กรมทรัพย์สินทางปัญญาชี้แจงกรณี “เครื่องหมายการค้าซอสพริกศรีราชา” ป้องกันความสับสน ยันคำว่า “ศรีราชา” สามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ แต่ถือสิทธิเพียงผู้เดียวไม่ได้ คนอื่นยังสามารถนำไปใช้ได้ เผยในไทยมีการนำคำนี้มาจดเครื่องหมายการค้าถึง 16 ราย ระบุเหมือนการนำคำว่าบางกอก สมุย ภูเก็ต หรือปักกิ่ง โตเกียว มาใช้ประกอบการจดเครื่องหมายการค้า ก็สามารถทำได้ แต่ถือสิทธิ์คนเดียวไม่ได้เช่นเดียวกัน
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงกรณีมีคลิปเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับซอสพริกศรีราชาของไทยและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จนทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการใช้ชื่อศรีราชา ว่า คำว่า “ศรีราชา” เป็นชื่ออำเภอในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ผู้ประกอบการสามารถใช้คำดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าได้ เช่น มีภาพ ชื่อ หรือข้อความประกอบกับคำว่าศรีราชา แต่ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทยและต่างประเทศ ไม่สามารถรับจดทะเบียนคำว่าศรีราชา และถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวได้
ส่วนคำว่า Sriraja หรือ Sriracha ที่เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ นั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหมายถึงซอสพริกหรือซอสที่มีรสเผ็ด และในสหรัฐฯ มีผู้ประกอบการผลิตซอสพริกนำคำว่า “Sriracha” พร้อมภาพโลโก้รูปไก่ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ซึ่งเครื่องหมายการค้านั้นได้รับความคุ้มครองเพียงโลโก้รูปไก่เท่านั้น ไม่สามารถถือสิทธิ์ใช้คำว่า “Sriracha” แต่เพียงผู้เดียวได้ ผู้ประกอบการรายอื่นก็สามารถใช้คำคำนี้ในการขอจดเครื่องหมายการค้าได้
“ในไทยเองก็มีผู้ประกอบการนำคำว่า “ศรีราชา” ไปใช้กับซอสพริกที่ตนเองผลิตหลากหลายยี่ห้อ และขายในราคาที่แตกต่างกัน โดยมีผู้ประกอบการนำคำว่าศรีราชามายื่นจดเครื่องหมายการค้ามากถึง 16 ราย เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ที่มีผู้ประกอบการนำคำว่า Sriracha ที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นชื่อสามัญ และมีความหมายว่าชื่อนี้หมายถึงอะไรที่มีรสจัด รสเผ็ด และได้มีการนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น ซอสปรุงรส ขนมขบเคี้ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น จึงแสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของคำว่าศรีราชาและใช้ชื่อนี้แต่เพียงผู้เดียวได้”
ทั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในไทยมีผู้ประกอบการนำคำว่า Bangkok, ภูเก็ต และสมุย เป็นต้น ซึ่งเป็นชื่อเมือง ชื่อทางภูมิศาสตร์ มายื่นจดเครื่องหมายการค้ากันเป็นจำนวนมาก และได้รับอนุญาตให้จดได้ แต่จะไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่มายื่นจดแต่เพียงผู้เดียวได้ และยังมีการนำชื่อเมืองของประเทศต่างๆ มาจดอีก เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ โตเกียว เป็นต้น แต่ผู้จดก็ไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่มาจดคนเดียวได้ และในทางกลับกัน ชื่อที่เป็นของไทย เช่น ชื่อเมือง ชื่อทางภูมิศาสตร์ ก็อาจจะมีคนจากประเทศอื่นนำไปยื่นประกอบการจดเครื่องหมายการค้า แต่เขาก็ไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่นำไปยื่นจดคนเดียวได้เช่นเดียวกัน
ข่าวจาก : MGR Online
“พาณิชย์” ชี้แจงเรื่อง “เครื่องหมายการค้าซอสพริกศรีราชา” สยบความสับสนก่อนบานปลาย
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงกรณีมีคลิปเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับซอสพริกศรีราชาของไทยและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จนทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการใช้ชื่อศรีราชา ว่า คำว่า “ศรีราชา” เป็นชื่ออำเภอในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ผู้ประกอบการสามารถใช้คำดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าได้ เช่น มีภาพ ชื่อ หรือข้อความประกอบกับคำว่าศรีราชา แต่ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทยและต่างประเทศ ไม่สามารถรับจดทะเบียนคำว่าศรีราชา และถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวได้
ส่วนคำว่า Sriraja หรือ Sriracha ที่เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ นั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหมายถึงซอสพริกหรือซอสที่มีรสเผ็ด และในสหรัฐฯ มีผู้ประกอบการผลิตซอสพริกนำคำว่า “Sriracha” พร้อมภาพโลโก้รูปไก่ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า ซึ่งเครื่องหมายการค้านั้นได้รับความคุ้มครองเพียงโลโก้รูปไก่เท่านั้น ไม่สามารถถือสิทธิ์ใช้คำว่า “Sriracha” แต่เพียงผู้เดียวได้ ผู้ประกอบการรายอื่นก็สามารถใช้คำคำนี้ในการขอจดเครื่องหมายการค้าได้
“ในไทยเองก็มีผู้ประกอบการนำคำว่า “ศรีราชา” ไปใช้กับซอสพริกที่ตนเองผลิตหลากหลายยี่ห้อ และขายในราคาที่แตกต่างกัน โดยมีผู้ประกอบการนำคำว่าศรีราชามายื่นจดเครื่องหมายการค้ามากถึง 16 ราย เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ที่มีผู้ประกอบการนำคำว่า Sriracha ที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นชื่อสามัญ และมีความหมายว่าชื่อนี้หมายถึงอะไรที่มีรสจัด รสเผ็ด และได้มีการนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น ซอสปรุงรส ขนมขบเคี้ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น จึงแสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของคำว่าศรีราชาและใช้ชื่อนี้แต่เพียงผู้เดียวได้”
ทั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในไทยมีผู้ประกอบการนำคำว่า Bangkok, ภูเก็ต และสมุย เป็นต้น ซึ่งเป็นชื่อเมือง ชื่อทางภูมิศาสตร์ มายื่นจดเครื่องหมายการค้ากันเป็นจำนวนมาก และได้รับอนุญาตให้จดได้ แต่จะไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่มายื่นจดแต่เพียงผู้เดียวได้ และยังมีการนำชื่อเมืองของประเทศต่างๆ มาจดอีก เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ โตเกียว เป็นต้น แต่ผู้จดก็ไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่มาจดคนเดียวได้ และในทางกลับกัน ชื่อที่เป็นของไทย เช่น ชื่อเมือง ชื่อทางภูมิศาสตร์ ก็อาจจะมีคนจากประเทศอื่นนำไปยื่นประกอบการจดเครื่องหมายการค้า แต่เขาก็ไม่สามารถถือสิทธิ์คำที่นำไปยื่นจดคนเดียวได้เช่นเดียวกัน