ด่วน ! IFEC ถูกฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้หมดความเชื่อถือ

กระทู้สนทนา
ฟ้องล้มละลาย‘IFEC’ ผู้ถือหุ้นใหญ่ไหวตัวชิ่งขายหุ้นทิ้ง 10 Aug 2019 ฐานเศรษฐกิจ

บล.เอเซียพลัสฯ เล็งฟ้องล้มละลายไอเฟค พบทรัพย์ส่วนใหญ่ถูกเจ้าหนี้ภายนอกยึดหมดแล้ว ศักยภาพหาแหล่งเงิน-นโยบายรายได้ไม่ชัด ด้าน 4 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไหวตัวแห่ขายหุ้นทิ้งผู้สื่อข่าวรายงาน จากจดหมายลงวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ของสำนักงานกฎหมาย JC Inter Law แจ้งถึงบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก ASP ให้ไปสืบทรัพย์ของบริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เพื่อดำเนินการบังคับคดีให้ผู้ถือหุ้นกู้ไอเฟค ซึ่งเป็นลูกค้าของ ASP ระบุว่าจากการสืบทรัพย์และบังคับคดีที่ผ่านมาพบว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่ของไอเฟค ถูกเจ้าหนี้ภายนอกยึดไว้แล้ว สำนักงานสามารถยึดได้เพียงหุ้นของบริษัทสมประสงค์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (บจก.) กรรมสิทธิ์บริษัทไอเอฟจำนวนเพียง 87,446 หุ้น ราคาประเมิน 8,744,600 บาท และคาดว่าอาจต้องใช้เวลานานในการติดตามยึดทรัพย์ในส่วนที่เหลือ จึงทำให้ไม่สามารถคุ้มครองประโยชน์ของลูกค้าได้ทันท่วงที โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือศาลยังไม่ออกหมายบังคับคดีสำนักงานกฎหมายฯ ได้ให้ความเห็นว่า การดำเนินการฟ้องล้มละลายไอเฟค เป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการคุ้มครองประโยชน์ให้แก่ลูกค้าของบริษัท เนื่องจากเมื่อมีการฟ้องล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของไอเฟคไว้ และจะเฉลี่ยทรัพย์สินของไอเฟคทั้งหมดให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายตามสัดส่วน (ยกเว้นหนี้จำนอง, บุริมสิทธิ) รวมทั้งทรัพย์สินต่างๆของไอเฟค ที่เจ้าหนี้ภายนอกได้นำยึดไว้ก็จะตกอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งหากมีการขายทอดตลาดได้จะต้องนำส่งเงินทั้งหมดให้แก่เจ้าพนักงาน พิทักษณ์เพื่อรวบรวมเข้า กองทุนทรัพย์สินของลูกหนี้ และนำมาเฉลี่ยให้เจ้าหนี้ทุกรายตามสัดส่วนต่อไป

กรณีดังกล่าวจะทำให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกราย บริษัทฯพิจารณาประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกค้าทุกรายของบริษัท แล้ว จึงเห็นควรดำเนินคดีล้มละลายกับไอเฟค โดยในการดำเนินการในครั้งนี้ บริษัทได้ให้กองทุนแอสเซ็ทพลัสในฐานะเป็นเจ้านี้ของไอเฟคเป็นโจทก์ในการฟ้องคดี ทั้งนี้ที่ผ่านมาสำนักงานได้ดำเนินการยึดทรัพย์ตามคำสั่งของ ASP แล้ว 5 ที่ประกอบด้วย 1. หุ้นไอเฟคที่ถืออยู่ในบจก. สมประสงค์อินเตอร์เนชั่นแนล ที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งปรากฏว่าถูกเจ้าหนี้ภายนอกยึดไว้เกือบทั้งหมด ทำให้สำนักงานยึดทรัพย์ได้เพียง 87,466 หุ้น หุ้นละ 100 บาทรวมมูลค่าที่ยึด 8,744,600 บาท ส่วนอีก 4 ที่ได้แก่ หุ้นไอเฟคที่ถือในบจก.เจพี โซล่า พาวเวอร์ จังหวัดสุรินทร์, หุ้นไอเฟคที่ถืออยู่ในบจก.แม่สะเรียง โซล่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, หุ้นไอเฟค ที่ถืออยู่ในบจก.ยูนิเวอร์แซล โพรไวเดอร์ จังหวัดศรีสะเกษ และหุ้นไอเฟคที่ถืออยู่ในบริษัทบจก. อินเตอร์ฟาร์อิสท์ วินด์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯที่กรุงเทพฯ ปรากฏว่ารายการหุ้นทั้ง 4 ที่ของบริษัทไอเฟคฯได้ถูกเจ้าหนี้ภายนอกยึดไว้หมดแล้ว เจ้าพนักงานบังคับจึงไม่สามารถดำเนินการยึดให้ได้ เนื่องจากเป็นการยึดซํ้าต้องห้ามตามกฎหมาย

นายทวิช เตชะนาวากุล ประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารไอเฟค กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การที่ ASP จะฟ้องล้มละลายไอเฟค เป็นสิทธิที่เจ้าหนี้จะทำได้ ซึ่งทางเราขอเวลาแก้ปัญหาก่อนและมีแผนอยู่แล้วที่จะนัดปรึกษาหารือกับเจ้าหนี้ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน แต่ระหว่างนี้เราต้องเข้าไปดูแลบริษัทลูกไอเฟค เพื่อให้รู้ว่าฐานะที่แท้จริงเพื่อจะแก้ปัญหาได้ถูกทาง ส่วนทางคดีก็ต้องให้ดำเนินการกันไปซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ชุดบริหารก่อนหน้า ทางบริษัทฯคงต้องตั้งทนายสู้

ด้านนางสาวเยาวลักษณ์ ฤทธิ์สมจิตต์ ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟค ตั้งข้อสังเกตถึงสัญญาณที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ขายทิ้งหุ้นไอเฟคเพราะอาจทราบมาก่อนหน้าว่าบริษัทจะถูกฟ้องล้มละลายจากทางเจ้าหนี้ นอกเหนือจาก ASP อาจมี บล.โซลาริสฯ ที่อาจจะร่วมฟ้องตามสำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ขายหุ้นไอเฟค ในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้หุ้น SP เทรดชั่วคราว 1 เดือน (1-31 ก.ค. 62) ได้แก่นายภิญโญ รุขพันธ์เมธี ผู้ถือหุ้นอันดับ 3 ตัดขายหมดสัดส่วน 2.65%, นางกนกวรรณ พรทรัพย์อนันต์ ผู้ถือหุ้นอันดับ 8 ขายทิ้ง 1.91%,นางลลิลทิพย์ ทิตระกูล ขายทิ้ง 0.83% และบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ขายทิ้งทั้งหมดเช่นกัน 0.64%

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3495 วันที่ 11-14 สิงหาคม 2562

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่