คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ แล้ว ผมไม่เชื่อว่าสมเด็จพระราเมศวร (พระบรมไตรโลกนารถ) เคยขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก (สองแคว) ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) แต่ทรงประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุทธยาครับ
หลักฐานชิ้นหนึ่งคือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุข้อความตอนสมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปพิษณุโลกในจุลศักราช ๘๐๐ (พ.ศ. ๑๙๘๑) ว่า
"ศักราช ๘๐๐ มะเมียศ่กครังสมเดจพรบรํมราชาธีราชเจาสางวัดมํเหยํงเส่วยราชสํมบัดดี แลสํมเดจพรราเมสวรเจา ผูเปนพรราชกูมารทารเสดจใปเมีองพีศนุโลก ครังนันเหนนำพรเนตรพระพุทธีเจ้าพระชีนราชต่กออกมาเปนโลหืต"
พงศาวดารระบุว่า "เสดจใป" ไม่ได้ระบุว่าไปเสวยราชสมบัติในเมืองพิษณุโลก แตกต่างจากเหตุการณ์อื่นๆ ที่จะมีการระบุชัดเจนว่ามีการไป "เสวยราชสมบัติ" ได้แก่
พ.ศ. ๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถไปเสวยราชสมบัติในเมืองพิษณุโลกเพื่อรับศึกล้านนา และสถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชพระราชโอรสให้เสวยราชสมบัติครองกรุงศรีอยุทธยาแทน
"ศักราช ๘๒๕ ม่แมศ่ก สํมเดจพรบรมใตรโลกเจาใปเส่วยราชสํมบัดดีเมืองพีดณูโลก แลตรัศให้พรเจาแผนดีนเสวยราชสํมบัดดีพรณครศรีอยุทธยาทรํงพระนามสํมเดจบรํมราชา"
พ.ศ. ๒๑๑๔ รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรไปเสวยราชสมบัติครองเมืองพิษณุโลก
"ศักราช ๙๓๓ มะแมศ่กนำนอัย อ่นีงสมเดจพระณะรายบ่พิดรเปนเจาเสดจขีนไปเสวยราชสํมบัตรดีเมีองพีศณูโลก"
เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ถ้าได้ขึ้นครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุทธยาก็จะระบุว่า "เสวยราชสมบัติ" อย่างชัดเจน ผิดจากกรณีของพระราเมศวรที่ระบุว่า "เสด็จ" ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งอาจจะหมายถึงเสด็จประพาสชั่วคราวก็ได้
หลักฐานอีกชิ้นคือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก ที่มีเนื้อหาความละเอียดในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) ระบุว่าในจุลศักราช ๘๐๑ (พ.ศ. ๑๙๘๒) เพิ่งจัดพิธีโสกันต์สมเด็จพระราเมศวร ต่อมาในจุลศักราช ๘๐๓ (พ.ศ. ๑๙๘๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงแต่งพระราชวังฝ่ายอุดรใช้เป็นที่ประทับ และพระราชทานพระราชมณเฑียรเดิมให้สมเด็จพระราเมศวรประทับ "สืบสันตติยศรีสุริยวงษ์ทรงทศพิธราชธรรมในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" แสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสมเด็จพระราเมศวรไม่ได้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลกครับ
"๏ ศักราช ๘๐๑ ปีมแมเอกศ่ก่ สมเด็จ็พรบรมราชาธิราชเจ้ากไห้ชุมพราหมณาจารยแล่ท้าวพระญาเสณามาตยทังหลายเหลนมหามหรรสภ ตังพรราชพิทธีโกษรกรรม สมเด็จ็พระบรมเชษฐาธิราชกูมารทานแลปรสาทพรนาม (ชำรุด) สมเด็จ็พรรามเมศวร บรมไต้รโลคนารถบพิตร ๏ ศักราช ๘๐ (ชำรุด) วอกโทศ่ก่ เพลิองไมราชมลเทยิ้รแลน้ายง้วเคลยิ้งเอาช้างเทพรักษาอันพรญาบาลเมืองถวายนันมารับผู้เปนเจ้าเสด็จ็ไปอู่ยช้านคิล (ชำรุด) ทารไห้ขุนพิจิตรแตง่พรราชมลเทยิ้รปรมารปีหนิ้ง กแล้วสรัพเสร(จ)(ชำรุด) ทานกเสด็จ็ยังพรราชมลเฑยิรปรเวศ ๏ ศักราช ๘๐๓ ปีรกาตีร (ชำรุด) เพลิองไหม่พรทินังติรมุขทิเสด็จ็ออกพรราชพิทธิอาศยุดชนัน (ชำรุด) จึงสมเด็จ็พรบรมราชาธิราชเจา กไหขุนพิ้จึตรแตงพรราชวั้งฝายอุฎรแลราชมลเฑยิรไนสัรดเกบเดอิมนันแลทารกเสด็จ็ไปสถิศอูยไน้ทินั้นแลไหพรราชทานพรราชมลเทยิ้รเดิมสมเด็จ็พระรามเมศวรบรมไตร้ยโลคนารถบพิตรทารกเสด็จ็สถิศไนราไช้ยสวรรคถวัล (ชำรุด) ปรเวณิ้ สิบสรรตติยศิรสูริยวงษทรงทศพิธราชธรรมไน้กรุ้งพระมหาณคอรศิรอยุทยา"
(ศักราช ๘๐๑ ปีมะแมเอกศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าก็ให้ชุมพราหมณาจารย์แลท้าวพระยาเสนามาตย์ทั้งหลายเล่นมหามหรสพ ตั้งพระราชพิธีโกษรกรรม สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชกุมารท่านและประสาทพระนาม (ชำรุด) สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนารถบพิตร
๏ ศักราช ๘๐[๒ ปี] วอกโทศก เพลิงไหม้ราชมณเฑียรแลน้ายงัวเคลี้ยงเอาช้างเทพรักษาอันพระยาบาลเมืองถวายนั้นมารับผู้เป็นเจ้าเสด็จไปอยู่ช้านคิลแ[ล]ท่านให้ขุนพิจิตรแต่งพระราชมณเฑียรประมาณปีหนึ่ง ก็แล้วสรรพเสร็จ...ท่านก็เสด็จยังพระราชมณเฑียรประเวศ
๏ ศักราช ๘๐๓ ปีระกาตรี[ศก] เพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุขที่เสด็จออกพระราชพิธีอาศยุชนั้น จึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ก็ใหขุนพิจิตรแต่งพระราชวังฝ่ายอุดรและราชมณเฑียรในสรัดเกบเดิมนัน แลท่านก็เสด็จไปสถิตอยู่ในที่นั้นแลให้พระราชทานพระราชมณเฑียรเดิมสมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนารถบพิตร ท่านก็เสด็จสถิตในราไชยสวรรค์ถวัลย์[ราช]ประเวณี สืบสันตติยศรีสุริยวงษ์ทรงทศพิธราชธรรมในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา)
นอกจากนี้ยังปรากฏใน จารึกพระพุทธฎีกาสมเด็จพระคุรุจุฬามุณีศรีสังฆราช มหาศักราช ๑๓๖๙ (พ.ศ. ๑๙๙๐) ก่อนสมเด็จพระบรมราชาธิราชสวรรคต ๑ ปี กล่าวถึง "พระบัณฑูลราชพระราชโองการแห่งสมเด็จพระบรมราชาธิบดีศรีมหาจักรพรรดิราชและพระราเมศวรราช" ให้แต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถระผู้ใหญ่ร่วมกัน จึงน่าเชื่อว่าทั้งสองพระองค์ควรจะประทับในกรุงศรีอยุทธยาด้วยกัน จึงได้ใช้พระราชโองการร่วมกันครับ
เดิมสันนิษฐานว่าในจุลศักราช ๘๐๐ (พ.ศ. ๑๙๘๑) ที่สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเป็นปีที่ พระมหาธรรมราชา (พรญาบาลเมือง) แห่งพิษณุโลกสิ้นพระชนม์ ทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชส่งสมเด็จพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองแทน แต่เรื่องนี้ก็ขัดแย้งกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีกที่ระบุว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชเพิ่งสถาปนาพรญาบาลเมืองเป็น "มหาธรรมราชาธิราช" ใน พ.ศ. ๑๙๘๔ และต่อมาในปีชวดจุลศักราช ๘๐๖ (พ.ศ. ๑๙๘๗ พงศาวดารเขียนผิดเป็น ๘๔๖) ก็ยังคงกล่าวถึง "มหาธรรมราชา" ว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ฝ่ายเหนือที่ไปรบกับเมืองน่าน
