ตลอดระยะเวลากว่า 56 ปีของการฟาดแข้งในศึกบุนเดสลีกา มีสโมสรหลายสิบสำนักและนักเตะหลายพันคนโลดแล่นอยู่บนสังเวียนแห่งนี้ รวมทั้งมีสถิติที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่และถูกทำลายอยู่เสมอ แต่รู้ไหมว่ายังมีเรื่องราวแปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์ใจอีกมากมายที่เกิดขึ้นในลีกสูงสุดของเยอรมนีแห่งนี้
ไหนใครบ้างที่คิดว่าบาเยิร์น มิวนิค คือทีมที่ครองแชมป์บุนเดสลีกามายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บ้าง หรือมีใครบ้างที่คิดว่าโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือ
ทีมที่มีจำนวนแฟนบอลเข้าชมในสนามสูงสุดตลอดกาล ถ้าคุณคือคนที่คิดแบบนี้ ขอเชิญมาปรับทัศนคติด้วยการอ่านต่อให้จบได้เลย
- สโมสรแรกที่คว้าแชมป์บุนเดสลีกา
แม้บาเยิร์น มิวนิคคือสโมสรที่คว้าถาดแชมป์ Meisterschale (ไมสเตอร์ชาเล่อ) ได้ถึง 29 สมัย แต่กว่าพวกเขาจะคว้าแชมป์แรกได้นั้นก็ปาเข้าไปในฤดูกาลที่ 6 เข้าไปแล้ว และพวกเขายังไม่ใช่ทีมแรกจากเมืองมิวนิคที่ได้สัมผัสบัลลังก์แชมป์อีกด้วย โดยตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลบุนเดสลีกาขึ้นเมื่อปี 1963 นั้น แต่ละเมืองสามารถส่งทีมตัวแทนได้เพียงเมืองละ 1 ทีมเท่านั้น ซึ่งสโมสร 1860 มิวนิค ได้เป็นตัวแทนของเมืองหลังจากคว้าแชมป์โอเบอร์ลีกาภาคใต้ได้ พวกเขาสามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้สำเร็จในฤดูกาล 1965/66 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกที่บาเยิร์นและโบรุสเซีย เมินเชนกลัดบัคได้สิทธิ์เข้ามาเล่นในลีกสูงสุดอีกด้วย
สโมสรแรกที่คว้าแชมป์บุนเดสลีกาได้คือโคโลญจน์ ตามด้วยแวร์เดอร์ เบรเมน 1860 มิวนิค ไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ และเนิร์นแบร์ก นอกจากนี้บาเยิร์นยังไม่ใช่ทีมแรกที่ป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ (คว้าแชมป์ติดต่อกัน) แต่เป็นกลัดบัคที่สามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาล 1969/70 และฤดูกาล 1970/71
- บาเยิร์นคือเจ้าแห่งบัลลังก์แชมป์ แต่ยุคของเสือใต้นั้นยังสั้นนัก
บาเยิร์นคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของเยอรมนีได้ทั้งหมด 29 สมัย (27 สมัยหากนับเพียงยุคที่กลายเป็นบุนเดสลีกาแล้ว) แล้วทีมที่คว้าแชมป์บุนเดสลีกาสูงสุดรองลงมาล่ะ? เดาไม่ยากเท่าไหร่ ดอร์ทมุนด์และกลัดบัคนั่นเอง โดยทั้งคู่ซิวถาดไมสเตอร์ชาลเล่อได้เท่ากันที่ 5 สมัย
แต่หากนับรวมแชมป์ลีกเยอรมันทั้งหมดก่อนที่จะมาเป็นบุนเดสลีกาด้วยแล้ว พูดชื่อทีมไปหลายคนคงจะงงไปตามๆ กัน เพราะนับแต่จุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1924 ถึง 1986 รวมระยะเวลากว่า 60 ปี สโมสรเนิร์นแบร์กครองตำแหน่งแชมป์ลีกเยอรมนีได้สูงสุดในประวัติศาสตร์รวม 9 สมัย จากนั้นในฤดูกาล 1986/87 บาเยิร์นก็ทำลายสถิตินั้นลงได้หลังคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 10 ได้สำเร็จ แต่หากรวมทั้งสองยุคแล้วบาเยิร์นครองบัลลังก์แชมป์สูงสุดมากว่า 33 ปี ซึ่งถือเป็นระยะเวลาเพียงครึ่งหนึ่งของที่เนิร์นแบร์กทำได้เท่านั้นเอง
- จำนวนผู้ชมในสนามสูงสุดล่ะ?
