วันแม่พอดีปีนี้ นึกถึงแม่ตัวเองที่เขียนไว้อาลัยแม่ เอามาแปะ
800x600
Normal
0
false
false
false
EN-US
JA
TH
MicrosoftInternetExplorer4
/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-parent:"";
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin:0cm;
mso-para-margin-bottom:.0001pt;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:10.0pt;
font-family:"Times New Roman",serif;
mso-bidi-font-family:"Angsana New";}
ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อแม่
โดย แอ๊ด ปากเกร็ด
“แม่! เรียกแม่ซิลูก” ผมได้ยินเสียงแม่ผมพูดกับน้องตัวเล็กๆที่กำลังเตาะแตะ เมื่อตอนผมยังเป็นเด็กชายอายุสิบสี่ปี
ผมได้ยินคำพูดอย่างนี้มาเป็นคำรบที่ห้าแล้วเพราะผมมีน้องอีกห้าคน
จำได้ว่ามีน้องทีไร แม่ก็จะหยอกล้อและพูดจากับน้องทุกคนอย่างนี้เสมอ
แม้ว่าจะจำความตอนนั้นไม่ได้แต่ผมก็แน่ใจว่าตอนผมตัวขนาดน้องๆก็คงจะโดนแม่หยอกล้อและสอนพูดแบบเดียวกันนี่แหละ
แม้จะมีผู้ใหญ่คนอื่นๆมาหยอกล้อเล่นหัวกับน้องอยู่เสมอแต่แน่นอนว่าคนที่มีสิทธิสอนให้ลูกๆเรียกแม่ได้ก็คงจะมีแต่แม่หนึ่งเดียวคนนี้ของพวกเราทุกคน
แม้แต่พ่อก็ไม่มีสิทธินี้
ผู้หญิงคนที่พวกเราเรียกแม่นี้แน่นอนว่ามีชื่อเสียงเรียงนาม
ก่อนไปโรงเรียนเราทุกคนถูกจับให้ท่องจำพงศาวลีของตัวเองจนขึ้นใจว่า ตัวเองชื่ออะไร
พ่อชื่ออะไร แม่ชื่ออะไร นามสกุลอะไร รวมไปถึงคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย นับว่ารอบคอบมาก
คงจะเผื่อพวกเราพลัดหลงไป ใครเจอจะได้ถามไถ่นำส่งกลับบ้านได้ถูกกระมัง
อย่างไรก็ตาม สำหรับพ่อและลูกทุกคน คำว่า “แม่”เป็นคำครอบจักรวาล เป็นทั้งวิสามานยนาม
เป็นทั้งบุรุษสรรพนามที่ใช้หมายถึงได้ตั้งแต่ บุรุษที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม เป็นคำเอนกประสงค์สารพัดประโยชน์วิเศษสุดเหมือนกับบทบาทของเจ้าตัว
ลูกไปวิ่งเล่นหกล้มถลอกปอกเปิกมาก็ “แม่”
เป็นหวัดเป็นไข้เป็นไอเป็นลมพิษผื่นคันปวดท้องปวดหัวเลือดกำเดาไหลก็
“แม่”
ทำการบ้านไม่ได้ก็ “แม่”
หิวข้าวก็ “แม่”
อยากได้ของเล่นก็ “แม่”
จ่ายตลาดก็ “แม่”
ทำกับข้าวก็ “แม่”
นึกแล้วก็น่าอัศจรรย์ว่าใครหนอจะเก่งปานนั้น
ทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนซุปเปอร์แมน แค่นั้นยังไม่พอ
ลองจินตนาการว่าแม่ต้องทำงานจิปาถะดังกล่าวเพื่อดูแลลูกหกคนและพ่อของลูกด้วย
แล้วแม่มีเวลาส่วนตัวที่ไหนหนอสำหรับทำสิ่งที่แม่ชอบ
แม่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ ตั้งแต่จำความได้
ผมเห็นในบ้านมีหนังสืออยู่มากมาย อยู่บนโต๊ะ อยู่ในตู้ อยู่ในหีบ
วางอยู่ทุกหนทุกแห่ง
หนังสือเหล่านี้มีทั้งที่เป็นหนังสือเล่มซึ่งมีทุกประเภทตั้งแต่นวนิยาย วรรณคดีไทย
