คีริน เตชะวงศ์ธรรม หรือ "ทราย" สาวน้อยวัย 22 ปี ผู้พิการทางสายตา กับ "ลูเต้อร์" สุนัขนำทางของเธอ เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ขึ้นเครื่องบิน รถใต้ดิน รถเมล์ แท็กซี่ ฯลฯ ไปไหนมาไหนด้วยกันมาแล้วหลายเมืองทั้งนิวยอร์ก บอสตัน ลอนดอน พอร์ตแลนด์ ซีแอตเติล นิวออลีนส์ แต่ไม่มีการเดินทางครั้งไหนที่ทรายจะลุ้นและตื่นเต้นเท่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ
17 ก.ค. ทรายขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีอุดมสุขไปลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ เป็นครั้งแรกที่เธอและลูเต้อร์ขึ้นรถไฟฟ้าด้วยกัน ก่อนหน้านั้น 2 วัน วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม พ่อของทรายโทรศัพท์ไปที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบีทีเอสเพื่อขอความมั่นใจว่าสุนัขนำทางจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นรถไฟฟ้า
การขึ้นรถไฟฟ้าครั้งแรกของลูเต้อร์ในวันนั้นผ่านไปอย่างราบรื่น ทรายนำบัตรแสดงตัวไปรับบัตรโดยสารฟรีของคนพิการที่ห้องจำหน่ายตั๋ว จากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ของบีทีเอสขึ้นไปส่งถึงชานชาลา รถไฟฟ้าค่อนข้างแน่น แต่ลูเต้อร์ไม่ตื่นกลัวแม้แต่น้อย ยังคงนำทางและอยู่เคียงข้างทรายอย่างสงบตลอดการเดินทาง
ผู้โดยสารคนหนึ่งมองลูเต้อร์อย่างงงๆ ก่อนจะหันไปถามเพื่อนร่วมทาง "หมาขึ้นได้ด้วยเหรอ" ก่อนจะสังเกตเห็นข้อความตัวโตบนป้ายผ้าสีฟ้าบนบังเหียนที่เขียนว่า "ห้ามรบกวนสุนัขนำทาง"
สุนัขนำทาง : 9 สิ่งที่ "ทราย" และ "ลูเต้อร์""วันนี้ทรายกับลูเต้อร์รู้สึกเหมือนได้พิชิตภูเขาลูกหนึ่งเลยค่ะ" วิภาวี เตชะวงศ์ธรรม คุณแม่ของทราย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมแอดมินเพจ "ผมชื่อลูเต้อร์" โพสต์เฟซบุ๊กหลังจากการเดินทางผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
"ทุกอย่างราบรื่นแทบจะไม่น่าเชื่อ หลังจากได้รับการปฏิเสธจากหลาย ๆ ที่แล้ว ทริปวันนี้ก็ทำให้ใจชื้นขึ้นเยอะ...โล่งใจมากเลย เหมือนยกภูเขาออกจากอกเลยค่ะ"
ทรายบอกว่านอกจากรถไฟฟ้าแล้ว "ถ้าเราใช้รถเมล์ รถแท็กซี่ รถสองแถว ได้ด้วยก็จะดีมาก ทรายจะได้สามารถเดินทางด้วยตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องให้คนพาไป"
แม้มาตรา 20 (8) ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 จะระบุไว้ชัดเจนว่าคนพิการมีสิทธิที่จะนำ "สัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง" ก็ตาม แต่จากประสบการณ์ของลูเต้อร์และทราย ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ทรายเป็นคนกรุงเทพฯ หลังจากสูญเสียการมองเห็นตอนอายุ 13 ปี เนื่องจากเนื้องอกในสมอง เธอจำเป็นต้องหาโรงเรียนใหม่ เพราะโรงเรียนทางเลือกเดิมที่ศึกษาอยู่ไม่สามารถดูแลนักเรียนตาบอดได้ หลายโรงเรียนที่ติดต่อไปปฏิเสธไม่รับเธอเข้าเรียนเพราะทางโรงเรียนไม่มีความพร้อม จนกระทั่งมาถึงโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี ที่แม้ไม่เคยรับนักเรียนตาบอดมาก่อนแต่ยินดีที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกให้ ทรายจึงได้เป็นนักเรียนผู้พิการทางสายตาคนแรกและคนเดียวของที่นี่