อย่างที่รู้กันว่าสนามซิกนัล อิดูน่าพาร์คของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือสนามที่มีจำนวนผู้ชมเฉลี่ยสูงสุดในยุโรป ด้วยความจุถึง 81,365 ที่นั่ง แต่ทว่านี่ยังไม่ใช่สนามที่ทำสถิติมีผู้เข้าชมสูงสุดใน 1 เกมบุนเดสลีกานะ
เกมที่ทำสถิติมีผู้เข้าชมในสนามสูงสุดในประวัติศาสตร์คือเกมบุนเดสลีการะหว่างแฮร์ธ่า เบอร์ลิน กับ โคโลญจน์ ที่สนามโอลิมเพียชตาดิโอน (โอลิมปิค สเตเดี้ยม) เมื่อเดือนกันยายน 1969 มีผู้ชมถึง 88,075 คน ซึ่งสนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 100,000 คน สนามที่ใหญ่รองลงมาในตอนนั้นได้แก่สนามของสโมสรแฟรงค์เฟิร์ต (87,000 ที่นั่ง), ฮันโนเวอร์ (86,000 ที่นั่ง), ฮัมบวร์ก (80,000 ที่นั่ง) และโคโลญจน์ (76,000 ที่นั่ง) ในขณะที่สองสโมสรจากมิวนิคเล่นในสนามกรืนวัลเดอร์ ชตาดิโอน ที่มีความจุเพียง 44,300 ที่นั่ง ส่วนดอร์ทมุนด์เล่นในสนาม ชตาดิโอน โรเท่อ แอร์เดอ ด้วยความจุเพียง 30,000 ที่นั่ง และด้วยมาตรฐานของสนามแข่งขันในยุคปัจจุบัน ก็คงเป็นการยากที่สถิติของสนามแห่งกรุงเบอร์ลินจะถูกทำลายได้
- นักเตะที่ลงเล่นสูงสุดในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกา
โอลิเวอร์ คาห์นนายทวารตำนานเสือใต้และทีมอินทรีเหล็กติดโผท็อปทรีด้วยสถิติลงเล่น 557 นัด เคลาส์ ฟิชเชอร์ดาวยิงแห่งสโมสร 1860 มิวนิค ชาลเก้ โคโลญจน์และโบคุ่ม ก็ยังทำสถิติเพียง 535 นัด เจ้าของสถิติสาขานี้นอกจากคนเยอรมันแล้วก็คงไม่มีใครรู้จักแน่ๆ ซึ่งก็คือ คาร์ล-ไฮนซ์ “ชาร์ลี” เคือร์เบล กองหลังจากสโมสรแฟรงค์เฟิร์ต
เคือร์เบลลงประเดิมสนามในบุนเดสลีกาด้วยวัยเพียง 17 ปีและแขวนสตั๊ดในวัย 36 ปี โดยมีแชมป์เดเอฟเบ โพคาลได้ 4 สมัย และแชมป์ยูเอฟ่าคัพปี 1980 เป็นเกียรติประวัติตลอดระยะเวลาที่เล่นให้แฟรงค์เฟิร์ต เขาไม่เคยปราชัยในนัดชิงชนะเลิศแถมยังไม่เคยตกชั้น เคือร์เบลได้กลับมาคุมทีมอยู่พักหนึ่งก่อนขึ้นมานั่งเป็นผู้อำนวยการสโมสรในทุกวันนี้
