สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
- พม่า เน้นการตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ไปประจำที่เมืองประเทศราช สมัยราชวงศ์อลองพญา เน้นไปที่การส่งขุนนางฝ่ายทหารตำแหน่งโบ (นายพล) ไปประจำการตามหัวเมือง บางเมืองเช่น เชียนงแสน ยึดเป็นของพม่าและตั้งกองทัพประจำที่นั่นเลยทีเดียว
- เวียดนาม เลียนแบบราชสำนักจีนโดยพยายาม "เปลี่ยนให้เป็นอารยะ" บังคับให้เขมรเปลี่ยนมาใช้วัฒนธรรมแบบขงจื้อ เสื้อผ้า ทรงผม (นึกกษัตริย์และขุนนางเขมร แต่งตัวแบบญวน คงพึลึกไม่หยอก) ตั้งศาลจักรพรรดิให้กราบไหว้ ตั้งข้าหลวงใหญ่ประจำที่พนมเปญ
- สยาม อันนี้เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างราชสำนัก ไม่นิยมตั้งข้าหลวงไปประจำ แต่ก็บริหารจัดการไม่ให้มีกำลังเช่นกัน
๐ ให้มาเรียนในกรุงเทพ โดยเวียงจันทน์ และเขมร 2 เมืองนี้จะต้องส่งผู้ที่คาดหมายว่าจะเป็นรัชทายาทมาบวชเรียนและอาศัยอยู่ในกรุงเทพ บางพระองค์ก็ประสูติที่นี่เลยด้วยซ้ำ แต่นโยบายนี้มักได้ผลแค่บางช่วง ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างกษัติย์สยามและเจ้านายประเทศราช ถ้าภักดีก็จะภักดีแบบสุดใจไปเลย เช่น นักองค์นนท์ (หนีมาอยู่ไทยตั้งแต่ปลายอยุธยา สนิทกับพระเจ้าตากสินมาก) นักองค์ตนกษัติย์เขมร (อยู่ในสถานะพระราชโอรสบุญธรรมของรัชกาลที่ 1) นักองค์ด้วง ทางลาวเวียงจันทน์ก็มีเจ้านันทเสนและเจ้าอินทรวงศ์ แต่ถ้าจะหักหลังสยามก็ทำแบบสุดขั้วไปเลย เช่น กรณีนักองค์จันทร์ (ประสูติที่กรุงเทพ) แต่ไม่พอใจราชสำนักสยามและเข้าหาญวน หรือกรณีเจ้าอนุวงศ์ เป็นต้น
๐ ล้านนาทั้ง 5 จำปาสัก ไม่ค่อยมีปัญาหากับสยามเท่าไหร่ และไม่มีการส่งรัชทายาทมาไว้ที่กรุงเทพ อันนี้น่าแปลกมาก และกษัตริย์หัวเมืองเหล่านี้ "มักเชื่อฟังกรุงเทพ" แบบง่ายดาย หากมีการฟ้องร้องเจ้าประเทศราช เพียงกรุงเทพเรียกมาพบก็ยอมมาแต่โดยดี เช่น กรณีเจ้ากาวิโรรสถูกฟ้อง กรณีเจ้าสุริยวงศ์เจ้าหลวงพระบางถูกฟ้อง ก็ยอมลงมาให้พิจารณาโทษ สยามจึงไม่ต้องไปควบคุมอะไรมาก
๐ สยามใช้นโยบาย "ซอยให้เล็ก" คือแยกและตั้งบ้านเล็กเมืองน้อยยิบย่อย เพื่อไม่ให้รวมกันได้ ในหัวเมืองมลายูเฉพาะปัตตานีเมืองเดียวก็ถูกแยกออกถึง 7 เมือง โดยให้อยู่ในความปกครองของเมืองนครศรีธรรมราชบ้าง เมืองสงขลาบ้าง
๐ สยามเข้าไปปกครองหัวเมืองอีสานเอง ในพื้นที่ภาคอีสาน เป็นพื้นที่ประเทศราชเดียวที่สยามเข้าไปปกครองด้วยตนเอง หัวเมืองใหญ่ เช่น อุบล ยโสธร กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ นครพนม สกลนคร รวมถึงเขมรป่าดง เช่น ประทายสมันต์ (สุรินทร์) สังฆะ ขุขันธ์ เมืองเหล่านี้ให้ขึ้นกับกรุงเทพโดยตรง แล้วให้เมืองเหล่านี้ไปควบคุมเมืองเล็ก ๆ อีกที และบางเมืองก็ให้ขึ้นกับนครราชสีมา เช่น ชัยภูมิ ภูเขียว ภูเวียง จตุรัส เป็นการตัดกำลังเมืองเวียงจันทน์และจำปาสัก
