วันนี้พอดีมีเงินผู้พิการของแม่โอนเข้ามาค่ะ และเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกันที่โดนหักค่าธรรมเนียมจาก ธนาคารกรุงไทย
ซึ่งเราได้หาข้อมูลมาว่า ทางกรุงไทยจะไม่มีการหักในส่วน เบี้ยยังชีพและเบี้ยผู้พิการ ในส่วนนี้เพราะเป็นข้อตกลงของภาครัฐที่ทำไว้กับกรุงไทย
ทีนี้เราเลยไปโทรหาอบต. ทางอบต.ยืนยันมาค่ะ ว่าไม่มีการหักค่าธรรมเนียมโดยเด็ดขาด ไม่งั้นโดนทั้งตำบลแล้ว และเขายืนยันสามารถตรวจสอบได้แน่นอน อบต.จึงแนะนำว่า เรื่องนี้เราต้องโทรถามธนาคารเอง ถ้าได้เรื่องยังไงช่วยบอกเขาด้วย
เราจึงได้โทรไปหาธนาคารกรุงไทย และทางธนาคารกรุงไทย ได้บอกกับเราว่า สามารถหักได้ เพราะว่าทางอบต.ได้อนุญาตให้ทางธนาคารหัก ได้มีการเริ่มเซ็นสัญญาตั้งแต่เดือนนี้ แม้ว่าเดือนก่อนหน้าไม่มีการหักเลยก็ตาม เราเลยถามย้ำว่า ทางธนาคารและอบต.ได้มีนิติกรรมสัญญาต่อกันใช่ไหมคะ ซึ่งทางธนาคารบอกว่าใช่ นั่นแปลว่า มีผลใช้ทำให้เดือนต่อ ๆไปเราจะโดนหักไปเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่อบต.โอนเงินเบี้ยยังชีพมา
ไม่ทราบว่าธนาคารจะจัดการยังไงเหรอคะ เงินที่หักไปไม่มาก แต่ก็ไม่โอเคเพราะคือความไม่ถูกต้องนะคะ
ส่วนนักกฏหมายท่านอื่นมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะกับเคสนี้ เรามองว่า ถ้าเป็นสัญญาที่กระทำทีหลัง โดยผู้รับผลประโยชน์ซึ่งคือประชาชน ไม่ทราบในส่วนนี้ เท่ากับสัญญานี้มิชอบด้วยกฏหมาย เพราะตรงนี้ทางอบต.และธนาคารเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอง โดยไม่มีใครรับรู้และสัญญานั้นยังเกี่ยวพันทางแพ่งระหว่างตัวบุคคลและกม.ปกครองด้วย ถ้ายังไงรบกวนขอความรู้เป็นวิทยาทานด้วยค่ะ
ปล.แก้ไขคำผิดค่ะ กับเพิ่มเติมรูปค่ะ
เบี้ยยังชีพผู้พิการ โดนหักค่าธรรมเนียม?
ซึ่งเราได้หาข้อมูลมาว่า ทางกรุงไทยจะไม่มีการหักในส่วน เบี้ยยังชีพและเบี้ยผู้พิการ ในส่วนนี้เพราะเป็นข้อตกลงของภาครัฐที่ทำไว้กับกรุงไทย
ทีนี้เราเลยไปโทรหาอบต. ทางอบต.ยืนยันมาค่ะ ว่าไม่มีการหักค่าธรรมเนียมโดยเด็ดขาด ไม่งั้นโดนทั้งตำบลแล้ว และเขายืนยันสามารถตรวจสอบได้แน่นอน อบต.จึงแนะนำว่า เรื่องนี้เราต้องโทรถามธนาคารเอง ถ้าได้เรื่องยังไงช่วยบอกเขาด้วย
เราจึงได้โทรไปหาธนาคารกรุงไทย และทางธนาคารกรุงไทย ได้บอกกับเราว่า สามารถหักได้ เพราะว่าทางอบต.ได้อนุญาตให้ทางธนาคารหัก ได้มีการเริ่มเซ็นสัญญาตั้งแต่เดือนนี้ แม้ว่าเดือนก่อนหน้าไม่มีการหักเลยก็ตาม เราเลยถามย้ำว่า ทางธนาคารและอบต.ได้มีนิติกรรมสัญญาต่อกันใช่ไหมคะ ซึ่งทางธนาคารบอกว่าใช่ นั่นแปลว่า มีผลใช้ทำให้เดือนต่อ ๆไปเราจะโดนหักไปเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่อบต.โอนเงินเบี้ยยังชีพมา
ไม่ทราบว่าธนาคารจะจัดการยังไงเหรอคะ เงินที่หักไปไม่มาก แต่ก็ไม่โอเคเพราะคือความไม่ถูกต้องนะคะ
ส่วนนักกฏหมายท่านอื่นมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะกับเคสนี้ เรามองว่า ถ้าเป็นสัญญาที่กระทำทีหลัง โดยผู้รับผลประโยชน์ซึ่งคือประชาชน ไม่ทราบในส่วนนี้ เท่ากับสัญญานี้มิชอบด้วยกฏหมาย เพราะตรงนี้ทางอบต.และธนาคารเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอง โดยไม่มีใครรับรู้และสัญญานั้นยังเกี่ยวพันทางแพ่งระหว่างตัวบุคคลและกม.ปกครองด้วย ถ้ายังไงรบกวนขอความรู้เป็นวิทยาทานด้วยค่ะ
ปล.แก้ไขคำผิดค่ะ กับเพิ่มเติมรูปค่ะ