สวัสดีครับทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่า เข้ามาอ่านแนวคิดเล็กๆของคนๆหนึ่งที่ไม่ใช่แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ ตามที่กล่าวข้างต้น ผมเองไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ แต่เป็นเพียงแค่ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จักรวาลเท่านั้นเอง ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดเกิดจากการอ่านและศึกษาและค้นคว้าแต่เพียงผิวเผิน โดยทฤษฎีทั้งหมดเกิดจากจินตนาการล้วนๆ ไม่มีงานวิจัย หรือการคำนวนใดๆมาอ้างอิงแม้แต่น้อย ดังนั้นท่านผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ได้โปรดเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำและแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องหลังจากอ่านจบเพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดทฤษฎีที่ผมกำลังจะเล่าต่อไปนี้ โดยที่สิ่งที่ผมคิดขึ้นมาจะขอเรียกแบบคร่าวๆก่อนว่า จักรวาลกลับด้าน โดยได้นำเอาทฤษฎีที่น่าสนใจมากมายมาทำการเชื่อมโยงกัน เช่น ทฤษฎีสัมพันธภาพ ทฤษฎีเกี่ยวกับหลุมดำ และทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลในช่วงท้ายของแนวคิด ต่อจากนี้จะขออนุญาตนำทุกท่านเข้าสู่แนวๆคิดแปลกๆของผู้ที่มีความสนใจเรื่องของหลุดดำและจักรวาล โดยเนื้อหาหลักจะปรากฏในส่วนที่ 3 เป็นต้นไป โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
ส่วนที่ 1 แนวคิดเรื่องของมิติ
ดังที่เราเคยเรียนมา มิติปัจจุบันนั้นปรากฏออกมาในเชิงฟิสิกส์ถึง 4 มิติคือ เส้น รูปร่าง รูปทรง และเวลา ดังที่ไอสไตน์ค้นพบมานั้น โดยที่นักวิทยาศาสตร์ยังอ้างว่า ในความเป็นจริงจักรวาลยังมีมิติที่มากกว่านั้นอีก แต่มนุษย์ยังไม่สามารถค้นพบได้ อาจเนื่องจากเรามักจะใช้ประสาทสัมผัสแบบ 3 มิติของเราเป็นตัวตัดสิน ก่อนจะไม่ต่อต้องบอกก่อนว่า มิติที่ผมกล่าวถึงไม่ใช่โลกอีกใบ หรือที่เรียกว่าโลกต่างมิติ แต่เป็นมิติในอีกแบบหนึ่งโดยสิ้นเชิง เป็นมิติที่สามารถคำนวนได้ในทางคณิตศาสตร์
ส่วนที่ 2 แนวคิดเรื่องของพื้นที่ว่างในอวกาศ
เราต่างก็รู้ว่าอวกาศนั้นเต็มไปด้วยพื้นที่ว่างมากมาย วัตถุในอวกาศนั้นอยู่ห่างกันมากเกินกว่าที่เราจะจินตนาการออกได้ และมีเพียงตัวเลขเท่านั้น ที่บรรยายระยะทางที่แท้จริงของมันออกมาได้ แต่ในส่วนความคิดของผม มันว่างจริงหรือ บางท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องของแรงโน้มถ่วงที่มีพลังในการทำให้อวกาศบิดเบี้ยว โดยมีตัวอย่างง่ายๆจากการดึงผ้าแล้วหย่อนวัตถุหนักลงไป แล้วนำวัตถุอันที่เล็กกว่า หย่อนตามลงไป ปรากฏว่า วัตถุที่เล็กกว่าจะวิ่งเข้าหาวัตถุที่ใหญ่กว่าเสมอ เป็นไปตามกฏการเคลื่อนที่ คำอธิบายอย่างง่ายคือเมื่อวางวัตถุแรกลงไปด้วยน้ำหนักของมันจะทำให้ผ้าหย่อนลง