การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 43 ที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน
ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.-10 ก.ค. โดยประเทศไทยมี
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชฑูตประจำกรุงปารีส เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าร่วมประชุม โดยไทยเสนอให้ผืนป่าแก่งกระจาน และป่าข้างเคียงเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของประเทศ
แต่ที่ผ่านมาชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย 120 คน ได้ทำหนังสือเมื่อเดือน มี.ค.62 แสดงความกังวลในเรื่องนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกันนี้ชาวบ้านยังได้ทำข้อเสนอให้รัฐไทยยอมรับในวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมชุมชนกะเหรี่ยงอย่างแท้จริง
โดยก่อนหน้านี้
เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี เคยยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2559
โดยถือเป็นคำประกาศที่ชาวบ้านในพื้นที่แก่งกระจานจะใช้ยึดถือในการเคลื่อนไหวประเด็นนี้ ความว่า
1. ต้องให้ชุมชนชาวกะเหรี่ยง คือผู้กำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรมการทำกินโดยระบบไร่หมุนเวียน ในวงรอบ ไร่หมุนเวียน 10 ปีด้วยตนเอง
2. ต้องกำหนดให้พื้นที่ห้วยกระซู่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจานเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัย ไร่หมุนเวียนร่วมกัน ระหว่างรัฐกับชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่
3. ต้องให้ชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้เลือกพื้นที่อาศัยด้วยตนเอง
4. ต้องให้ชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้บริหารดูแลจัดการพื้นที่อยู่อาศัยและไร่หมุนเวียนด้วยตนเอง ในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
5. ต้องยอมรับวิถีวัฒนธรรม สิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชนของชาวกะเหรี่ยง
6. ในการเสนอพื้นที่กลุ่มผืนป่าแก่งกระจานเพื่อเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ต่อคณะกรรมการมรดกโลก ต้องเป็นการเสนอร่วมกันโดยรัฐบาลไทยกับเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี
7. หากไม่สามารถยอมรับและดำเนินการตามข้อเสนอเหล่านี้ทั้งหมดได้
ชาวกะเหรี่ยงก็ไม่ยอมรับการประกาศกลุ่มผืนป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ของคณะกรรมการมรดกโลกและประเทศไทย
เลยชักสงสัย ยุคสมัยนี้แล้ว...
ถ้าชาวบ้านป่า ชาวเขา ชาวดอย ถ้าเขาบอกว่า วิถึชีวิตชาวบ้านป่า เขาเป็นยังไง ก็ต้องคงไว้อย่างนั้น จะไปเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้
ถ้ารัฐเข้าไปยุ่ง เอากฏหมายคนเมืองไปบังคับ ไปตีกรอบไว้ มันคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างนั้นหรือ...??
แบบนี้จะถือว่าเป็นหลายมาตรฐานหรือเปล่า...ที่กฏหมายจะไม่สามารถบังคับใช้ได้กับคนทุกคนในประเทศ
หรือถ้าคนเมืองอยากลาออกจากคนเมืองไปเป็นชาวบ้านป่าบ้าง อยากใช้สิทธิแบบชาวบ้านป่ามั่งแบบนี้จะได้หรือไม่ฮะ....
แก่งกระจาน ส่อวืดมรดกโลก หลังโดนแฉข้อมูล ละเมิดสิทธิกะเหรี่ยงในพื้นที่
ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.-10 ก.ค. โดยประเทศไทยมีนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชฑูตประจำกรุงปารีส เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เข้าร่วมประชุม โดยไทยเสนอให้ผืนป่าแก่งกระจาน และป่าข้างเคียงเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของประเทศ
แต่ที่ผ่านมาชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย 120 คน ได้ทำหนังสือเมื่อเดือน มี.ค.62 แสดงความกังวลในเรื่องนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกันนี้ชาวบ้านยังได้ทำข้อเสนอให้รัฐไทยยอมรับในวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมชุมชนกะเหรี่ยงอย่างแท้จริง
โดยก่อนหน้านี้ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี เคยยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2559 โดยถือเป็นคำประกาศที่ชาวบ้านในพื้นที่แก่งกระจานจะใช้ยึดถือในการเคลื่อนไหวประเด็นนี้ ความว่า
1. ต้องให้ชุมชนชาวกะเหรี่ยง คือผู้กำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรมการทำกินโดยระบบไร่หมุนเวียน ในวงรอบ ไร่หมุนเวียน 10 ปีด้วยตนเอง
2. ต้องกำหนดให้พื้นที่ห้วยกระซู่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจานเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัย ไร่หมุนเวียนร่วมกัน ระหว่างรัฐกับชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่
3. ต้องให้ชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้เลือกพื้นที่อาศัยด้วยตนเอง
4. ต้องให้ชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้บริหารดูแลจัดการพื้นที่อยู่อาศัยและไร่หมุนเวียนด้วยตนเอง ในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
5. ต้องยอมรับวิถีวัฒนธรรม สิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชนของชาวกะเหรี่ยง
6. ในการเสนอพื้นที่กลุ่มผืนป่าแก่งกระจานเพื่อเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ต่อคณะกรรมการมรดกโลก ต้องเป็นการเสนอร่วมกันโดยรัฐบาลไทยกับเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี
7. หากไม่สามารถยอมรับและดำเนินการตามข้อเสนอเหล่านี้ทั้งหมดได้ ชาวกะเหรี่ยงก็ไม่ยอมรับการประกาศกลุ่มผืนป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ของคณะกรรมการมรดกโลกและประเทศไทย
เลยชักสงสัย ยุคสมัยนี้แล้ว...
ถ้าชาวบ้านป่า ชาวเขา ชาวดอย ถ้าเขาบอกว่า วิถึชีวิตชาวบ้านป่า เขาเป็นยังไง ก็ต้องคงไว้อย่างนั้น จะไปเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้
ถ้ารัฐเข้าไปยุ่ง เอากฏหมายคนเมืองไปบังคับ ไปตีกรอบไว้ มันคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างนั้นหรือ...??
แบบนี้จะถือว่าเป็นหลายมาตรฐานหรือเปล่า...ที่กฏหมายจะไม่สามารถบังคับใช้ได้กับคนทุกคนในประเทศ
หรือถ้าคนเมืองอยากลาออกจากคนเมืองไปเป็นชาวบ้านป่าบ้าง อยากใช้สิทธิแบบชาวบ้านป่ามั่งแบบนี้จะได้หรือไม่ฮะ....