ผู้พิชิตปาย 762 โค้ง ( 25/06/2019 )
🚩 สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย ตั้งอยู่ที่บ้านท่าปาย ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย ถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทหารประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงและอาวุธข้ามแม่น้ำปาย เข้าไปยังประเทศพม่า มีประวัติความเป็นมาดังนี้
🇹🇭 พ.ศ. 2482 ความขัดแย้งเกิดขึ้นในวงกว้าง ครอบคลุมเกือบทุกประเทศ และทุกทวีป เกิดเป็นมหาสงครามโลกครั้งที่ 2
🇹🇭 พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อลำเลียงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ต่างๆ โดยผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเข้าโจมตีประเทศพม่า (เมืองขึ้นของประเทศอังกฤษในขณะนั้น) แต่ด้วยการเดินทัพอันยากลำบาก บนเส้นทางที่เป็นหุบเหว และมีลำน้ำปายขวางกั้น กองทหารญี่ปุ่นจึงได้เกณฑ์ชาวไทยจากหมู่บ้านต่างๆ ให้ขุดถางเส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานต่อคนวันละ 50 สตางค์ - 1.50 บาท ในขณะเดียวกันชาวบ้านอีกฝั่งหนึ่งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ถูกเกณฑ์ว่าจ้างให้ขุดถางเส้นทางมุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยมาบรรจบกันที่ฝั่งแม่น้ำ บริเวณบ้านท่าปาย อำเภอปาย แล้วจึงร่วมแรงกันใช้ช้างลากไม้ใหญ่หน้า 30 นิ้ว ออกจากป่า ตั้งเป็นเสาสร้างขึ้นเป็นสะพาน บรรจบทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันเหนือแม่น้ำปาย กลายเป็นเส้นทางและสะพานแห่งประวัติศาสตร์สงคราม
🇹🇭 พ.ศ. 2489 สงครามโลกสิ้นสุดลง กองทหารญี่ปุ่นได้ถอยทัพกลับ และทำการเผาสะพานไม้ทิ้ง ส่งผลให้ชาวเมืองที่เคยใช้สะพานร่วมกับทหารญี่ปุ่น ต่างเกิดความไม่สะดวกที่ต้องกลับไปใช้วิธีโดยสารทางเรือ ซึ่งขุดจากไม้ซุงเพื่อข้ามฟาก ชาวบ้านซึ่งเคยชินกับการใช้สะพานข้ามลำน้ำ ต่างได้ร่วมแรงกันสร้างสะพานไม้ขึ้นมา เพื่อใช้ข้ามแม่น้ำปายอีกครั้ง
🇹🇭 พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคม ส่งผลขั้นรุนแรง ทำลายเรือกสวนไร่นาเสียหาย รวมทั้งน้ำป่าได้พัดสะพานไม้หายไป ทางอำเภอปายจึงได้ทำเรื่องขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้ว นำมาใช้แทนสะพานไม้ที่ถูกกระแสน้ำพัดทำลายไป
🇹🇭 พ.ศ. 2518 สะพานนวรัฐจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกทยอยขนย้ายขึ้นมาประกอบใช้ใหม่ ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
🇹🇭 พ.ศ. 2519 หลังจากนั้น 1 ปีเต็ม จึงได้ประกอบขึ้นจนแล้วเสร็จ เป็น "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
🇹🇭 ก่อนถึงตัวอำเภอปาย ประมาณ 10 กิโลเมตร บนเส้นทางหมายเลข 1095
ถือเป็นหน้าด่านของอำเภอปาย
🌉 สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีลักษณะคล้ายกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
🏞️ โดยกองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นเส้นทางเดินทัพจากเชียงใหม่ ผ่านอำเภอปายไปยังประเทศพม่า แต่เดิมนั้นเป็นสะพานไม้ ภายหลังสงครามสิ้นสุดทหารญี่ปุ่นถอยทัพกลับได้เผาทำลายสะพานไม้ทิ้ง และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
🌅 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ สะพานถูกน้ำพัดหายไป ทางอำเภอจึงได้ขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้วมาใช้ทดแทน ซึ่งก็คือ "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
🌉 ปัจจุบันจะมีสะพานปูนสร้างอยู่เคียงข้าง แต่สะพานประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งนี้ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ที่มาเยือนอำเภอปายอยู่เป็นประจำ โดยแต่เดิมนั้นเป็นเหล็ก และทางเดินไม้ที่ทรุดโทรม ไม่สามารถเดินได้ แต่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงใหม่นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปบนสะพานเพื่อชมวิว และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้
มีร้านค้าตั้งอยู่หน้าสะพาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : teeteawthai.com 🙏
#ปาย #แม่ฮ่องสอน #ประเทศไทย #Iwilltravelacrossthelandwithu #ChamaiReview
🎥 YouTube : shorturl.at/rtFJK
🦄 Blogger :
https://chamaireview.blogspot.com.
💻 Facebook Page : shorturl.at/wGM07
📱 Instagram : shorturl.at/joRYZ
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
🚩 สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย ตั้งอยู่ที่บ้านท่าปาย ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
🇹🇭 พ.ศ. 2482 ความขัดแย้งเกิดขึ้นในวงกว้าง ครอบคลุมเกือบทุกประเทศ และทุกทวีป เกิดเป็นมหาสงครามโลกครั้งที่ 2
🇹🇭 พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อลำเลียงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ต่างๆ โดยผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเข้าโจมตีประเทศพม่า (เมืองขึ้นของประเทศอังกฤษในขณะนั้น) แต่ด้วยการเดินทัพอันยากลำบาก บนเส้นทางที่เป็นหุบเหว และมีลำน้ำปายขวางกั้น กองทหารญี่ปุ่นจึงได้เกณฑ์ชาวไทยจากหมู่บ้านต่างๆ ให้ขุดถางเส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานต่อคนวันละ 50 สตางค์ - 1.50 บาท ในขณะเดียวกันชาวบ้านอีกฝั่งหนึ่งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ถูกเกณฑ์ว่าจ้างให้ขุดถางเส้นทางมุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่ โดยมาบรรจบกันที่ฝั่งแม่น้ำ บริเวณบ้านท่าปาย อำเภอปาย แล้วจึงร่วมแรงกันใช้ช้างลากไม้ใหญ่หน้า 30 นิ้ว ออกจากป่า ตั้งเป็นเสาสร้างขึ้นเป็นสะพาน บรรจบทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันเหนือแม่น้ำปาย กลายเป็นเส้นทางและสะพานแห่งประวัติศาสตร์สงคราม
🇹🇭 พ.ศ. 2489 สงครามโลกสิ้นสุดลง กองทหารญี่ปุ่นได้ถอยทัพกลับ และทำการเผาสะพานไม้ทิ้ง ส่งผลให้ชาวเมืองที่เคยใช้สะพานร่วมกับทหารญี่ปุ่น ต่างเกิดความไม่สะดวกที่ต้องกลับไปใช้วิธีโดยสารทางเรือ ซึ่งขุดจากไม้ซุงเพื่อข้ามฟาก ชาวบ้านซึ่งเคยชินกับการใช้สะพานข้ามลำน้ำ ต่างได้ร่วมแรงกันสร้างสะพานไม้ขึ้นมา เพื่อใช้ข้ามแม่น้ำปายอีกครั้ง
🇹🇭 พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคม ส่งผลขั้นรุนแรง ทำลายเรือกสวนไร่นาเสียหาย รวมทั้งน้ำป่าได้พัดสะพานไม้หายไป ทางอำเภอปายจึงได้ทำเรื่องขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้ว นำมาใช้แทนสะพานไม้ที่ถูกกระแสน้ำพัดทำลายไป
🇹🇭 พ.ศ. 2518 สะพานนวรัฐจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกทยอยขนย้ายขึ้นมาประกอบใช้ใหม่ ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
🇹🇭 พ.ศ. 2519 หลังจากนั้น 1 ปีเต็ม จึงได้ประกอบขึ้นจนแล้วเสร็จ เป็น "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
ถือเป็นหน้าด่านของอำเภอปาย
🌉 สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีลักษณะคล้ายกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
🏞️ โดยกองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นเส้นทางเดินทัพจากเชียงใหม่ ผ่านอำเภอปายไปยังประเทศพม่า แต่เดิมนั้นเป็นสะพานไม้ ภายหลังสงครามสิ้นสุดทหารญี่ปุ่นถอยทัพกลับได้เผาทำลายสะพานไม้ทิ้ง และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
🌅 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ สะพานถูกน้ำพัดหายไป ทางอำเภอจึงได้ขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้วมาใช้ทดแทน ซึ่งก็คือ "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
มีร้านค้าตั้งอยู่หน้าสะพาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : teeteawthai.com 🙏
#ปาย #แม่ฮ่องสอน #ประเทศไทย #Iwilltravelacrossthelandwithu #ChamaiReview
🎥 YouTube : shorturl.at/rtFJK
🦄 Blogger : https://chamaireview.blogspot.com.
💻 Facebook Page : shorturl.at/wGM07
📱 Instagram : shorturl.at/joRYZ