสเนอร์
แม้บรูโน่ ลับบาเดียจะพาพลพรรคหมาป่าเมืองเบียร์รอดตกชั้นจากเกมเพลย์ออฟในฤดูกาล 2017/18 สำเร็จและพาทีมจบอันดับ 6 ในฤดูกาลที่ผ่านมา แต่เขากลับตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับสโมสร โวล์ฟสบวร์กจึงต้องแต่งกลาสเนอร์เข้ามากุมบังเหียนแทนเนื่องจากเขาเพิ่งทำผลงานยอดเยี่ยม พาทีมต้นสังกัดเก่าคว้ารองแชมป์ได้ในออสเตรีย ซึ่งหมายความว่ากลาสเนอร์จะได้กลับมาดวลกับโรเซ่ออีกครั้งในเยอรมนี แถมยังพ่วงศึกยูโรปาลีกมาให้ลุ้นอีกรายการด้วย
ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต: อาดี้ ฮึทเทอร์
ผ่านไปแล้วสำหรับฤดูกาลแรกของฮึทเทอร์กับสโมสรอินทรีแดง-ดำ นับว่าเป็นที่น่าเสียดายเมื่อแฟรงค์เฟิร์ตทำผลงานในช่วงโค้งสุดท้ายได้ไม่ดีเท่าไหร่ ร่วงจากอันดับ 4
ลงไปจบที่อันดับ 7 และกระเด็นตกรอบรองชนะเลิศศึกยูโรปาลีกด้วยการพ่ายแพ้ต่อเชลซีในการดวลจุดโทษ ฮึทเทอร์จะยิ่งเจองานหนักเข้าไปอีกในซีซั่นนี้เมื่อไม่มีแข้งตัวเก่งประจำซีซั่นก่อนอย่างลูก้า โยวิช และเซบาสเตียน อัลแลร์ ในทีมอีกแล้ว
แวร์เดอร์ เบรเมน: ฟลอเรียน โคห์เฟลด์
โคห์เฟลด์เข้ามารับเผือกร้อนในขณะที่เบรเมนกำลังตกที่นั่งลำบากในปี 2017 ซึ่งตอนนั้นเบรเมนรั้งอยู่ในอันดับ 17 เขาสามารถนำทีมหนีตกชั้นได้สำเร็จและคว้ารางวัชโค้ชเยอรมันยอดเยี่ยมแห่งปี 2018 ฤดูกาลต่อมาเขาพาทีมจบอันดับ 7 พลาดตั๋วฟุตบอลยุโรปใบสุดท้ายไปนิดเดียว ฤดูกาลนี้จึงเป็นโอกาสที่เขาจะได้แก้มืออีกครั้ง
ฮอฟเฟนไฮม์: อัลเฟรด ชรอยเดอร์
หลังจากไปเป็นผู้ช่วยโค้ชที่อายักซ์ในฮอลแลนด์ ในที่สุดชรอยเดอร์ก็กลับมาสู่รั้วฮอฟเฟนไฮม์อีกครั้งหนึ่ง เขาเคยเป็นลูกน้องของฮูบ สตีเวนส์ และนาเกลส์มันน์ที่ฮอฟเฟนไฮม์ และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะรับบทเฮ้ดโค้ชเสียที โดยแฟนๆ ต่างก็หวังกันว่าเขาจะสามารถพาทีมประสบความสำเร็จได้อย่างที่ทำกับอายักซ์มาในซีซั่นก่อนด้วยขุนพลนักเตะพรสวรรค์อายุน้อยในทีม
ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ: ฟรีดเฮล์ม ฟุงเคล
หลังจากที่ดุสเซลดอร์ฟเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จในฤดูกาล 2017/18 ฟุงเคลพาทีมจบอันดับที่ 10 ในฤดูกาลที่ผ่านมาในขณะที่ทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมาด้วยกันอย่างเนือร์นแบร์กต้องตกชั้นกลับไปเล่นในลีกรอง ฤดูกาลนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ดุสเซลดอร์ฟได้เล่นในลีกสูงสุดต่อกันเป็นฤดูกาลที่สอง นับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ฟุงเคลมีงานหินรออยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาทีมยิงประตูรวมได้เพียง 65 ประตู ซึ่งน้อยสุดเป็นอันดับ 3 ในลีก ซึ่งสองทีมที่ยิงน้อยกว่านี้ตกชั้นทั้งคู่
แฮร์ธ่า เบอร์ลิน: อันเต้ โควิช
โควิชคือโค้ชที่ก้าวขึ้นมาจากการคุมทีมสำรอง แม้จะไม่ได้มีประสบการณ์ในทีมชุดใหญ่ แต่เขาก็คุ้นเคยกับสโมสรนี้เป็นอย่างดีสมัยค้าแข้งกับแฮร์ธ่ามาแล้วถึง 80 เกมใน 11 ฤดูกาล แถมกุนซือชาวโครแอตคนนี้ยังช่วยทีมคว้าตัวนักเตะหลายคนเข้ามาร่วมทีมอีกด้วย
ไมนซ์: ซานโดร ชวาร์ซ