- แข้งอเมริกันผู้บุกเบิก
ลองนึกชื่อนักเตะอเมริกันที่ค้าแข้งในบุนเดสลีกาเล่นๆ ดูสิ หลายคนอาจจะเอ่ยชื่อ คริสเตียน พูลิซิช มิดฟิลด์ผู้เบิกทางให้แข้งดาวรุ่งเลือดมะกันหลายคนเดินทางมาค้าแข้งในลีกแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เวสตัน แมคเคนนี, ไทเลอร์ อดัมส์ หรือ จอช ซาร์เจนท์ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่านักเตะอเมริกันคนแรกที่ย้ายเข้ามาเล่นในบุนเดสลีกาคือ แอนเดรียส “แอนดี้” เมท ศูนย์หน้าที่เริ่มค้าแข้งกับฮัมบวร์กในฤดูกาล 1964/65 แม้จะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมไม่เบา แต่ก็ไม่สามารถเบียดแย่งซีนจาก อูเวอ เซเลอร์ ตำนานศูนย์หน้าอันดับหนึ่งของฮัมบวร์กได้ เขาจึงย้ายกลับไปที่นิวยอร์กในปีต่อมา
- เทรนเนอร์ที่อายุน้อยที่สุด
ฮั่นแน่... นึกถึงชื่อ ยูเลียน นาเกลส์มันน์ กันอยู่ล่ะสิ! จริงๆ แล้วก็ถูกครึ่งนึง นาเกลส์มันน์ทำสถิติเป็นเทรนเนอร์ที่อายุน้อยที่สุดเมื่อเข้ามาคุมทีมฮอฟเฟนไฮม์ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 ด้วยวัยเพียง 28 ปี 6 เดือน 21 วัน แต่รู้ไหมว่าเขาไม่ใช่คนที่อายุน้อยที่สุดที่คุมทีมลงเล่นในเกมบุนเดสลีกา เพราะเจ้าของสถิติคือ แบนด์ ชเตอเบอร์ เทรนเนอร์จำเป็นที่ต้องรับหน้าที่คุมทีมซาร์บรึคเคนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในฤดูกาล 1976/77 ด้วยวัย 24 ปี 1 เดือน 17 วันเท่านั้นเอง ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็ได้โอกาสคุมทีมชาติเยอรมนีรุ่นยู-16 อีกด้วย
- นักเตะชาติไหนเล่นในบุนเดสลีกามากที่สุด
คงไม่ต้องให้เดาว่านักเตะชาวเยอรมันเล่นอยู่ในลีกนี้มากที่สุด แต่อันดับที่สองล่ะเป็นชาติไหน? ใช่ชาติเพื่อนบ้านอย่างออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์กหรือเนเธอร์แลนด์รึเปล่านะ? เปล่าเลย... ชาติที่ว่านี้ไม่ใช่ประเทศเพื่อนบ้าน แถมยังอยู่คนละทวีปเลยด้วยซ้ำ!