ไม่ราบเรียบเช่นเดิม ดังนั้น วัตถุเล็กที่วางตามมาจึงไหลไปตามระดับการหย่อนของผ้าเข้าหาวัตถุแรก ที่คือแบบจำลองแบบสองมิติ แต่ในความเป็นจริงจักรวาลที่เราสามารถสังเกตได้มีถึงสามมิติ นั่นแปลว่า ผ้าที่หย่อนลงเนื่องจากมวล ไม่ได้มีแค่ทิศทางราบ แต่กลับกลายเป็นว่าแรงทั้งหมดมันมาจากทั่วทุกทิศทางโดยมีวัตถุเป็นจุดศูนย์กลาง อาจยากที่จะจินตนาการ แต่ได้โปรดอ่านต่อไปอย่าเพิ่งหยุด ในตอนเย็นของวันหนึ่งผมทำการหุงข้าวสำหรับอาหารเย็นผีมือตนเอง แล้วได้ใช้นิ้วชี้จิ้มเข้าไปในข้าวที่ถูกท่วมไปด้วยน้ำ ปรากฏว่าพื้นที่ของข้าวถูกขยายออก เนื่องจากนิ้วของผมเข้าไปแทนที่ ผมจึงได้เอะใจอะไรบางอย่าง คำถามที่จู่ๆก็โผล่ขึ้นมาคือ ถ้าหากเม็ดข้าวคือพิกัดต่างในพื้นที่ว่างที่เรามองไม่เห็น เมื่อมีวัถุบางอย่างเข้าไปแทนที่พื้นที่ว่าง(ซึ่งไม่ว่างตามทฤษฎี)ช่องว่างนั้นจะไม่หายไป แต่ถูกดันออกรอบข้างโดยวัตถุที่มีมวลดังกล่าว ผมกำลังพูดถึงเรื่องของดาวมวลมากๆ เช่นดาวพฤหัสบดี ที่เข้าไปแทนที่พิกัด หรือจุดที่มันเคยเป็นช่องว่างและได้ดันช่องว่าง และพิกัดเหล่านั้นให้อยู่กันอย่างถี่ๆ รอบนอก หากเป็นไปตามที่คิด พิกัดเหล่านั้นจะเกาะตัวอยู่เป็นกระจุก รอบๆดาวดวงนั้น โดยที่ พิกัดหรือจุดอื่นที่ที่อยู่ห่างออกไปยังคง มีระยะห่างเป็นปกติ ในทางกลับกัน ดาวที่มีมวลมากๆ แรงดึงดูดก็ยิ่งมีมากเช่นกัน(จริงหรือ?) ผมเชื่อว่า แรงดึงดูดและมวลนั้นแปลผกผันกันโดยมีทั้งความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง เมื่อพิกัดอวกาศถึงแทนที่และถูกดันออกด้วยมวลของสสาร มันจะทำให้พิกัดหรือจุดโดยรอบมีความถี่มากยิ่งขึ้น ผมกำลังพูดถึงเรื่องของการเคลื่อนที่ของแสง โดยผมเชื่อว่า แสงนั้น ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่แสงนั้น เดินทางเป็นเส้นตรงตามจุดพิกัด ดังนั้น หากจุดพิกัดเปลี่ยนไป แสงเองก็บิดเบี้ยวไปตามพิกัดเช่นเดียวกัน แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น**ไม่ชัดเจน** หากวัตถุนั้นมีมวลที่ไม่มากพอ เรื่องต่อมา คือเรื่องของแรงดึงดูด จากที่เคยกล่าวไว้ แรงดึงดูดในความคิดของผมจะแปลผกผันกับมวล เมื่อมวลดันพิกัดออก แรงดึงดูดจะเคลื่อนที่ตรงกันข้าม คือดึงพิกัดแบบที่สองเข้ามาใจกลางของวัตถุแทน ซึ่งตรงข้ามกับพิกัดอวกาศของมวล แน่นอนว่าผมกำลังพูดถึงพิกัดคนละมิติซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกันแม้แต่น้อย ผมจะขอกำหนดให้พิกัดที่ถูกดันออกเป็น พิกัด1 และพิกัดที่ถูกดูดเข้สเป็น พิกัด2 เรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ผมจะเล่าล่ะ? กล่าวถึงแสงที่ผมอ้างว่ามันเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตามจุดพิกัด1 ดังนั้นหากพิกัด1บิดเบี้ยว แสงก็จะบิดเบี้ยวเช่นเดียวกัน และขออ้างไปถึงทฤษฎีของไอสไตน์ที่บอกว่า เวลา สามารถยืดหดได้ มาใช้อธิบายพิกัดดังกล่าว ดังนี้ หากความเร็วแสงและเวลาที่แสงเคลื่อนผ่านพิกัด คือค่าคงที่เสมอ เมื่อพิกัดถูกบังคับให้อยู่ถี่กันเกินไป จะทำให้เวลาเดินช้าลง เพื่อรักษาความเร็วมาตรฐานของแสง เป็นไปตามทฤษฎีของไอสไตน์