แข้งลูกหม้อที่เติบโตมากับไมนซ์คนนี้เคยร่วมงานกับเยือร์เก้น คล็อปป์ และมาร์โค โรเซ่อมาแล้ว เขาพาทีมไมนซ์ทำผลงานกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย เมื่อพัฒนาจากอันดับ 14 ในฤดูกาล 2017/18 มาจบอันดับ 12 ในฤดูกาลล่าสุด
ไฟรบวร์ก: คริสเตียน ชไตรช์
กุนซือวัย 54 ปีรายนี้กำลังจะได้ฉลองครบรอบปีที่ 25 ของเขาในรั้วไฟรบวร์กในช่วงต้นปีหน้า เส้นทางการเป็นโค้ชของเขาเริ่มต้นจากการคุมทีมเยาวชนของสโมสรก่อนก้าวขึ้นมาคุมทีมชุดใหญ่ ถึงตอนนี้เขาคุมทีมในบุนเดสลีกาไปแล้วถึง 221 นัด นับเป็นโค้ชที่คุมทีมยาวนานที่สุดในตอนนี้
ชาลเก้: ดาวิด วากเนอร์
ในที่สุดวากเนอร์ก็กลับมายังเยอรมนีอีกครั้ง หลังเคยคุมทีมเยาวชนฮอฟเฟนไฮม์และทีมสำรองของดอร์ทมุนด์ และในตอนนี้เขาจะได้กลับมาคุมชาลเค่อ สโมสรเก่าที่เคยสังกัดอยู่ในสมัยที่ยังค้าแข้ง โดยแฟนบอลต่างก็หวังว่าเขาจะสามารถปลุกสโมสรยักษ์ใหญ่อดีต เจ้าของแชมป์ลีกสูงสุดในเยอรมนี 7 สมัยให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากในฤดูกาลที่ผ่านชาลเค่อทำได้เพียงอันดับที่ 14 เท่านั้น
เอาก์สบวร์ก: มาร์ติน ชมิดท์
อดีตโค้ชไมนซ์และโวล์ฟสบวร์กคนนี้แหละที่เข้ามานั่งเก้าอี้กุนซือในช่วงสุดท้ายของฤดูกาลแล้วสามารถพาทีมโชว์ฟอร์มแจ่ม ชนะ 3 เสมอ 1 จาก 4 เกมสุดท้าย ช่วยให้ทีมรอดตกชั้นสำเร็จ มารอดูกันว่าเขาจะทำได้ดีแค่ไหนเมื่อได้โอกาสคุมทีมเต็มฤดูกาล
โคโลญจน์: อาชิม ไบเออร์โลเซอร์
ฤดูกาลนี้จะเป็นครั้งแรกที่ไบเออร์โลเซอร์จะได้คุมทีมในบุนเดสลีกา โดยกุนซือคนนี้มีงานหนักที่ต้องทำอีกมาก เมื่อเขาเพิ่งจะถูกแต่งตั้งเข้ามาแทน มาร์คุส อันฟัง ในช่วงปิดฤดูกาลที่ผ่านมา แฟนบอลไลป์ซิกน่าจะจำเขาได้ดี เพราะไบเออร์โลเซอร์เคยรับงานร้อนคุมทีมกระทิงแดงในฤดูกาล 2014/15 อยู่ 15 เกม (ชนะ 6 เสมอ 3 แพ้ 6) ก่อนที่ราล์ฟ รังนิค จะเข้ามานั่งเก้าอี้แทน
พาเดอร์บอร์น: ชเตฟเฟน เบาม์การ์ท
การเลื่อนชั้นขึ้นมาของพาเดอร์บอร์นถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเรื่องหนึ่ง เพราะในช่วงท้ายฤดูกาล 2016/17 พวกเขาอยู่ในอันดับที่เสี่ยงจะตกลงไปในดิวิชั่น 3 แต่เมื่อเบาม์การ์ทเข้ามาคุมทีมและเก็บชัยชนะ 3 นัดเสมอ 2 นัด ทำให้พาเดอร์บอร์นรอดตกชั้นไปได้ ก่อนที่ปีต่อมาพวกเขาจะสามารถเลื่อนขึ้นมาเล่นในบุนเดสลีกา 2 ได้อย่างสุดยอด และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาก็เลื่อนชั้นสำเร็จอีกครั้ง เบาม์การ์ทใช้เวลาเพียงสองฤดูกาลก็สามารถพาทีมก้าวขึ้นมาเล่นในบุนเดสลีกาได้อย่างยิ่งใหญ่
ยูเนียน เบอร์ลิน: อัวส์ ฟิชเชอร์
ฟิชเชอร์คืออีกหนึ่งกุนซือสมองเพชรที่สามารถเปลี่ยนทีมระดับธรรมดาให้กลายเป็นสโมสรชั้นดีได้ เขาพายูเนียนขึ้นมาเล่นในบุนเดสลีกาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อดีตนักเตะทีมชาติสวิสรายนี้เคยคว้าแชมป์ลีก 2 สมัยและคว้าถ้วยในประเทศอีก 1 สมัยกับทีมบาเซิล หลังนำทีมโค่นชตุทท์การ์ทได้สำเร็จในศึกเพลย์ออฟ การเลื่อนชั้นขึ้นมาครั้งนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของฟิชเชอร์ในฐานะโค้ชเลยทีเดียว
credit : www.siamsport.co.th