ไปจนถึง หนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ และตำรับตำราต่างๆ
หนังสือเหล่านี้ไม่ได้วางอยู่เฉยๆเพราะเราได้เห็นเจ้าของหนังสือหยิบฉวยมันขึ้นมาอ่านอยู่เสมอยามว่าง
แม่เป็นเจ้าของหนังสือเหล่านั้น
รสนิยมการอ่านของแม่หลากหลายเท่าๆกับความสนใจใฝ่รู้ของแม่
แม่ออกจะอาภัพที่เกิดมาเร็วไปหน่อยในสมัยที่โอกาสทางการศึกษาของสตรีไทยยังไม่เปิดกว้างนัก
แม่เรียนหนังสือเป็นทางการจบแค่ประถมสี่และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่แม่ถือเป็นปมด้อยมาตลอด
สิ่งไรที่เป็นความด้อยโอกาสของแม่ ลูกๆได้รับโอกาสอย่างเต็มที่
มรดกอันล้ำค่าที่แม่หยิบยื่นให้กับลูกทุกคนก็คือนิสัยรักการอ่าน
การได้เห็นตัวอย่างของแม่ที่คร่ำเคร่งอ่านหนังสือ การมีโอกาสได้สัมผัสกับหนังสือดีๆมากมาย
สองสิ่งนี้เป็นสมบัติอันประเสริฐสุดที่ลูกๆได้รับจากแม่
แม่ครับ ต่อให้แม่ไม่ได้ให้สมบัติอย่างอื่นกับลูกๆเลย
แค่นิสัยรักการอ่านนี้ก็เกินพอแล้ว
วันเวลาผ่านไป ลูกๆต่างเติบใหญ่
จากอ้อมอกของแม่ไปทีละคนสองคน มีครอบครัวของตนเอง แยกย้ายไปอยู่ห่างไกลจากแม่
โดยเฉพาะผมที่เป็นลูกคนโตนั้นอยู่ทางเหนือเป็นหลัก
ปีหนึ่งก็มีเวลากลับมาเยี่ยมบ้าน พบปะพ่อแม่พี่น้องในหน้าเทศกาลปีใหม่บ้าง
สงกรานต์บ้าง ปีละครั้งสองครั้ง บางปีก็มาไม่ได้เลย
ได้แต่ส่งข่าวคราวสารทุกข์สุกดิบทางโทรศัพท์บ้าง ผมห่างเหินจากแม่ จนกระทั่งวันนั้น
วันมหาวิกฤตวันหนึ่งในชีวิตของผม วันที่ผมได้ลูกคนแรก
ภรรยาของผมท้องได้เจ็ดเดือนเศษแล้ว เรารอคอยทายาทของเราอย่างใจจดใจจ่อ
วันนั้นเธอมีอาการน้ำเดินแต่เช้า ผมรีบพาไปโรงพยาบาลทันที
เพื่อนผมที่เป็นหมอสูติฯเป็นคนทำคลอดให้ ผมเฝ้ารออยู่ห่างๆด้วยความกระวนกระวาย ได้แต่ติดตามสดับตรับฟังเสียงหมอเสียงพยาบาลให้คำแนะนำและให้กำลังใจคนที่กำลังคลอดเป็นระยะๆ
ผมสำเหนียกได้ว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลเมื่อเด็กคลอดแล้วแต่ไม่มีเสียงร้อง
เห็นหมอง่วนปลุกปล้ำอยู่นานกว่าจะมีเสียงเด็กร้องเบาๆอย่างไม่สู้เต็มใจนัก
ผมกรากเข้าไปดู ได้ยินเสียงเพื่อนผมแว่วๆว่า “เฮ้ย
ลื้อได้ลูกผู้หญิงแต่เด็กไม่ปกตินะ เท่าที่เห็นนี่มีนิ้วเกินแล้วก็มีเพดานโหว่ด้วย
ยังไม่รู้แน่ว่าเป็นอะไร เสียใจด้วยนะเพื่อน”
จากการตรวจทางโครโมโซม
ลูกสาวของผมมีความผิดปกติทางโครโมโซมชนิดที่เรียกว่า ไตรโซมี่ อี
แกดูดนมแล้วก็สำลักเพราะเพดานโหว่ มีอาการตัวเขียวๆเป็นระยะเพราะลิ้นหัวใจรั่ว
นอกเหนือไปจากอาการนิ้วเกินที่เห็นด้วยตาเปล่า แกคงจะอยู่กับเราได้ไม่นานนัก
แม่มาถึงตั้งแต่วันแรก แม่อยู่ที่นั่น
ดูแลประคบประหงมหลานพร้อมทั้งให้กำลังใจกับลูกชายลูกสะใภ้ที่กำลังเสียขวัญอย่างหนัก
วันที่เราต้องย้ายลูกกล้วยเข้ากรุงเทพฯแม่เป็นคนอุ้มหลานขึ้นรถ
และก็แม่อีกน่ะแหละเป็นคนพาหลานและลูกสะใภ้กลับไปดูแลที่อุบลฯ
