สวัสดีค่ะ วันนี้มาเริ่มด้วยการถามคำถามที่ว่า คำว่า Era อ่านออกเสียงว่าอะไร 1. อีร่า 2. แอร่า 3. เออร่า
ลองออกเสียงดูนะคะ....
เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็อ่านต่อกันเลยค่ะ...
ปกติฉันจะออกเสียงคำนี้ว่า “อีร่า” แต่เมื่อสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ลูกค้าที่ร้านคาเฟ่ เพื่อนๆและคนใกล้ตัว ชาวอเมริกัน บอกว่าฉันออกเสียงผิด (มาตลอด 30 กว่าปี) คำนี้ต้องออกเสียงว่า “แอร่า” มีใครออกเสียง คำนี้ได้ถูกต้องบ้างเอ่ย...
ลูกค้าร้านคาเฟ่คนหนึ่ง บอกว่า ถ้าเทียบคำสองคำ ระหว่างคำว่า Era และ Ear ซึ่ง ตัวอี ในคำว่า Era และ Ear ออกเสียงต่างกัน ซึ่ง ตัวอี ใน Era ออกเสียงว่า แอ แต่ ตัวอีใน Ear ออกเสียงว่า อี... งงไหมคะ ..
ย้อนไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน ฉันทำงานอยู่ที่โรงแรมระดับห้าดาว ที่เป็นโรงแรมแฟนไชนส์ มีสาขาอยู่ทั่วโลก ฉันรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครอง (Human Resource Manager) ที่ฉันต้องเอ่ยว่า โรงแรมที่ฉันทำงานอยู่นั้น เป็นโรงแรมระดับห้าดาว มีสาขาอยู่ทั่วโลก ไม่ใช่เพราะความอยากอวดอ้าง อะไร แต่อยากบอกว่า การที่คนไทยคนหนึ่ง พูดภาษาอังกฤษ สำเนียงแปลกๆ เพี้ยนๆ เขียนภาษาอังกฤษ ผิดๆถูกๆ หลักไวยากรณ์ ได้รับหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายปกครอง และเป็นคนเอเชียนคนเดียว ในหมู่ผู้บริหารระดับสูง ทำหน้าที่ ควบคุมคนงานประจำ สามร้อย สี่ร้อยคน ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนัก ถึงแม้ความมั่นใจ และความทุ่มเทในการทำงาน มีเต็มร้อย ที่เป็นปมเด่นของฉัน ที่ทำให้ฉันก้าวขึ้นรับตำแหน่งหัวหน้าได้อย่างภาคภูมิใจ แต่การใช้ภาษาอังกฤษ กลับเป็น my personal battle (ขอโทษค่ะ คิดไม่ออกจริงๆ ว่าจะใช้คำไทยว่าอะไร) ที่ฉันไม่เคยเอาชนะมันได้ ถ้าเมื่อฉันอ่อนแอ เผลอไผล ภาษาอังกฤษของฉ้นก็จะหละหลวม และง่อยเปลี้ยทันที ดังนั้นฉันทุ่มเทกับการเอาชนะ “ภาษาอังกฤษ” ด้วยการ ไม่พูดไทย ไม่เขียนไทย ไม่อ่านไทย ไม่ดูละคร หรือทีวีไทย ทุกๆวันจะพยายามใช้ภาษาอังกฤษกับสามีชาวอเมริกัน เพื่อนๆ และผู้ร่วมงาน ชาวอเมริกันให้มากที่สุด และให้เวลากับการใช้ภาษาไทย น้อยถึง 0.1 เปอร์เซ็นต์ หรือแทบไม่ได้ใช้เลย ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะดีมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ และเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มีวันที่จะเทียบเท่าเจ้าของภาษาได้
ฉันมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง เดือนหน้าเธอก็จะสิบขวบแล้ว ตั้งแต่คลอดเธอ ฉันก็เปิดทีวี วิทยุ ให้เธอฟังภาษาอังกฤษตลอดเวลา พอเธออายุได้หกเดือน เริ่มอ้อแอ้ จะพูดแล้ว ฉันกับพ่อแม่ของฉัน ก็เริ่มจะสอนภาษาไทยให้เธอเป็นคำๆ อย่างคำว่าดอกไม้ หิว นม อะไรประมาณนี้ พอเธออายุได้ประมาณหนึ่งขวบ เธอก็เอ่ยคำไทย คำสั้นๆได้ จนกระทั่งเธออายุได้สัก สิบแปดเดือน ฉันก็พาเธอไปเข้าโรงเรียนเดย์แคร์ (Day Care) ตั้งแต่นั้นมา เธอไม่พูดภาษาไทยอีกเลย ช่วงนั้นฉันกับพ่อแม่ของฉัน เลยตกลงกันว่า จะให้เธอใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียว ซึ่งมันควรจะเป็นภาษาหลักของเธออยู่แล้ว