นักเตะจากแดนแซมบ้า 159 คนพากันข้ามทวีปมาเล่นในบุนเดสลีกา ถือเป็นอันดับหนึ่งของชาติที่เข้ามาค้าแข้งในเยอรมนีสูงสุด ตามด้วยเดนมาร์ก (129), ออสเตรีย (119), โครเอเชีย (118) และโปแลนด์ (109) โดยมีนักเตะจากฝรั่งเศสเพียง 72 คน สเปน 45 คน อิตาลี 26 คน และอังกฤษเพียง 16 คนเท่านั้น นักเตะบราซิลที่มาค้าแข้งในบุนเดสลีกาเริ่มต้นจาก เซเซ่ ศูนย์หน้าของโคโลญจน์ที่มีอันต้องย้ายกลับหลังตรวจพบว่าเป็นโรคแพ้หิมะ! ตามด้วยแข้งชื่อดังหลายคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โจลินตัน เวนเดล มัทเธียส คุนญ่า ส่วนที่ดังที่สุดน่าจะเป็นจิโอวานี เอลแบร์ อดีตดาวยิงสตุทท์การ์ทและบาเยิร์นผู้คว้าแชมป์ลีก 4 สมัย แชมป์เดเอฟเบ โพคาล 4 สมัย ยูเอฟ่า แชมเปียนส์ลีก 1 สมัย และยังเป็นดาวซัลโวในฤดูกาล 2002/03 อีกด้วย
- เสือเฒ่าแห่งเบรเมน
ศูนย์หน้าเบรเมนส่วนใหญ่แล้วก็เหมือนกับไวน์ ยิ่งแก่ยิ่งเก่ง มีดาวยิงไม่น้อยกว่า 3 คนที่ติดอันดับผู้ทำประตูที่มีอายุมากที่สุด นำทัพด้วยเคลาดิโอ ปิซาร์โร ดาวยิงชาวเปรูที่ทำสถิติเป็นนักเตะอายุมากที่สุดที่ทำประตูได้ในบุนเดสลีกาด้วยวัย 40 ปี 4 เดือน 13 วัน เขายิงประตูในบุนเดสลีกาได้ในทุกๆ ฤดูกาลตั้งแต่ปี 1999 และครองบัลลังก์ดาวยิงต่างชาติสูงสุดมาตลอด จนกระทั่งถูกโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้แซงหน้าได้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง
อดีตเจ้าของสถิตินี้คือ เมียร์โก โวทาวา เขาทำประตูในบุนเดสลีกาเมื่อปี 1996 ด้วยวัย 40 ปี 3 เดือน 30 วัน ปัจจุบันผันตัวมาเป็นผู้ช่วยโค้ชทีมสำรองของเบรเมน
- six-pack ของ มุลเลอร์
เลวานดอฟสกี้ และ ลูก้า โยวิช ต่างก็สร้างความฮือฮาในวงการลูกหนังหลังจากทำผลงานยิง 5 ประตูได้ในเกมเดียว โดยเฉพาะ 5 ประตูของเลวานดอฟสดี้ดันเกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียง 9 นาทีเท่านั้น! อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเตะอีกหลายคนที่ทำ 5 ประตูได้ในเกมเดียว เช่น บวร์กสมุลเลอร์ที่ยิงให้ดอร์ทมุนด์ ยุปป์ ไฮน์เคสที่ยิงให้กลัดบัค และ เจอร์เก้น คลินส์มันน์ที่ยิงให้ชตุทท์การ์ท ส่วนดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของบุนเดสลีกาอย่าง แกร์ด มุลเลอร์ จากค่ายบาเยิร์น มิวนิคนั้นเคยทำได้สูงสุดที่ 4 ประตู
มีนักเตะเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกาที่สามารถยิงได้ถึง 6 ประตูในเกมเดียว เขาคนนั้นก็คือ ดีเทอร์ มุลเลอร์ ศูนย์หน้าแห่งทีมโคโลญจน์ผู้ซัดสองแฮตทริกพาทีมแพะบ้าเอาชนะเบรเมนไปแบบท่วมท้น 7-2 ประตูเมื่อเดือนสิงหาคมปี 1977 โดยที่สี่จากหกประตูมาจากลูกโหม่ง และที่น่าสนใจเข้าไปอีกก็คือ หลังจากยิงดับเบิ้ลแฮตทริกไปแล้ว ยังเหลือเวลาการแข่งขันอีก 4 นาทีและเขาก็เกือบยิงได้อีก 2 ลูก! น่าเสียดายที่ไม่มีคลิปการแข่งขันในนัดนั้นให้ดูแล้ว อย่างไรก็ดี สถิติของมุลเลอร์นั้นยังคงอยู่มายาวนานกว่า 40 ปีแล้ว