แม่เฝ้าดูแลจนถึงวันที่หลานสิ้นลมอีกสองเดือนต่อมา
ใช่ครับ แม่ไม่ได้ดูแลแต่ลูกๆเท่านั้น
แม่ยังดูแลหลานๆอีกด้วย หลานๆอีกหลายคนแม่เลี้ยงมาตั้งแต่แบเบาะจนเดี๋ยวนี้โตเป็นหนุ่มกันแล้ว
ช่างบริการครบวงจรเสียจริงๆ
12 มกราคม 2530 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร พิธีประกาศเกียรติคุณแม่ดีเด่นแห่งชาติ
ใบหน้าแม่ยิ้มแย้มแจ่มใส หอบช่อดอกไม้ช่อใหญ่ ห้อมล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ที่หน้าอกกลัดช่อดอกมะลิสีขาวสะอาดประดิษฐ์จากผ้าซึ่งทางผู้จัดเป็นผู้มอบให้ตอนรายงานตัว
เมื่อถึงเวลา พิธีกรก็ประกาศเชิญแม่เข้านั่งประจำที่พร้อมกับคุณแม่ดีเด่นท่านอื่นๆ
แม่เข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
แม่กอดรางวัลนั้นแน่น น้ำตาคลอหน่วย
เราพาแม่ไปเลี้ยงแสดงความยินดีกันที่สวนสามพราน ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร
ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “รักลูกให้ถูกทาง”
ได้ให้เกียรติเชิญแม่ให้สัมภาษณ์เพื่อออกอากาศในรายการนั้น
ผมจำได้ดีถึงแววตาและสีหน้าแห่งความภาคภูมิใจของผู้หญิงตัวเล็กๆคนนั้น –คนที่ผมดีใจและภูมิใจเป็นที่สุดที่ได้รับเกียรติให้เรียกเธอว่าแม่- ยามที่ให้สัมภาษณ์กับพิธีกรถึงปรัชญาและวิธีการในการเลี้ยงลูก
แม่จาระไนให้เขาฟังถึงลูกแต่ละคนว่ามีใครบ้าง ทำอะไรกันบ้าง
ด้วยน้ำเสียงและอากัปกริยาส่อความรักและภูมิใจอย่างสุดซึ้ง
6 กันยายน 2549 แม่ต้องถูกพามารักษาตัวที่กรุงเทพฯเพราะอยู่ดีๆก็วูบหมดสติไปเฉยๆ
หมอวินิจฉัยว่าสมองขาดเลือด พออาการดีขึ้นก็รบจะกลับอุบลฯ
ลูกๆต้องบังคับให้อยู่กรุงเทพฯต่อไปก่อนสักระยะเพื่อดูอาการ
แม่ไปพักอยู่กับน้องสาวคนเล็ก ลูกๆแวะเวียนไปเยี่ยมอยู่เสมอ
29 กันยายน 2549 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องโปรดเกล้าให้นายทหารรับราชการ
ถูกนำออกประกาศทางโทรทัศน์หลายช่อง
ในนั้นมีชื่อผมได้รับยศและตำแหน่งที่สูงขึ้นอยู่ด้วย ผมรีบไปหาแม่
แต่งเครื่องแบบประดับยศใหม่ให้แม่เห็น แม่น้ำตาคลอ บอกผมว่าพ่อคงสมหวังแล้ว
ผมบอกแม่ว่ายังไม่เคยแต่งเครื่องแบบเต็มยศนายทหารพิเศษกรมนักเรียนนายร้อยให้แม่ได้เห็นเลย
ได้แต่ส่งรูปให้ดู จะขอแต่งให้แม่ดูแล้วก็ถ่ายรูปกับแม่ด้วย
แม่ขอผลัดไปถ่ายรูปด้วยกันวันหลัง บอกว่าไม่ได้เอาชุดผ้าไหมชุดเก่งมา
กลัวรูปจะไม่สวย รอให้น้องทางอุบลฯส่งมาให้ก่อนแล้วเราจะได้ถ่ายรูปด้วยกัน
อนิจจา ชุดนั้นมาถึงสายเกินไป
เรายังไม่ได้ถ่ายรูปเก่งด้วยกันเลย แม่ครับ
18 ตุลาคม 2549 น้องสาวคนเล็กได้ข่าวแน่นอนว่าได้รับยศและตำแหน่งสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
แม่รับทราบข่าวด้วยใบหน้าที่เป็นสุข
นัดแนะกันว่าเราจะกลับไปจัดงานฉลองใหญ่บายศรีสู่ขวัญกันที่อุบลฯ
