"อนุทิน"ปิ๊งไอเดียให้ผู้ป่วย 4โรคเรื้อรัง รับยาเองที่ร้านขายยา ไม่ต้องไปรพ. นำร่องก่อน 50 รพ.500 ร้านยา คาดเริ่ม 1ต.ค.นี้
16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 14:41 น.
15 ส.ค.62- นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ สปสช. วาระพิเศษ ครั้งที่ 1/2562 และมอบนโยบายการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัด สธ. ข, นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. พร้อมด้วยรองเลขาธิการ สปสช.และคณะผู้บริหารร่วมประชุม พร้อมหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดเวลาการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลด้วยการจัดบริการรับยาที่ร้านขายยาคุณภาพ นอกจากเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยแล้วยังลดความแออัดในโรงพยาบาล
นายอนุทิน กล่าวว่า จากที่ได้มอบนโยบายในการประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2562 ในการจัดบริการเพื่อให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาคุณภาพ ที่ผ่านมา สปสช. ได้เร่งดำเนินการหารือกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสธ. และสภาเภสัชกรรม เพื่อวางแนวทางในการดำเนินการ มีข้อสรุปเบื้องต้น จะนำร่องในโรงพยาบาล 50 แห่ง และร้านยาคุณภาพ 500 แห่ง ทั่วประเทศ จำกัดการจ่ายยาเฉพาะ 4 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด และจิตเวช ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องได้รับยาต่อเนื่อง รวมจำนวนอยู่ที่ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
ทั้งนี้ในส่วนการดำเนินการได้ออกแบบไว้ 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 คือโรงพยาบาลเป็นผู้จัดยาและส่งยาไปที่ร้านยาคุณภาพเพื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ รพ.ศิริราชดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สามารถลดความแออัดใน รพ.ได้ แต่ไม่ลดภาระงาน ทางเลือกที่ 2 คือ นำยาไปสำรองไว้ที่ร้านยาคุณภาพ และให้เภสัชกรร้านยาเป็นผู้จัดยาตามใบสั่งแพทย์ เสมือนเป็นห้องจ่ายยาย่อยของ รพ. ที่ต้องมีระบบจัดการคลังยา และทางเลือกที่ 3 คือร้านยาคุณภาพเป็นผู้จัดซื้อยาและสำรองยาในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเอง โดย รพ.เป็นผู้ตามจ่ายค่ายาให้ร้านยาคุณภาพ อย่างไรก็ตามในการดำเนินการจะมีการดูแลค่าใช้จ่ายบริหารจัดการของโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายของร้านยาคุณภาพในการจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยที่จะจัดเพิ่มขึ้น
โดยที่ประชุมจะมีการหารือเพื่อร่วมหาข้อสรุปอีกครั้งว่าจะเลือกแนวทางใด และจะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด สปสช.วันที่ 2 กันยายน 2562 เพื่อเดินหน้า คาดว่าจะเริ่มได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้ นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้หารือประเด็นด้านระเบียบหรือ กฎหมายที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน และจะมีการแก้ไขให้สามารถดำเนินการได้
“เรื่องนี้ประชาชนได้ประโยชน์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความมั่นใจของผู้ป่วยต่อยาที่ได้รับจากร้านยาคุณภาพ จะต้องเป็นยาตัวเดียวกันเหมือนกับที่ได้รับจากโรงพยาบาล เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ ส่วนกรณีหากจำเป็นต้องเปลี่ยนยาต้องเป็นการสั่งเปลี่ยนจากหมอหรือโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่ใช่ร้านยาเปลี่ยนเอง และเมื่อระบบนี้เดินไปจุดหนึ่งเชื่อว่าจะมีร้านขายยาคุณภาพเข้าร่วมเพิ่มเติม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการแล้วจะมีคณะทำงานติดตามและประเมินผลอีกครั้ง ร้านยาที่เข้าร่วมจำกัดเฉพาะร้านยา ขย.1 ที่เป็นร้านยาคุณภาพและมีเภสัชกรประจำทำหน้าที่จ่ายยา ผลที่เกิดขึ้นนอกจากการเพิ่มความสะดวกในการรับยาของผู้ป่วยแล้ว ยังต้องลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมถึงการลดภาระให้กับโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ไม่บังคับให้ทุกโรงพยาบาลและผู้ป่วยต้องทำ เพราะโรงพยาบาลในต่างจังหวัดได้กระจายให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อยู่แล้ว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ป่วยและโรงพยาบาลเองว่าจะเลือกแบบใด จะรับยาที่ร้านขายยาหรือรับยาที่โรงพยาบาลเหมือนเดิม ทั้งนี้นโยบายนี้ยังสอดคล้องกับโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่นที่ สปสช.ได้เดินหน้าแล้ว
https://www.thaipost.net/main/detail/43574
"อนุทิน"ปิ๊งไอเดียให้ผู้ป่วย 4โรคเรื้อรัง รับยาเองที่ร้านขายยา ไม่ต้องไปรพ. นำร่องก่อน 50 รพ.500 ร้านยา คาดเริ่ม 1ต.ค.นี
16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 14:41 น.