credit : www.siamsport.co.th
เรื่องน่าสนใจในบุนเดสลีกาที่คุณอาจไม่เคยรู้
ไหนใครบ้างที่คิดว่าบาเยิร์น มิวนิค คือทีมที่ครองแชมป์บุนเดสลีกามายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บ้าง หรือมีใครบ้างที่คิดว่าโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือ
ทีมที่มีจำนวนแฟนบอลเข้าชมในสนามสูงสุดตลอดกาล ถ้าคุณคือคนที่คิดแบบนี้ ขอเชิญมาปรับทัศนคติด้วยการอ่านต่อให้จบได้เลย
- สโมสรแรกที่คว้าแชมป์บุนเดสลีกา
แม้บาเยิร์น มิวนิคคือสโมสรที่คว้าถาดแชมป์ Meisterschale (ไมสเตอร์ชาเล่อ) ได้ถึง 29 สมัย แต่กว่าพวกเขาจะคว้าแชมป์แรกได้นั้นก็ปาเข้าไปในฤดูกาลที่ 6 เข้าไปแล้ว และพวกเขายังไม่ใช่ทีมแรกจากเมืองมิวนิคที่ได้สัมผัสบัลลังก์แชมป์อีกด้วย โดยตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลบุนเดสลีกาขึ้นเมื่อปี 1963 นั้น แต่ละเมืองสามารถส่งทีมตัวแทนได้เพียงเมืองละ 1 ทีมเท่านั้น ซึ่งสโมสร 1860 มิวนิค ได้เป็นตัวแทนของเมืองหลังจากคว้าแชมป์โอเบอร์ลีกาภาคใต้ได้ พวกเขาสามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้สำเร็จในฤดูกาล 1965/66 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกที่บาเยิร์นและโบรุสเซีย เมินเชนกลัดบัคได้สิทธิ์เข้ามาเล่นในลีกสูงสุดอีกด้วย
สโมสรแรกที่คว้าแชมป์บุนเดสลีกาได้คือโคโลญจน์ ตามด้วยแวร์เดอร์ เบรเมน 1860 มิวนิค ไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ และเนิร์นแบร์ก นอกจากนี้บาเยิร์นยังไม่ใช่ทีมแรกที่ป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ (คว้าแชมป์ติดต่อกัน) แต่เป็นกลัดบัคที่สามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาล 1969/70 และฤดูกาล 1970/71
- บาเยิร์นคือเจ้าแห่งบัลลังก์แชมป์ แต่ยุคของเสือใต้นั้นยังสั้นนัก
บาเยิร์นคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของเยอรมนีได้ทั้งหมด 29 สมัย (27 สมัยหากนับเพียงยุคที่กลายเป็นบุนเดสลีกาแล้ว) แล้วทีมที่คว้าแชมป์บุนเดสลีกาสูงสุดรองลงมาล่ะ? เดาไม่ยากเท่าไหร่ ดอร์ทมุนด์และกลัดบัคนั่นเอง โดยทั้งคู่ซิวถาดไมสเตอร์ชาลเล่อได้เท่ากันที่ 5 สมัย
แต่หากนับรวมแชมป์ลีกเยอรมันทั้งหมดก่อนที่จะมาเป็นบุนเดสลีกาด้วยแล้ว พูดชื่อทีมไปหลายคนคงจะงงไปตามๆ กัน เพราะนับแต่จุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1924 ถึง 1986 รวมระยะเวลากว่า 60 ปี สโมสรเนิร์นแบร์กครองตำแหน่งแชมป์ลีกเยอรมนีได้สูงสุดในประวัติศาสตร์รวม 9 สมัย จากนั้นในฤดูกาล 1986/87 บาเยิร์นก็ทำลายสถิตินั้นลงได้หลังคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 10 ได้สำเร็จ แต่หากรวมทั้งสองยุคแล้วบาเยิร์นครองบัลลังก์แชมป์สูงสุดมากว่า 33 ปี ซึ่งถือเป็นระยะเวลาเพียงครึ่งหนึ่งของที่เนิร์นแบร์กทำได้เท่านั้นเอง
- จำนวนผู้ชมในสนามสูงสุดล่ะ?
