มีการคาดหมายว่าเศรษฐกิจของเวียดนามจะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในทศวรรษหน้า หากการเติบโตของทั้งสองประเทศดำเนินไปในระดับปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม มีการท้าทายอีกมากมายสำหรับดาวรุ่งแห่งอาเซียนอย่างเวียดนาม
นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารดีบีเอสแห่งสิงคโปร์ คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนาม จะแซงหน้าสิงคโปร์ภายในปี 2572 หากเวียดนามรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ที่ปีละประมาณ 6.5% ส่วนสิงคโปร์ก็ขยายตัวปีละ 2.5%
จากข้อมูลเมื่อปี 2560 จีดีพีของเวียดนามมีมูลค่า 224,000 ล้านดอลลาร์ หรือเพียง 69% ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่า 324,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทั้งยังมีประชากรมากที่สุด ยังครองตำแหน่งเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดของอาเซียนด้วยมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ตามด้วยไทย (456,000 ล้านดอลลาร์), สิงคโปร์, มาเลเซีย (317,000 ล้านดอลลาร์), ฟิลิปปินส์ 314,000 ล้านดอลลาร์ และเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม จีดีพีต่อหัวเป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อและมาตรฐานการครองชีพของประเทศได้ดีกว่า ซึ่งหากวัดจีดีพีต่อหัวนั้น สิงคโปร์มาเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ด้วยจีดีพีต่อหัว 57,722 ดอลลาร์เมื่อปี 2560 หรือสูงกว่าเวียดนามซึ่งมีจีดีพีต่อหัวที่ 2,390 ดอลลาร์ ถึงกว่า 24 เท่า
เวียดนามจะต้องก้าวข้ามหรือเอาชนะอุปสรรคหลายประการ หากจะแซงหน้าสิงคโปร์ให้ได้ตามการคาดหมาย
แม้เวียดนามได้ส้มหล่นจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน แต่ก็ต้องระวังเกี่ยวกับการกีดกันการค้าที่มากขึ้นในโลก โดยเวียดนามสามารถส่งออกสินค้าอย่างชิ้นส่วนโทรศัพท์ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ได้มากขึ้น ปกติแล้วสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่จีนส่งออกไปสหรัฐ
นอกจากนั้น แม้ทุนมนุษย์ของเวียดนามจะอยู่อันดับ 2 ของอาเซียนจากดัชนีทุนมนุษย์ของธนาคารโลก แต่เวียดนามยังต้องการแรงงานที่มีทักษะในระดับสูง
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม และการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงการศึกษา ล้วนเป็นประเด็นข้อวิตกที่ต้องได้รับการพิจารณา หากเวียดนามต้องการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสูง
ภาคธนาคารของเวียดนาม ยังตามหลังบรรดาประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน โดยคนเวียดนามเพียง 20% มีบัญชีธนาคาร
ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นอีกหนึ่งในข้อวิตก โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ ซึ่งเวียดนามและหลายประเทศของอาเซียนอ้างสิทธิ
การบริหารจัดการน้ำก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ นักวิชาการเผยว่าคนในเมืองประมาณ 8.5 ล้านคน และในชนบทอีก 41 ล้านคน ไม่มีน้ำสะอาดใช้ โดย 60% ของคนในเวียดนาม พึ่งพาน้ำบาดาล
เวียดนามยังเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และปริมาณฝนที่ตกมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม อันจะกระทบต่อชีวิตประชาชนและสภาพเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่หลั่งไหลเข้าไปเวียดนาม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวถึง 7.1% เมื่อปีที่แล้ว นับว่าสูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากอินเดียที่ขยายตัว 7.2%
นอกจากนั้น เวียดนามยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเลกทรอนิกรายใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากมาเลเซีย การลงทุนในภาคนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยักษ์ใหญ่ภาคอิเลกทรอนิก อย่างบริษัทซัมซุงและไมโครซอฟท์ ได้เข้าไปลงทุนในเวียดนาม นอกจากนั้น ต้นทุนแรงงานยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิตที่มีความดึงดูดใจ
ในส่วนของระบบการเมืองเวียดนามมีความมั่นคง และพรรคคอมมิวนิสต์ก็ทุ่มลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนัก คิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อจีดีพีสูงที่สุดในอาเซียน
