การวิเคราะห์โปรเจคท์ในฝัน : คิดธุรกิจผสานประโยชน์
.
หลายคนอาจกำลังเล็งที่ดินเพื่อทำธุรกิจ หรือกำลังเล็งจะเช่าตึกแถวเพื่อมาทำการค้า แล้วยังนึกไม่ออกว่าจะทำกิจการอะไรดี นอกเหนือไปจากเครื่องมือการวิเคราะห์ช่องว่างของคู่แข่งในย่านเดียวกับเรา ใครยังไม่ได้อ่าน คลิกที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/645039915990411/posts/647729935721409/
.
วันนี้ผมมีเครื่องมือช่วยคิดอีกอันมาแบ่งปัน โดยเป็นเครื่องมือที่เริ่มการคิดจากประเภทธุรกิจเป็นหลักมันคือ การคิดโปรแกรมแบบผสานประโยชน์ (Hybrid Program) หมายถึงการทำธุรกิจที่ไม่ได้ให้ลูกค้าเข้ามาทำกิจกรรมประเภทเดียวในโครงการของเรา แต่นำกิจกรรมหลายประเภทมาผสมปนเปกัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้เรา โดยกิจกรรมที่นำมาผสมกันนี้ ต้องมีลักษณะที่ผสานกันได้และเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย
.
.
เช่น แทนที่เราจะเปิดร้านกาแฟอย่างเดียว เราก็ทำการผสานโรงเรียนกวดวิชาไปด้วย กลายเป็นพื้นที่ระหว่างกลางกึ่งๆ ร้านกาแฟ กึ่งๆ ที่ติว สามารถรับลูกค้าได้หลายหลายกว่าการทำธุรกิจเดียวตายตัว ทำให้เกิดการผสานประโยชน์กัน ร้านกาแฟได้ขาย เครื่องดื่ม อาหาร แก่นักเรียนติว ทำให้กลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนจำนวนหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ร้านของเราก็ยังสามารถเปิดโอกาสให้ ลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ สามารถเข้ามาใช้บริการในร้านกาแฟได้ เช่น ลูกค้าคนทำงานอิสระที่หาร้านกาแฟที่ทำงานได้ ลูกค้าที่หาร้านกาแฟประชุมคุยงาน กลุ่มนักศึกษาที่หาพื้นที่ในการติว
.
ในขณะที่หากมองในมุมมองของโรงเรียนติวแล้ว โรงเรียนติวก็ได้ประโยชน์ในแง่ การประชาสัมพันธ์ คอร์สเรียนของตนเอง มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาเห็นโรงเรียนเสมอ อีกทั้งบรรยากาศของการติวจะไม่น่าเบื่อ เพราะเหมือนไปติวที่ร้านกาแฟ ในสายตาของผู้ปกครองดูปลอดภัยมากกว่าการไปโรงเรียนติวที่เป็นบ้านของคุณครู หรือในแง่การลงทุน แทนที่คุณครูจะต้องลงทุนจำนวนมากในการปรับบ้านตัวเองให้กลายเป็นโรงเรียนติวที่อาจจะมีจำนวนนักเรียนไม่แน่นอน การสามารถใช้วิธีการเช่าระยะสั้น หรือแม้แต่การเช่าเป็นครั้ง ๆ ในการติว
.
ข้อแม้สำคัญมากในการคิดโปรแกรมแบบผสานประโยชน์คือ เราต้องไม่ยึดติดกับกรอบของประเภทธุรกิจที่เราเคยเห็นมา เราต้องทำการออกแบบรูปแบบธุรกิจของเราใหม่ เช่นตัวอย่างโรงเรียนติวกับร้านกาแฟข้างบน ที่นำมาผสานกัน ในที่สุดแล้วอาจจะนำมาซึ่งความคิดที่ว่าเราจะพื้นที่ ซึ่งแบ่งเป็นห้องกระจกใสๆ หลายขนาด เหมาะสำหรับทั้งการประชุม การติว และการทำงาน มีขนาดตั้งแต่ สี่คน หกคน แปดคน สิบคน สิบสองคน และพื้นที่รวม โดยเราอาจจะสร้างกฎว่า การจะใช้พื้นที่ห้องประชุมกระจกต้องทำการซื้อกาแฟและขนมอย่างน้อยคนละกี่บาทขึ้นไป และใช้งานได้เป็นระยะเวลาเท่าใด หากมีการใช้งานต่อเก็บเงินเพิ่ม และเราอาจทำโปรโมชั่นว่า แต่หากสนใจเช่าเป็นเดือน สามารถเช่าราคาพิเศษ โดยเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้าว่า ทุกวันพุธเวลา 17.00 น. – 19.00 น. ห้องประชุมสิบสองคนจะมีการใช้งาน ที่น่าสนใจช่วงเวลาอื่น ๆ ที่ไม่มีการจองเราก็สามารถ มีโอกาสเปิดให้ลูกค้ากลุ่มอื่นเข้ามาใช้ได้
.
จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นว่า ในที่สุดแล้วจะนำไปสู่ความคิดเชิงธุรกิจว่าเราจะเปิดพื้นที่ให้เช่าระยะสั้น สำหรับการติว การประชุม การทำงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าคือนักเรียนติว นักศึกษา คนทำงานอิสระรุ่นใหม่ โดยใช้ระบบการขายเครื่องดื่มและขนมมาเป็นเงื่อนไขในการใช้บริการ ซึ่งโอกาสทางธุรกิจแน่นอนว่า หลายหลายกว่า การทำโรงเรียนติวเพียงอย่างเดียว หรือ ทำร้านกาแฟ หรือ ห้องประชุมให้เช่นเพียงอย่างเดียว โดยใช้เงินลงทุนเท่ากันปรียบเทียบกับการเปิดธุรกิจแบบเก่า (เนื่องจากขนาดพื้นที่เท่ากัน) แต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการทำให้เกิดโอกาสที่กว้างกว่า
.
โดยวิธีการคิดแบบผสานประโยชน์นี้ เริ่มต้นคิดได้จากหลายอย่างมาก อันนี้เป็นลิสต์พื้นฐานที่ผมอยากจะแชร์ เผื่อจะลองเอาไปคิดต่อกันเล่นๆ ครับ
.
1. ผสานกลุ่มลูกค้า – ตั้งกลุ่มลูกค้าที่เราเห็นว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มาเราสนใจให้บริการ แล้วลองหากลุ่มลูกค้าที่เชื่อมโยงกัน ที่มีไลฟ์สไตล์ใกล้เคียงกัน มีค่านิยม ใกล้ๆ กัน สามารถอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้ เช่นจากตัวอย่าง คือ นักเรียนติว นักศึกษา คนทำงานอิสระรุ่นใหม่
.
2. ผสานกิจกรรม – ตั้งกิจกรรมหลักที่เราเห็นว่าเป็นไปได้ในที่ดินเราขึ้นมาก่อน แล้วลองคิดเชื่อมโยงดูว่าจากกิจกรรมของเรา นำไปสู่กิจกรรมอื่นใดที่สามารถผสานประโยชน์กันได้อีก เช่น มีไอเดียว่าอยากเปิด ฟิตเนสเพื่อสุขภาพ จึงเริ่มเพิ่มกิจกรรม อาหารเพื่อสุขภาพ เพิ่มกิจกรรม ซุปเปอร์มาเก็ตขายวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ เพิ่มกิจกรรมสัมมนาเสริมสุขภาพ ในที่สุดจึงทำโปรเจคท์เป็น ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร
.
3. ผสานสถานการณ์ – ศึกษากิจกรรมหลักในโปรเจคท์ของเรา แล้วลองพิจารณาว่า เราสามารถเสริมกิจกรรมใด เข้าไปได้ เพื่อให้เกิดโอกาสมากขึ้น เช่น กิจกรรมหลักคือ ร้านกาแฟสำหรับนักท่องเที่ยวในย่านถนนจับจ่าย แล้วเพิ่มกิจกรรมรองคือ เสนอการนวดเท้าคลายเมื่อยล้าเข้าไป หรือ เสนอที่พักระยะสั้นรายชั่วโมงเข้าไป
.
การคิดธุรกิจแบบผสานประโยชน์นี้ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มากมาย ขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับเรา ทำให้เรามีกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น หรือกลุ่มค้าเท่าเดิมแต่จับจ่ายสินค้าและบริการของเรามากขึ้น หรือ ทำให้เราสามารถผลักดันให้โปรเจคท์ของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่ธุรกิจ เกิดเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร พึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมายครับ
.
เขียนโดย ปัตย์ ศรีอรุณ Research Plus
https://www.facebook.com/researchplus/
https://researchplusblog.blogspot.com/
การวิเคราะห์โปรเจคท์ในฝัน : คิดธุรกิจผสานประโยชน์
.