และอีกอย่าง ฉัน และพ่อแม่ของฉัน จะได้ใช้ภาษาไทยน้อยลง และเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ดังนั้นในครอบครัวนี้ สามคนพ่อ แม่ ลูก เราจะใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารกัน ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ลูกสาวเล็กๆจนโต ฉันอ่านหนังสือภาษาอังกฤษให้ลูกฟังก่อนนอนทุกวัน และตอนที่เธอเข้าโรงเรียนอนุบาล ฉันก็สอน A B C อ่านและเขียน อย่างที่พ่อแม่คนอื่นทำเสมอ
ปกติก่อนเวลาโรงเรียนเปิดเทอมแรกของทุกๆปี ทุกๆชั้นเรียน เขาจะมี Package คล้ายๆเป็นใบสมัคร นักเรียน เข้าชั้นเรียนใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นนักเรียนเก่า เรียนโรงเรียนเดิม จากป.1 ขึ้น ป.2 เราก็ยังต้องกรอก Package นี้อยู่ดี ใน Package นี้จะมีเอกสารให้เรากรอก หลายแบบมาก อย่างเช่น ใบสมัคร รายละเอียดชื่อและประวัตินักเรียน แบบฟอร์มขออาหารกลางวันฟรี แบบฟอร์มข้อมูลโรคประจำตัว ชื่อหมอ โรงพยาบาล และหมายเลขประกันสุขภาพ โอ๊ยเอกสารมากมาย เหลือที่จะกรอก แต่มันจะมีเอกสารอยู่แผ่นหนึ่ง ถามว่า ในบ้านที่อยู่อาศัย ของนักเรียน มีการใช้ภาษาอะไรบ้าน นอกจากภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าในครอบครัวของฉัน จะใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารกัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ฉันยังคงกรอกไปว่า ใช้ภาษาไทย 10 เปอร์เซ็นต์ และภาษาอังกฤษ 90 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลที่ว่า
เมื่อทางโรงเรียนของลูกสาว เห็นใบเอกสารนี้เข้า เขาก็จัดให้ลูกสาวอยู่ในกลุ่ม English Learner ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กที่บ้านใช้สองภาษา อย่างเด็ก แม็กซิกัน เอเชีย หรืออื่นๆ ที่พ่อแม่คุยกับเด็ก หรือเด็กพูดภาษาสองภาษา (Bilingual) ซึ่งเด็กนักเรียนเหล่านี้ จะถูกทดสอบ การพูด การอ่าน การฟัง และการเขียนภาษาอังกฤษ ในอาทิตย์แรกของการเปิดเทอม เพื่อให้รู้ว่า เด็กแต่ละคน ควรจะเรียนภาษาอังกฤษอะไร และแบบไหนเพิ่มเติม โดยปกติ ลูกสาวจะผ่านการทดสอบเสมอ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักของเธอ และเธอก็พูดได้ภาษาเดียว แต่เป็นเพราะเธอมีรายชื่ออยู่ในกลุ่ม English Learner เธอจะถูกจับติวเข้ม ภาษาอังกฤษ มากกว่าเด็กอเมริกัน และในช่วงซัมเมอร์ เธอก็ไปเรียนซัมเมอร์คลาสทุกปี เพราะฉันเชื่อว่า ลงเรียนเยอะๆ ดีกว่าไม่ได้เรียนอะไรเลย
เมื่อปีที่แล้ว ลูกสาวได้ย้ายมาเข้า ป.3 ที่โรงเรียนใหม่ เป็นโรงเรียนที่เขาเรียกว่าเป็น Charter School คือโรงเรียนสำหรับเด็กเก่ง และมีพรสวรรค์ โรงเรียนเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียน Charter School แม้จะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล แต่ต่างจาก Public School ที่เป็นโรงเรียนของรัฐบาลเช่นกัน ตรงที่ Charter School จะเป็นโรงเรียนปิด และทำการคัดเลือกเด็กเข้าโรงเรียน ที่หยุมหยิม และมีกฎเกณท์มากกว่า และจำกัดจำนวนนักเรียนใน แต่ละห้อง และแต่ละชั้นเรียน ซึ่งต่างจาก Public School ที่เปิดรับหมด ไม่ว่าเด็กจะเป็นใคร มาจากไหน เก่งหรือไม่เก่ง ห้องเรียนจะพอ หรือไม่พอ ครูหนึ่งคนจะรับนักเรียนได้กี่คน ไม่มีจำกัด Public School รับเข้าเรียนหมด และแม้แต่ เด็กนักเรียนต่างด้าว ที่ไม่มีใบอะไรทั้งสิ้น ก็รับสอนหมด
ลูกสาวกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน
และอีกอย่าง ซึ่งปีที่ผ่านมา ลูกสาวซึ่งเรียนบัลเล่ต์ที่ โรงเรียนสอนบัลเล่ต์ Tulsa Ballet Center of Dance Education มาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เมื่อปีที่แล้ว เธอได้รับบรรจุ ให้เป็นนักเรียนประจำ ในชั้น Lower Level - Elementary I ซึ่งมีเรียนสองวัน หลังเลิกเรียน เรียนบัลเล่ต์และแจ๊ส รวมอาทิตย์ละ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งการเป็นนักเรียนประจำของที่ Tulsa Ballet Center of Dance Education ที่เป็นโรงเรียนของคณะบัลเล่ต์ Tulsa Ballet เป็นคณะบัลเล่ต์ เชื้อสายรัสเซีย ที่มีนักเต้นบัลเล่ต์มืออาชีพ หลายร้อยคน และได้มีการเดินทางไปแสดงทั้งในประเทศอเมริกา และต่างประเทศมากมาย ซึ่งทางคณะบัลเล่ต์ Tulsa Ballet เปิดการโรงเรียน สอนการเต้น ให้เด็กๆรุ่นใหม่ เพื่อที่จะปั้นนักบัลเล่ต์มืออาชีพ มาเข้าร่วมคณะบัลเล่ต์ของเขา เมื่อวันที่เด็กๆเหล่านั้น จบการศึกษาจากโรงเรียนนี้ ซึ่งทางลูกสาว ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงบัลเล่ต์ บนเวทีโปรเฟชชั่นนอล กับทาง Tulsa Ballet ตั้งแต่เธอ 6 ขวบ การที่ได้รับบรรจุให้เป็นนักเรียน ประจำของที่ TBCD นำความภาคภูมิใจมาสู่ ลูกสาวของฉันเป็นอย่างมาก แต่ปัญหามันก็อยู่ที่ว่า ปีที่แล้วเธอก็เริ่มเข้า ป.3 ที่โรงเรียนใหม่ ที่แข็งและเข้มงวดกว่าโรงเรียนเก่าที่เป็น Public School นั้น ทำให้เราสองคนแม่ลูก ต้องปรับตัวและจัดตารางกิจกรรมของลูกสาวใหม่หมด
ลูกสาวกับเพื่อนๆ ที่ Tulsa Ballet Center of Dance Education เบื้องหลังเวที รอเวลาขึ้นเวที แสดงบังเล่ต์ เรื่อง The Nutcracker 2018
ลูกสาวกับเพื่อนๆ ที่ Tulsa Theatre กับการแสดงละครเวที ครั้งแรกของเธอ เรื่อง Aladdin the Musical
นอกจากที่ลูกสาวจะต้องแบ่งเวลาการเป็นนักเรียน สองโรงเรียนแล้ว เธอยังต้องเรียน(ตาม) เพื่อนๆ ชั้น ป.3 ที่แต่ละคนเก่งๆ ระดับหัวกะทิ ที่ผ่านการเคี่ยวเข็นกันมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล นอกจากนั้นยังไม่พอ ทางประเทศอเมริกา มีกฎหมายว่า ให้เริ่มมีการสอบ State Test หรือเรียกง่ายๆว่า สอบประจำปี หรือสอบเลื่อนชั้น เริ่มตั้งแต่ชั้น ป.3 เป็นต้นไป ซึ่งโดยส่วนตัวลูกสาว ไม่เคยผ่านการทำข้อสอบใดๆมาก่อนเลยในชีวิตการเป็นนักเรียนของเธอ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนไทย เรารู้จักการสอบ ข้อสอบ มาตั้งแต่ชั้นอนุบาล เพราะเป็นที่รู้ๆกันว่า ถ้าใครอย่างเข้าโรงเรียนดีๆดังๆ ก็ต้องพาลูกไปสอบเข้าโรงเรียนนั้นๆ ตั้งแต่สาม สี่ขวบ แต่ที่อเมริกา เขาจะไม่มีการให้เด็กทำข้องสอบ อะไรเลย จนกระทั่ง ป.3
State Test หรือข้อสอบของรัฐ จะเป็นข้อสอบแบ่งเป็นสองส่วน คือ การอ่าน และคณิตศาสตร์ แต่ละรัฐจะทำหน้าที่ออกข้อสอบเอง แล้วแจกจ่ายไปยังโรงเรียนของรัฐต่างๆ ทั่วรัฐ จะมีการสอบปีละครั้ง ในเดือนมีนาคม และจะทำการสอบจากเด็ก ป.3 ขึ้นไป