https://money2know.com/%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1/
อีก10ปีขนาดเศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงหน้าสิงคโปร์-จี้ติดไทย
นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารดีบีเอสแห่งสิงคโปร์ คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเวียดนาม จะแซงหน้าสิงคโปร์ภายในปี 2572 หากเวียดนามรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ที่ปีละประมาณ 6.5% ส่วนสิงคโปร์ก็ขยายตัวปีละ 2.5%
จากข้อมูลเมื่อปี 2560 จีดีพีของเวียดนามมีมูลค่า 224,000 ล้านดอลลาร์ หรือเพียง 69% ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่า 324,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทั้งยังมีประชากรมากที่สุด ยังครองตำแหน่งเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดของอาเซียนด้วยมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ตามด้วยไทย (456,000 ล้านดอลลาร์), สิงคโปร์, มาเลเซีย (317,000 ล้านดอลลาร์), ฟิลิปปินส์ 314,000 ล้านดอลลาร์ และเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม จีดีพีต่อหัวเป็นเครื่องวัดอำนาจซื้อและมาตรฐานการครองชีพของประเทศได้ดีกว่า ซึ่งหากวัดจีดีพีต่อหัวนั้น สิงคโปร์มาเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ด้วยจีดีพีต่อหัว 57,722 ดอลลาร์เมื่อปี 2560 หรือสูงกว่าเวียดนามซึ่งมีจีดีพีต่อหัวที่ 2,390 ดอลลาร์ ถึงกว่า 24 เท่า
เวียดนามจะต้องก้าวข้ามหรือเอาชนะอุปสรรคหลายประการ หากจะแซงหน้าสิงคโปร์ให้ได้ตามการคาดหมาย
แม้เวียดนามได้ส้มหล่นจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน แต่ก็ต้องระวังเกี่ยวกับการกีดกันการค้าที่มากขึ้นในโลก โดยเวียดนามสามารถส่งออกสินค้าอย่างชิ้นส่วนโทรศัพท์ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ได้มากขึ้น ปกติแล้วสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่จีนส่งออกไปสหรัฐ
นอกจากนั้น แม้ทุนมนุษย์ของเวียดนามจะอยู่อันดับ 2 ของอาเซียนจากดัชนีทุนมนุษย์ของธนาคารโลก แต่เวียดนามยังต้องการแรงงานที่มีทักษะในระดับสูง
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม และการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงการศึกษา ล้วนเป็นประเด็นข้อวิตกที่ต้องได้รับการพิจารณา หากเวียดนามต้องการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับสูง
ภาคธนาคารของเวียดนาม ยังตามหลังบรรดาประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน โดยคนเวียดนามเพียง 20% มีบัญชีธนาคาร
ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นอีกหนึ่งในข้อวิตก โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ ซึ่งเวียดนามและหลายประเทศของอาเซียนอ้างสิทธิ
การบริหารจัดการน้ำก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ นักวิชาการเผยว่าคนในเมืองประมาณ 8.5 ล้านคน และในชนบทอีก 41 ล้านคน ไม่มีน้ำสะอาดใช้ โดย 60% ของคนในเวียดนาม พึ่งพาน้ำบาดาล
เวียดนามยังเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และปริมาณฝนที่ตกมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม อันจะกระทบต่อชีวิตประชาชนและสภาพเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่หลั่งไหลเข้าไปเวียดนาม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวถึง 7.1% เมื่อปีที่แล้ว นับว่าสูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากอินเดียที่ขยายตัว 7.2%
นอกจากนั้น เวียดนามยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเลกทรอนิกรายใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากมาเลเซีย การลงทุนในภาคนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยักษ์ใหญ่ภาคอิเลกทรอนิก อย่างบริษัทซัมซุงและไมโครซอฟท์ ได้เข้าไปลงทุนในเวียดนาม นอกจากนั้น ต้นทุนแรงงานยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิตที่มีความดึงดูดใจ
ในส่วนของระบบการเมืองเวียดนามมีความมั่นคง และพรรคคอมมิวนิสต์ก็ทุ่มลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนัก คิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อจีดีพีสูงที่สุดในอาเซียน
https://money2know.com/%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1/