ส่วนที่3 หลุมดำที่ไม่ใช่หลุม
ตามที่ได้บอกไปคำว่าหลุมดำใช้อธิบายจักรวาลแบบ 2 มิติ แต่ในความเป็นจริงตาของเรามองจักรวาลเป็นแบบ 3 มิติ ดังนั้น หลุมซึ่งเป็นรูปวงกลม จะไม่ใช่หลุมอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นรูปทรงกลมแทน และที่ใช้คำว่าหลุม เนื่องจากเป็นการอธิบายว่า ถูกอย่างจะตกลงไปในสิ่งนั้น ซึ่งตอนนี้ผมจะขอให้อธิบายรูปร่างของหลุมดำว่า ทรงกลมที่ดึงดูดเกือบทุกอย่างเข้าไปแทน (บางท่านบอกว่าจะเป็นทรงกลมได้ไง ในเมื่อไม่มีใครสามารถมองเห็นหลุมดำ เพราะมันมีแค่แรงโน้มถ่วงมหาศาล แต่ใจเย็นก่อน) ในสารคดี นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งค้นพบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่เคลื่อนที่แบบแปลกๆ คล้ายระบบดาวฤกษ์คู่ แต่ทว่ากลับพบแค่เพียงเจ้าดาวประหลาดนั่น ส่วนสิ่งที่ควรจะเป็นดาวฤกษ์อีกดวงนั้น ไม่สามารถมองเห็นได้ ใช่ครับ นั่นคือเรื่องของหลุมดำ ก่อนอื่นจะขอเล่าที่มาของมันแบบคร่าวๆ ซึ่งผู้ที่มีความรู้อาจบอกที่มาของมันได้มากกว่านี้ แต่จะขอเล่าตามความรู้อันน้อยนิดของผมแทน หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ส่วนที่4 กำเนิดลูกบอลแรงโน้มถ่วงอนันต์
ข้อมูลปัจจุบันระบุว่าอีกสาเหตุของหลุมดำคือดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่เมื่อถึงจุดสุดท้ายของอายุไข มันจะระเบิดออกจนกลายเป็นซูเปอร์โนวา แน่นอนว่า ระเบิดจริง แต่แรงโน้มถ่วงนั้นไม่หายไปไหน หากมีมวล(หรือแรงโน้มถ่วง ไม่แน่ใจ) มากพอ มันจะค่อยๆยุบเข้าจนกลายเป็นดาวนิวตรอน ซึ่งเป็นกลุ่มสสารที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาลระดับน้องๆหลุมดำเลยทีเดียว วิวัฒนาการต่อไปของมันคือ ดาวนิวตรอนที่ยุบตัวลงไปอีกจนเกิดหลุมดำขึ้นมานั่นเอง (กำเนิดหลุมดำแบบอื่น ผมไม่แน่ใจนัก)
ส่วนที่5 จุดดำเนิดตามแนวคิดของผม
ก่อนที่หลุมดำจะเกิดขึ้นมา เกิดอะไรขึ้นในเสี้ยววินาทีนั้นกันแน่ ในส่วนตัวของผม แรงดึงดูดมหาศาลจะดึงทุกอย่างเข้าสู่จุดศูนย์กลาง จนเล็กที่สุดจนไม่สามารถเล็กกว่านั้นได้อีก(เล็กที่สุดเกินกว่าที่มนุษย์จะจินตนาการได้) จนในจุดๆหนึ่งที่แรงดึงดูดบีบอัดทุกสิ่งทุกอย่างให้เล็กกว่านั้นไม่ได้อีก จึงได้เกิดปรากฏการณ์ต่อมา ซึ่งผมขอเรียกว่า จักรวาลกลับด้าน นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่จักรวาลเปิดประตูมิติในระดับที่ที่เล็กที่สุดออกมาและดึงทุกสิ่งทุกอย่างไปยังอีกมิติหรือที่เรียกว่า อีกด้านหนึ่งของจักรวาลที่เราไม่รู้จักแทนโดยมีประตูเล็กๆที่ยังคงเปิดไว้ตลอดเวลา นั่นใช้อธิบาย