[CR] INDONESIA episode 5 "มหัศจรรย์ "บุโรพุทโธ (Borobudur)" ศูนย์กลางพุทธศาสนสถานอันยิ่งใหญ่"

ถ้าหากพูดถึงอินโดนีเซีย เมื่อก่อนรู้จักแค่บาหลี หรือภูเขาไฟโบรโม แต่อยู่ๆ ก็มาสะดุดที่ “บุโรพุทโธ (Boro Budur)” สถานที่ที่เคยได้ยินครั้งแรกตอนสมัยเรียนชั้นประถม อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และแปลกแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมที่อื่นๆ

บุโรพุทโธ แปลว่า วัดที่สร้างบนภูเขา สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ระหว่าง ค.ศ. 778 ถึง 850 สร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดของกัมพูชาประมาณ 300 ปี กษัตริย์เป็นชาวอินดูแต่เลื่อมใสในพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงทำให้เกาะชวาเป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัยในอดีต

มหาสถูปบุโรพุทโธ อันงดงามนั้นรังสรรค์ขึ้นด้วยความรักความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นต่อพระพุทธศาสนาของชนชาวศรีวิชัย ประติมากรรมแต่ละชิ้นได้รับการจัดวางอย่างงดงามลงตัวและมีความหมาย อันมีนัยถึงธรรม ธรรมชาติ หรือจักรวาล โดยสร้างขึ้นจากหินลาวา มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 55,000 ตารางเมตร รูปทรงด้านฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ 123 เมตร แต่ละด้านมีบันไดและซุ้มประตูขึ้นสู่มหาเจดีย์ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ชั้น ชั้น 1-6 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนชั้นที่ 7-10 มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม

ความมหัศจรรย์ของบุโรพุทโธเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ด้วยรูปแบบ และรายละเอียดของศิลปะจากความคิดของช่างในสมัยนั้น โดยสร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา หรือศิลปะชวาภาคกลาง ที่ผสมผสานศิลปะระหว่างอินเดียกับอินโดนีเซียเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน บุโรพุทโธประกอบไปด้วย 4 ส่วน สำคัญ
1. ส่วนแรก คือบันได 4 ขั้นซึ่งจะมีภาพแกะสลักเกี่ยวกับมนุษย์ที่ยังผูกพันอยู่กับกาม ผูกพันกับความสุข สนุกสนาน ความปรารถนาทางโลกอันไม่รู้จบ
ส่วนนี้จัดอยู่ในขั้นกามภูมิ

2. ส่วนที่สอง คือ ส่วนบนของฐาน ซึ่งผนังด้านนอกและผนังด้านใน มีรูปสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า และชาดกต่างๆ เป็นช่วงที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสได้บางส่วน

3. ส่วนที่สาม คือ ส่วนของบานกลมที่มีเจดีย์คว่ำ ฐานกลมที่มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ จำนวน 72 องค์ แต่ละองค์บรรจุด้วยพระพุทธรูป ตั้งเรียงรายอยู่ 3 ระดับ โอบล้อมพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สุดยอดของบุโรพุทโธ
เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ จำนวน 72 องค์นั้น หากพิจารณาในทางธรรมแล้วหมายถึง รูป 18, เจตสิก 52 จิต 1 นิพพาน 1 และฐานพระเจดีย์ที่เป็นรูปบัวผลิบานนั้นบ่งบอกถึงการรู้ตื่นและเบิกบาน

4. และส่วนสุดท้ายคือส่วนที่สี่ จะเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ภายในไม่มีการบรรจุอะไรไว้ หมายถึงความว่างเปล่า อันนิจนิรันดร์ของพระนิพพาน ย่อมไร้ลักษณ์ ไร้รูปรอยใดๆ ในส่วนนี้ถือเป็นขั้นอรูปภูมิ ที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป

บุโรพุทโธคงความยิ่งใหญ่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้คน ผ่านกาลผ่านสมัยจวบจนเข้าต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งใกล้สิ้นยุคของศรีวิชัย ซึ่งในเวลานั้นชาวโปรตุเกสได้เริ่มเข้ามายึดครองหมู่เกาะต่างๆ และอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่ บุโรพุทโธได้ถูกลืมเลือนไปและถูกทิ้งร้างท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี

จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 24 เซอร์โทมัส แสตนฟอร์ด ราฟเฟิล ชาวดัทซ์ ได้ค้นพบบุโรพุทโธขึ้นอีกครั้งในสภาพที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก ในระหว่าง พ.ศ. 2448-2453

ต่อมาใน พ.ศ.2516 รัฐบาลอินโดนีเซียได้เริ่มต้นโครงการปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งโดยมีองค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติ ได้ให้ทุนสนับสนุน รวมทั้งเงินทุนอุดหนุนจากบางประเทศที่นับถือพุทธศาสนา ซึ่งประเทศไทยก็มีส่วนร่วมด้วย (ขอเพิ่มเติมว่า ท่ารำของระบำศรีวิชัยในบ้านเรานั้น ได้ค้นคว้ามาจากภาพจำหลักที่บุโรพุทโธนี่เอง) แล้วความสง่างามของบุโรพุทโธก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เฉกเช่นในอดีต!!  ‘บุโรพุทโธ’ พุทธสถานอันงามสง่า ไม่อาจจะสรรหาคำใดมาอธิบายความยิ่งใหญ่ ของบุโรพุทโธได้


OPENING HOURS:
4.20 A.M – 6.00 A.M (Manohara hotel gate) / Borobudur Sunrise.
6.00 A.M – 5.00 P.M (Official gate) / Borobudur Regular.
*) Borobudur sunrise on May 19th, 2019 closed due to Vesak ceremony.
**) The opening hours of official gate on May 18th, 2019 start at 6.00 AM – 10.00 AM due to Vesak ceremony preparation.

BOROBUDUR ENTRANCE FEE:
COMBINE (COMBO) TICKET :
1. Borobudur & Prambanan (Regular, no Borobudur sunrise): Adult: 635,000 IRD
2. Borobudur sunrise via Manohara hotel gate (Start open at 4.30 am): Adult: 475,000 IRD
3. Borobudur Regular via official gate / No sunrise (6.00 am – 5.00 pm): Adult: 350.000 IRD
ชื่อสินค้า:   บุโรพุทโธ (Borobudur)
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่