สอดคล้องกับตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ที่ระบุว่าในจุลศักราช ๘๐๔ (พ.ศ. ๑๙๘๕) เชียงใหม่รบกับอยุทธยา ครั้งนั้นทัพอยุทธยาเสียที "พระญาสองแคว" ขอให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชหลบหนีไปก่อนโดยตนอาสาอยู่รั้งท้ายให้ ครั้งนั้นพระญาสองแควชนช้างชนะหมื่นมอกลองซึ่งขี่ช้างเมงครุทธ แล้วตัดหัวไปถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชได้ แสดงว่าพระญาบาลเมืองแห่งสองแควมีพระชนม์อยู่ในเวลานั้น
(แต่พบในจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ พ.ศ. ๑๙๗๐ ออกพระนามพรญาบาลเมืองว่า ‘ชยนาถิสฺลรวรธมฺมิก ธมฺมราชาธิราชสฺส’ หรือ ‘พระธรรมราชาธิราช ผู้อิสราธิบดีในชัยนาทบุรี’ และระบุพระนามในภาษาบาลีว่า ‘สิริสิริยวสับรมปาลมหาธมฺมราชาธิราช’ (ศรีสุริยวงศ์บรมบาลมหาธรรมราชาธิราช) แสดงว่าทรงเป็นมหาธรรมราชาธิราชมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๗๐ แล้ว แต่เป็นไปได้ว่าจะเป็นการสถาปนาตนเองโดยที่กรุงศรีอยุทธยาไม่ได้รับรอง โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชเพิ่งทรงสถาปนาอย่างเป็นทางการในภายหลัง)
หลักฐานชิ้นหนึ่งคือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุข้อความตอนสมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปพิษณุโลกในจุลศักราช ๘๐๐ (พ.ศ. ๑๙๘๑) ว่า
"ศักราช ๘๐๐ มะเมียศ่กครังสมเดจพรบรํมราชาธีราชเจาสางวัดมํเหยํงเส่วยราชสํมบัดดี แลสํมเดจพรราเมสวรเจา ผูเปนพรราชกูมารทารเสดจใปเมีองพีศนุโลก ครังนันเหนนำพรเนตรพระพุทธีเจ้าพระชีนราชต่กออกมาเปนโลหืต"
พงศาวดารระบุว่า "เสดจใป" ไม่ได้ระบุว่าไปเสวยราชสมบัติในเมืองพิษณุโลก แตกต่างจากเหตุการณ์อื่นๆ ที่จะมีการระบุชัดเจนว่ามีการไป "เสวยราชสมบัติ" ได้แก่
พ.ศ. ๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถไปเสวยราชสมบัติในเมืองพิษณุโลกเพื่อรับศึกล้านนา และสถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชพระราชโอรสให้เสวยราชสมบัติครองกรุงศรีอยุทธยาแทน
"ศักราช ๘๒๕ ม่แมศ่ก สํมเดจพรบรมใตรโลกเจาใปเส่วยราชสํมบัดดีเมืองพีดณูโลก แลตรัศให้พรเจาแผนดีนเสวยราชสํมบัดดีพรณครศรีอยุทธยาทรํงพระนามสํมเดจบรํมราชา"
พ.ศ. ๒๑๑๔ รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรไปเสวยราชสมบัติครองเมืองพิษณุโลก
"ศักราช ๙๓๓ มะแมศ่กนำนอัย อ่นีงสมเดจพระณะรายบ่พิดรเปนเจาเสดจขีนไปเสวยราชสํมบัตรดีเมีองพีศณูโลก"
เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ถ้าได้ขึ้นครองราชสมบัติในกรุงศรีอยุทธยาก็จะระบุว่า "เสวยราชสมบัติ" อย่างชัดเจน ผิดจากกรณีของพระราเมศวรที่ระบุว่า "เสด็จ" ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งอาจจะหมายถึงเสด็จประพาสชั่วคราวก็ได้
