. หากพูดถึงประเทศมหาอำนาจของโลกยุคใหม่ เราทุกคนคงนึกถึงประเทศสหรัฐอเมริกา
ในฐานะความเป็นประเทศผู้นำในเกือบทุกด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึง Lifestyle ของผู้คน
อเมริกาเปรียบเสมือนดินแดนแห่งความฝันของใครหลายคน ที่ครั้งหนึ่งอยากพาชีวิตไปเสี่ยงโชค ไปหาความสำเร็จ
หนึ่งในธุรกิจที่มีเงินสะพัดสูง และได้รับความนิยมจากคนหมู่มาก ทั้งในอเมริกาเองรวมถึงผู้คนนับล้านทั่วโลก
ก็คือ “
ธุรกิจกีฬา” ไม่ว่าจะเป็นอเมริกันฟุตบอล เบสบอล หรือ บาสเก็ตบอล
เราต่างทราบกันดีว่าในปัจจุบันวงการกีฬาระดับโลกแบบนี้ก้าวไปไกลเกินกว่าการแข่งขันเพื่อความสนุกหรือศักดิ์ศรีของผู้ชนะเพียงแค่นั้น
นั่นเพราะเม็ดเงินมหาศาล ที่มาพร้อมกับการแข่งขันกีฬาในด้านต่างๆ เช่น ค่าตัวนักกีฬา ค่าโฆษณา การถ่ายทอดสด
และยังไม่นับรวมผลิตภัณฑ์สินค้าในรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย
เรียกได้ว่า ค่าเหนื่อยของนักบาสเก็ตบอล NBA หลายคน สูงกว่าเงินเดือนของประธานาธิบดีเสียอีก
โดยประธานาธิบดีจะมีเงินเดือนราวปีละ 4 แสนดอลลาร์ ในขณะที่ทุกวันนี้การซื้อขายนักกีฬาพุ่งทะยานไปถึงหลัก 200 ล้าน
การบริหารจัดการธุรกิจกีฬา จึงมีมิติที่หลากหลาย มากไปกว่าการทำให้ทีมได้แชมป์เสียแล้ว
แน่นอนว่าการเป็นแชมป์ยังคงเป็นเป้าหมายหลักของทุกคน และนอกจากเกียรติยศ ผู้ชนะก็ได้เงินรางวัลไม่น้อย
ซึ่งปัจจัยในการสร้างทีมกีฬาสักทีมให้ประสบความสำเร็จขนาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นทีมฟุตบอล ทีมบาสเก็ตบอล หรือทีมเบสบอล
ก็ต้องการปัจจัยพื้นฐานคล้ายคลึงกัน นั่นคือ มีฝ่ายบริหาร ทีมงาน ระบบการจัดการ และตัวผู้เล่นที่ดี
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนมหาศาลในการครอบครองทรัพยากรอันทรงคุณค่าเหล่านั้น
การสร้างทีมจึงเปรียบเสมือนการลงทุน ที่ต้องการผลกำไรเป็นชัยชนะและเงินตอบแทน
ดังคำกล่าวที่ว่า
“ความสำเร็จของกีฬาในยุคใหม่ซื้อได้ด้วยเงิน ใกว่าชนะ”
หากคำพูดนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นจริงไปเสียทุกครั้ง ใครที่เป็นแฟนกีฬาคงจะเห็นว่าเมื่อไม่นานมานี้
มีเหตุการณ์ที่พิสูจน์ให้เราเห็นว่าการเป็นทีมยักษ์ใหญ่ที่มีผู้สนับสนุนด้านการเงินกระเป๋าหนัก
ไม่จำเป็นต้องผูกขาดการเป็นแชมป์เสมอไป
นั่นคือการเป็นแชมป์ลีคสูงสุดฟุตบอลอังกฤษของ
ทีมเลสเตอร์ ( Leicester City )
เมื่อฤดูกาล 2015 – 2016 ที่ผ่านมา เป็นแชมป์ครั้งแรก ถือเป็นประวัติศาสตร์สโมสรด้วย
นับเป็นการสวนกระแสวงการกีฬาในยุคปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
หรือย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ช่วงปี 2001 – 2002 กรณีที่ทีมเบสบอลในเมเจอร์ลีค
(Major League Baseball) ของอเมริกา
อย่างทีม
โอ๊คแลนด์ แอธเลติกส์ (Oakland Athletics) ที่สูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปค่อนทีม
อีกทั้งไม่มีเงินสนับสนุนแบบทีมใหญ่อื่นๆ แต่กลับสร้างผลงานเก็บชัยชนะติดกัน 20 เกม เป็นประวัติศาสตร์ของวงการเบสบอลอเมริกา
แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับสองทีมที่กล่าวไปนี้ สวนทางกับทฤษฎีและความเชื่อในการบริหารจัดการในแบบที่มันควรจะเป็น
ซึ่งภายหลัง "
กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ" ดังกล่าวได้แพร่กระจายไปสู่วงการอื่นๆมากมาย โดยเฉพาะแวดวงธุรกิจและการลงทุน