ลูกสาวของฉัน เป็นเด็กไม่อยู่เฉยตั้งแต่เล็กจนโต เขาชอบทำกิจกรรม ชอบการไปเรียนคลาสนั้น คลาสนี้ อย่างเช่น ว่ายน้ำ ยิมนาสติค ร้องเพลง เต้นแจ้ส บัลเล่ต์ รวมถึงการแสดงละครเวที ถึงแม้ว่าลูกสาวจะทำกิจกรรมเยอะ แต่ฉันจะช่วยเธอจัดสรรเวลา วิ่งลอกระหว่าง โรงเรียน เวลาทำการบ้าน และคลาสเรียนกิจกรรมต่างๆ เสมอ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของลูกสาวคือ การอ่าน ซึ่งทางโรงเรียนใหม่ก็ไม่นิ่งนอนใจ ในปัญหาเรื่องการอ่านของลูกสาว เธอถูกจับเรียนพิเศษ ตอนเย็นสองวันต่ออาทิตย์ เคี่ยวเข็ญเรื่องการอ่าน และคณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมตัวสอบ ข้อสอบของรัฐ ซึ่งทางโรงเรียนจะแจกผลการเรียน ให้ผู้ปกครองทราบทุกๆสองเดือน ซึ่งสองสาวก็ทำคะแนนการอ่าน จาก F, มา D, มา C, และ B ในที่สุด และทุกครั้งคุณครูก็เรียกฉันไปปรึกษาเรื่องการอ่าน และวางแผนการเรียนของลูก ด้วยกันเสมอ และเมื่อผลการเรียนออกมาว่าเขาได้เกรดบี ในวิชาการอ่าน และผลการเรียนของลูกในวิชาอื่นๆ มี แต่ A และ B ทำให้เราหายใจทั่วท้องขึ้น และเตรียมตัวจะเลื่อนชั้นขึ้น ป.4 ในเดือนสิงหาคมปีนี้
แต่หลังจากที่โรงเรียนปิดซัมเมอร์ได้สองอาทิตย์ ทางโรงเรียนส่งอีเมล์มาบอกว่า ลูกสาวสอบไม่ผ่านข้อสอบของรัฐ ทำให้เธอต้องซ้ำชั้น ป.3 อีกปีหนึ่ง อีแม่ถึงกับงงตาแตก...
การที่ฉันไม่ได้เติบโตมาที่ประเทศอเมริกา และไม่ได้เรียนชั้นประถม และมัธยม ในประเทศอเมริกา ทำให้ฉันไม่เข้าใจระบบการเรียนของที่นี่เป็นอย่างมาก นักเรียนที่นี่จะไม่มีหนังสือเรียน เหมือนอย่างที่บ้านเรา ซึ่งทำให้ฉันงงมาก เวลาที่จะต้องสอนการบ้านลูก ถ้าเป็นวิชาเลข บวกลบ การบ้านก็จะเป็นชีทกระดาษก๊อปปี้ คำถามมาให้ ฉันก็ถามลูกว่า ที่โรงเรียนสอนบวก ลบ อย่างไร เธอก็ยักไหล่ ดังนั้นฉันก็เลยใช้เทคนิคการสอน ของฉันเอง คือการนับนิ้วมือ นิ้วเท้า การนับเลข ทดเลขในใจ สอนไปเรื่อยเปื่ย ตามสติปัญญาที่ฉันมี ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองไทย คุณพ่อ คุณแม่ก็จะสอนตามขั้นตอนที่ในหนังสือเขียนไว้ ง่ายจะตาย... ส่วนการอ่านภาษาไทย ที่เมืองไทย ก็เอาสิ สอนกันตามหนังสือ กอ-อะ-กะ กอ-อา-กา ส่วนการอ่านก็ มานีมีตา มานะมีปู ชูใจดูปู ส่วนข้อสอบก็ออกมาแบบว่า มานี มีอะไร... ใครมีปู... ชูใจดูอะไร... ประมาณนี้ แต่ที่อเมริกา ข้อสอบการอ่านของนักเรียนชั้น ป.3 เป็นเรื่องยาวสองหน้ากระดาษ A4 ที่ไม่เคยอ่านเจอที่ไหนมาก่อน คำถามเป็นคำถามแบบวิเคราะห์ จับใจความ ที่เรียกว่า Comprehension ก่อนที่เขาจะมีการสอบประจำปีกัน ทางโรงเรียนได้ส่งตัวอย่างแบบทดสอบของรัฐ มาให้ผู้ปกครองได้ดู ฉันดูในส่วนของการอ่าน แล้วถึงกับอึ้ง เพราะการอ่านเรื่องยาวๆแบบนี้ ฉันเจอตอนที่ฉันเรียนวิชาการอ่าน ภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยม ซึ่งฉันบอกเลยว่า เป็นอะไรที่ยากมาก สำหรับเด็กอายุ 8-9 ขวบ แต่ก็กระนั้น หลังจากที่การสอบจบลง ทางโรงเรียนก็ไม่ได้ส่งผลการสอบมาให้ว่า ลูกสาวของฉัน ทำข้อสอบได้ดี หรือไม่ดีเท่าไหร่ จนกระทั่งวันสุดท้ายของการเรียน ลูกสาวเอาแผ่นรายลงผลการเรียนมาให้ดู ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า เธอได้เกรด A และ B ในทุกวิชา แต่ที่สงสัยคือ ทำไมโรงเรียนส่งอีเมล์ว่าลูกสาวต้องเรียนซ้ำชั้น ป.3 อีกปี
เล่าได้เล่าดี ตอน.. การเรียนของลูกครึ่งอเมริกัน
ลองออกเสียงดูนะคะ....
เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็อ่านต่อกันเลยค่ะ...
ปกติฉันจะออกเสียงคำนี้ว่า “อีร่า” แต่เมื่อสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ลูกค้าที่ร้านคาเฟ่ เพื่อนๆและคนใกล้ตัว ชาวอเมริกัน บอกว่าฉันออกเสียงผิด (มาตลอด 30 กว่าปี) คำนี้ต้องออกเสียงว่า “แอร่า” มีใครออกเสียง คำนี้ได้ถูกต้องบ้างเอ่ย...
ลูกค้าร้านคาเฟ่คนหนึ่ง บอกว่า ถ้าเทียบคำสองคำ ระหว่างคำว่า Era และ Ear ซึ่ง ตัวอี ในคำว่า Era และ Ear ออกเสียงต่างกัน ซึ่ง ตัวอี ใน Era ออกเสียงว่า แอ แต่ ตัวอีใน Ear ออกเสียงว่า อี... งงไหมคะ ..
ย้อนไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน ฉันทำงานอยู่ที่โรงแรมระดับห้าดาว ที่เป็นโรงแรมแฟนไชนส์ มีสาขาอยู่ทั่วโลก ฉันรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครอง (Human Resource Manager) ที่ฉันต้องเอ่ยว่า โรงแรมที่ฉันทำงานอยู่นั้น เป็นโรงแรมระดับห้าดาว มีสาขาอยู่ทั่วโลก ไม่ใช่เพราะความอยากอวดอ้าง อะไร แต่อยากบอกว่า การที่คนไทยคนหนึ่ง พูดภาษาอังกฤษ สำเนียงแปลกๆ เพี้ยนๆ เขียนภาษาอังกฤษ ผิดๆถูกๆ หลักไวยากรณ์ ได้รับหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายปกครอง และเป็นคนเอเชียนคนเดียว ในหมู่ผู้บริหารระดับสูง ทำหน้าที่ ควบคุมคนงานประจำ สามร้อย สี่ร้อยคน ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนัก ถึงแม้ความมั่นใจ และความทุ่มเทในการทำงาน มีเต็มร้อย ที่เป็นปมเด่นของฉัน ที่ทำให้ฉันก้าวขึ้นรับตำแหน่งหัวหน้าได้อย่างภาคภูมิใจ แต่การใช้ภาษาอังกฤษ กลับเป็น my personal battle (ขอโทษค่ะ คิดไม่ออกจริงๆ ว่าจะใช้คำไทยว่าอะไร) ที่ฉันไม่เคยเอาชนะมันได้ ถ้าเมื่อฉันอ่อนแอ เผลอไผล ภาษาอังกฤษของฉ้นก็จะหละหลวม และง่อยเปลี้ยทันที ดังนั้นฉันทุ่มเทกับการเอาชนะ “ภาษาอังกฤษ” ด้วยการ ไม่พูดไทย ไม่เขียนไทย ไม่อ่านไทย ไม่ดูละคร หรือทีวีไทย ทุกๆวันจะพยายามใช้ภาษาอังกฤษกับสามีชาวอเมริกัน เพื่อนๆ และผู้ร่วมงาน ชาวอเมริกันให้มากที่สุด และให้เวลากับการใช้ภาษาไทย น้อยถึง 0.1 เปอร์เซ็นต์ หรือแทบไม่ได้ใช้เลย ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะดีมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ และเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มีวันที่จะเทียบเท่าเจ้าของภาษาได้
ฉันมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง เดือนหน้าเธอก็จะสิบขวบแล้ว ตั้งแต่คลอดเธอ ฉันก็เปิดทีวี วิทยุ ให้เธอฟังภาษาอังกฤษตลอดเวลา พอเธออายุได้หกเดือน เริ่มอ้อแอ้ จะพูดแล้ว ฉันกับพ่อแม่ของฉัน ก็เริ่มจะสอนภาษาไทยให้เธอเป็นคำๆ อย่างคำว่าดอกไม้ หิว นม อะไรประมาณนี้ พอเธออายุได้ประมาณหนึ่งขวบ เธอก็เอ่ยคำไทย คำสั้นๆได้ จนกระทั่งเธออายุได้สัก สิบแปดเดือน ฉันก็พาเธอไปเข้าโรงเรียนเดย์แคร์ (Day Care) ตั้งแต่นั้นมา เธอไม่พูดภาษาไทยอีกเลย ช่วงนั้นฉันกับพ่อแม่ของฉัน เลยตกลงกันว่า จะให้เธอใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียว ซึ่งมันควรจะเป็นภาษาหลักของเธออยู่แล้ว และอีกอย่าง ฉัน และพ่อแม่ของฉัน จะได้ใช้ภาษาไทยน้อยลง และเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ดังนั้นในครอบครัวนี้ สามคนพ่อ แม่ ลูก เราจะใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารกัน ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ลูกสาวเล็กๆจนโต ฉันอ่านหนังสือภาษาอังกฤษให้ลูกฟังก่อนนอนทุกวัน และตอนที่เธอเข้าโรงเรียนอนุบาล ฉันก็สอน A B C อ่านและเขียน อย่างที่พ่อแม่คนอื่นทำเสมอ