หลายคนอาจกำลังเล็งที่ดินเพื่อทำธุรกิจ หรือกำลังเล็งจะเช่าตึกแถวเพื่อมาทำการค้า แล้วยังนึกไม่ออกว่าจะทำกิจการอะไรดี นอกเหนือไปจากเครื่องมือการวิเคราะห์ช่องว่างของคู่แข่งในย่านเดียวกับเรา ใครยังไม่ได้อ่าน คลิกที่นี่ครับ https://www.facebook.com/645039915990411/posts/647729935721409/
.
วันนี้ผมมีเครื่องมือช่วยคิดอีกอันมาแบ่งปัน โดยเป็นเครื่องมือที่เริ่มการคิดจากประเภทธุรกิจเป็นหลักมันคือ การคิดโปรแกรมแบบผสานประโยชน์ (Hybrid Program) หมายถึงการทำธุรกิจที่ไม่ได้ให้ลูกค้าเข้ามาทำกิจกรรมประเภทเดียวในโครงการของเรา แต่นำกิจกรรมหลายประเภทมาผสมปนเปกัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ สร้างโอกาสทางธุรกิจให้เรา โดยกิจกรรมที่นำมาผสมกันนี้ ต้องมีลักษณะที่ผสานกันได้และเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย
.
.
เช่น แทนที่เราจะเปิดร้านกาแฟอย่างเดียว เราก็ทำการผสานโรงเรียนกวดวิชาไปด้วย กลายเป็นพื้นที่ระหว่างกลางกึ่งๆ ร้านกาแฟ กึ่งๆ ที่ติว สามารถรับลูกค้าได้หลายหลายกว่าการทำธุรกิจเดียวตายตัว ทำให้เกิดการผสานประโยชน์กัน ร้านกาแฟได้ขาย เครื่องดื่ม อาหาร แก่นักเรียนติว ทำให้กลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนจำนวนหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ร้านของเราก็ยังสามารถเปิดโอกาสให้ ลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ สามารถเข้ามาใช้บริการในร้านกาแฟได้ เช่น ลูกค้าคนทำงานอิสระที่หาร้านกาแฟที่ทำงานได้ ลูกค้าที่หาร้านกาแฟประชุมคุยงาน กลุ่มนักศึกษาที่หาพื้นที่ในการติว
.
ในขณะที่หากมองในมุมมองของโรงเรียนติวแล้ว โรงเรียนติวก็ได้ประโยชน์ในแง่ การประชาสัมพันธ์ คอร์สเรียนของตนเอง มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาเห็นโรงเรียนเสมอ อีกทั้งบรรยากาศของการติวจะไม่น่าเบื่อ เพราะเหมือนไปติวที่ร้านกาแฟ ในสายตาของผู้ปกครองดูปลอดภัยมากกว่าการไปโรงเรียนติวที่เป็นบ้านของคุณครู หรือในแง่การลงทุน แทนที่คุณครูจะต้องลงทุนจำนวนมากในการปรับบ้านตัวเองให้กลายเป็นโรงเรียนติวที่อาจจะมีจำนวนนักเรียนไม่แน่นอน การสามารถใช้วิธีการเช่าระยะสั้น หรือแม้แต่การเช่าเป็นครั้ง ๆ ในการติว
.
ข้อแม้สำคัญมากในการคิดโปรแกรมแบบผสานประโยชน์คือ เราต้องไม่ยึดติดกับกรอบของประเภทธุรกิจที่เราเคยเห็นมา เราต้องทำการออกแบบรูปแบบธุรกิจของเราใหม่ เช่นตัวอย่างโรงเรียนติวกับร้านกาแฟข้างบน ที่นำมาผสานกัน ในที่สุดแล้วอาจจะนำมาซึ่งความคิดที่ว่าเราจะพื้นที่ ซึ่งแบ่งเป็นห้องกระจกใสๆ หลายขนาด เหมาะสำหรับทั้งการประชุม การติว และการทำงาน มีขนาดตั้งแต่ สี่คน หกคน แปดคน สิบคน สิบสองคน และพื้นที่รวม โดยเราอาจจะสร้างกฎว่า การจะใช้พื้นที่ห้องประชุมกระจกต้องทำการซื้อกาแฟและขนมอย่างน้อยคนละกี่บาทขึ้นไป และใช้งานได้เป็นระยะเวลาเท่าใด หากมีการใช้งานต่อเก็บเงินเพิ่ม และเราอาจทำโปรโมชั่นว่า แต่หากสนใจเช่าเป็นเดือน สามารถเช่าราคาพิเศษ โดยเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้าว่า ทุกวันพุธเวลา 17.00 น. – 19.00 น. ห้องประชุมสิบสองคนจะมีการใช้งาน ที่น่าสนใจช่วงเวลาอื่น ๆ ที่ไม่มีการจองเราก็สามารถ มีโอกาสเปิดให้ลูกค้ากลุ่มอื่นเข้ามาใช้ได้
.
จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นว่า ในที่สุดแล้วจะนำไปสู่ความคิดเชิงธุรกิจว่าเราจะเปิดพื้นที่ให้เช่าระยะสั้น สำหรับการติว การประชุม การทำงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าคือนักเรียนติว นักศึกษา คนทำงานอิสระรุ่นใหม่ โดยใช้ระบบการขายเครื่องดื่มและขนมมาเป็นเงื่อนไขในการใช้บริการ ซึ่งโอกาสทางธุรกิจแน่นอนว่า หลายหลายกว่า การทำโรงเรียนติวเพียงอย่างเดียว หรือ ทำร้านกาแฟ หรือ ห้องประชุมให้เช่นเพียงอย่างเดียว โดยใช้เงินลงทุนเท่ากันปรียบเทียบกับการเปิดธุรกิจแบบเก่า (เนื่องจากขนาดพื้นที่เท่ากัน) แต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการทำให้เกิดโอกาสที่กว้างกว่า
.
โดยวิธีการคิดแบบผสานประโยชน์นี้ เริ่มต้นคิดได้จากหลายอย่างมาก อันนี้เป็นลิสต์พื้นฐานที่ผมอยากจะแชร์ เผื่อจะลองเอาไปคิดต่อกันเล่นๆ ครับ
.
1. ผสานกลุ่มลูกค้า – ตั้งกลุ่มลูกค้าที่เราเห็นว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มาเราสนใจให้บริการ แล้วลองหากลุ่มลูกค้าที่เชื่อมโยงกัน ที่มีไลฟ์สไตล์ใกล้เคียงกัน มีค่านิยม ใกล้ๆ กัน สามารถอยู่ในพื้นที่เดียวกันได้ เช่นจากตัวอย่าง คือ นักเรียนติว นักศึกษา คนทำงานอิสระรุ่นใหม่
.
2. ผสานกิจกรรม – ตั้งกิจกรรมหลักที่เราเห็นว่าเป็นไปได้ในที่ดินเราขึ้นมาก่อน แล้วลองคิดเชื่อมโยงดูว่าจากกิจกรรมของเรา นำไปสู่กิจกรรมอื่นใดที่สามารถผสานประโยชน์กันได้อีก เช่น มีไอเดียว่าอยากเปิด ฟิตเนสเพื่อสุขภาพ จึงเริ่มเพิ่มกิจกรรม อาหารเพื่อสุขภาพ เพิ่มกิจกรรม ซุปเปอร์มาเก็ตขายวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ เพิ่มกิจกรรมสัมมนาเสริมสุขภาพ ในที่สุดจึงทำโปรเจคท์เป็น ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร
.
3. ผสานสถานการณ์ – ศึกษากิจกรรมหลักในโปรเจคท์ของเรา แล้วลองพิจารณาว่า เราสามารถเสริมกิจกรรมใด เข้าไปได้ เพื่อให้เกิดโอกาสมากขึ้น เช่น กิจกรรมหลักคือ ร้านกาแฟสำหรับนักท่องเที่ยวในย่านถนนจับจ่าย แล้วเพิ่มกิจกรรมรองคือ เสนอการนวดเท้าคลายเมื่อยล้าเข้าไป หรือ เสนอที่พักระยะสั้นรายชั่วโมงเข้าไป
.
การคิดธุรกิจแบบผสานประโยชน์นี้ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มากมาย ขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับเรา ทำให้เรามีกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น หรือกลุ่มค้าเท่าเดิมแต่จับจ่ายสินค้าและบริการของเรามากขึ้น หรือ ทำให้เราสามารถผลักดันให้โปรเจคท์ของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่ธุรกิจ เกิดเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร พึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมายครับ
.
เขียนโดย ปัตย์ ศรีอรุณ Research Plus
https://www.facebook.com/researchplus/
https://researchplusblog.blogspot.com/