หลักฐานอีกชิ้นคือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก ที่มีเนื้อหาความละเอียดในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) ระบุว่าในจุลศักราช ๘๐๑ (พ.ศ. ๑๙๘๒) เพิ่งจัดพิธีโสกันต์สมเด็จพระราเมศวร ต่อมาในจุลศักราช ๘๐๓ (พ.ศ. ๑๙๘๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงแต่งพระราชวังฝ่ายอุดรใช้เป็นที่ประทับ และพระราชทานพระราชมณเฑียรเดิมให้สมเด็จพระราเมศวรประทับ "สืบสันตติยศรีสุริยวงษ์ทรงทศพิธราชธรรมในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" แสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสมเด็จพระราเมศวรไม่ได้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลกครับ
"๏ ศักราช ๘๐๑ ปีมแมเอกศ่ก่ สมเด็จ็พรบรมราชาธิราชเจ้ากไห้ชุมพราหมณาจารยแล่ท้าวพระญาเสณามาตยทังหลายเหลนมหามหรรสภ ตังพรราชพิทธีโกษรกรรม สมเด็จ็พระบรมเชษฐาธิราชกูมารทานแลปรสาทพรนาม (ชำรุด) สมเด็จ็พรรามเมศวร บรมไต้รโลคนารถบพิตร ๏ ศักราช ๘๐ (ชำรุด) วอกโทศ่ก่ เพลิองไมราชมลเทยิ้รแลน้ายง้วเคลยิ้งเอาช้างเทพรักษาอันพรญาบาลเมืองถวายนันมารับผู้เปนเจ้าเสด็จ็ไปอู่ยช้านคิล (ชำรุด) ทารไห้ขุนพิจิตรแตง่พรราชมลเทยิ้รปรมารปีหนิ้ง กแล้วสรัพเสร(จ)(ชำรุด) ทานกเสด็จ็ยังพรราชมลเฑยิรปรเวศ ๏ ศักราช ๘๐๓ ปีรกาตีร (ชำรุด) เพลิองไหม่พรทินังติรมุขทิเสด็จ็ออกพรราชพิทธิอาศยุดชนัน (ชำรุด) จึงสมเด็จ็พรบรมราชาธิราชเจา กไหขุนพิ้จึตรแตงพรราชวั้งฝายอุฎรแลราชมลเฑยิรไนสัรดเกบเดอิมนันแลทารกเสด็จ็ไปสถิศอูยไน้ทินั้นแลไหพรราชทานพรราชมลเทยิ้รเดิมสมเด็จ็พระรามเมศวรบรมไตร้ยโลคนารถบพิตรทารกเสด็จ็สถิศไนราไช้ยสวรรคถวัล (ชำรุด) ปรเวณิ้ สิบสรรตติยศิรสูริยวงษทรงทศพิธราชธรรมไน้กรุ้งพระมหาณคอรศิรอยุทยา"
(ศักราช ๘๐๑ ปีมะแมเอกศก สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าก็ให้ชุมพราหมณาจารย์แลท้าวพระยาเสนามาตย์ทั้งหลายเล่นมหามหรสพ ตั้งพระราชพิธีโกษรกรรม สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชกุมารท่านและประสาทพระนาม (ชำรุด) สมเด็จพระราเมศวร บรมไตรโลกนารถบพิตร
๏ ศักราช ๘๐[๒ ปี] วอกโทศก เพลิงไหม้ราชมณเฑียรแลน้ายงัวเคลี้ยงเอาช้างเทพรักษาอันพระยาบาลเมืองถวายนั้นมารับผู้เป็นเจ้าเสด็จไปอยู่ช้านคิลแ[ล]ท่านให้ขุนพิจิตรแต่งพระราชมณเฑียรประมาณปีหนึ่ง ก็แล้วสรรพเสร็จ...ท่านก็เสด็จยังพระราชมณเฑียรประเวศ
๏ ศักราช ๘๐๓ ปีระกาตรี[ศก] เพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุขที่เสด็จออกพระราชพิธีอาศยุชนั้น จึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ก็ใหขุนพิจิตรแต่งพระราชวังฝ่ายอุดรและราชมณเฑียรในสรัดเกบเดิมนัน แลท่านก็เสด็จไปสถิตอยู่ในที่นั้นแลให้พระราชทานพระราชมณเฑียรเดิมสมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนารถบพิตร ท่านก็เสด็จสถิตในราไชยสวรรค์ถวัลย์[ราช]ประเวณี สืบสันตติยศรีสุริยวงษ์ทรงทศพิธราชธรรมในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา)
นอกจากนี้ยังปรากฏใน จารึกพระพุทธฎีกาสมเด็จพระคุรุจุฬามุณีศรีสังฆราช มหาศักราช ๑๓๖๙ (พ.ศ. ๑๙๙๐) ก่อนสมเด็จพระบรมราชาธิราชสวรรคต ๑ ปี กล่าวถึง "พระบัณฑูลราชพระราชโองการแห่งสมเด็จพระบรมราชาธิบดีศรีมหาจักรพรรดิราชและพระราเมศวรราช" ให้แต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถระผู้ใหญ่ร่วมกัน จึงน่าเชื่อว่าทั้งสองพระองค์ควรจะประทับในกรุงศรีอยุทธยาด้วยกัน จึงได้ใช้พระราชโองการร่วมกันครับ