ต้องนัดแนะวันที่พร้อมกันสักวันหนึ่ง แม่จะเป็นคนจัดงานให้กับลูกๆเอง
งานที่ว่าจะจัดอาจจะจัดกันเองในหมู่พี่น้องได้
แต่ทว่าคงไม่มีบุคคลสำคัญที่สุดของงานอยู่ร่วมด้วยเสียแล้ว
20 ตุลาคม 2549 แม่หมดสติไม่รู้ตัวตั้งแต่เช้า
การประเมินเมื่อมาถึงโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าก็คือเนื้อสมองตายเป็นบริเวณกว้างเพราะเส้นเลือดใหญ่ตีบตัน
แม่ถูกนำเข้าไอซียูทั้งที่เรารู้ว่าขัดคำสั่งของแม่
แต่ก็จำใจต้องขออนุญาตขัดคำสั่งสักครั้ง ญาติมิตรถูกแจ้งให้ทราบ
ผู้คนทะยอยกันมาเยี่ยมพร้อมความปรารถนาดี แต่เราก็รู้ว่าความหวังนั้นริบหรี่เต็มที
3 พฤศจิกายน 2549 เวลาประมาณตีห้า ผมและน้องๆชุมนุมกันพร้อมหน้าในไอซียูอายุรกรรม
แม่มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา ให้เลือดไปสี่ยูนิตแล้ว อาการไม่ดีขึ้น
อยู่ได้เพราะน้องๆพยาบาลช่วยกันปั๊มป์เลือดให้เท่านั้น ผมกราบไปที่เท้าแม่
บอกแม่ว่า แม่เหนื่อยมามากแล้ว ขันธ์ของแม่คงชำรุดทรุดโทรมเต็มที
หากแม่จะไปก็ไปเถิด ไม่ต้องห่วงลูกหลาน พ่อมารับแล้ว
แล้วผมก็พยักหน้าบอกน้องๆหมอและพยาบาลว่า พอแล้ว
3 พฤศจิกายน 2549 เวลาตีห้าสี่สิบห้านาที
ผมและน้องๆก็เป็นกำพร้า สิ้นร่มโพธิ์ร่มไทร
น้องๆพยาบาลมากุลีกุจอจัดการศพของแม่ตามระเบียบปฏิบัติประจำของเขา
น้องๆแยกย้ายกันไปแจ้งญาติๆตามที่ตกลงมอบหมายหน้าที่กันไว้ล่วงหน้า
ไม่มีอะไรฉุกละหุก ไม่มีอะไรต้องหารือ
ทุกอย่างเป็นไปตามหนังสือเล่มหนึ่งที่เราทุกคนได้รับแจกจ่ายไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อสองปีก่อน
เป็นเหมือนคำสั่งยุทธการที่เราพี่ๆน้องๆมีหน้าที่เป็นเพียงผู้รับปฏิบัติเท่านั้น
ผู้ลงนามในคำสั่งนั้นคือแม่ ในนั้นระบุรายละเอียดการจัดการทุกอย่างทั้งเรื่องบ้าน
ทรัพย์สิน ตลอดจนพิธีการศพของแม่ แม้แต่เครื่องแต่งกายศพ แม่ก็เตรียมของตัวเองไว้
น้องๆช่วยกันจัดแจงแต่งตัวให้กับร่างที่ไร้วิญญาณของแม่
นุ่งผ้านุ่ง ใส่เสื้อ ใส่รองเท้า ใส่ผ้าเฉียงคลุมไหล่
ผมเหลือบไปเห็นน้องสาวกำลังกลัดเข็มกลัดบนผ้าเฉียง
เป็นเข็มกลัดดอกไม้ผ้าสีขาวเก่าคร่ำคร่าจนเหลือง
ผมทักท้วงเพราะเห็นว่าแม่มีเข็มกลัดสวยๆมากกว่านี้ตั้งหลายอัน
น้องหันมามองหน้าผมก่อนจะตอบเสียงเย็นว่า “แม่เขาสั่งไว้ เขารักของเขามากนะเข็มกลัดอันนี้
พี่จำไม่ได้หรือ อันที่แม่เขาได้รับวันที่รับพระราชทานรางวัลแม่ดีเด่นไงล่ะ เขาต้องการให้ประดับศพของเขาด้วย”
ผมตะลึง ผมจำไม่ได้จริงๆ ผมลืมไปเสียสนิทถึงวันนั้น
วันที่เป็นความภาคภูมิใจอันสูงสุดของแม่
วันที่แม่ถือว่าได้บรรลุความสำเร็จสุดยอดแห่งความเป็นแม่
วันที่แม่ได้รับการยืนยันว่าสิ่งที่แม่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจไปทั้งชีวิตนั้นมิได้เสียเปล่า
..แล้วผมก็ร้องไห้...