15 ส.ค.62- นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ สปสช. วาระพิเศษ ครั้งที่ 1/2562 และมอบนโยบายการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัด สธ. ข, นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. พร้อมด้วยรองเลขาธิการ สปสช.และคณะผู้บริหารร่วมประชุม พร้อมหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดเวลาการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลด้วยการจัดบริการรับยาที่ร้านขายยาคุณภาพ นอกจากเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยแล้วยังลดความแออัดในโรงพยาบาล
นายอนุทิน กล่าวว่า จากที่ได้มอบนโยบายในการประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2562 ในการจัดบริการเพื่อให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาคุณภาพ ที่ผ่านมา สปสช. ได้เร่งดำเนินการหารือกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสธ. และสภาเภสัชกรรม เพื่อวางแนวทางในการดำเนินการ มีข้อสรุปเบื้องต้น จะนำร่องในโรงพยาบาล 50 แห่ง และร้านยาคุณภาพ 500 แห่ง ทั่วประเทศ จำกัดการจ่ายยาเฉพาะ 4 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด และจิตเวช ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องได้รับยาต่อเนื่อง รวมจำนวนอยู่ที่ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
ทั้งนี้ในส่วนการดำเนินการได้ออกแบบไว้ 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 คือโรงพยาบาลเป็นผู้จัดยาและส่งยาไปที่ร้านยาคุณภาพเพื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ รพ.ศิริราชดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สามารถลดความแออัดใน รพ.ได้ แต่ไม่ลดภาระงาน ทางเลือกที่ 2 คือ นำยาไปสำรองไว้ที่ร้านยาคุณภาพ และให้เภสัชกรร้านยาเป็นผู้จัดยาตามใบสั่งแพทย์ เสมือนเป็นห้องจ่ายยาย่อยของ รพ. ที่ต้องมีระบบจัดการคลังยา และทางเลือกที่ 3 คือร้านยาคุณภาพเป็นผู้จัดซื้อยาและสำรองยาในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเอง โดย รพ.เป็นผู้ตามจ่ายค่ายาให้ร้านยาคุณภาพ อย่างไรก็ตามในการดำเนินการจะมีการดูแลค่าใช้จ่ายบริหารจัดการของโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายของร้านยาคุณภาพในการจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยที่จะจัดเพิ่มขึ้น
โดยที่ประชุมจะมีการหารือเพื่อร่วมหาข้อสรุปอีกครั้งว่าจะเลือกแนวทางใด และจะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด สปสช.วันที่ 2 กันยายน 2562 เพื่อเดินหน้า คาดว่าจะเริ่มได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้ นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้หารือประเด็นด้านระเบียบหรือ กฎหมายที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน และจะมีการแก้ไขให้สามารถดำเนินการได้
“เรื่องนี้ประชาชนได้ประโยชน์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความมั่นใจของผู้ป่วยต่อยาที่ได้รับจากร้านยาคุณภาพ จะต้องเป็นยาตัวเดียวกันเหมือนกับที่ได้รับจากโรงพยาบาล เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ ส่วนกรณีหากจำเป็นต้องเปลี่ยนยาต้องเป็นการสั่งเปลี่ยนจากหมอหรือโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่ใช่ร้านยาเปลี่ยนเอง และเมื่อระบบนี้เดินไปจุดหนึ่งเชื่อว่าจะมีร้านขายยาคุณภาพเข้าร่วมเพิ่มเติม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการแล้วจะมีคณะทำงานติดตามและประเมินผลอีกครั้ง ร้านยาที่เข้าร่วมจำกัดเฉพาะร้านยา ขย.1 ที่เป็นร้านยาคุณภาพและมีเภสัชกรประจำทำหน้าที่จ่ายยา ผลที่เกิดขึ้นนอกจากการเพิ่มความสะดวกในการรับยาของผู้ป่วยแล้ว ยังต้องลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมถึงการลดภาระให้กับโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ไม่บังคับให้ทุกโรงพยาบาลและผู้ป่วยต้องทำ เพราะโรงพยาบาลในต่างจังหวัดได้กระจายให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อยู่แล้ว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ป่วยและโรงพยาบาลเองว่าจะเลือกแบบใด จะรับยาที่ร้านขายยาหรือรับยาที่โรงพยาบาลเหมือนเดิม ทั้งนี้นโยบายนี้ยังสอดคล้องกับโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่นที่ สปสช.ได้เดินหน้าแล้ว
https://www.thaipost.net/main/detail/43574