เดิมสันนิษฐานว่าในจุลศักราช ๘๐๐ (พ.ศ. ๑๙๘๑) ที่สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเป็นปีที่ พระมหาธรรมราชา (พรญาบาลเมือง) แห่งพิษณุโลกสิ้นพระชนม์ ทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชส่งสมเด็จพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองแทน แต่เรื่องนี้ก็ขัดแย้งกับพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีกที่ระบุว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชเพิ่งสถาปนาพรญาบาลเมืองเป็น "มหาธรรมราชาธิราช" ใน พ.ศ. ๑๙๘๔ และต่อมาในปีชวดจุลศักราช ๘๐๖ (พ.ศ. ๑๙๘๗ พงศาวดารเขียนผิดเป็น ๘๔๖) ก็ยังคงกล่าวถึง "มหาธรรมราชา" ว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ฝ่ายเหนือที่ไปรบกับเมืองน่าน
สอดคล้องกับตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ที่ระบุว่าในจุลศักราช ๘๐๔ (พ.ศ. ๑๙๘๕) เชียงใหม่รบกับอยุทธยา ครั้งนั้นทัพอยุทธยาเสียที "พระญาสองแคว" ขอให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชหลบหนีไปก่อนโดยตนอาสาอยู่รั้งท้ายให้ ครั้งนั้นพระญาสองแควชนช้างชนะหมื่นมอกลองซึ่งขี่ช้างเมงครุทธ แล้วตัดหัวไปถวายสมเด็จพระบรมราชาธิราชได้ แสดงว่าพระญาบาลเมืองแห่งสองแควมีพระชนม์อยู่ในเวลานั้น
(แต่พบในจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ พ.ศ. ๑๙๗๐ ออกพระนามพรญาบาลเมืองว่า ‘ชยนาถิสฺลรวรธมฺมิก ธมฺมราชาธิราชสฺส’ หรือ ‘พระธรรมราชาธิราช ผู้อิสราธิบดีในชัยนาทบุรี’ และระบุพระนามในภาษาบาลีว่า ‘สิริสิริยวสับรมปาลมหาธมฺมราชาธิราช’ (ศรีสุริยวงศ์บรมบาลมหาธรรมราชาธิราช) แสดงว่าทรงเป็นมหาธรรมราชาธิราชมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๗๐ แล้ว แต่เป็นไปได้ว่าจะเป็นการสถาปนาตนเองโดยที่กรุงศรีอยุทธยาไม่ได้รับรอง โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชเพิ่งทรงสถาปนาอย่างเป็นทางการในภายหลัง)
แสดงความคิดเห็น
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถค่ะ
สำหรับเราคือทรงเยาว์พระชันษามากๆเลยนะคะ เด็กกว่าพระยอดฟ้าเสียอีก
หากทรงเสด็จไปนั่งเมืองสองเเควเมื่อพระชนมพรรษาแค่นั้นจริงๆ ทรงว่าราชการแผ่นดินเองเลยไหมคะ หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ขั้วสุโขทัยคอยซัพพอร์ต?
เป็นไปได้ไหมคะที่พระราชชนนีของพระองค์ที่เป็นโสทรเชษฐภคินีของพระมหาธรรมราชาบรมปาล จะตามเสด็จไปอภิบาลพระองค์ที่สองแควด้วย
ขออภัยสำหรับคำถามแปลกๆนะคะ พอดีเรากำลังจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ในช่วงรัชสมัยพระบรมไตรฯ- พระรามาธิบดีที่ 2 พอดี ช่องว่างทางประวัติศาสตร์เยอะมาก อยากได้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญมาสร้างความสมเหตุสมผลในเนื้อเรื่องอ่ะค่ะ
ค้นหาคนเดียวคือเหนื่อยจริงๆ Y-Y
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะคะ