รบกวนแนะนำเครื่องปริ้น แบบขอข้อมูลละเอียดๆ สำหรับงานพิมพ์ภาพ อาร์ตการ์ด 250 - 350 grm. ค่ะ

ต้องออกตัวก่อนว่า ได้ไปตามอ่านหลายกระทู้เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ต่างๆมาแล้ว
แต่ยังได้คำตอบไม่ชัดเจนมากพอ เลยสับสนว่าเครื่องพิมพ์พวกนี้ ต้องใช้แบบไหน มียี่ห้อใด รุ่นใดแนะนำ
หากมีคำตอบให้ชัดเจนจะดีมากเลยค่ะ

ตอนนี้มีกระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม กับอาร์ตการ์ด 250 แกรม  ตั้งใจเอามาใช้พิมพ์นามบัตรที่บ้าน 
( ใช้ EPSON L550 กับ L360 อยู่ค่ะ ) แต่เครื่องปริ้นพิมพ์ออกมาไม่ได้ ตัวอาร์ตมัน พิมพ์สีไม่ค่อยเกาะกระดาษ
ตัวหนาแรกๆก็พิพม์ได้แต่ไม่ดี หลังๆกระดาษดึงไม่เข้า ที่บ้านไม่มีความรู้เรื่องแบบนี้เลย ซื้อจากร้านขายในห้าง
เค้าแนะนำอะไรก็โอเคไปหมด เลยอยากซื้อเครื่องพิมพ์มาพิมพ์ งานพวกนี้ฉพาะไปเลย
เพราะทั้งชีวิตนี้รุ้แค่ว่ามี อิงค์เจ็ท กับเลเซอ ( ไม่นับพวก ออฟเซ็ต ของโรงพิมพ์ ) ร้องไห้

สิ่งที่ต้องการ
1. เครื่องปริ้น ใช้งานจำพวก พิมพ์สี - รูปภาพเป็นหลัก ( ภาพวาด กราฟฟิค หรือรูปถ่ายสวยๆ )
สามารถพิมพ์พวกกระดาษการ์ด กระดาษอาร์ต มัน/ด้าน ต่างๆ ช่วง 100 ไปจนถึง 250 - 300 แกรม
เอาไปพิพม์ โปสการ์ด โฟโต้การ์ด 

2. เครื่องด้านบน จะสามารถพิมพ์ลงบนกระดาษ สติ๊กเกอร์ได้ไหมคะ
สามารถซื้อกระดาษสติ๊กเกอร์ได้ทั่วไปเลยหรือต้องซื้อแบบเฉพาะ ( แบบพวก พิมพ์สติ๊กเกอร์อิงเจท หรือเลเซอร์ ?? )

          เคยไปพิมพ์ สติ๊กเกอร์ ที่ร้านถ่ายเอกสารใกล้ๆมหาลัย เป็นร้านพิมพ์ทั่วไป เห็นใช้เครื่องพิมพ์เหมือนแบบปกติสีดำๆไซต์ 
เค้าคิดแผ่นละไม่กี่สิบบาท พิมพ์ออกมาโอเคเลย  เลยอยากรู้ว่าเครื่องพิมพ์พวกนี้ เป็นประเภทไหนถ้าอยากจะซื้อมาใช้เองต้องศึกษาอะไรบ้าง
ราคาประมาณเท่าไหร่          
       ปกติจะชอบสั่งพิมพ์ผ่านโรงพิมพ์ หรือร้านพิมพ์ค่ะ แต่ว่าถ้าสั่งจำนวนน้อยราคาสูง เลยสนใจอยากจะหาเครื่องพิมพ์แบบจำนวนน้อยใช้เอง
บางทีไม่ได้อยากได้เยอะ อยากใช้เองคนเดียว พิมพ์เล่นๆ พิมพ์แจกเพื่อน หรือพิมพ์เอาไปขายตามงานอีเว้นต่างๆจะนวนไม่เยอะ

 3.  แล้วต้องซื้อหมึกแบบไหนคะหมึกแท้เลยไหม ที่สีโอเคไม่ค่อยเพี้ยน หรือต้องเลือกยังไงเอ่ย

 4.  เครื่องพิมพ์ต่างๆที่พูดมาด้านบน ถ้าเป็นเครื่อง A3 จะมีไหมคะ หรือหายากแล้วแพงกว่า

       คือไม่อยากได้งบสูงมากค่ะ แต่ไม่รุ้ว่าควรตั้งงบเท่าไหร่ หมื่นกว่าๆ ไม่เกินสองหมื่นได้ก็ดี ( หรือว่ามันไม่แพงขนาดนั้นกันนะ;; )
เน้นใช้ทำงานอย่างที่บอก แค่อยากเซฟต้นทุนแล้วพิพม์ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ( จิปาถะมากๆ )
อาจจะมีรับทำในอนาคตแต่ก็ไม่ได้อยากทำเยอะค่ะ

        มีแผนจะซื้อเครื่องไดคัทมาทิ้งไว้ด้วยค่ะ ( ซีเรียสมาก ชอบทำอะไรเอง เหมือนทำเป็นกิจกรรมในครัวเรือน )
มันจะใช้ด้วยกันได้ไหม ( เรื่องนี้น่าจะอีกนานอยู่ ) 

ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่มาตอบล่วงหน้าด้วยค่ะ !!
( เพิ่งเคยตั้งกระทู้ ถ้าติดแท็กอะไรไม่ถูกต้องขอโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ )
เพี้ยนเขิน
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
>>> ตอนนี้มีกระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม กับอาร์ตการ์ด 250 แกรม  ตั้งใจเอามาใช้พิมพ์นามบัตรที่บ้าน

คือ จากที่เคยใช้งานมา
"กระดาษอาร์ตมัน"  อันนี้ ยังไม่เคยเจอที่ใช้กับ Printer  แบบ inkjet หรือ Laser ได้ครับ

คือ กระดาษที่จะใช้กับพวก Inkjet, Laser คุณต้องเลือกหาที่ ระบุไว้บนหีบห่อเลย ว่า สำหรับ Inkjet , สำหรับ Laser
ถ้าไปซื้อกระดาษอื่นที่ไม่ระบุมา อาจ มีปัญหา หมึกไม่เกาะ ไม่เข้าเนื้อ ครับ

ยิ่ง อาร์ตมัน นี่ตัวร้ายเลย  ผมเองเคยเจอกับตัว คือ ซื้อร้านเครื่องเขียน ก็ระบุบนห่อ ว่า อาร์ตมัน แต่ไม่ระบุว่า ใช้กับ Printer ใด
เอามาใช้ ก็ไม่ได้ทั้งนั้นเลยครับ ทั้ง Inkjet, Laser

ดังนั้น เน้นเลยว่า หีบห่อของกระดาษต้องมีระบุ

สำหรับ Inkjet, Laser ธรรมดาทั่วไป
กระดาษที่เคลือบผิวพิเศษ จะเรียกกันว่า Glossy หรือไม่ก็ Photo ครับ
แล้วค่อยขยายความเพิ่มเติมกันอีกต่อไป
ว่า ด้าน หรือ มัน หรือผิวทอง หรือผิวไข่มุก(แบบไข่มุก ก็มีหลายสีอีก) หรือ มีสะท้อนแสงเป็นรูปดาว อะไรทั้งหลาย





แต่... ถ้าคุณจำเป็นถึงที่สุด ว่า จะต้องใช้กระดาษอันนั้น ให้ได้
หรือ ต้องพิมพ์บนกระดาษแปลก ๆ อีกหลายแบบในอนาคต
เช่นนั้น แนะนำเช่นเดียวกันกับคุณไก่ขี้เมา ครับ

คือ ต้องเป็นเครื่องดัดแปลง
ซึ่งพวกนี้ ผมก็เช่นเดียวกันกับคุณไก่ขี้เมา คงนิสัยคล้ายกัน คือ อยากหามาเล่น
แล้วก็มีติดตามข่าวอยู่บ้าง

เช่นพวกนี้ครับ
https://www.facebook.com/inksub
https://www.facebook.com/idea2click
https://www.facebook.com/SulimationBangkae





คุณลองเข้าไปดูก่อนละกันครับ ว่า สินค้าในนั้น (ไล่ดูรุ่นเล็กก่อนก็ได้)
ใช่ไอเดีย ในแบบที่คุณต้องการทำหรือไม่

เพราะจะได้ไปไม่ผิดทาง

หากไม่ใช่ หากไม่เอาอันนั้น
ก็ค่อยย้อนกลับมาที่ เครื่องพิมพ์ธรรมดาทั่วไปตามบ้าน ตามสำนักงาน
คือ inkjet หรือ Laser
ตามแต่การใช้งานกันอีกที ครับ


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่