เรื่องที่ว่า หลุมดำยังคงดึงดูดทุกอย่างเข้าไปด้านในโดยที่พื้นที่ของหลุมดำนั้น ไม่มีอะไร แต่ในความเป็นจริงตามแนวคิดของผมคือ มันมี แต่มันเล็กเกิดกว่าที่เราจะสามารถมองเห็นได้ต่างหาก และผมค่อนข้างมั่นใจมากว่า สิ่งที่เล็กที่สุดนั่นจะต้องเป็นรูปทรงกลมแน่นอน ดูจากธรรมชาติของจักรวาลของเรา และแน่นอนว่าสิ่งที่ถูกดูดเข้าไปตามทฤษฎีแล้ว มันจะถูกบีบอัดจนกลายเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดและหายไปในที่สุด หากเป็นเช่นนั้นก็สามารถตอบโจทย์ตามทฤษฎีข้างต้นได้ นั่นคือ สิ่งที่จะผ่านประตูมิติขนาดเล็กนั้นไปได้ ก็จะต้องแปลสภาพให้กลายเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดเช่นเดียวกัน โดยจะขอย้อนความกลับไปที่ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับพิกัด แน่นอนว่าหากจักวาลถูกบิดจนกลายเป็นจักรวาลกลับด้าน ลองคิดว่า หากมีมวล พิกัดจะขยายออก แต่ถ้าหากมวลถูกดึงเข้าจุดศูนย์กลางล่ะ แน่นนอนว่า มันจะหดเข้าและสร้างระยะห่างของพิกัดที่มากกว่าปกติแน่นอน นั่นอธิบาย ปรากฏการณ์ของแสงที่จะไม่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง(จากผู้สังเกตภายนอก) เมื่อเข้าใกล้หลุมดำได้ นำไปสู่คำถามต่อไป แล้วอีกด้านของจักรวาลกลับด้านล่ะ หากมองภาพไม่ออกให้นึกถึง ข ไข่ แบบเขียนรีบๆ จุดตัดนั่นแหละคือ จุดที่เล็กที่สุดที่ผมหมายถึง
ส่วนสุดท้าย บิ๊กแบง
อธิบายว่า ทุกสัพสิ่งระเบิดออกจากจุดที่เล็กที่สุดเพียงจุดเดียว หากเราสามารถนำตัวเราไปยังจักรวาลกลับด้านได้ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า เราจะได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ระเบิดของมาจากจุดที่เล็กที่สุด หรือที่เราเรียกว่า บิ๊กแบงได้อย่างแน่นอน
เสียดายลงรูปไม่เป็น อาจต้องจินตนาการเยอะพอสมควร
สุดท้ายนี้อยากบอกแค่ว่า ทุกอย่างที่เล่ามา อาจจะไม่สามารถอธิบายทุกอย่างออกมาเป็นตัวหนังสือได้ทั้งหมด แต่ทุกอย่างยังคงก้อง และวนเวียนอยู่ในหัวของผมตลอดเวลา และก่อนจากกันไปนี้ อยากบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างคือเรื่องเพ้อฝันของผมเอง อิอิ
ขอคำแนะนำเกี่ยวกับทฤษฎีหลุมดำของผมเอง
ส่วนที่ 1 แนวคิดเรื่องของมิติ
ดังที่เราเคยเรียนมา มิติปัจจุบันนั้นปรากฏออกมาในเชิงฟิสิกส์ถึง 4 มิติคือ เส้น รูปร่าง รูปทรง และเวลา ดังที่ไอสไตน์ค้นพบมานั้น โดยที่นักวิทยาศาสตร์ยังอ้างว่า ในความเป็นจริงจักรวาลยังมีมิติที่มากกว่านั้นอีก แต่มนุษย์ยังไม่สามารถค้นพบได้ อาจเนื่องจากเรามักจะใช้ประสาทสัมผัสแบบ 3 มิติของเราเป็นตัวตัดสิน ก่อนจะไม่ต่อต้องบอกก่อนว่า มิติที่ผมกล่าวถึงไม่ใช่โลกอีกใบ หรือที่เรียกว่าโลกต่างมิติ แต่เป็นมิติในอีกแบบหนึ่งโดยสิ้นเชิง เป็นมิติที่สามารถคำนวนได้ในทางคณิตศาสตร์
ส่วนที่ 2 แนวคิดเรื่องของพื้นที่ว่างในอวกาศ