ในปี 2011 มีการนำเรื่องราวของทีม
Oakland Athletics ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬา
แต่หลายคนกลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “นี่คือภาพยนตร์ที่นักลงทุนควรดู”
เนื่องด้วยเนื้อหานำเสนอในแง่ของการบริหารจัดการไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมีชื่อว่า
“Moneyball”
ซึ่งสร้างจากหนังสือขายดี
#1 New York Times Best Seller
ที่มีชื่อเต็มว่า
Moneyball : The Art of Winning an Unfair Game โดย Michael Lewis
เป็นหนังสือออกมาตั้งแต่ปี 2004 มีเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากเรื่องจริง
รวมถึงทฤษฎีในหนังสือเล่มดังกล่าวของ
Michael Lewis นั้น
ได้รับการยืนยันในเชิงวิชาการใน Journal of Economic Perspectives
ของศาสตราจารย์
Jahn K. Hakes and Raymond D. Sauer ในปี 2006
เรื่อง
An Economic Evaluation of the Moneyball Hypothesis
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับทีม Oakland Athletics ในขณะนั้นก็คือ
ทีมเสียผู้เล่นชั้นดีในทุกๆตำแหน่งให้กับการกว้านซื้อจากทีมอื่นที่มีงบประมาณสนับสนุนไป
ทำให้ประสบปัญหาขาดตัวผู้เล่นหลัก และไม่มีเงินมากพอจะซื้อนักกีฬาในระดับที่ทัดเทียมกับตัวผู้เล่นเดิมได้
การแก้ปัญหาจึงตั้งอยู่บนการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจของผู้จัดการ ที่เปลี่ยนกลยุทธ์ในการหาตัวผู้เล่นด้วยวิธีใหม่ในเชิงสถิติ
ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ "ความสามารถ สถิติในระยะยาว และราคา ให้ประจักษ์ออกมาเป็นตัวเลข
โดยไม่มีการคำนึงถึงปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องอื่นๆเช่น รูปร่างหน้าตา ท่วงท่า หรืออายุ "
ซึ่งนับว่าขัดกับวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนั้น
การใช้ Concept ของ Moneyball เป็นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในเชิงพฤติกรรมภายใต้การวิเคราะห์ที่เป็นระบบ
จะแสดงให้เห็นความโน้มเอียงเชิงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามกระแสอันเกิดจากอารมณ์และความรู้สึก
(ที่บ่อยครั้งอาจจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง)
ทำให้ผู้บริหารสามารถยืนอยู่ภายใต้จุดยืนของตน โดยไม่หวั่นไหวไปกับกระแสต่างๆที่เปลี่ยนแปลง
ขณะทีมยักษ์ใหญ่ทีมอื่นๆ ยังคงใช้วิธีการคัดเลือกนักกีฬาแบบดั้งเดิม 5 หลัก คือ
การตี (hitting)
กำลัง (power)
ความสามารถในการคุมพื้นที่ (fielding)
ความแข็งแรงของแขน (Arm Strength)
ความเร็ว (Speed)
ซึ่งถือเป็นหลักพื้นฐานในการเลือกนักกีฬา นั่นย่อมหมายถึงราคาที่พุ่งสูงตามไปด้วย
และสภาวะทีมตอนนั้นไม่สามารถคิดและทำอะไรในแบบเดิมแล้ว
ที่สำคัญคือ “การเปลี่ยนวิธีคิด ” มองให้ทะลุปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างตรงไปตรงมา
การนำมาประยุกต์ใช้ในวงการการลงทุน นั้นเปรียบได้กับความพยายามให้การเฟ้นหาหุ้นที่มีมูลค่า
และพื้นฐานดีที่ยังมีราคาซื้อขายกันในตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
และเมื่อเจอแล้วก็ให้ซื้อและถือไว้ (ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพักหนึ่ง)
Kathy Kristof จากนิตยสาร Kiplinger