ปกติก่อนเวลาโรงเรียนเปิดเทอมแรกของทุกๆปี ทุกๆชั้นเรียน เขาจะมี Package คล้ายๆเป็นใบสมัคร นักเรียน เข้าชั้นเรียนใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นนักเรียนเก่า เรียนโรงเรียนเดิม จากป.1 ขึ้น ป.2 เราก็ยังต้องกรอก Package นี้อยู่ดี ใน Package นี้จะมีเอกสารให้เรากรอก หลายแบบมาก อย่างเช่น ใบสมัคร รายละเอียดชื่อและประวัตินักเรียน แบบฟอร์มขออาหารกลางวันฟรี แบบฟอร์มข้อมูลโรคประจำตัว ชื่อหมอ โรงพยาบาล และหมายเลขประกันสุขภาพ โอ๊ยเอกสารมากมาย เหลือที่จะกรอก แต่มันจะมีเอกสารอยู่แผ่นหนึ่ง ถามว่า ในบ้านที่อยู่อาศัย ของนักเรียน มีการใช้ภาษาอะไรบ้าน นอกจากภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าในครอบครัวของฉัน จะใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารกัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ฉันยังคงกรอกไปว่า ใช้ภาษาไทย 10 เปอร์เซ็นต์ และภาษาอังกฤษ 90 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลที่ว่า
เมื่อทางโรงเรียนของลูกสาว เห็นใบเอกสารนี้เข้า เขาก็จัดให้ลูกสาวอยู่ในกลุ่ม English Learner ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กที่บ้านใช้สองภาษา อย่างเด็ก แม็กซิกัน เอเชีย หรืออื่นๆ ที่พ่อแม่คุยกับเด็ก หรือเด็กพูดภาษาสองภาษา (Bilingual) ซึ่งเด็กนักเรียนเหล่านี้ จะถูกทดสอบ การพูด การอ่าน การฟัง และการเขียนภาษาอังกฤษ ในอาทิตย์แรกของการเปิดเทอม เพื่อให้รู้ว่า เด็กแต่ละคน ควรจะเรียนภาษาอังกฤษอะไร และแบบไหนเพิ่มเติม โดยปกติ ลูกสาวจะผ่านการทดสอบเสมอ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักของเธอ และเธอก็พูดได้ภาษาเดียว แต่เป็นเพราะเธอมีรายชื่ออยู่ในกลุ่ม English Learner เธอจะถูกจับติวเข้ม ภาษาอังกฤษ มากกว่าเด็กอเมริกัน และในช่วงซัมเมอร์ เธอก็ไปเรียนซัมเมอร์คลาสทุกปี เพราะฉันเชื่อว่า ลงเรียนเยอะๆ ดีกว่าไม่ได้เรียนอะไรเลย
เมื่อปีที่แล้ว ลูกสาวได้ย้ายมาเข้า ป.3 ที่โรงเรียนใหม่ เป็นโรงเรียนที่เขาเรียกว่าเป็น Charter School คือโรงเรียนสำหรับเด็กเก่ง และมีพรสวรรค์ โรงเรียนเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียน Charter School แม้จะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล แต่ต่างจาก Public School ที่เป็นโรงเรียนของรัฐบาลเช่นกัน ตรงที่ Charter School จะเป็นโรงเรียนปิด และทำการคัดเลือกเด็กเข้าโรงเรียน ที่หยุมหยิม และมีกฎเกณท์มากกว่า และจำกัดจำนวนนักเรียนใน แต่ละห้อง และแต่ละชั้นเรียน ซึ่งต่างจาก Public School ที่เปิดรับหมด ไม่ว่าเด็กจะเป็นใคร มาจากไหน เก่งหรือไม่เก่ง ห้องเรียนจะพอ หรือไม่พอ ครูหนึ่งคนจะรับนักเรียนได้กี่คน ไม่มีจำกัด Public School รับเข้าเรียนหมด และแม้แต่ เด็กนักเรียนต่างด้าว ที่ไม่มีใบอะไรทั้งสิ้น ก็รับสอนหมด
ลูกสาวกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน
และอีกอย่าง ซึ่งปีที่ผ่านมา ลูกสาวซึ่งเรียนบัลเล่ต์ที่ โรงเรียนสอนบัลเล่ต์ Tulsa Ballet Center of Dance Education มาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เมื่อปีที่แล้ว เธอได้รับบรรจุ ให้เป็นนักเรียนประจำ ในชั้น Lower Level - Elementary I ซึ่งมีเรียนสองวัน หลังเลิกเรียน เรียนบัลเล่ต์และแจ๊ส รวมอาทิตย์ละ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งการเป็นนักเรียนประจำของที่ Tulsa Ballet Center of Dance Education ที่เป็นโรงเรียนของคณะบัลเล่ต์ Tulsa Ballet เป็นคณะบัลเล่ต์ เชื้อสายรัสเซีย ที่มีนักเต้นบัลเล่ต์มืออาชีพ หลายร้อยคน และได้มีการเดินทางไปแสดงทั้งในประเทศอเมริกา และต่างประเทศมากมาย ซึ่งทางคณะบัลเล่ต์ Tulsa Ballet เปิดการโรงเรียน สอนการเต้น ให้เด็กๆรุ่นใหม่ เพื่อที่จะปั้นนักบัลเล่ต์มืออาชีพ มาเข้าร่วมคณะบัลเล่ต์ของเขา เมื่อวันที่เด็กๆเหล่านั้น จบการศึกษาจากโรงเรียนนี้ ซึ่งทางลูกสาว ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมแสดงบัลเล่ต์ บนเวทีโปรเฟชชั่นนอล กับทาง Tulsa Ballet ตั้งแต่เธอ 6 ขวบ การที่ได้รับบรรจุให้เป็นนักเรียน ประจำของที่ TBCD นำความภาคภูมิใจมาสู่ ลูกสาวของฉันเป็นอย่างมาก แต่ปัญหามันก็อยู่ที่ว่า ปีที่แล้วเธอก็เริ่มเข้า ป.3 ที่โรงเรียนใหม่ ที่แข็งและเข้มงวดกว่าโรงเรียนเก่าที่เป็น Public School นั้น ทำให้เราสองคนแม่ลูก ต้องปรับตัวและจัดตารางกิจกรรมของลูกสาวใหม่หมด
ลูกสาวกับเพื่อนๆ ที่ Tulsa Ballet Center of Dance Education เบื้องหลังเวที รอเวลาขึ้นเวที แสดงบังเล่ต์ เรื่อง The Nutcracker 2018
ลูกสาวกับเพื่อนๆ ที่ Tulsa Theatre กับการแสดงละครเวที ครั้งแรกของเธอ เรื่อง Aladdin the Musical
นอกจากที่ลูกสาวจะต้องแบ่งเวลาการเป็นนักเรียน สองโรงเรียนแล้ว เธอยังต้องเรียน(ตาม) เพื่อนๆ ชั้น ป.3 ที่แต่ละคนเก่งๆ ระดับหัวกะทิ ที่ผ่านการเคี่ยวเข็นกันมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล นอกจากนั้นยังไม่พอ ทางประเทศอเมริกา มีกฎหมายว่า ให้เริ่มมีการสอบ State Test หรือเรียกง่ายๆว่า สอบประจำปี หรือสอบเลื่อนชั้น เริ่มตั้งแต่ชั้น ป.3 เป็นต้นไป ซึ่งโดยส่วนตัวลูกสาว ไม่เคยผ่านการทำข้อสอบใดๆมาก่อนเลยในชีวิตการเป็นนักเรียนของเธอ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนไทย เรารู้จักการสอบ ข้อสอบ มาตั้งแต่ชั้นอนุบาล เพราะเป็นที่รู้ๆกันว่า ถ้าใครอย่างเข้าโรงเรียนดีๆดังๆ ก็ต้องพาลูกไปสอบเข้าโรงเรียนนั้นๆ ตั้งแต่สาม สี่ขวบ แต่ที่อเมริกา เขาจะไม่มีการให้เด็กทำข้องสอบ อะไรเลย จนกระทั่ง ป.3
State Test หรือข้อสอบของรัฐ จะเป็นข้อสอบแบ่งเป็นสองส่วน คือ การอ่าน และคณิตศาสตร์ แต่ละรัฐจะทำหน้าที่ออกข้อสอบเอง แล้วแจกจ่ายไปยังโรงเรียนของรัฐต่างๆ ทั่วรัฐ จะมีการสอบปีละครั้ง ในเดือนมีนาคม และจะทำการสอบจากเด็ก ป.3 ขึ้นไป