เราต่างก็รู้ว่าอวกาศนั้นเต็มไปด้วยพื้นที่ว่างมากมาย วัตถุในอวกาศนั้นอยู่ห่างกันมากเกินกว่าที่เราจะจินตนาการออกได้ และมีเพียงตัวเลขเท่านั้น ที่บรรยายระยะทางที่แท้จริงของมันออกมาได้ แต่ในส่วนความคิดของผม มันว่างจริงหรือ บางท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องของแรงโน้มถ่วงที่มีพลังในการทำให้อวกาศบิดเบี้ยว โดยมีตัวอย่างง่ายๆจากการดึงผ้าแล้วหย่อนวัตถุหนักลงไป แล้วนำวัตถุอันที่เล็กกว่า หย่อนตามลงไป ปรากฏว่า วัตถุที่เล็กกว่าจะวิ่งเข้าหาวัตถุที่ใหญ่กว่าเสมอ เป็นไปตามกฏการเคลื่อนที่ คำอธิบายอย่างง่ายคือเมื่อวางวัตถุแรกลงไปด้วยน้ำหนักของมันจะทำให้ผ้าหย่อนลง ไม่ราบเรียบเช่นเดิม ดังนั้น วัตถุเล็กที่วางตามมาจึงไหลไปตามระดับการหย่อนของผ้าเข้าหาวัตถุแรก ที่คือแบบจำลองแบบสองมิติ แต่ในความเป็นจริงจักรวาลที่เราสามารถสังเกตได้มีถึงสามมิติ นั่นแปลว่า ผ้าที่หย่อนลงเนื่องจากมวล ไม่ได้มีแค่ทิศทางราบ แต่กลับกลายเป็นว่าแรงทั้งหมดมันมาจากทั่วทุกทิศทางโดยมีวัตถุเป็นจุดศูนย์กลาง อาจยากที่จะจินตนาการ แต่ได้โปรดอ่านต่อไปอย่าเพิ่งหยุด ในตอนเย็นของวันหนึ่งผมทำการหุงข้าวสำหรับอาหารเย็นผีมือตนเอง แล้วได้ใช้นิ้วชี้จิ้มเข้าไปในข้าวที่ถูกท่วมไปด้วยน้ำ ปรากฏว่าพื้นที่ของข้าวถูกขยายออก เนื่องจากนิ้วของผมเข้าไปแทนที่ ผมจึงได้เอะใจอะไรบางอย่าง คำถามที่จู่ๆก็โผล่ขึ้นมาคือ ถ้าหากเม็ดข้าวคือพิกัดต่างในพื้นที่ว่างที่เรามองไม่เห็น เมื่อมีวัถุบางอย่างเข้าไปแทนที่พื้นที่ว่าง(ซึ่งไม่ว่างตามทฤษฎี)ช่องว่างนั้นจะไม่หายไป แต่ถูกดันออกรอบข้างโดยวัตถุที่มีมวลดังกล่าว ผมกำลังพูดถึงเรื่องของดาวมวลมากๆ เช่นดาวพฤหัสบดี ที่เข้าไปแทนที่พิกัด หรือจุดที่มันเคยเป็นช่องว่างและได้ดันช่องว่าง และพิกัดเหล่านั้นให้อยู่กันอย่างถี่ๆ รอบนอก หากเป็นไปตามที่คิด พิกัดเหล่านั้นจะเกาะตัวอยู่เป็นกระจุก รอบๆดาวดวงนั้น โดยที่ พิกัดหรือจุดอื่นที่ที่อยู่ห่างออกไปยังคง มีระยะห่างเป็นปกติ ในทางกลับกัน ดาวที่มีมวลมากๆ แรงดึงดูดก็ยิ่งมีมากเช่นกัน(จริงหรือ?) ผมเชื่อว่า แรงดึงดูดและมวลนั้นแปลผกผันกันโดยมีทั้งความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง เมื่อพิกัดอวกาศถึงแทนที่และถูกดันออกด้วยมวลของสสาร มันจะทำให้พิกัดหรือจุดโดยรอบมีความถี่มากยิ่งขึ้น ผมกำลังพูดถึงเรื่องของการเคลื่อนที่ของแสง โดยผมเชื่อว่า แสงนั้น ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่แสงนั้น เดินทางเป็นเส้นตรงตามจุดพิกัด ดังนั้น หากจุดพิกัดเปลี่ยนไป แสงเองก็บิดเบี้ยวไปตามพิกัดเช่นเดียวกัน แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น**ไม่ชัดเจน** หากวัตถุนั้นมีมวลที่ไม่มากพอ เรื่องต่อมา คือเรื่องของแรงดึงดูด จากที่เคยกล่าวไว้ แรงดึงดูดในความคิดของผมจะแปลผกผันกับมวล