ได้นำเสนอ 5 ข้อคิดสำหรับนักลงทุนภายใต้ Concept ของ Moneyball ได้แก่
1.Don’t believe your eyes
กีฬาเบสบอลไม่ใช่สามารถใช้อารมณ์ความรู้สึกผสมไปกับสภาพความเป็นจริงได้
การตีโฮมรันเพียงครั้งสองครั้ง ไม่ได้หมายความว่าเขาคือสุดยอดผู้เล่นที่ต้องมีไว้ครอบครอง
การวิเคราะห์หุ้นก็เช่นเดียวกัน คุณต้องดูในระยะยาว และให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอ
สิ่งที่เห็นด้วยตาไม่สามารถเชื่อได้เท่าข้อมูลในเชิงสถิติ
2.Capitalize on inefficiencies
เมื่อเห็นข้อบกพร่องในตัวผู้เล่น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะทำการลดมูลค่าของเขาลง
ทำนองเดียวกันเมื่อนักลงทุนตรวจจับปัญหาของบริษัทได้ก็จะมีผลทำให้ราคาหุ้นลดลง
และเมื่อลองมาดูรายชื่อของหุ้นราคาตกต่างๆแล้ว
เราจำเป็นจะต้องมองหาผลประโยชน์ที่จะได้ในอนาคตจากการช้อนหุ้นราคาต่ำแบบนั้น
อย่างที่ Warren Buffet เคยกล่าวว่า “ให้ซื้อบริษัทดีที่มีราคาถูกในช่วงเวลาที่ไม่เป็นที่นิยม”
3.Don’t watch the game
บิลลี่ บีน ผู้จัดการของ Oakland Athletics เลือกที่จะไม่ดูเกมที่ทีมของตนลงแข่ง
เช่นเดียวกันกับนักลงทุน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาคอยเช็คยอดทุกวัน แค่กำหนดตารางเป็นครั้งคราวก็พอ
เพราะการนั่งเฝ้าหน้าจอในชั่วโมงที่น่าตื่นตระหนก อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
4.One game is not a season
เราต่างรู้ดีว่าหากตรวจดูบรรดารายชื่อผู้เล่นราคาถูกในทีม Oakland Athletics แล้ว
รับประกันไม่ได้ว่า ทีมจะประสบความสำเร็จทันตาเห็น
การปรับตัวและยอมรับความล้มเหลวในระยะเริ่มต้น
อดทนกับมัน และมุ่งมั่นกับเกมต่อไปเป็นสิ่งที่ควรจะทำ
5.Experience reduces risk
การเป็นมือใหม่หรือเด็กใหม่ในวงการต่างๆทั้งกีฬาและธุรกิจ จำต้องเผชิญกับปัญหา ช่วงเวลาทั้งดีและร้าย
การก้าวสู่สังเวียนที่ใหญ่และโหดร้ายขึ้น ต้องอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านช่วงเวลาต่างๆ
ทำให้สามารถบริหารจัดการและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
เหตุการณ์หลังจากการทำทีมด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวของ Oakland Athletics
ทำให้ทีมยักษ์ใหญ่ต่างๆหันมาใช้วิธีการเดียวกันนี้ และลุกลามไปถึงวงการอื่นอย่างเช่น ธุรกิจการลงทุน อย่างที่ว่าไปข้างต้น
สิ่งที่เราเห็นชัดจากกรณีนี้ก็คือ เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย
เหมือนเป็นข้อบังคับที่ทำให้คุณมีทางเลือกไม่มาก ลองคิดดูหากไม่เจอกับความกดดันแบบนี้
คุณอาจจะยังบริหารจัดการด้วยวิธีเดิมๆ จนเจอปัญหาซ้ำซากในท้ายที่สุด
ในเมื่อการกระทำแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ คุณก็ต้องรื้อสร้างระบบด้วยการใช้วิธีใหม่
ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดี ด้วยกลยุทธ์อื่นที่น่าสนใจ
จากเกมกีฬาที่นำวิธีการทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ แล้วประสบความสำเร็จ
จนทำให้ส่งผลย้อนกลับไปสู่วงการธุรกิจที่นำแบบอย่างจากกีฬาไปใช้อีกต่อหนึ่ง
นั่นแสดงให้เห็นว่าวิธีการประสบความสำเร็จ ไม่ได้มีเฉพาะในกรอบแบบที่มันควรจะเป็นเสมอไป
คุณต้องรู้จักเรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง และมองย้อนกลับมาที่การบริหารจัดการธุรกิจในมืออย่างชาญฉลาด
ที่มา : greatertalent.com, etda.or.th
