บริษัท สำนักกฎหมาย นิพัธ ปิ่นแสง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด
Like PageAugust 5 at 3:50 PM ·
คำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 นี้ ได้วินิจฉัยเรื่อง ลิขสิทธิ์ ของ การ์ตูนโดราเอมอน ไว้อย่างดีมาก ๆ เลยครับ โดยศาลฏีกา ได้วินิจฉัยไว้ว่า ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ได้มีการ โฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทยได้บัญญัติไว้ว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปะประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปีนับแต่ที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่องานตามฟ้องมีการโฆษณางานครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวซึ่งมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก จึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 เท่านั้น ขณะเกิดเหตุตามฟ้องในคดีนี้คือวันที่ 3 สิงหาคม 2549 งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอม่อน มาตัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของเครื่องใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้อง จึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตามฟ้อง ยกฟ้อง
จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าวนี้ ถือว่า ตัวการ์ตูนโดราเอม่อน หมดความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ของไทย ไปตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2537 แล้ว ดังนั้นใครที่ถูก ลักไก่จับว่าผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ในตัวการ์ตูนโดไรม่อน ก็ขอให้รู้ว่าโดนต้ม โดนหลอกจับกุมแล้ว ดังนั้นใครที่โดนจับดังกล่าว ก็ขอให้เอาคำพิพากษาศาลฎีกานี้ขึ้นต่อสู้โดยให้ตำรวจดู คำพิพากษาศาลฎีกา เลยว่า ตัวการ์ตูนโดราเอม่อนไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2537 แล้ว จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งค์ที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจมาลักไก่จับกุม พ่อค้า และประชาชน ที่ไม่รู้กฎหมายอีกต่อไป โดยขอให้อ่านดูในหน้าที่ 6 ตามที่ได้ขีดเส้นใต้สีแดงไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกานั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจน ว่าศาลวางหลักไว้อย่างไร
ใครได้อ่านลิขสิทธิตัวการ์ตูนโดเรมอนในไทยหรือยัง หมดลิขสิทธิตั้งแต่ปี 2537 ระวังถูกมิจฉาชีพต้มเอาเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 5756/2551 นี้ ได้วินิจฉัยเรื่อง ลิขสิทธิ์ ของ การ์ตูนโดราเอมอน ไว้อย่างดีมาก ๆ เลยครับ โดยศาลฏีกา ได้วินิจฉัยไว้ว่า ตัวการ์ตูนโดราเอมอน ได้มีการ โฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทยได้บัญญัติไว้ว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปะประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปีนับแต่ที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่องานตามฟ้องมีการโฆษณางานครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวซึ่งมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก จึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 เท่านั้น ขณะเกิดเหตุตามฟ้องในคดีนี้คือวันที่ 3 สิงหาคม 2549 งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอม่อน มาตัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของเครื่องใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้อง จึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตามฟ้อง ยกฟ้อง
จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าวนี้ ถือว่า ตัวการ์ตูนโดราเอม่อน หมดความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ของไทย ไปตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2537 แล้ว ดังนั้นใครที่ถูก ลักไก่จับว่าผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ในตัวการ์ตูนโดไรม่อน ก็ขอให้รู้ว่าโดนต้ม โดนหลอกจับกุมแล้ว ดังนั้นใครที่โดนจับดังกล่าว ก็ขอให้เอาคำพิพากษาศาลฎีกานี้ขึ้นต่อสู้โดยให้ตำรวจดู คำพิพากษาศาลฎีกา เลยว่า ตัวการ์ตูนโดราเอม่อนไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2537 แล้ว จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งค์ที่ซื้อหนังสือมอบอำนาจมาลักไก่จับกุม พ่อค้า และประชาชน ที่ไม่รู้กฎหมายอีกต่อไป โดยขอให้อ่านดูในหน้าที่ 6 ตามที่ได้ขีดเส้นใต้สีแดงไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกานั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจน ว่าศาลวางหลักไว้อย่างไร