ผู้หญิงคนนั้นชื่อแม่
800x600
Normal
0
false
false
false
EN-US
JA
TH
MicrosoftInternetExplorer4
/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-parent:"";
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin:0cm;
mso-para-margin-bottom:.0001pt;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:10.0pt;
font-family:"Times New Roman",serif;
mso-bidi-font-family:"Angsana New";}
ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อแม่
โดย แอ๊ด ปากเกร็ด
“แม่! เรียกแม่ซิลูก” ผมได้ยินเสียงแม่ผมพูดกับน้องตัวเล็กๆที่กำลังเตาะแตะ เมื่อตอนผมยังเป็นเด็กชายอายุสิบสี่ปี
ผมได้ยินคำพูดอย่างนี้มาเป็นคำรบที่ห้าแล้วเพราะผมมีน้องอีกห้าคน
จำได้ว่ามีน้องทีไร แม่ก็จะหยอกล้อและพูดจากับน้องทุกคนอย่างนี้เสมอ
แม้ว่าจะจำความตอนนั้นไม่ได้แต่ผมก็แน่ใจว่าตอนผมตัวขนาดน้องๆก็คงจะโดนแม่หยอกล้อและสอนพูดแบบเดียวกันนี่แหละ
แม้จะมีผู้ใหญ่คนอื่นๆมาหยอกล้อเล่นหัวกับน้องอยู่เสมอแต่แน่นอนว่าคนที่มีสิทธิสอนให้ลูกๆเรียกแม่ได้ก็คงจะมีแต่แม่หนึ่งเดียวคนนี้ของพวกเราทุกคน
แม้แต่พ่อก็ไม่มีสิทธินี้
ผู้หญิงคนที่พวกเราเรียกแม่นี้แน่นอนว่ามีชื่อเสียงเรียงนาม
ก่อนไปโรงเรียนเราทุกคนถูกจับให้ท่องจำพงศาวลีของตัวเองจนขึ้นใจว่า ตัวเองชื่ออะไร
พ่อชื่ออะไร แม่ชื่ออะไร นามสกุลอะไร รวมไปถึงคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย นับว่ารอบคอบมาก
คงจะเผื่อพวกเราพลัดหลงไป ใครเจอจะได้ถามไถ่นำส่งกลับบ้านได้ถูกกระมัง
อย่างไรก็ตาม สำหรับพ่อและลูกทุกคน คำว่า “แม่”เป็นคำครอบจักรวาล เป็นทั้งวิสามานยนาม
เป็นทั้งบุรุษสรรพนามที่ใช้หมายถึงได้ตั้งแต่ บุรุษที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม เป็นคำเอนกประสงค์สารพัดประโยชน์วิเศษสุดเหมือนกับบทบาทของเจ้าตัว
ลูกไปวิ่งเล่นหกล้มถลอกปอกเปิกมาก็ “แม่”
เป็นหวัดเป็นไข้เป็นไอเป็นลมพิษผื่นคันปวดท้องปวดหัวเลือดกำเดาไหลก็
“แม่”
ทำการบ้านไม่ได้ก็ “แม่”
หิวข้าวก็ “แม่”
อยากได้ของเล่นก็ “แม่”
จ่ายตลาดก็ “แม่”
ทำกับข้าวก็ “แม่”
นึกแล้วก็น่าอัศจรรย์ว่าใครหนอจะเก่งปานนั้น
ทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนซุปเปอร์แมน แค่นั้นยังไม่พอ
ลองจินตนาการว่าแม่ต้องทำงานจิปาถะดังกล่าวเพื่อดูแลลูกหกคนและพ่อของลูกด้วย
แล้วแม่มีเวลาส่วนตัวที่ไหนหนอสำหรับทำสิ่งที่แม่ชอบ
แม่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ ตั้งแต่จำความได้
ผมเห็นในบ้านมีหนังสืออยู่มากมาย อยู่บนโต๊ะ อยู่ในตู้ อยู่ในหีบ
วางอยู่ทุกหนทุกแห่ง
หนังสือเหล่านี้มีทั้งที่เป็นหนังสือเล่มซึ่งมีทุกประเภทตั้งแต่นวนิยาย วรรณคดีไทย
ไปจนถึง หนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ และตำรับตำราต่างๆ