. MoneyBall บทเรียนการลงทุน
ในฐานะความเป็นประเทศผู้นำในเกือบทุกด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมไปถึง Lifestyle ของผู้คน
อเมริกาเปรียบเสมือนดินแดนแห่งความฝันของใครหลายคน ที่ครั้งหนึ่งอยากพาชีวิตไปเสี่ยงโชค ไปหาความสำเร็จ
หนึ่งในธุรกิจที่มีเงินสะพัดสูง และได้รับความนิยมจากคนหมู่มาก ทั้งในอเมริกาเองรวมถึงผู้คนนับล้านทั่วโลก
ก็คือ “ธุรกิจกีฬา” ไม่ว่าจะเป็นอเมริกันฟุตบอล เบสบอล หรือ บาสเก็ตบอล
เราต่างทราบกันดีว่าในปัจจุบันวงการกีฬาระดับโลกแบบนี้ก้าวไปไกลเกินกว่าการแข่งขันเพื่อความสนุกหรือศักดิ์ศรีของผู้ชนะเพียงแค่นั้น
นั่นเพราะเม็ดเงินมหาศาล ที่มาพร้อมกับการแข่งขันกีฬาในด้านต่างๆ เช่น ค่าตัวนักกีฬา ค่าโฆษณา การถ่ายทอดสด
และยังไม่นับรวมผลิตภัณฑ์สินค้าในรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย
เรียกได้ว่า ค่าเหนื่อยของนักบาสเก็ตบอล NBA หลายคน สูงกว่าเงินเดือนของประธานาธิบดีเสียอีก
โดยประธานาธิบดีจะมีเงินเดือนราวปีละ 4 แสนดอลลาร์ ในขณะที่ทุกวันนี้การซื้อขายนักกีฬาพุ่งทะยานไปถึงหลัก 200 ล้าน
การบริหารจัดการธุรกิจกีฬา จึงมีมิติที่หลากหลาย มากไปกว่าการทำให้ทีมได้แชมป์เสียแล้ว
แน่นอนว่าการเป็นแชมป์ยังคงเป็นเป้าหมายหลักของทุกคน และนอกจากเกียรติยศ ผู้ชนะก็ได้เงินรางวัลไม่น้อย
ซึ่งปัจจัยในการสร้างทีมกีฬาสักทีมให้ประสบความสำเร็จขนาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นทีมฟุตบอล ทีมบาสเก็ตบอล หรือทีมเบสบอล
ก็ต้องการปัจจัยพื้นฐานคล้ายคลึงกัน นั่นคือ มีฝ่ายบริหาร ทีมงาน ระบบการจัดการ และตัวผู้เล่นที่ดี
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลจำเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนมหาศาลในการครอบครองทรัพยากรอันทรงคุณค่าเหล่านั้น
การสร้างทีมจึงเปรียบเสมือนการลงทุน ที่ต้องการผลกำไรเป็นชัยชนะและเงินตอบแทน
ดังคำกล่าวที่ว่า “ความสำเร็จของกีฬาในยุคใหม่ซื้อได้ด้วยเงิน ใกว่าชนะ”
หากคำพูดนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นจริงไปเสียทุกครั้ง ใครที่เป็นแฟนกีฬาคงจะเห็นว่าเมื่อไม่นานมานี้
มีเหตุการณ์ที่พิสูจน์ให้เราเห็นว่าการเป็นทีมยักษ์ใหญ่ที่มีผู้สนับสนุนด้านการเงินกระเป๋าหนัก
ไม่จำเป็นต้องผูกขาดการเป็นแชมป์เสมอไป
นั่นคือการเป็นแชมป์ลีคสูงสุดฟุตบอลอังกฤษของทีมเลสเตอร์ ( Leicester City )
เมื่อฤดูกาล 2015 – 2016 ที่ผ่านมา เป็นแชมป์ครั้งแรก ถือเป็นประวัติศาสตร์สโมสรด้วย
นับเป็นการสวนกระแสวงการกีฬาในยุคปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
หรือย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ช่วงปี 2001 – 2002 กรณีที่ทีมเบสบอลในเมเจอร์ลีค (Major League Baseball) ของอเมริกา
อย่างทีมโอ๊คแลนด์ แอธเลติกส์ (Oakland Athletics) ที่สูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปค่อนทีม
อีกทั้งไม่มีเงินสนับสนุนแบบทีมใหญ่อื่นๆ แต่กลับสร้างผลงานเก็บชัยชนะติดกัน 20 เกม เป็นประวัติศาสตร์ของวงการเบสบอลอเมริกา
แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับสองทีมที่กล่าวไปนี้ สวนทางกับทฤษฎีและความเชื่อในการบริหารจัดการในแบบที่มันควรจะเป็น
ซึ่งภายหลัง "กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ" ดังกล่าวได้แพร่กระจายไปสู่วงการอื่นๆมากมาย โดยเฉพาะแวดวงธุรกิจและการลงทุน