เมื่อมวลดันพิกัดออก แรงดึงดูดจะเคลื่อนที่ตรงกันข้าม คือดึงพิกัดแบบที่สองเข้ามาใจกลางของวัตถุแทน ซึ่งตรงข้ามกับพิกัดอวกาศของมวล แน่นอนว่าผมกำลังพูดถึงพิกัดคนละมิติซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกันแม้แต่น้อย ผมจะขอกำหนดให้พิกัดที่ถูกดันออกเป็น พิกัด1 และพิกัดที่ถูกดูดเข้สเป็น พิกัด2 เรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่ผมจะเล่าล่ะ? กล่าวถึงแสงที่ผมอ้างว่ามันเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตามจุดพิกัด1 ดังนั้นหากพิกัด1บิดเบี้ยว แสงก็จะบิดเบี้ยวเช่นเดียวกัน และขออ้างไปถึงทฤษฎีของไอสไตน์ที่บอกว่า เวลา สามารถยืดหดได้ มาใช้อธิบายพิกัดดังกล่าว ดังนี้ หากความเร็วแสงและเวลาที่แสงเคลื่อนผ่านพิกัด คือค่าคงที่เสมอ เมื่อพิกัดถูกบังคับให้อยู่ถี่กันเกินไป จะทำให้เวลาเดินช้าลง เพื่อรักษาความเร็วมาตรฐานของแสง เป็นไปตามทฤษฎีของไอสไตน์
ส่วนที่3 หลุมดำที่ไม่ใช่หลุม
ตามที่ได้บอกไปคำว่าหลุมดำใช้อธิบายจักรวาลแบบ 2 มิติ แต่ในความเป็นจริงตาของเรามองจักรวาลเป็นแบบ 3 มิติ ดังนั้น หลุมซึ่งเป็นรูปวงกลม จะไม่ใช่หลุมอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นรูปทรงกลมแทน และที่ใช้คำว่าหลุม เนื่องจากเป็นการอธิบายว่า ถูกอย่างจะตกลงไปในสิ่งนั้น ซึ่งตอนนี้ผมจะขอให้อธิบายรูปร่างของหลุมดำว่า ทรงกลมที่ดึงดูดเกือบทุกอย่างเข้าไปแทน (บางท่านบอกว่าจะเป็นทรงกลมได้ไง ในเมื่อไม่มีใครสามารถมองเห็นหลุมดำ เพราะมันมีแค่แรงโน้มถ่วงมหาศาล แต่ใจเย็นก่อน) ในสารคดี นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งค้นพบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่เคลื่อนที่แบบแปลกๆ คล้ายระบบดาวฤกษ์คู่ แต่ทว่ากลับพบแค่เพียงเจ้าดาวประหลาดนั่น ส่วนสิ่งที่ควรจะเป็นดาวฤกษ์อีกดวงนั้น ไม่สามารถมองเห็นได้ ใช่ครับ นั่นคือเรื่องของหลุมดำ ก่อนอื่นจะขอเล่าที่มาของมันแบบคร่าวๆ ซึ่งผู้ที่มีความรู้อาจบอกที่มาของมันได้มากกว่านี้ แต่จะขอเล่าตามความรู้อันน้อยนิดของผมแทน หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ส่วนที่4 กำเนิดลูกบอลแรงโน้มถ่วงอนันต์
ข้อมูลปัจจุบันระบุว่าอีกสาเหตุของหลุมดำคือดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่เมื่อถึงจุดสุดท้ายของอายุไข มันจะระเบิดออกจนกลายเป็นซูเปอร์โนวา แน่นอนว่า ระเบิดจริง แต่แรงโน้มถ่วงนั้นไม่หายไปไหน หากมีมวล(หรือแรงโน้มถ่วง ไม่แน่ใจ) มากพอ มันจะค่อยๆยุบเข้าจนกลายเป็นดาวนิวตรอน ซึ่งเป็นกลุ่มสสารที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาลระดับน้องๆหลุมดำเลยทีเดียว วิวัฒนาการต่อไปของมันคือ ดาวนิวตรอนที่ยุบตัวลงไปอีกจนเกิดหลุมดำขึ้นมานั่นเอง (กำเนิดหลุมดำแบบอื่น ผมไม่แน่ใจนัก)
ส่วนที่5 จุดดำเนิดตามแนวคิดของผม
