งานปรับปรุงสนาม AFC U23 ยังไม่เริ่มประกวดราคาเลย ซึ่งไม่น่าจะเสร็จทันการแข่งขัน

จากที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ กล่าวอ้างว่า สนามจัดการแข่งขันรายการ AFC U23 2020 กำลังปรับปรุงตามมาตรฐาน AFC อยู่
และบางสนามก็กำลังปรับปรุงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และจะต้องปรับปรุงไม่มาก นั้น

แต่จากการสืบค้นข้อเท็จจริงจากข้อมูลของหน่วยงานราชการที่เป็นเจ้าของสนามทั้ง 3 แห่ง คือ
การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เจ้าของสนามราชมังคลากีฬาสถาน และสนามกีฬาสมโภช 700 ปี เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของสนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (สนามนี้ทีมแบงค็อก ยูไนเต็ด ตั้งชื่อเองว่า True Stadium)
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เจ้าของสนามติณสูลานนท์
พบว่า

1. สนามราชมังคลา มีงาน 2 ส่วน
1.1) งานเปลี่ยนเก้าอี้สนามเป็นแบบพับกระดกได้ ระยะเวลาทำงาน 150 วัน ประกาศร่าง TOR ตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย. 62 สถานะล่าสุดคือยังไม่ประกวดราคา
1.2) งานปรับปรุงอาคารราชมังคลา หลักๆคือ ทาสีสนาม ปรับปรุงห้องพักนักกีฬา ทำพื้นสนามฟุตบอลใหม่ ระยะเวลาทำงาน 150 วัน เพิ่งประกาศร่าง TOR กำหนดรับฟังความคิดเห็นถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 ถ้าไม่มีปัญหาอะไร อาจจะประกาศประกวดราคาได้อย่างเร็วภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2562 กำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายใน 2 สัปดาห์ ประกาศผลผู้ชนะภายใน 1 สัปดาห์หลังยื่นซอง และเซ็นสัญญาภายใน 1 สัปดาห์หลังประกาศผลผู้ชนะ ซึ่งก็น่าจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาได้อย่างเร็วที่สุดคืน ต้นเดือนกันยายน 2562 ซึ่งถ้านับไป 150 วันจากเซ็นสัญญา งานก็จะแล้วเสร็จราวปลายเดือนมกราคม 2563 หลังการแข่งขัน AFC U23 เสร็จสิ้นไปแล้ว

2. สนามกีฬาสมโภช 700 ปี เชียงใหม่ สถานะล่าสุด ประกาศแค่แผนจัดซื้อจัดจ้าง ยังไม่ประกาศร่าง TOR ดูจากมูลค่างานในแผนจัดซื้อจัดจ้าง 160 กว่าล้าน ก็น่าจะต้องใช้เวลาทำงานไม่ต่ำกว่า 150 วัน เช่นกัน

3. สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผอ.สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยบอกผมว่าต้องใช้งบปรับปรุงไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท โดยต้องปรับปรุงห้องพักนักกีฬา ห้องพักกรรมการ ห้องทีมงานจัดการแข่งขัน ไฟสนาม ระบบเสียง สกอร์บอร์ด อัฒจันทร์ฝั่งประธาน ที่ไม่มีการติดตั้งที่นั่ง Press Zone
ซึ่งเดิมมหาวิทยาลัยหามาได้แค่ 5 ล้านบาท แต่จากข่าวล่าสุดที่ประชุมกับสมาคมฟุตบอล เห็นให้สัมภาษณ์ว่า กกท. จะสนับสนุนเงินส่วนที่เหลือ  สถานะล่าสุด ยังไม่มีการประกาศประกวดราคาอะไร

4. สนามกีฬาติณสูลานนท์ สนามนี้ไม่ทราบข้อมูลเลยว่าต้องปรับปรุงอะไร และมีคนชอบเข้าใจผิดคิดว่าสนามนี้พร้อมมาก จนจะใช้จัดการแข่งขันฟุตบลโลกรอบคัดเลือกได้ แต่จากภาพสนามกีฬาติณสูลานนท์ล่าสุดทั้งใน pantip และ Facebook (ที่มีคนโพสเช็คอินสถานที่และตั้งค่าภาพถ่ายสาธารณะ) ปรากฏว่ายังไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงอะไร ยังไม่มีการติดตั้งเก้าอี้รอบสนามเลยด้วยซ้ำ ไฟสนามก็ยังไม่ติดตั้งเพิ่ม (ไฟ 1800 Lux ต้องมีไฟอย่างน้อยเสาต้นละ 60 โคมดวง) ส่วนการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง เช็คจากเว็บกรมบัญชีกลาง และเว็บของอบจ.สงขลา ปรากฏว่ายังไม่มีประกาศประกวดราคาแต่อย่างใด

ถ้าประเทศไทยไม่ได้จัดการแข่งขัน เพราะความไม่พร้อมของฝ่ายเราเองนี่ก็น่าเสียดายนะครับ แถมเราไปเที่ยวการันตีว่ามันจะพร้อม พอถึงเวลาแล้วมีปัญหา หาสนามใช้แข่งไม่ได้จริงๆ อาจจะทำให้หมดความน่าเชื่อถือเหมือนเคสที่เวียดนามชนะการแข่งขันได้สิทธิเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2018 แต่ปรากฏว่าไม่มีความสามารถพอจะเป็นเจ้าภาพ ก็เลยต้องสละสิทธิ์แล้วอินโดนีเซียต้องมารับหน้าเสื่อแทน 
ตอนนี้สนามสำรองใน กทม. นี่นึกไม่ออกจริงๆว่าสนามไหนจะพร้อม เอาแค่ไฟ 1800 Lux ก็ไม่น่าจะมีสนามไหนที่ไฟสนามถึงเกณฑ์นี้อยู่แล้ว
ตอนที่สมาคมไปสำรวจสนามเอกชน ก่อนที่จะขอร้องให้ กกท. ปรับปรุงสนามให้ ไฟสนามอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็อยู่แค่ 1200-1500 Lux เท่านั้น
ไหนจะต้องปรับปรุงห้องพักนักกีฬาให้มี 4 ห้อง ห้องพักกรรมการ ห้องพักฝ่ายจัดอีก
___
ภาพข้อมูลงานปรับปรุงราชมังคลากีฬาสถาน






ภาพข้อมูลงานปรับปรุงสนามกีฬาสมโภช 700 ปี เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ประกาศร่าง TOR

ภาพสนามติณสูลานนท์ล่าสุดจะเห็นว่าไม่มีการติดตั้งเก้าอี้ฝั่งหลังประตู (จากกระทู้ https://ppantip.com/topic/39088020)

---
หน้าเว็บไซต์จัดซื้อจัดจ้างกลาง ของกรมบัญชีกลาง
http://www.gprocurement.go.th/new_index.html

หน้าเว็บจัดซื้อจัดจ้างของทั้ง 3 หน่วยงาน

การกีฬาแห่งประเทศไทย
http://www.sat.or.th/procurement/draftannoucement/

สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หน่วยงานที่ดูแลสนามกีฬาในพื้นที่ มธ.ศูนย์รังสิต)
http://www.psm.tu.ac.th/main.php?page_name=article.bid

อบจ.สงขลา
http://songkhlapao.go.th/news?cid=3
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่