ในปี 2011 มีการนำเรื่องราวของทีม Oakland Athletics ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬา
แต่หลายคนกลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “นี่คือภาพยนตร์ที่นักลงทุนควรดู”
เนื่องด้วยเนื้อหานำเสนอในแง่ของการบริหารจัดการไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมีชื่อว่า “Moneyball”
ซึ่งสร้างจากหนังสือขายดี #1 New York Times Best Seller
ที่มีชื่อเต็มว่า Moneyball : The Art of Winning an Unfair Game โดย Michael Lewis
เป็นหนังสือออกมาตั้งแต่ปี 2004 มีเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากเรื่องจริง
รวมถึงทฤษฎีในหนังสือเล่มดังกล่าวของ Michael Lewis นั้น
ได้รับการยืนยันในเชิงวิชาการใน Journal of Economic Perspectives
ของศาสตราจารย์ Jahn K. Hakes and Raymond D. Sauer ในปี 2006
เรื่อง An Economic Evaluation of the Moneyball Hypothesis
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับทีม Oakland Athletics ในขณะนั้นก็คือ
ทีมเสียผู้เล่นชั้นดีในทุกๆตำแหน่งให้กับการกว้านซื้อจากทีมอื่นที่มีงบประมาณสนับสนุนไป
ทำให้ประสบปัญหาขาดตัวผู้เล่นหลัก และไม่มีเงินมากพอจะซื้อนักกีฬาในระดับที่ทัดเทียมกับตัวผู้เล่นเดิมได้
การแก้ปัญหาจึงตั้งอยู่บนการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจของผู้จัดการ ที่เปลี่ยนกลยุทธ์ในการหาตัวผู้เล่นด้วยวิธีใหม่ในเชิงสถิติ
ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ "ความสามารถ สถิติในระยะยาว และราคา ให้ประจักษ์ออกมาเป็นตัวเลข
โดยไม่มีการคำนึงถึงปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องอื่นๆเช่น รูปร่างหน้าตา ท่วงท่า หรืออายุ "
ซึ่งนับว่าขัดกับวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนั้น
การใช้ Concept ของ Moneyball เป็นการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในเชิงพฤติกรรมภายใต้การวิเคราะห์ที่เป็นระบบ
จะแสดงให้เห็นความโน้มเอียงเชิงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามกระแสอันเกิดจากอารมณ์และความรู้สึก
(ที่บ่อยครั้งอาจจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง)
ทำให้ผู้บริหารสามารถยืนอยู่ภายใต้จุดยืนของตน โดยไม่หวั่นไหวไปกับกระแสต่างๆที่เปลี่ยนแปลง
ขณะทีมยักษ์ใหญ่ทีมอื่นๆ ยังคงใช้วิธีการคัดเลือกนักกีฬาแบบดั้งเดิม 5 หลัก คือ
การตี (hitting)
กำลัง (power)
ความสามารถในการคุมพื้นที่ (fielding)
ความแข็งแรงของแขน (Arm Strength)
ความเร็ว (Speed)
ซึ่งถือเป็นหลักพื้นฐานในการเลือกนักกีฬา นั่นย่อมหมายถึงราคาที่พุ่งสูงตามไปด้วย
และสภาวะทีมตอนนั้นไม่สามารถคิดและทำอะไรในแบบเดิมแล้ว
ที่สำคัญคือ “การเปลี่ยนวิธีคิด ” มองให้ทะลุปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างตรงไปตรงมา
การนำมาประยุกต์ใช้ในวงการการลงทุน นั้นเปรียบได้กับความพยายามให้การเฟ้นหาหุ้นที่มีมูลค่า
และพื้นฐานดีที่ยังมีราคาซื้อขายกันในตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
และเมื่อเจอแล้วก็ให้ซื้อและถือไว้ (ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพักหนึ่ง)
Kathy Kristof จากนิตยสาร Kiplinger