หลังจบชั้นมัธยมปลายที่ รร.ร่วมฤดี ทรายไปเรียนต่อด้านจิตวิทยาที่ Hendrix College ในรัฐอาร์คันซอส์ สหรัฐอเมริกา เธอเป็นนักศึกษาผู้พิการทางสายตาเพียงคนเดียวของที่นี่อีกเช่นกัน แต่ทางมหาวิทยาลัยมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลืออย่างดี และปรับการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม เช่น ตำราเรียนหรือเอกสารที่แจกในชั้นเรียน ทรายจะได้รับล่วงหน้าเพื่อนำมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านให้ฟังได้
Image copyrightWASANT TECHAWONGTHAMคำบรรยายภาพทรายกับลูเต้อร์ในวันรับปริญญาที่ Hendrix Collegeทรายจบปริญญาตรีเมื่อเดือน พ.ค. 2562 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมและได้รับรางวัล "นักศึกษาดีเด่น" จากประธานมหาวิทยาลัย
ขณะนี้ทรายกลับมาอยู่บ้านที่กรุงเทพฯ ก่อนจะกลับไปเรียนต่อปริญญาโทด้านจิตวิทยาการปรึกษาที่สหรัฐฯ ช่วงต้นปีหน้า
แม่ของทรายบอกว่า จากการสอบถามและหาข้อมูล ทรายน่าจะเป็นผู้พิการทางสายตาคนที่ 2 ต่อจาก ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ที่ใช้สุนัขนำทาง และปัจจุบันเธอน่าจะเป็นคนเดียวในประเทศไทยที่ใช้สุนัขนำทาง
ลูเต้อร์เป็นสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์เพศผู้อายุ 3 ขวบครึ่ง ที่ผ่านการฝึกฝนในการทำหน้าที่เป็นสุนัขนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนฝึกสุนัขนำทางในรัฐนิวยอร์กชื่อ Guiding Eyes for the Blind ซึ่งทรายได้ส่งใบสมัครขอสุนัขนำทางไว้
ผู้พิการที่สมัครและได้รับมอบสุนัขไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากโรงเรียนฝึกสุนัขแห่งนี้เป็นองค์กรการกุศล หลังจากรับสุนัขไปแล้ว ทางโรงเรียนยังมีเงินอุดหนุนให้อีกปีละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและฉีดวัคซีนสุนัขนำทาง
ค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกสุนัขตัวหนึ่งให้เป็นสุนัขนำทางอยู่ที่ประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.6 ล้านบาท)
เดือน ก.ค. 2560 หลังจากผ่านขั้นตอนการประเมินโดยการส่งเจ้าหน้าที่มาสัมภาษณ์ ดูที่พัก มหาวิทยาลัย การใช้ชีวิตตลอดจนทักษะการใช้ไม้เท้าสำหรับคนตาบอดของทราย ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน โรงเรียนฝึกสุนัขก็ตอบตกลงที่จะจัดหาสุนัขนำทางที่เหมาะสมกับทราย เธอจึงเดินทางไปที่โรงเรียนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมการใช้สุนัขนำทางเป็นเวลา 3 อาทิตย์
"ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ เป็นองค์กรการกุศลที่จัดหาสุนัขนำทางให้ผู้พิการทางสายตาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย"
เมื่อถึงเวลาครูฝึกก็นำลูเต้อร์เข้ามาหาทรายในห้องพัก ทรายยังจำความรู้สึกตอนที่ได้พบกับลูเต้อร์ครั้งแรกได้ดี
"ตื่นเต้นเพราะหมาตัวนี้จะเป็นหมานำทางของเรา แต่เราเองก็ไม่แน่ใจว่าควรจะทำตัวกับเขายังไง เขาจะชอบเรามั้ย"
ทรายกับลูเต้อร์ ซึ่งเป็นสุนัขตัวแรกในชีวิตของเธอ ใช้เวลาอยู่ด้วยกันทั้งวันในวันนั้น ไปกินข้าว ไปเดินเล่น วันต่อ ๆ มาทั้งคู่ก็ออกไปฝึกพร้อมกันกับครูฝึกที่จะคอยเดินตามหลังและสอนให้ทรายออกคำสั่ง ใช้สัญลักษณ์มือ และฝึกการใช้สายจูงและบังเหียน