- เวียดนาม เลียนแบบราชสำนักจีนโดยพยายาม "เปลี่ยนให้เป็นอารยะ" บังคับให้เขมรเปลี่ยนมาใช้วัฒนธรรมแบบขงจื้อ เสื้อผ้า ทรงผม (นึกกษัตริย์และขุนนางเขมร แต่งตัวแบบญวน คงพึลึกไม่หยอก) ตั้งศาลจักรพรรดิให้กราบไหว้ ตั้งข้าหลวงใหญ่ประจำที่พนมเปญ
- สยาม อันนี้เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างราชสำนัก ไม่นิยมตั้งข้าหลวงไปประจำ แต่ก็บริหารจัดการไม่ให้มีกำลังเช่นกัน
๐ ให้มาเรียนในกรุงเทพ โดยเวียงจันทน์ และเขมร 2 เมืองนี้จะต้องส่งผู้ที่คาดหมายว่าจะเป็นรัชทายาทมาบวชเรียนและอาศัยอยู่ในกรุงเทพ บางพระองค์ก็ประสูติที่นี่เลยด้วยซ้ำ แต่นโยบายนี้มักได้ผลแค่บางช่วง ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างกษัติย์สยามและเจ้านายประเทศราช ถ้าภักดีก็จะภักดีแบบสุดใจไปเลย เช่น นักองค์นนท์ (หนีมาอยู่ไทยตั้งแต่ปลายอยุธยา สนิทกับพระเจ้าตากสินมาก) นักองค์ตนกษัติย์เขมร (อยู่ในสถานะพระราชโอรสบุญธรรมของรัชกาลที่ 1) นักองค์ด้วง ทางลาวเวียงจันทน์ก็มีเจ้านันทเสนและเจ้าอินทรวงศ์ แต่ถ้าจะหักหลังสยามก็ทำแบบสุดขั้วไปเลย เช่น กรณีนักองค์จันทร์ (ประสูติที่กรุงเทพ) แต่ไม่พอใจราชสำนักสยามและเข้าหาญวน หรือกรณีเจ้าอนุวงศ์ เป็นต้น
๐ ล้านนาทั้ง 5 จำปาสัก ไม่ค่อยมีปัญาหากับสยามเท่าไหร่ และไม่มีการส่งรัชทายาทมาไว้ที่กรุงเทพ อันนี้น่าแปลกมาก และกษัตริย์หัวเมืองเหล่านี้ "มักเชื่อฟังกรุงเทพ" แบบง่ายดาย หากมีการฟ้องร้องเจ้าประเทศราช เพียงกรุงเทพเรียกมาพบก็ยอมมาแต่โดยดี เช่น กรณีเจ้ากาวิโรรสถูกฟ้อง กรณีเจ้าสุริยวงศ์เจ้าหลวงพระบางถูกฟ้อง ก็ยอมลงมาให้พิจารณาโทษ สยามจึงไม่ต้องไปควบคุมอะไรมาก
๐ สยามใช้นโยบาย "ซอยให้เล็ก" คือแยกและตั้งบ้านเล็กเมืองน้อยยิบย่อย เพื่อไม่ให้รวมกันได้ ในหัวเมืองมลายูเฉพาะปัตตานีเมืองเดียวก็ถูกแยกออกถึง 7 เมือง โดยให้อยู่ในความปกครองของเมืองนครศรีธรรมราชบ้าง เมืองสงขลาบ้าง
๐ สยามเข้าไปปกครองหัวเมืองอีสานเอง ในพื้นที่ภาคอีสาน เป็นพื้นที่ประเทศราชเดียวที่สยามเข้าไปปกครองด้วยตนเอง หัวเมืองใหญ่ เช่น อุบล ยโสธร กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ นครพนม สกลนคร รวมถึงเขมรป่าดง เช่น ประทายสมันต์ (สุรินทร์) สังฆะ ขุขันธ์ เมืองเหล่านี้ให้ขึ้นกับกรุงเทพโดยตรง แล้วให้เมืองเหล่านี้ไปควบคุมเมืองเล็ก ๆ อีกที และบางเมืองก็ให้ขึ้นกับนครราชสีมา เช่น ชัยภูมิ ภูเขียว ภูเวียง จตุรัส เป็นการตัดกำลังเมืองเวียงจันทน์และจำปาสัก
แสดงความคิดเห็น
สมัยโบราณ มีนโยบาย หรือมาตรการป้องกันไม่ให้ประเทศราช หรือรัฐบริวารไม่ให้ทรยศ หรือแทงหลังอย่างไรบ้างครับ
แต่งตั้งคนที่ไว้ใจไปปกครองแทน
เป็นต้น เลยสงสัยว่ามีอะไรนอกจากนี้ไหมครับ