หนังสือเหล่านี้ไม่ได้วางอยู่เฉยๆเพราะเราได้เห็นเจ้าของหนังสือหยิบฉวยมันขึ้นมาอ่านอยู่เสมอยามว่าง
แม่เป็นเจ้าของหนังสือเหล่านั้น
รสนิยมการอ่านของแม่หลากหลายเท่าๆกับความสนใจใฝ่รู้ของแม่
แม่ออกจะอาภัพที่เกิดมาเร็วไปหน่อยในสมัยที่โอกาสทางการศึกษาของสตรีไทยยังไม่เปิดกว้างนัก
แม่เรียนหนังสือเป็นทางการจบแค่ประถมสี่และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่แม่ถือเป็นปมด้อยมาตลอด
สิ่งไรที่เป็นความด้อยโอกาสของแม่ ลูกๆได้รับโอกาสอย่างเต็มที่
มรดกอันล้ำค่าที่แม่หยิบยื่นให้กับลูกทุกคนก็คือนิสัยรักการอ่าน
การได้เห็นตัวอย่างของแม่ที่คร่ำเคร่งอ่านหนังสือ การมีโอกาสได้สัมผัสกับหนังสือดีๆมากมาย
สองสิ่งนี้เป็นสมบัติอันประเสริฐสุดที่ลูกๆได้รับจากแม่
แม่ครับ ต่อให้แม่ไม่ได้ให้สมบัติอย่างอื่นกับลูกๆเลย
แค่นิสัยรักการอ่านนี้ก็เกินพอแล้ว
วันเวลาผ่านไป ลูกๆต่างเติบใหญ่
จากอ้อมอกของแม่ไปทีละคนสองคน มีครอบครัวของตนเอง แยกย้ายไปอยู่ห่างไกลจากแม่
โดยเฉพาะผมที่เป็นลูกคนโตนั้นอยู่ทางเหนือเป็นหลัก
ปีหนึ่งก็มีเวลากลับมาเยี่ยมบ้าน พบปะพ่อแม่พี่น้องในหน้าเทศกาลปีใหม่บ้าง
สงกรานต์บ้าง ปีละครั้งสองครั้ง บางปีก็มาไม่ได้เลย
ได้แต่ส่งข่าวคราวสารทุกข์สุกดิบทางโทรศัพท์บ้าง ผมห่างเหินจากแม่ จนกระทั่งวันนั้น
วันมหาวิกฤตวันหนึ่งในชีวิตของผม วันที่ผมได้ลูกคนแรก
ภรรยาของผมท้องได้เจ็ดเดือนเศษแล้ว เรารอคอยทายาทของเราอย่างใจจดใจจ่อ
วันนั้นเธอมีอาการน้ำเดินแต่เช้า ผมรีบพาไปโรงพยาบาลทันที
เพื่อนผมที่เป็นหมอสูติฯเป็นคนทำคลอดให้ ผมเฝ้ารออยู่ห่างๆด้วยความกระวนกระวาย ได้แต่ติดตามสดับตรับฟังเสียงหมอเสียงพยาบาลให้คำแนะนำและให้กำลังใจคนที่กำลังคลอดเป็นระยะๆ
ผมสำเหนียกได้ว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลเมื่อเด็กคลอดแล้วแต่ไม่มีเสียงร้อง
เห็นหมอง่วนปลุกปล้ำอยู่นานกว่าจะมีเสียงเด็กร้องเบาๆอย่างไม่สู้เต็มใจนัก
ผมกรากเข้าไปดู ได้ยินเสียงเพื่อนผมแว่วๆว่า “เฮ้ย
ลื้อได้ลูกผู้หญิงแต่เด็กไม่ปกตินะ เท่าที่เห็นนี่มีนิ้วเกินแล้วก็มีเพดานโหว่ด้วย
ยังไม่รู้แน่ว่าเป็นอะไร เสียใจด้วยนะเพื่อน”
จากการตรวจทางโครโมโซม
ลูกสาวของผมมีความผิดปกติทางโครโมโซมชนิดที่เรียกว่า ไตรโซมี่ อี
แกดูดนมแล้วก็สำลักเพราะเพดานโหว่ มีอาการตัวเขียวๆเป็นระยะเพราะลิ้นหัวใจรั่ว
นอกเหนือไปจากอาการนิ้วเกินที่เห็นด้วยตาเปล่า แกคงจะอยู่กับเราได้ไม่นานนัก
แม่มาถึงตั้งแต่วันแรก แม่อยู่ที่นั่น
ดูแลประคบประหงมหลานพร้อมทั้งให้กำลังใจกับลูกชายลูกสะใภ้ที่กำลังเสียขวัญอย่างหนัก
วันที่เราต้องย้ายลูกกล้วยเข้ากรุงเทพฯแม่เป็นคนอุ้มหลานขึ้นรถ
และก็แม่อีกน่ะแหละเป็นคนพาหลานและลูกสะใภ้กลับไปดูแลที่อุบลฯ