ทรายอธิบายว่า บังเหียนเป็นสิ่งที่สุนัขนำทางใช้สื่อสารกับเธอ เช่น ให้หลบทางซ้ายหรือขวา ขณะที่สายจูงเป็นสิ่งที่เธอใช้สื่อสารกับลูเต้อร์ด้วยการกระตุกสายเมื่อเขาทำผิดหรือเสียสมาธิ
ลูเต้อร์ทำหน้าที่สุนัขนำทางได้ดีในทุกสภาพอากาศ แต่เจอปัญหาบ้างช่วงหิมะตกเพราะบางทีมันต้องเดินย่ำไปบนพื้นหิมะที่มีเกลือโรย ทำให้เท้าเป็นแผล ทรายจึงสั่งซื้อรองเท้ามาให้ รองเท้าสำหรับสุนัขนี้ยังใช้การได้ดีในเมืองไทย เพราะช่วยป้องกันเท้าลูเต้อร์จากพื้นถนนที่ร้อนได้ด้วย
"มีอยู่ครั้งหนึ่งเราไปเดินแถวธรรมศาสตร์กัน ช่วงกลางวันอากาศร้อนมาก เราก็สังเกตว่าเวลาไม่ได้เดิน ลูเต้อร์เขาจะย่ำเท้า ถึงรู้ว่าพื้นมันร้อนมาก"
ทรายบอกว่าลูเต้อร์เป็นสุนัขนำทางที่ "ชิลมาก ปรับตัวได้ดีและมีสมาธิดีมาก"
อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของลูเต้อร์ในเมืองไทยคือการคุกคามของ "สุนัขจรจัด" ซึ่งทางครอบครัวแก้ปัญหาด้วยการพกไม้ไว้ไล่ แต่ถ้าพบว่ามีหลายตัวก็จะเปลี่ยนเส้นทาง
"หมาจรตัวเดียวไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นหมาหมู่มานี่เราต้องถอย เปลี่ยนทิศทาง" พ่อของทรายเล่าวิธีการรับมือกับหมาจร
ทรายบอกว่าลูเต้อร์เป็นหมาที่ "ชิลมาก สมาธิดีมาก ปรับตัวเก่ง เป็นหมาง่าย ๆ ไม่เรื่องมาก" ส่วนคุณพ่อของทรายมักแซวลูเต้อร์ว่าเป็นหมาที่ชอบเข้าโหมด "ประหยัดพลังงาน" คือมักหาจังหวะนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ทำตาปริบ ๆ ทุกที่ที่มีโอกาส
สุนัขนำทางมีอายุการทำงานโดยเฉลี่ย 8 ปี ลูเต้อร์มาอยู่กับทรายตั้งแต่อายุ 2 ขวบ นั่นหมายถึงว่าเขาจะทำภารกิจนี้ได้จนถึงอายุ 10 ขวบถึงจะปลดเกษียณ
การเดินทางของทรายกับลูเต้อร์
"ความสัมพันธ์เป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา" คือสิ่งที่ทรายได้เรียนรู้นับจากวันแรกที่ได้พบเจ้าลาบราดอร์ตัวโตขนสีดำขลับตัวนี้
ช่วงปิดเทอมเมื่อปลายปี 2561 ทรายกลับมาเมืองไทยโดยพาลูเต้อร์มาด้วย ครอบครัวของเธอวางแผนเดินทางไปเที่ยวกันหลายจังหวัด แต่เมื่อติดต่อที่พักและสถานที่ท่องเที่ยว กลับได้รับคำตอบว่า "ไม่อนุญาตให้นำสุนัขเข้า" แม้จะอธิบายว่าเป็นสุนัขนำทางของผู้พิการทางสายตาก็ไม่เป็นผล ครอบครัวจึงเลือกเข้าพักในโรงแรมที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงมาพักได้ เพราะไม่อยากมีปัญหา
"เราก็คิดว่ามันจะง่ายนะ เพราะคนไทยใจดี มีน้ำใจ แล้วก็ชอบหมา แต่มันมีความยุ่งยากกว่าที่คิดเยอะเลย ไปห้างก็ไปไม่ได้ (เพราะไม่ให้สุนัขเข้า) เวลาเดินไปไหนก็มักจะมีคนส่งเสียงเรียกร้องความสนใจ ซึ่งเป็นการรบกวนสมาธิการทำงานของลูเต้อร์ ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองนอก เมื่อคนเห็นหมาที่ใส่บังเหียนจะรู้ทันทีว่าเป็นหมานำทาง ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง" ทรายเล่า
เกือบ 2 ปีเต็มแล้วที่ทรายกับลูเต้อร์อยู่ด้วยกันทุกวัน ทั้งคู่ไปเรียนด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน ขึ้นเครื่องบินด้วยกัน รอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินด้วยกันมาแล้วหลายแห่ง ในวันที่ทรายรับปริญญาเกียรตินิยมด้านจิตวิทยาและได้รับรางวัลนักศึกษาดีเด่น ลูเต้อร์ก็ยังทำหน้าที่สุนัขนำทางพาทรายเดินขึ้นไปรับรางวัลบนเวทีด้วย