อย่างที่รู้กันว่าสนามซิกนัล อิดูน่าพาร์คของโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือสนามที่มีจำนวนผู้ชมเฉลี่ยสูงสุดในยุโรป ด้วยความจุถึง 81,365 ที่นั่ง แต่ทว่านี่ยังไม่ใช่สนามที่ทำสถิติมีผู้เข้าชมสูงสุดใน 1 เกมบุนเดสลีกานะ
เกมที่ทำสถิติมีผู้เข้าชมในสนามสูงสุดในประวัติศาสตร์คือเกมบุนเดสลีการะหว่างแฮร์ธ่า เบอร์ลิน กับ โคโลญจน์ ที่สนามโอลิมเพียชตาดิโอน (โอลิมปิค สเตเดี้ยม) เมื่อเดือนกันยายน 1969 มีผู้ชมถึง 88,075 คน ซึ่งสนามแห่งนี้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 100,000 คน สนามที่ใหญ่รองลงมาในตอนนั้นได้แก่สนามของสโมสรแฟรงค์เฟิร์ต (87,000 ที่นั่ง), ฮันโนเวอร์ (86,000 ที่นั่ง), ฮัมบวร์ก (80,000 ที่นั่ง) และโคโลญจน์ (76,000 ที่นั่ง) ในขณะที่สองสโมสรจากมิวนิคเล่นในสนามกรืนวัลเดอร์ ชตาดิโอน ที่มีความจุเพียง 44,300 ที่นั่ง ส่วนดอร์ทมุนด์เล่นในสนาม ชตาดิโอน โรเท่อ แอร์เดอ ด้วยความจุเพียง 30,000 ที่นั่ง และด้วยมาตรฐานของสนามแข่งขันในยุคปัจจุบัน ก็คงเป็นการยากที่สถิติของสนามแห่งกรุงเบอร์ลินจะถูกทำลายได้
- นักเตะที่ลงเล่นสูงสุดในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกา
โอลิเวอร์ คาห์นนายทวารตำนานเสือใต้และทีมอินทรีเหล็กติดโผท็อปทรีด้วยสถิติลงเล่น 557 นัด เคลาส์ ฟิชเชอร์ดาวยิงแห่งสโมสร 1860 มิวนิค ชาลเก้ โคโลญจน์และโบคุ่ม ก็ยังทำสถิติเพียง 535 นัด เจ้าของสถิติสาขานี้นอกจากคนเยอรมันแล้วก็คงไม่มีใครรู้จักแน่ๆ ซึ่งก็คือ คาร์ล-ไฮนซ์ “ชาร์ลี” เคือร์เบล กองหลังจากสโมสรแฟรงค์เฟิร์ต
เคือร์เบลลงประเดิมสนามในบุนเดสลีกาด้วยวัยเพียง 17 ปีและแขวนสตั๊ดในวัย 36 ปี โดยมีแชมป์เดเอฟเบ โพคาลได้ 4 สมัย และแชมป์ยูเอฟ่าคัพปี 1980 เป็นเกียรติประวัติตลอดระยะเวลาที่เล่นให้แฟรงค์เฟิร์ต เขาไม่เคยปราชัยในนัดชิงชนะเลิศแถมยังไม่เคยตกชั้น เคือร์เบลได้กลับมาคุมทีมอยู่พักหนึ่งก่อนขึ้นมานั่งเป็นผู้อำนวยการสโมสรในทุกวันนี้
- แข้งอเมริกันผู้บุกเบิก
ลองนึกชื่อนักเตะอเมริกันที่ค้าแข้งในบุนเดสลีกาเล่นๆ ดูสิ หลายคนอาจจะเอ่ยชื่อ คริสเตียน พูลิซิช มิดฟิลด์ผู้เบิกทางให้แข้งดาวรุ่งเลือดมะกันหลายคนเดินทางมาค้าแข้งในลีกแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เวสตัน แมคเคนนี, ไทเลอร์ อดัมส์ หรือ จอช ซาร์เจนท์ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่านักเตะอเมริกันคนแรกที่ย้ายเข้ามาเล่นในบุนเดสลีกาคือ แอนเดรียส “แอนดี้” เมท ศูนย์หน้าที่เริ่มค้าแข้งกับฮัมบวร์กในฤดูกาล 1964/65 แม้จะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมไม่เบา แต่ก็ไม่สามารถเบียดแย่งซีนจาก อูเวอ เซเลอร์ ตำนานศูนย์หน้าอันดับหนึ่งของฮัมบวร์กได้ เขาจึงย้ายกลับไปที่นิวยอร์กในปีต่อมา
- เทรนเนอร์ที่อายุน้อยที่สุด
ฮั่นแน่... นึกถึงชื่อ ยูเลียน นาเกลส์มันน์ กันอยู่ล่ะสิ! จริงๆ แล้วก็ถูกครึ่งนึง นาเกลส์มันน์ทำสถิติเป็นเทรนเนอร์ที่อายุน้อยที่สุดเมื่อเข้ามาคุมทีมฮอฟเฟนไฮม์ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 ด้วยวัยเพียง 28 ปี 6 เดือน 21 วัน แต่รู้ไหมว่าเขาไม่ใช่คนที่อายุน้อยที่สุดที่คุมทีมลงเล่นในเกมบุนเดสลีกา เพราะเจ้าของสถิติคือ แบนด์ ชเตอเบอร์ เทรนเนอร์จำเป็นที่ต้องรับหน้าที่คุมทีมซาร์บรึคเคนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในฤดูกาล 1976/77 ด้วยวัย 24 ปี 1 เดือน 17 วันเท่านั้นเอง ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็ได้โอกาสคุมทีมชาติเยอรมนีรุ่นยู-16 อีกด้วย
- นักเตะชาติไหนเล่นในบุนเดสลีกามากที่สุด
คงไม่ต้องให้เดาว่านักเตะชาวเยอรมันเล่นอยู่ในลีกนี้มากที่สุด แต่อันดับที่สองล่ะเป็นชาติไหน? ใช่ชาติเพื่อนบ้านอย่างออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์กหรือเนเธอร์แลนด์รึเปล่านะ? เปล่าเลย... ชาติที่ว่านี้ไม่ใช่ประเทศเพื่อนบ้าน แถมยังอยู่คนละทวีปเลยด้วยซ้ำ!
นักเตะจากแดนแซมบ้า 159 คนพากันข้ามทวีปมาเล่นในบุนเดสลีกา ถือเป็นอันดับหนึ่งของชาติที่เข้ามาค้าแข้งในเยอรมนีสูงสุด ตามด้วยเดนมาร์ก (129), ออสเตรีย (119), โครเอเชีย (118) และโปแลนด์ (109) โดยมีนักเตะจากฝรั่งเศสเพียง 72 คน สเปน 45 คน อิตาลี 26 คน และอังกฤษเพียง 16 คนเท่านั้น นักเตะบราซิลที่มาค้าแข้งในบุนเดสลีกาเริ่มต้นจาก เซเซ่ ศูนย์หน้าของโคโลญจน์ที่มีอันต้องย้ายกลับหลังตรวจพบว่าเป็นโรคแพ้หิมะ! ตามด้วยแข้งชื่อดังหลายคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โจลินตัน เวนเดล มัทเธียส คุนญ่า ส่วนที่ดังที่สุดน่าจะเป็นจิโอวานี เอลแบร์ อดีตดาวยิงสตุทท์การ์ทและบาเยิร์นผู้คว้าแชมป์ลีก 4 สมัย แชมป์เดเอฟเบ โพคาล 4 สมัย ยูเอฟ่า แชมเปียนส์ลีก 1 สมัย และยังเป็นดาวซัลโวในฤดูกาล 2002/03 อีกด้วย
- เสือเฒ่าแห่งเบรเมน
ศูนย์หน้าเบรเมนส่วนใหญ่แล้วก็เหมือนกับไวน์ ยิ่งแก่ยิ่งเก่ง มีดาวยิงไม่น้อยกว่า 3 คนที่ติดอันดับผู้ทำประตูที่มีอายุมากที่สุด นำทัพด้วยเคลาดิโอ ปิซาร์โร ดาวยิงชาวเปรูที่ทำสถิติเป็นนักเตะอายุมากที่สุดที่ทำประตูได้ในบุนเดสลีกาด้วยวัย 40 ปี 4 เดือน 13 วัน เขายิงประตูในบุนเดสลีกาได้ในทุกๆ ฤดูกาลตั้งแต่ปี 1999 และครองบัลลังก์ดาวยิงต่างชาติสูงสุดมาตลอด จนกระทั่งถูกโรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้แซงหน้าได้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง
อดีตเจ้าของสถิตินี้คือ เมียร์โก โวทาวา เขาทำประตูในบุนเดสลีกาเมื่อปี 1996 ด้วยวัย 40 ปี 3 เดือน 30 วัน ปัจจุบันผันตัวมาเป็นผู้ช่วยโค้ชทีมสำรองของเบรเมน
- six-pack ของ มุลเลอร์
เลวานดอฟสกี้ และ ลูก้า โยวิช ต่างก็สร้างความฮือฮาในวงการลูกหนังหลังจากทำผลงานยิง 5 ประตูได้ในเกมเดียว โดยเฉพาะ 5 ประตูของเลวานดอฟสดี้ดันเกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียง 9 นาทีเท่านั้น! อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเตะอีกหลายคนที่ทำ 5 ประตูได้ในเกมเดียว เช่น บวร์กสมุลเลอร์ที่ยิงให้ดอร์ทมุนด์ ยุปป์ ไฮน์เคสที่ยิงให้กลัดบัค และ เจอร์เก้น คลินส์มันน์ที่ยิงให้ชตุทท์การ์ท ส่วนดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของบุนเดสลีกาอย่าง แกร์ด มุลเลอร์ จากค่ายบาเยิร์น มิวนิคนั้นเคยทำได้สูงสุดที่ 4 ประตู
มีนักเตะเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกาที่สามารถยิงได้ถึง 6 ประตูในเกมเดียว เขาคนนั้นก็คือ ดีเทอร์ มุลเลอร์ ศูนย์หน้าแห่งทีมโคโลญจน์ผู้ซัดสองแฮตทริกพาทีมแพะบ้าเอาชนะเบรเมนไปแบบท่วมท้น 7-2 ประตูเมื่อเดือนสิงหาคมปี 1977 โดยที่สี่จากหกประตูมาจากลูกโหม่ง และที่น่าสนใจเข้าไปอีกก็คือ หลังจากยิงดับเบิ้ลแฮตทริกไปแล้ว ยังเหลือเวลาการแข่งขันอีก 4 นาทีและเขาก็เกือบยิงได้อีก 2 ลูก! น่าเสียดายที่ไม่มีคลิปการแข่งขันในนัดนั้นให้ดูแล้ว อย่างไรก็ดี สถิติของมุลเลอร์นั้นยังคงอยู่มายาวนานกว่า 40 ปีแล้ว
credit : www.siamsport.co.th