ก่อนที่หลุมดำจะเกิดขึ้นมา เกิดอะไรขึ้นในเสี้ยววินาทีนั้นกันแน่ ในส่วนตัวของผม แรงดึงดูดมหาศาลจะดึงทุกอย่างเข้าสู่จุดศูนย์กลาง จนเล็กที่สุดจนไม่สามารถเล็กกว่านั้นได้อีก(เล็กที่สุดเกินกว่าที่มนุษย์จะจินตนาการได้) จนในจุดๆหนึ่งที่แรงดึงดูดบีบอัดทุกสิ่งทุกอย่างให้เล็กกว่านั้นไม่ได้อีก จึงได้เกิดปรากฏการณ์ต่อมา ซึ่งผมขอเรียกว่า จักรวาลกลับด้าน นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่จักรวาลเปิดประตูมิติในระดับที่ที่เล็กที่สุดออกมาและดึงทุกสิ่งทุกอย่างไปยังอีกมิติหรือที่เรียกว่า อีกด้านหนึ่งของจักรวาลที่เราไม่รู้จักแทนโดยมีประตูเล็กๆที่ยังคงเปิดไว้ตลอดเวลา นั่นใช้อธิบาย เรื่องที่ว่า หลุมดำยังคงดึงดูดทุกอย่างเข้าไปด้านในโดยที่พื้นที่ของหลุมดำนั้น ไม่มีอะไร แต่ในความเป็นจริงตามแนวคิดของผมคือ มันมี แต่มันเล็กเกิดกว่าที่เราจะสามารถมองเห็นได้ต่างหาก และผมค่อนข้างมั่นใจมากว่า สิ่งที่เล็กที่สุดนั่นจะต้องเป็นรูปทรงกลมแน่นอน ดูจากธรรมชาติของจักรวาลของเรา และแน่นอนว่าสิ่งที่ถูกดูดเข้าไปตามทฤษฎีแล้ว มันจะถูกบีบอัดจนกลายเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดและหายไปในที่สุด หากเป็นเช่นนั้นก็สามารถตอบโจทย์ตามทฤษฎีข้างต้นได้ นั่นคือ สิ่งที่จะผ่านประตูมิติขนาดเล็กนั้นไปได้ ก็จะต้องแปลสภาพให้กลายเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดเช่นเดียวกัน โดยจะขอย้อนความกลับไปที่ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับพิกัด แน่นอนว่าหากจักวาลถูกบิดจนกลายเป็นจักรวาลกลับด้าน ลองคิดว่า หากมีมวล พิกัดจะขยายออก แต่ถ้าหากมวลถูกดึงเข้าจุดศูนย์กลางล่ะ แน่นนอนว่า มันจะหดเข้าและสร้างระยะห่างของพิกัดที่มากกว่าปกติแน่นอน นั่นอธิบาย ปรากฏการณ์ของแสงที่จะไม่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง(จากผู้สังเกตภายนอก) เมื่อเข้าใกล้หลุมดำได้ นำไปสู่คำถามต่อไป แล้วอีกด้านของจักรวาลกลับด้านล่ะ หากมองภาพไม่ออกให้นึกถึง ข ไข่ แบบเขียนรีบๆ จุดตัดนั่นแหละคือ จุดที่เล็กที่สุดที่ผมหมายถึง
ส่วนสุดท้าย บิ๊กแบง
อธิบายว่า ทุกสัพสิ่งระเบิดออกจากจุดที่เล็กที่สุดเพียงจุดเดียว หากเราสามารถนำตัวเราไปยังจักรวาลกลับด้านได้ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า เราจะได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ระเบิดของมาจากจุดที่เล็กที่สุด หรือที่เราเรียกว่า บิ๊กแบงได้อย่างแน่นอน
เสียดายลงรูปไม่เป็น อาจต้องจินตนาการเยอะพอสมควร
สุดท้ายนี้อยากบอกแค่ว่า ทุกอย่างที่เล่ามา อาจจะไม่สามารถอธิบายทุกอย่างออกมาเป็นตัวหนังสือได้ทั้งหมด แต่ทุกอย่างยังคงก้อง และวนเวียนอยู่ในหัวของผมตลอดเวลา และก่อนจากกันไปนี้ อยากบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างคือเรื่องเพ้อฝันของผมเอง อิอิ