แม่เฝ้าดูแลจนถึงวันที่หลานสิ้นลมอีกสองเดือนต่อมา
ใช่ครับ แม่ไม่ได้ดูแลแต่ลูกๆเท่านั้น
แม่ยังดูแลหลานๆอีกด้วย หลานๆอีกหลายคนแม่เลี้ยงมาตั้งแต่แบเบาะจนเดี๋ยวนี้โตเป็นหนุ่มกันแล้ว
ช่างบริการครบวงจรเสียจริงๆ
12 มกราคม 2530 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร พิธีประกาศเกียรติคุณแม่ดีเด่นแห่งชาติ
ใบหน้าแม่ยิ้มแย้มแจ่มใส หอบช่อดอกไม้ช่อใหญ่ ห้อมล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ที่หน้าอกกลัดช่อดอกมะลิสีขาวสะอาดประดิษฐ์จากผ้าซึ่งทางผู้จัดเป็นผู้มอบให้ตอนรายงานตัว
เมื่อถึงเวลา พิธีกรก็ประกาศเชิญแม่เข้านั่งประจำที่พร้อมกับคุณแม่ดีเด่นท่านอื่นๆ
แม่เข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
แม่กอดรางวัลนั้นแน่น น้ำตาคลอหน่วย
เราพาแม่ไปเลี้ยงแสดงความยินดีกันที่สวนสามพราน ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร
ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “รักลูกให้ถูกทาง”
ได้ให้เกียรติเชิญแม่ให้สัมภาษณ์เพื่อออกอากาศในรายการนั้น
ผมจำได้ดีถึงแววตาและสีหน้าแห่งความภาคภูมิใจของผู้หญิงตัวเล็กๆคนนั้น –คนที่ผมดีใจและภูมิใจเป็นที่สุดที่ได้รับเกียรติให้เรียกเธอว่าแม่- ยามที่ให้สัมภาษณ์กับพิธีกรถึงปรัชญาและวิธีการในการเลี้ยงลูก
แม่จาระไนให้เขาฟังถึงลูกแต่ละคนว่ามีใครบ้าง ทำอะไรกันบ้าง
ด้วยน้ำเสียงและอากัปกริยาส่อความรักและภูมิใจอย่างสุดซึ้ง
6 กันยายน 2549 แม่ต้องถูกพามารักษาตัวที่กรุงเทพฯเพราะอยู่ดีๆก็วูบหมดสติไปเฉยๆ
หมอวินิจฉัยว่าสมองขาดเลือด พออาการดีขึ้นก็รบจะกลับอุบลฯ
ลูกๆต้องบังคับให้อยู่กรุงเทพฯต่อไปก่อนสักระยะเพื่อดูอาการ
แม่ไปพักอยู่กับน้องสาวคนเล็ก ลูกๆแวะเวียนไปเยี่ยมอยู่เสมอ
29 กันยายน 2549 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องโปรดเกล้าให้นายทหารรับราชการ
ถูกนำออกประกาศทางโทรทัศน์หลายช่อง
ในนั้นมีชื่อผมได้รับยศและตำแหน่งที่สูงขึ้นอยู่ด้วย ผมรีบไปหาแม่
แต่งเครื่องแบบประดับยศใหม่ให้แม่เห็น แม่น้ำตาคลอ บอกผมว่าพ่อคงสมหวังแล้ว
ผมบอกแม่ว่ายังไม่เคยแต่งเครื่องแบบเต็มยศนายทหารพิเศษกรมนักเรียนนายร้อยให้แม่ได้เห็นเลย
ได้แต่ส่งรูปให้ดู จะขอแต่งให้แม่ดูแล้วก็ถ่ายรูปกับแม่ด้วย
แม่ขอผลัดไปถ่ายรูปด้วยกันวันหลัง บอกว่าไม่ได้เอาชุดผ้าไหมชุดเก่งมา
กลัวรูปจะไม่สวย รอให้น้องทางอุบลฯส่งมาให้ก่อนแล้วเราจะได้ถ่ายรูปด้วยกัน
อนิจจา ชุดนั้นมาถึงสายเกินไป
เรายังไม่ได้ถ่ายรูปเก่งด้วยกันเลย แม่ครับ
18 ตุลาคม 2549 น้องสาวคนเล็กได้ข่าวแน่นอนว่าได้รับยศและตำแหน่งสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
แม่รับทราบข่าวด้วยใบหน้าที่เป็นสุข
นัดแนะกันว่าเราจะกลับไปจัดงานฉลองใหญ่บายศรีสู่ขวัญกันที่อุบลฯ
ต้องนัดแนะวันที่พร้อมกันสักวันหนึ่ง แม่จะเป็นคนจัดงานให้กับลูกๆเอง
งานที่ว่าจะจัดอาจจะจัดกันเองในหมู่พี่น้องได้
แต่ทว่าคงไม่มีบุคคลสำคัญที่สุดของงานอยู่ร่วมด้วยเสียแล้ว
20 ตุลาคม 2549 แม่หมดสติไม่รู้ตัวตั้งแต่เช้า
การประเมินเมื่อมาถึงโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าก็คือเนื้อสมองตายเป็นบริเวณกว้างเพราะเส้นเลือดใหญ่ตีบตัน
แม่ถูกนำเข้าไอซียูทั้งที่เรารู้ว่าขัดคำสั่งของแม่
แต่ก็จำใจต้องขออนุญาตขัดคำสั่งสักครั้ง ญาติมิตรถูกแจ้งให้ทราบ
ผู้คนทะยอยกันมาเยี่ยมพร้อมความปรารถนาดี แต่เราก็รู้ว่าความหวังนั้นริบหรี่เต็มที
3 พฤศจิกายน 2549 เวลาประมาณตีห้า ผมและน้องๆชุมนุมกันพร้อมหน้าในไอซียูอายุรกรรม
แม่มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา ให้เลือดไปสี่ยูนิตแล้ว อาการไม่ดีขึ้น
อยู่ได้เพราะน้องๆพยาบาลช่วยกันปั๊มป์เลือดให้เท่านั้น ผมกราบไปที่เท้าแม่
บอกแม่ว่า แม่เหนื่อยมามากแล้ว ขันธ์ของแม่คงชำรุดทรุดโทรมเต็มที
หากแม่จะไปก็ไปเถิด ไม่ต้องห่วงลูกหลาน พ่อมารับแล้ว
แล้วผมก็พยักหน้าบอกน้องๆหมอและพยาบาลว่า พอแล้ว
3 พฤศจิกายน 2549 เวลาตีห้าสี่สิบห้านาที
ผมและน้องๆก็เป็นกำพร้า สิ้นร่มโพธิ์ร่มไทร
น้องๆพยาบาลมากุลีกุจอจัดการศพของแม่ตามระเบียบปฏิบัติประจำของเขา
น้องๆแยกย้ายกันไปแจ้งญาติๆตามที่ตกลงมอบหมายหน้าที่กันไว้ล่วงหน้า
ไม่มีอะไรฉุกละหุก ไม่มีอะไรต้องหารือ
ทุกอย่างเป็นไปตามหนังสือเล่มหนึ่งที่เราทุกคนได้รับแจกจ่ายไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อสองปีก่อน
เป็นเหมือนคำสั่งยุทธการที่เราพี่ๆน้องๆมีหน้าที่เป็นเพียงผู้รับปฏิบัติเท่านั้น
ผู้ลงนามในคำสั่งนั้นคือแม่ ในนั้นระบุรายละเอียดการจัดการทุกอย่างทั้งเรื่องบ้าน
ทรัพย์สิน ตลอดจนพิธีการศพของแม่ แม้แต่เครื่องแต่งกายศพ แม่ก็เตรียมของตัวเองไว้
น้องๆช่วยกันจัดแจงแต่งตัวให้กับร่างที่ไร้วิญญาณของแม่
นุ่งผ้านุ่ง ใส่เสื้อ ใส่รองเท้า ใส่ผ้าเฉียงคลุมไหล่
ผมเหลือบไปเห็นน้องสาวกำลังกลัดเข็มกลัดบนผ้าเฉียง
เป็นเข็มกลัดดอกไม้ผ้าสีขาวเก่าคร่ำคร่าจนเหลือง
ผมทักท้วงเพราะเห็นว่าแม่มีเข็มกลัดสวยๆมากกว่านี้ตั้งหลายอัน
น้องหันมามองหน้าผมก่อนจะตอบเสียงเย็นว่า “แม่เขาสั่งไว้ เขารักของเขามากนะเข็มกลัดอันนี้
พี่จำไม่ได้หรือ อันที่แม่เขาได้รับวันที่รับพระราชทานรางวัลแม่ดีเด่นไงล่ะ เขาต้องการให้ประดับศพของเขาด้วย”
ผมตะลึง ผมจำไม่ได้จริงๆ ผมลืมไปเสียสนิทถึงวันนั้น
วันที่เป็นความภาคภูมิใจอันสูงสุดของแม่
วันที่แม่ถือว่าได้บรรลุความสำเร็จสุดยอดแห่งความเป็นแม่
วันที่แม่ได้รับการยืนยันว่าสิ่งที่แม่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจไปทั้งชีวิตนั้นมิได้เสียเปล่า
..แล้วผมก็ร้องไห้...