ทรายรับรางวัล "นักศึกษาดีเด่น" ของ Hendrix College โดยมีลูเต้อร์ขึ้นไปบนเวทีด้วย
และลูเต้อร์กลับมาเมืองไทยอีกครั้งเมื่อเดือนมิ.ย. 2562 คราวนี้อยู่นานหลายเดือนก่อนจะกลับไปเริ่มเรียนปริญญาโทที่สหรัฐฯ
เธอและลูเต้อร์เจอปัญหาเช่นเดียวกับครั้งแรก ทั้งการเดินทางที่บ่อยครั้งแท็กซี่ไม่ยอมให้ขึ้นเพราะกลัวว่าลูเต้อร์จะทำเบาะรถพังหรือเป็นรอย เข้าห้างไม่ได้ เข้าสถานที่บางแห่งไม่ได้ หลายโรงแรมไม่ให้สุนัขเข้า และการที่ลูเต้อร์ถูกรบกวนสมาธิจากคนที่สัญจรไปมา
ทรายและครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่และน้องสาวของเธอ จึงช่วยกันเผยแพร่เรื่องราวของทรายและลูเต้อร์ ด้วยความหวังว่าจะทำให้สังคมไทยเข้าใจสุนัขนำทาง ผู้พิการทางสายตาและเพื่อสร้างความรับรู้ว่าตามกฎหมายแล้ว ผู้พิการทางสายตาสามารถนำสุนัขนำทางไปได้ทุกที่
เริ่มจากการเปิดเฟซบุ๊กเพจ "ผมชื่อลูเต้อร์" เมื่อเดือนมิ.ย. ซึ่งล่าสุดมีผู้ติดตามกว่า 4 หมื่นคน ตามด้วยการส่งจดหมายเปิดผนึกถึง "ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำทุกแห่งในประเทศไทย" เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขนำทาง
"เนื่องจากดิฉัน ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาชาวไทยได้นำลูเต้อร์ สุนัขนำทางพันธุ์ลาบราดอร์ที่ได้รับการฝึกและรับรองโดย Guiding Eyes for the Blind เข้ามาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนธ.ค.2561 เพื่อช่วยในการสัญจรไปตามที่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดิฉันต้องเผชิญปัญหาจากการถูกปฏิเสธให้เข้าใช้บริการในสถานที่สาธารณะจำนวนมาก รวมทั้งการใช้บริการขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ด้วย" ทรายเขียนในจดหมายเปิดผนึก พร้อมกับเชิญชวนให้ผู้บริหารทุกองค์กรอนุญาตและอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการทางสายตา ได้นำสุนัขนำทางเข้าใช้บริการดังเช่นบุคคลทั่วไป
จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มีลายเซ็นของเธอและ "รอยเท้า" ของลูเต้อร์ ลงท้าย
"ลูเต้อร์ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี จะไม่ขับถ่ายในอาคาร"
9 เรื่องที่ทรายและลูเต้อร์อยากให้คนรู้
1.สุนัขนำทางไม่ใช่สัตว์เลี้ยง
2.สิทธิตามกฎหมายของผู้พิการ
3.สุนัขนำทางได้รับการฝึกมาอย่างดี อึ-ฉี่ ไม่มีปัญหา
4.แม้จะดูเหมือนนอน แต่สุนัขนำทางก็อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
5.สี่ตีนยังรู้พลาด (ลูเต้อร์ไม่ใช่หุ่นยนต์ เขาจึงทำผิดพลาดได้")
6. สุนัขนำทางไม่ใช่จีพีเอส
7.สุนัขนำทางไม่ได้ถูกบังคับให้ทำงาน
8. อย่าคิดและตัดสินใจแทนคนพิการ
9. คนพิการสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างเป็นอิสระ
ขอบคุณข้อมูลจาก BBC Thai
https://bbc.in/2Z1kkV5
เพจ ผมชื่อลูเต้อร์
https://www.facebook.com/guidedogluther/
"ช่วย ๆ กันแชร์กระจายข้อมูลกันนะครับ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย"
เปิดเรื่องราวน้องทราย และ สุนัขนำทาง เจ้าลูเตอร์