ได้นำเสนอ 5 ข้อคิดสำหรับนักลงทุนภายใต้ Concept ของ Moneyball ได้แก่
1.Don’t believe your eyes
กีฬาเบสบอลไม่ใช่สามารถใช้อารมณ์ความรู้สึกผสมไปกับสภาพความเป็นจริงได้
การตีโฮมรันเพียงครั้งสองครั้ง ไม่ได้หมายความว่าเขาคือสุดยอดผู้เล่นที่ต้องมีไว้ครอบครอง
การวิเคราะห์หุ้นก็เช่นเดียวกัน คุณต้องดูในระยะยาว และให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอ
สิ่งที่เห็นด้วยตาไม่สามารถเชื่อได้เท่าข้อมูลในเชิงสถิติ
2.Capitalize on inefficiencies
เมื่อเห็นข้อบกพร่องในตัวผู้เล่น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะทำการลดมูลค่าของเขาลง
ทำนองเดียวกันเมื่อนักลงทุนตรวจจับปัญหาของบริษัทได้ก็จะมีผลทำให้ราคาหุ้นลดลง
และเมื่อลองมาดูรายชื่อของหุ้นราคาตกต่างๆแล้ว
เราจำเป็นจะต้องมองหาผลประโยชน์ที่จะได้ในอนาคตจากการช้อนหุ้นราคาต่ำแบบนั้น
อย่างที่ Warren Buffet เคยกล่าวว่า “ให้ซื้อบริษัทดีที่มีราคาถูกในช่วงเวลาที่ไม่เป็นที่นิยม”
3.Don’t watch the game
บิลลี่ บีน ผู้จัดการของ Oakland Athletics เลือกที่จะไม่ดูเกมที่ทีมของตนลงแข่ง
เช่นเดียวกันกับนักลงทุน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาคอยเช็คยอดทุกวัน แค่กำหนดตารางเป็นครั้งคราวก็พอ
เพราะการนั่งเฝ้าหน้าจอในชั่วโมงที่น่าตื่นตระหนก อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
4.One game is not a season
เราต่างรู้ดีว่าหากตรวจดูบรรดารายชื่อผู้เล่นราคาถูกในทีม Oakland Athletics แล้ว
รับประกันไม่ได้ว่า ทีมจะประสบความสำเร็จทันตาเห็น
การปรับตัวและยอมรับความล้มเหลวในระยะเริ่มต้น
อดทนกับมัน และมุ่งมั่นกับเกมต่อไปเป็นสิ่งที่ควรจะทำ
5.Experience reduces risk
การเป็นมือใหม่หรือเด็กใหม่ในวงการต่างๆทั้งกีฬาและธุรกิจ จำต้องเผชิญกับปัญหา ช่วงเวลาทั้งดีและร้าย
การก้าวสู่สังเวียนที่ใหญ่และโหดร้ายขึ้น ต้องอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านช่วงเวลาต่างๆ
ทำให้สามารถบริหารจัดการและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
เหตุการณ์หลังจากการทำทีมด้วยกลยุทธ์ดังกล่าวของ Oakland Athletics
ทำให้ทีมยักษ์ใหญ่ต่างๆหันมาใช้วิธีการเดียวกันนี้ และลุกลามไปถึงวงการอื่นอย่างเช่น ธุรกิจการลงทุน อย่างที่ว่าไปข้างต้น
สิ่งที่เราเห็นชัดจากกรณีนี้ก็คือ เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย
เหมือนเป็นข้อบังคับที่ทำให้คุณมีทางเลือกไม่มาก ลองคิดดูหากไม่เจอกับความกดดันแบบนี้
คุณอาจจะยังบริหารจัดการด้วยวิธีเดิมๆ จนเจอปัญหาซ้ำซากในท้ายที่สุด
ในเมื่อการกระทำแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ คุณก็ต้องรื้อสร้างระบบด้วยการใช้วิธีใหม่
ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดี ด้วยกลยุทธ์อื่นที่น่าสนใจ
จากเกมกีฬาที่นำวิธีการทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ แล้วประสบความสำเร็จ
จนทำให้ส่งผลย้อนกลับไปสู่วงการธุรกิจที่นำแบบอย่างจากกีฬาไปใช้อีกต่อหนึ่ง
นั่นแสดงให้เห็นว่าวิธีการประสบความสำเร็จ ไม่ได้มีเฉพาะในกรอบแบบที่มันควรจะเป็นเสมอไป
คุณต้องรู้จักเรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง และมองย้อนกลับมาที่การบริหารจัดการธุรกิจในมืออย่างชาญฉลาด
ที่มา : greatertalent.com, etda.or.th