ลูกสาวของฉัน เป็นเด็กไม่อยู่เฉยตั้งแต่เล็กจนโต เขาชอบทำกิจกรรม ชอบการไปเรียนคลาสนั้น คลาสนี้ อย่างเช่น ว่ายน้ำ ยิมนาสติค ร้องเพลง เต้นแจ้ส บัลเล่ต์ รวมถึงการแสดงละครเวที ถึงแม้ว่าลูกสาวจะทำกิจกรรมเยอะ แต่ฉันจะช่วยเธอจัดสรรเวลา วิ่งลอกระหว่าง โรงเรียน เวลาทำการบ้าน และคลาสเรียนกิจกรรมต่างๆ เสมอ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของลูกสาวคือ การอ่าน ซึ่งทางโรงเรียนใหม่ก็ไม่นิ่งนอนใจ ในปัญหาเรื่องการอ่านของลูกสาว เธอถูกจับเรียนพิเศษ ตอนเย็นสองวันต่ออาทิตย์ เคี่ยวเข็ญเรื่องการอ่าน และคณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมตัวสอบ ข้อสอบของรัฐ ซึ่งทางโรงเรียนจะแจกผลการเรียน ให้ผู้ปกครองทราบทุกๆสองเดือน ซึ่งสองสาวก็ทำคะแนนการอ่าน จาก F, มา D, มา C, และ B ในที่สุด และทุกครั้งคุณครูก็เรียกฉันไปปรึกษาเรื่องการอ่าน และวางแผนการเรียนของลูก ด้วยกันเสมอ และเมื่อผลการเรียนออกมาว่าเขาได้เกรดบี ในวิชาการอ่าน และผลการเรียนของลูกในวิชาอื่นๆ มี แต่ A และ B ทำให้เราหายใจทั่วท้องขึ้น และเตรียมตัวจะเลื่อนชั้นขึ้น ป.4 ในเดือนสิงหาคมปีนี้
แต่หลังจากที่โรงเรียนปิดซัมเมอร์ได้สองอาทิตย์ ทางโรงเรียนส่งอีเมล์มาบอกว่า ลูกสาวสอบไม่ผ่านข้อสอบของรัฐ ทำให้เธอต้องซ้ำชั้น ป.3 อีกปีหนึ่ง อีแม่ถึงกับงงตาแตก...
การที่ฉันไม่ได้เติบโตมาที่ประเทศอเมริกา และไม่ได้เรียนชั้นประถม และมัธยม ในประเทศอเมริกา ทำให้ฉันไม่เข้าใจระบบการเรียนของที่นี่เป็นอย่างมาก นักเรียนที่นี่จะไม่มีหนังสือเรียน เหมือนอย่างที่บ้านเรา ซึ่งทำให้ฉันงงมาก เวลาที่จะต้องสอนการบ้านลูก ถ้าเป็นวิชาเลข บวกลบ การบ้านก็จะเป็นชีทกระดาษก๊อปปี้ คำถามมาให้ ฉันก็ถามลูกว่า ที่โรงเรียนสอนบวก ลบ อย่างไร เธอก็ยักไหล่ ดังนั้นฉันก็เลยใช้เทคนิคการสอน ของฉันเอง คือการนับนิ้วมือ นิ้วเท้า การนับเลข ทดเลขในใจ สอนไปเรื่อยเปื่ย ตามสติปัญญาที่ฉันมี ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองไทย คุณพ่อ คุณแม่ก็จะสอนตามขั้นตอนที่ในหนังสือเขียนไว้ ง่ายจะตาย... ส่วนการอ่านภาษาไทย ที่เมืองไทย ก็เอาสิ สอนกันตามหนังสือ กอ-อะ-กะ กอ-อา-กา ส่วนการอ่านก็ มานีมีตา มานะมีปู ชูใจดูปู ส่วนข้อสอบก็ออกมาแบบว่า มานี มีอะไร... ใครมีปู... ชูใจดูอะไร... ประมาณนี้ แต่ที่อเมริกา ข้อสอบการอ่านของนักเรียนชั้น ป.3 เป็นเรื่องยาวสองหน้ากระดาษ A4 ที่ไม่เคยอ่านเจอที่ไหนมาก่อน คำถามเป็นคำถามแบบวิเคราะห์ จับใจความ ที่เรียกว่า Comprehension ก่อนที่เขาจะมีการสอบประจำปีกัน ทางโรงเรียนได้ส่งตัวอย่างแบบทดสอบของรัฐ มาให้ผู้ปกครองได้ดู ฉันดูในส่วนของการอ่าน แล้วถึงกับอึ้ง เพราะการอ่านเรื่องยาวๆแบบนี้ ฉันเจอตอนที่ฉันเรียนวิชาการอ่าน ภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยม ซึ่งฉันบอกเลยว่า เป็นอะไรที่ยากมาก สำหรับเด็กอายุ 8-9 ขวบ แต่ก็กระนั้น หลังจากที่การสอบจบลง ทางโรงเรียนก็ไม่ได้ส่งผลการสอบมาให้ว่า ลูกสาวของฉัน ทำข้อสอบได้ดี หรือไม่ดีเท่าไหร่ จนกระทั่งวันสุดท้ายของการเรียน ลูกสาวเอาแผ่นรายลงผลการเรียนมาให้ดู ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่า เธอได้เกรด A และ B ในทุกวิชา แต่ที่สงสัยคือ ทำไมโรงเรียนส่งอีเมล์ว่าลูกสาวต้องเรียนซ้ำชั้น ป.3 อีกปี