คีริน เตชะวงศ์ธรรม หรือ "ทราย" สาวน้อยวัย 22 ปี ผู้พิการทางสายตา กับ "ลูเต้อร์" สุนัขนำทางของเธอ เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ขึ้นเครื่องบิน รถใต้ดิน รถเมล์ แท็กซี่ ฯลฯ ไปไหนมาไหนด้วยกันมาแล้วหลายเมืองทั้งนิวยอร์ก บอสตัน ลอนดอน พอร์ตแลนด์ ซีแอตเติล นิวออลีนส์ แต่ไม่มีการเดินทางครั้งไหนที่ทรายจะลุ้นและตื่นเต้นเท่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ
17 ก.ค. ทรายขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีอุดมสุขไปลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ เป็นครั้งแรกที่เธอและลูเต้อร์ขึ้นรถไฟฟ้าด้วยกัน ก่อนหน้านั้น 2 วัน วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม พ่อของทรายโทรศัพท์ไปที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบีทีเอสเพื่อขอความมั่นใจว่าสุนัขนำทางจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นรถไฟฟ้า
การขึ้นรถไฟฟ้าครั้งแรกของลูเต้อร์ในวันนั้นผ่านไปอย่างราบรื่น ทรายนำบัตรแสดงตัวไปรับบัตรโดยสารฟรีของคนพิการที่ห้องจำหน่ายตั๋ว จากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ของบีทีเอสขึ้นไปส่งถึงชานชาลา รถไฟฟ้าค่อนข้างแน่น แต่ลูเต้อร์ไม่ตื่นกลัวแม้แต่น้อย ยังคงนำทางและอยู่เคียงข้างทรายอย่างสงบตลอดการเดินทาง
ผู้โดยสารคนหนึ่งมองลูเต้อร์อย่างงงๆ ก่อนจะหันไปถามเพื่อนร่วมทาง "หมาขึ้นได้ด้วยเหรอ" ก่อนจะสังเกตเห็นข้อความตัวโตบนป้ายผ้าสีฟ้าบนบังเหียนที่เขียนว่า "ห้ามรบกวนสุนัขนำทาง"
สุนัขนำทาง : 9 สิ่งที่ "ทราย" และ "ลูเต้อร์""วันนี้ทรายกับลูเต้อร์รู้สึกเหมือนได้พิชิตภูเขาลูกหนึ่งเลยค่ะ" วิภาวี เตชะวงศ์ธรรม คุณแม่ของทราย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมแอดมินเพจ "ผมชื่อลูเต้อร์" โพสต์เฟซบุ๊กหลังจากการเดินทางผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
"ทุกอย่างราบรื่นแทบจะไม่น่าเชื่อ หลังจากได้รับการปฏิเสธจากหลาย ๆ ที่แล้ว ทริปวันนี้ก็ทำให้ใจชื้นขึ้นเยอะ...โล่งใจมากเลย เหมือนยกภูเขาออกจากอกเลยค่ะ"
ทรายบอกว่านอกจากรถไฟฟ้าแล้ว "ถ้าเราใช้รถเมล์ รถแท็กซี่ รถสองแถว ได้ด้วยก็จะดีมาก ทรายจะได้สามารถเดินทางด้วยตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องให้คนพาไป"
แม้มาตรา 20 (8) ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 จะระบุไว้ชัดเจนว่าคนพิการมีสิทธิที่จะนำ "สัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง" ก็ตาม แต่จากประสบการณ์ของลูเต้อร์และทราย ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ทรายเป็นคนกรุงเทพฯ หลังจากสูญเสียการมองเห็นตอนอายุ 13 ปี เนื่องจากเนื้องอกในสมอง เธอจำเป็นต้องหาโรงเรียนใหม่ เพราะโรงเรียนทางเลือกเดิมที่ศึกษาอยู่ไม่สามารถดูแลนักเรียนตาบอดได้ หลายโรงเรียนที่ติดต่อไปปฏิเสธไม่รับเธอเข้าเรียนเพราะทางโรงเรียนไม่มีความพร้อม จนกระทั่งมาถึงโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี ที่แม้ไม่เคยรับนักเรียนตาบอดมาก่อนแต่ยินดีที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกให้ ทรายจึงได้เป็นนักเรียนผู้พิการทางสายตาคนแรกและคนเดียวของที่นี่
