**กระทู้นี้ไม่เชิงรีวิวนะครับ จะเป็ฯการตีความและบอกเล่าความรู้สึกมากกว่า
มาอีกแล้วกับ Spin-off ตัวที่2 ของเรื่องWhere we belong หนังอินดี้สุดกินใจของพี่คงเดช จาตุรันต์รัศมี จากครั้งที่แล้วมีSpin-off บอกเล่าเรื่องราวของ"เบล" ก่อนที่จะได้พบเจอกับเพื่อนๆทุกคน เป็นMe ที่ก่อนจะเป็นWe ถึงคราวที่เราจะมาเล่าเรื่องของ We ที่กลายเป็นMe บ้างแล้ว
spin-off จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับวง"สตราโตสเฟียร์"
วงดนตรีที่แยกวงกันไปแล้ว ซึ่งเป็นวงดนตรีที่แก๊งค์เพื่อนๆของเบลและซูเป็นคนตั้งมา โดยมีนโยบายว่า จะเล่นแค่เพลงเดียว"อีกแล้ว" ซึ่งก็คือเพลง"อีกแล้ว" นั่นแหละ ซึ่งการตั้งวงมาก็ไม่มีอะไรมากก็แค่อยากลองทำ สตราโตสเฟียร์เป็นวงที่เล่นแค่เพลงเดียวและก็ไม่เคยเล่นจบเพลงเลย เรียกได้ว่าเล่นเอาสนุกกันอย่างเดียว ในจุดนี้มันเหมือนเป็นการบอกว่า ตอนเด็กเราอยากจะทำอะไรสักอย่าง แม้จะทำได้ไม่ดีเท่าคนที่มีพรสวรรค์ แต่อย่างน้อยเราทำแล้วสนุกเราทำแล้วมีความสุขกับมัน แค่นี้เราก็รู้สึกโอเคที่จะทำมันไปแล้ว
การค้นพบสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเองเป็นประเด็นที่ดีมาก ซึ่งมันถูกเล่าผ่านตัวละครของ "หยก"
หยก เป็นลูกสาวของร้านเช่าหนังสือการ์ตูน ที่อยากเล่นดนตรีเพราะอ่านการ์ตูนเรื่องนึงที่เป็นคนเล่นกีต้า แต่พอลองไปเล่นแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ และก็ชอบใช้ความรุนแรงกับเครื่องดนตรีเสมอ สุดท้ายก็ไปจบลงที่"กลอง" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้หยกได้ปลดปล่อยพลังเต็มที่ แถมเสียงหนักแน่น จนหยกรู้สึกว่า
"เxี่ย นี่หละสิ่งที่กูต้องการ" มันก็เหมือนกับเด็กวัยรุ่นที่ในตอนแรกๆนั้นอยากจะทำอะไรขึ้นมาบางอย่างเพราะคิดว่ามันดีมันเท่ พอไปลองจริงๆแล้วไม่ใช่ แต่สุดท้ายเขาก็พยายามจนหาทางของตัวเองได้ในที่สุด จุดนี้เหมือนเป็นเมสเสจบอกนัยๆว่า
"ถ้าได้ลองทำอะไรแล้วรู้สึกว่าตัวเองทำได้ไม่ดี ก็อย่างไปเพิ่งท้อที่จะเดินหาทางของตัวเองต่อไป"
หนังยังจะพยายามสื่อด้วยว่า คนที่เขามีเบื้องหน้าที่เก่งอะไรสักอย่าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะชอบสิ่งนั้นและจะอยากเป็นในแบบที่คนอื่นคิดตลอด
โดยเรื่องนี้เล่าผ่านตัวละครของ "เอ๋" เอ๋เป็นคนทีเรียนเก่งสายวิทย์อยากจะเป็นหมอ แต่กลับกลัวเลือดกลัวเข็ม แถมที่บ้านเคร่งมากๆว่าจะต้องเป็นเด็กเรียนแบบนู้นแบบนี้ แต่เบื้องหลังก็สามารถที่จะเล่นกีต้าเล่นเบสได้เก่งมากๆและก็ชอบมันจริงๆ มันก็เหมือนกับเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ที่ถูกฝากความคาดหวังไว้มากมายจากผู้ใหญ่ว่า
"คุณเก่งแบบนี้คุณควรจะเป็นแบบนี้นะ" มันเหมือนการทำตามคำสั่งที่ไร้ซึ่งอิสระในการตัดสินใจของตนเอง เหมือนเป็นการตั้งคำถามว่า
"อะไรที่ทำให้คุณคิดว่าฉันอยากจะเป็นอย่างงั้นหละ?" ทั้งๆที่เด็กคนนึงเขาก็มีสิ่งที่ชอบอย่างอื่นและเก่งอย่างอื่นอีก แต่คุณไม่เคยจะเห็นและสนับสนุนเขาแค่นั้น
ประเด็นของ "แพร" และ "ป่าน" จากตอนแรกที่ทั้งคู่สนิทกันมาก แต่สุดท้ายก็มาทะเลาะกัน เพราะทั้งสองมีปัญหากันเพราะแอบชอบรุ่นพี่คนเดียวกัน (ประเด็นนี้น่าจะได้เห็นกันในตัวอย่างWhere we belongแล้ว) แต่ถึงอย่างงั้นในเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งสองก็ยังคิดถึงซึ่งกันและกัน และก็อยากจะเจอกันอีก เพราะถึงมันจะเป็นเรื่องแย่ๆ แต่ความสัมพันธ์แบบเพื่อนอันแน่นของทั้งสองมันยังคงตราตรึงใจ คนเป็นเพื่อนสนิทกันถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายหรือรุนแรงมากยังไงก็ตัดกันไม่ขาดหรอก
สุดท้ายนี้วงสตราโตสเฟียร์ คือตัวแทนของความทรงจำในวัยเด็ก หรือวัยรุ่นของผู้ใหญ่หลายๆคน มีทั้งเรื่องที่ดีและแย่มากมายปะปนกันไป แต่มันก็น่าชวนคิดถึงซะเหลือเกิน พอวันนึงที่โตไปแล้วความรู้สึกและความทรงจำแบบนั้นก็อาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ทั้งนี้หนังก็ทิ้งคำถามไว้ให้เราคิด(อีกแล้ว)ว่า
" ความทรงจำในวัยเด็กแม้มันจะเลวร้ายและไม่สมบูรณ์เรายังคิดถึงมันอยู่มั้ย? " คำตอบแต่ละคนอาจจะต่างกันไปแต่สำหรับผมคือ แน่นอนเราคิดถึงมันเสมอ แม้มันจะมีเรื่องแย่ๆบ้างแต่มันก็คือสีสันอีกอย่างของชีวิต ใครจะไปรู้ว่าไอ้เรื่องแย่ๆวันนั้นอาจจะเป็นเรื่องตลกในวันนี้ก็ได้
[วิจารณ์] สตราโตสเฟียร์ [The Documentary] : ความทรงจำในวัยเด็กแม้มันจะเลวร้ายและไม่สมบูรณ์เราจะยังคิดถึงมันอยู่มั้ย?
มาอีกแล้วกับ Spin-off ตัวที่2 ของเรื่องWhere we belong หนังอินดี้สุดกินใจของพี่คงเดช จาตุรันต์รัศมี จากครั้งที่แล้วมีSpin-off บอกเล่าเรื่องราวของ"เบล" ก่อนที่จะได้พบเจอกับเพื่อนๆทุกคน เป็นMe ที่ก่อนจะเป็นWe ถึงคราวที่เราจะมาเล่าเรื่องของ We ที่กลายเป็นMe บ้างแล้ว
spin-off จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับวง"สตราโตสเฟียร์" วงดนตรีที่แยกวงกันไปแล้ว ซึ่งเป็นวงดนตรีที่แก๊งค์เพื่อนๆของเบลและซูเป็นคนตั้งมา โดยมีนโยบายว่า จะเล่นแค่เพลงเดียว"อีกแล้ว" ซึ่งก็คือเพลง"อีกแล้ว" นั่นแหละ ซึ่งการตั้งวงมาก็ไม่มีอะไรมากก็แค่อยากลองทำ สตราโตสเฟียร์เป็นวงที่เล่นแค่เพลงเดียวและก็ไม่เคยเล่นจบเพลงเลย เรียกได้ว่าเล่นเอาสนุกกันอย่างเดียว ในจุดนี้มันเหมือนเป็นการบอกว่า ตอนเด็กเราอยากจะทำอะไรสักอย่าง แม้จะทำได้ไม่ดีเท่าคนที่มีพรสวรรค์ แต่อย่างน้อยเราทำแล้วสนุกเราทำแล้วมีความสุขกับมัน แค่นี้เราก็รู้สึกโอเคที่จะทำมันไปแล้ว
การค้นพบสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเองเป็นประเด็นที่ดีมาก ซึ่งมันถูกเล่าผ่านตัวละครของ "หยก"
หยก เป็นลูกสาวของร้านเช่าหนังสือการ์ตูน ที่อยากเล่นดนตรีเพราะอ่านการ์ตูนเรื่องนึงที่เป็นคนเล่นกีต้า แต่พอลองไปเล่นแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ และก็ชอบใช้ความรุนแรงกับเครื่องดนตรีเสมอ สุดท้ายก็ไปจบลงที่"กลอง" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้หยกได้ปลดปล่อยพลังเต็มที่ แถมเสียงหนักแน่น จนหยกรู้สึกว่า
"เxี่ย นี่หละสิ่งที่กูต้องการ" มันก็เหมือนกับเด็กวัยรุ่นที่ในตอนแรกๆนั้นอยากจะทำอะไรขึ้นมาบางอย่างเพราะคิดว่ามันดีมันเท่ พอไปลองจริงๆแล้วไม่ใช่ แต่สุดท้ายเขาก็พยายามจนหาทางของตัวเองได้ในที่สุด จุดนี้เหมือนเป็นเมสเสจบอกนัยๆว่า
"ถ้าได้ลองทำอะไรแล้วรู้สึกว่าตัวเองทำได้ไม่ดี ก็อย่างไปเพิ่งท้อที่จะเดินหาทางของตัวเองต่อไป"
โดยเรื่องนี้เล่าผ่านตัวละครของ "เอ๋" เอ๋เป็นคนทีเรียนเก่งสายวิทย์อยากจะเป็นหมอ แต่กลับกลัวเลือดกลัวเข็ม แถมที่บ้านเคร่งมากๆว่าจะต้องเป็นเด็กเรียนแบบนู้นแบบนี้ แต่เบื้องหลังก็สามารถที่จะเล่นกีต้าเล่นเบสได้เก่งมากๆและก็ชอบมันจริงๆ มันก็เหมือนกับเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ที่ถูกฝากความคาดหวังไว้มากมายจากผู้ใหญ่ว่า "คุณเก่งแบบนี้คุณควรจะเป็นแบบนี้นะ" มันเหมือนการทำตามคำสั่งที่ไร้ซึ่งอิสระในการตัดสินใจของตนเอง เหมือนเป็นการตั้งคำถามว่า "อะไรที่ทำให้คุณคิดว่าฉันอยากจะเป็นอย่างงั้นหละ?" ทั้งๆที่เด็กคนนึงเขาก็มีสิ่งที่ชอบอย่างอื่นและเก่งอย่างอื่นอีก แต่คุณไม่เคยจะเห็นและสนับสนุนเขาแค่นั้น
" ความทรงจำในวัยเด็กแม้มันจะเลวร้ายและไม่สมบูรณ์เรายังคิดถึงมันอยู่มั้ย? " คำตอบแต่ละคนอาจจะต่างกันไปแต่สำหรับผมคือ แน่นอนเราคิดถึงมันเสมอ แม้มันจะมีเรื่องแย่ๆบ้างแต่มันก็คือสีสันอีกอย่างของชีวิต ใครจะไปรู้ว่าไอ้เรื่องแย่ๆวันนั้นอาจจะเป็นเรื่องตลกในวันนี้ก็ได้