หลังจบชั้นมัธยมปลายที่ รร.ร่วมฤดี ทรายไปเรียนต่อด้านจิตวิทยาที่ Hendrix College ในรัฐอาร์คันซอส์ สหรัฐอเมริกา เธอเป็นนักศึกษาผู้พิการทางสายตาเพียงคนเดียวของที่นี่อีกเช่นกัน แต่ทางมหาวิทยาลัยมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลืออย่างดี และปรับการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม เช่น ตำราเรียนหรือเอกสารที่แจกในชั้นเรียน ทรายจะได้รับล่วงหน้าเพื่อนำมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านให้ฟังได้
Image copyrightWASANT TECHAWONGTHAMคำบรรยายภาพทรายกับลูเต้อร์ในวันรับปริญญาที่ Hendrix Collegeทรายจบปริญญาตรีเมื่อเดือน พ.ค. 2562 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมและได้รับรางวัล "นักศึกษาดีเด่น" จากประธานมหาวิทยาลัย
ขณะนี้ทรายกลับมาอยู่บ้านที่กรุงเทพฯ ก่อนจะกลับไปเรียนต่อปริญญาโทด้านจิตวิทยาการปรึกษาที่สหรัฐฯ ช่วงต้นปีหน้า
แม่ของทรายบอกว่า จากการสอบถามและหาข้อมูล ทรายน่าจะเป็นผู้พิการทางสายตาคนที่ 2 ต่อจาก ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ที่ใช้สุนัขนำทาง และปัจจุบันเธอน่าจะเป็นคนเดียวในประเทศไทยที่ใช้สุนัขนำทาง
ลูเต้อร์เป็นสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์เพศผู้อายุ 3 ขวบครึ่ง ที่ผ่านการฝึกฝนในการทำหน้าที่เป็นสุนัขนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนฝึกสุนัขนำทางในรัฐนิวยอร์กชื่อ Guiding Eyes for the Blind ซึ่งทรายได้ส่งใบสมัครขอสุนัขนำทางไว้
ผู้พิการที่สมัครและได้รับมอบสุนัขไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากโรงเรียนฝึกสุนัขแห่งนี้เป็นองค์กรการกุศล หลังจากรับสุนัขไปแล้ว ทางโรงเรียนยังมีเงินอุดหนุนให้อีกปีละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลและฉีดวัคซีนสุนัขนำทาง
ค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกสุนัขตัวหนึ่งให้เป็นสุนัขนำทางอยู่ที่ประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.6 ล้านบาท)
เดือน ก.ค. 2560 หลังจากผ่านขั้นตอนการประเมินโดยการส่งเจ้าหน้าที่มาสัมภาษณ์ ดูที่พัก มหาวิทยาลัย การใช้ชีวิตตลอดจนทักษะการใช้ไม้เท้าสำหรับคนตาบอดของทราย ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน โรงเรียนฝึกสุนัขก็ตอบตกลงที่จะจัดหาสุนัขนำทางที่เหมาะสมกับทราย เธอจึงเดินทางไปที่โรงเรียนเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมการใช้สุนัขนำทางเป็นเวลา 3 อาทิตย์
"ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ เป็นองค์กรการกุศลที่จัดหาสุนัขนำทางให้ผู้พิการทางสายตาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย"
เมื่อถึงเวลาครูฝึกก็นำลูเต้อร์เข้ามาหาทรายในห้องพัก ทรายยังจำความรู้สึกตอนที่ได้พบกับลูเต้อร์ครั้งแรกได้ดี
"ตื่นเต้นเพราะหมาตัวนี้จะเป็นหมานำทางของเรา แต่เราเองก็ไม่แน่ใจว่าควรจะทำตัวกับเขายังไง เขาจะชอบเรามั้ย"
ทรายกับลูเต้อร์ ซึ่งเป็นสุนัขตัวแรกในชีวิตของเธอ ใช้เวลาอยู่ด้วยกันทั้งวันในวันนั้น ไปกินข้าว ไปเดินเล่น วันต่อ ๆ มาทั้งคู่ก็ออกไปฝึกพร้อมกันกับครูฝึกที่จะคอยเดินตามหลังและสอนให้ทรายออกคำสั่ง ใช้สัญลักษณ์มือ และฝึกการใช้สายจูงและบังเหียน
ทรายอธิบายว่า บังเหียนเป็นสิ่งที่สุนัขนำทางใช้สื่อสารกับเธอ เช่น ให้หลบทางซ้ายหรือขวา ขณะที่สายจูงเป็นสิ่งที่เธอใช้สื่อสารกับลูเต้อร์ด้วยการกระตุกสายเมื่อเขาทำผิดหรือเสียสมาธิ
ลูเต้อร์ทำหน้าที่สุนัขนำทางได้ดีในทุกสภาพอากาศ แต่เจอปัญหาบ้างช่วงหิมะตกเพราะบางทีมันต้องเดินย่ำไปบนพื้นหิมะที่มีเกลือโรย ทำให้เท้าเป็นแผล ทรายจึงสั่งซื้อรองเท้ามาให้ รองเท้าสำหรับสุนัขนี้ยังใช้การได้ดีในเมืองไทย เพราะช่วยป้องกันเท้าลูเต้อร์จากพื้นถนนที่ร้อนได้ด้วย
"มีอยู่ครั้งหนึ่งเราไปเดินแถวธรรมศาสตร์กัน ช่วงกลางวันอากาศร้อนมาก เราก็สังเกตว่าเวลาไม่ได้เดิน ลูเต้อร์เขาจะย่ำเท้า ถึงรู้ว่าพื้นมันร้อนมาก"
ทรายบอกว่าลูเต้อร์เป็นสุนัขนำทางที่ "ชิลมาก ปรับตัวได้ดีและมีสมาธิดีมาก"
อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของลูเต้อร์ในเมืองไทยคือการคุกคามของ "สุนัขจรจัด" ซึ่งทางครอบครัวแก้ปัญหาด้วยการพกไม้ไว้ไล่ แต่ถ้าพบว่ามีหลายตัวก็จะเปลี่ยนเส้นทาง
"หมาจรตัวเดียวไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นหมาหมู่มานี่เราต้องถอย เปลี่ยนทิศทาง" พ่อของทรายเล่าวิธีการรับมือกับหมาจร
ทรายบอกว่าลูเต้อร์เป็นหมาที่ "ชิลมาก สมาธิดีมาก ปรับตัวเก่ง เป็นหมาง่าย ๆ ไม่เรื่องมาก" ส่วนคุณพ่อของทรายมักแซวลูเต้อร์ว่าเป็นหมาที่ชอบเข้าโหมด "ประหยัดพลังงาน" คือมักหาจังหวะนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ทำตาปริบ ๆ ทุกที่ที่มีโอกาส
สุนัขนำทางมีอายุการทำงานโดยเฉลี่ย 8 ปี ลูเต้อร์มาอยู่กับทรายตั้งแต่อายุ 2 ขวบ นั่นหมายถึงว่าเขาจะทำภารกิจนี้ได้จนถึงอายุ 10 ขวบถึงจะปลดเกษียณ
การเดินทางของทรายกับลูเต้อร์
"ความสัมพันธ์เป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา" คือสิ่งที่ทรายได้เรียนรู้นับจากวันแรกที่ได้พบเจ้าลาบราดอร์ตัวโตขนสีดำขลับตัวนี้
ช่วงปิดเทอมเมื่อปลายปี 2561 ทรายกลับมาเมืองไทยโดยพาลูเต้อร์มาด้วย ครอบครัวของเธอวางแผนเดินทางไปเที่ยวกันหลายจังหวัด แต่เมื่อติดต่อที่พักและสถานที่ท่องเที่ยว กลับได้รับคำตอบว่า "ไม่อนุญาตให้นำสุนัขเข้า" แม้จะอธิบายว่าเป็นสุนัขนำทางของผู้พิการทางสายตาก็ไม่เป็นผล ครอบครัวจึงเลือกเข้าพักในโรงแรมที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงมาพักได้ เพราะไม่อยากมีปัญหา
"เราก็คิดว่ามันจะง่ายนะ เพราะคนไทยใจดี มีน้ำใจ แล้วก็ชอบหมา แต่มันมีความยุ่งยากกว่าที่คิดเยอะเลย ไปห้างก็ไปไม่ได้ (เพราะไม่ให้สุนัขเข้า) เวลาเดินไปไหนก็มักจะมีคนส่งเสียงเรียกร้องความสนใจ ซึ่งเป็นการรบกวนสมาธิการทำงานของลูเต้อร์ ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองนอก เมื่อคนเห็นหมาที่ใส่บังเหียนจะรู้ทันทีว่าเป็นหมานำทาง ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง" ทรายเล่า
เกือบ 2 ปีเต็มแล้วที่ทรายกับลูเต้อร์อยู่ด้วยกันทุกวัน ทั้งคู่ไปเรียนด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน ขึ้นเครื่องบินด้วยกัน รอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินด้วยกันมาแล้วหลายแห่ง ในวันที่ทรายรับปริญญาเกียรตินิยมด้านจิตวิทยาและได้รับรางวัลนักศึกษาดีเด่น ลูเต้อร์ก็ยังทำหน้าที่สุนัขนำทางพาทรายเดินขึ้นไปรับรางวัลบนเวทีด้วย
ทรายรับรางวัล "นักศึกษาดีเด่น" ของ Hendrix College โดยมีลูเต้อร์ขึ้นไปบนเวทีด้วย
และลูเต้อร์กลับมาเมืองไทยอีกครั้งเมื่อเดือนมิ.ย. 2562 คราวนี้อยู่นานหลายเดือนก่อนจะกลับไปเริ่มเรียนปริญญาโทที่สหรัฐฯ
เธอและลูเต้อร์เจอปัญหาเช่นเดียวกับครั้งแรก ทั้งการเดินทางที่บ่อยครั้งแท็กซี่ไม่ยอมให้ขึ้นเพราะกลัวว่าลูเต้อร์จะทำเบาะรถพังหรือเป็นรอย เข้าห้างไม่ได้ เข้าสถานที่บางแห่งไม่ได้ หลายโรงแรมไม่ให้สุนัขเข้า และการที่ลูเต้อร์ถูกรบกวนสมาธิจากคนที่สัญจรไปมา
ทรายและครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่และน้องสาวของเธอ จึงช่วยกันเผยแพร่เรื่องราวของทรายและลูเต้อร์ ด้วยความหวังว่าจะทำให้สังคมไทยเข้าใจสุนัขนำทาง ผู้พิการทางสายตาและเพื่อสร้างความรับรู้ว่าตามกฎหมายแล้ว ผู้พิการทางสายตาสามารถนำสุนัขนำทางไปได้ทุกที่
เริ่มจากการเปิดเฟซบุ๊กเพจ "ผมชื่อลูเต้อร์" เมื่อเดือนมิ.ย. ซึ่งล่าสุดมีผู้ติดตามกว่า 4 หมื่นคน ตามด้วยการส่งจดหมายเปิดผนึกถึง "ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำทุกแห่งในประเทศไทย" เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขนำทาง
"เนื่องจากดิฉัน ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาชาวไทยได้นำลูเต้อร์ สุนัขนำทางพันธุ์ลาบราดอร์ที่ได้รับการฝึกและรับรองโดย Guiding Eyes for the Blind เข้ามาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนธ.ค.2561 เพื่อช่วยในการสัญจรไปตามที่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดิฉันต้องเผชิญปัญหาจากการถูกปฏิเสธให้เข้าใช้บริการในสถานที่สาธารณะจำนวนมาก รวมทั้งการใช้บริการขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ด้วย" ทรายเขียนในจดหมายเปิดผนึก พร้อมกับเชิญชวนให้ผู้บริหารทุกองค์กรอนุญาตและอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการทางสายตา ได้นำสุนัขนำทางเข้าใช้บริการดังเช่นบุคคลทั่วไป
จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มีลายเซ็นของเธอและ "รอยเท้า" ของลูเต้อร์ ลงท้าย
"ลูเต้อร์ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี จะไม่ขับถ่ายในอาคาร"
9 เรื่องที่ทรายและลูเต้อร์อยากให้คนรู้
1.สุนัขนำทางไม่ใช่สัตว์เลี้ยง
2.สิทธิตามกฎหมายของผู้พิการ
3.สุนัขนำทางได้รับการฝึกมาอย่างดี อึ-ฉี่ ไม่มีปัญหา
4.แม้จะดูเหมือนนอน แต่สุนัขนำทางก็อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
5.สี่ตีนยังรู้พลาด (ลูเต้อร์ไม่ใช่หุ่นยนต์ เขาจึงทำผิดพลาดได้")
6. สุนัขนำทางไม่ใช่จีพีเอส
7.สุนัขนำทางไม่ได้ถูกบังคับให้ทำงาน
8. อย่าคิดและตัดสินใจแทนคนพิการ
9. คนพิการสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างเป็นอิสระ
ขอบคุณข้อมูลจาก BBC Thai
https://bbc.in/2Z1kkV5
เพจ ผมชื่อลูเต้อร์
https://www.facebook.com/guidedogluther/
"ช่วย ๆ กันแชร์กระจายข้อมูลกันนะครับ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย"