คาราวานรถยนต์สานสัมพันธ์ไทย-ภูฏานส่งเสริมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

กระทู้ข่าว
          นับจากวันเริ่มต้นโครงการสานสัมพันธ์เชื่อมโยงราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรภูฏาน ที่ได้มีการจัดพิธีปล่อยขบวนคาราวาน (Flag-off Ceremony) เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ภายใต้โครงการ ที่ผ่านมา “Bhutan-Thailand Friendship Drive” ซึ่งถือได้ว่าเป็นการจัดขบวนคาราวานรถยนต์เชื่อมโยงสองราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกภายใต้แนวคิด “Connecting People of Two Kingdoms by Land” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการเดินทางเส้นทางคาราวานรถยนต์จากประเทศไทยไปยังภูฏานอันเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 30 ปีไทย-ภูฏาน และวโรกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี) จึงถือเป็นโอกาสพิเศษในการจารึกประวัติศาสตร์การเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ของทั้งสองราชอาณาจักรได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

          ตั้งแต่วันเปิดพิธีปล่อยขบวนคาราวาน คนไทยก็มีโอกาสการนำเสนอวัฒนธรรมและศาสนา โดยมีการจัดพิธีที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และจัดเป็นวัดสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย ในหลายรัชกาล รวมถึงมีอนุรักษ์ประเพณีไทยในการร่วมกันตักบาตร และมีการแสดงอันทรงเกียรติของการรำไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคณะทูตราชอาณาจักรภูฏานประจำประเทศไทย ทั้งยังได้มีการแลกเปลี่ยนในเชิงวัฒนธรรมของภูฏาน ตั้งแต่การประดับตกแต่งเวทีงานแถลงข่าว และวัฒนธรรมการแต่งกายประจำชาติของภูฏานนอีกด้วย

          เมื่อได้เริ่มเดินทางออกจากประเทศไทย มุ่งหน้าไปยังเมียนมา คณะคาราวานได้มีโอกาสแวะสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นนั้นๆ ถึงแม้จะเป็นเป็นคนละเมือง คนละประเทศ แต่ด้านศาสนาแล้วนั้น ระหว่างประเทศไทยและเมียนมา ถือได้ว่ามีความใกล้เคียงกันมากในด้านของความเชื่อ และการสัการะบูชา รวมถึงสถาปัตยกรรมการออกแบบวัดหรือเจดีย์ ที่จะมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นองค์หลักและเรียงรายตลอดแนว ส่วนเรื่องของอาหารและพื้นเมืองของเมียนมา ถือได้ว่ามีรสชาติใกล้เคียงกับอาหารไทย รวมทั้งมีสินค้าพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง ผลไม้พื้นเมือง ที่ไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก จึงทำใหคณะเดินทางสามารถเข้าใจวิถีความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยรวมสภาพบ้านเมืองสะอาด สบายตา พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ผู้คนเป็นมิตร และยังพอจะมีกลิ่นอายของผู้คนเก่าแก่หลงเหลือให้เห็นวัฒนธรรมในยุคนั้นอยู่บ้าง

          หลังจากได้เริ่มออกจากเมียนมา มุ่งหน้าเข้าชายแดนประเทศอินเดีย เส้นทางการคมนาคมค่อนข้างยากลำบาก บางช่วงถนนเป็นลูกรัง เป็นหินกลิ้ง บางช่วงเป็นยางมะตอย บ้างก็เป็นดินปนทราย มีหลากหลายรูปแบบให้สัมผัส รายล้อมไปด้วยภูเขาที่มีการพังทลายของพื้นผิวอยู่หลายแห่ง แต่ขบวนคาราวานในทริปนี้เดินทางโดยรถยนต์ TR Transformer จึงทำให้การเดินทางผ่านผืนดินทางบกเป็นไปอย่างราบรื่น

          หลังจากเข้าสู่ประเทศอินเดียแล้ว สิ่งที่เห็นได้ชัดและสัมผัสได้อย่างไม่ขาดสายตา คือธรรมชาติที่โอบล้อมเส้นทาง ยังคงเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก รวมถึงยังคงเห็นการทำเกษตรกรรมที่โดดเด่นตลอดทาง สังเกตจากสองข้างทางที่จะมีนาข้าวขั้นบันได หรือไร่ข้าวโพดที่ปกคลุมอยู่เป็นลูกเขา บ้านเรือนสร้างจากอิฐทำมือและไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายๆ กับบ้านทางภาคเหนือของประเทศไทย เดินทางมาจนถึงเมืองนาคาแลนด์ เป็นเมืองขนาดใหญ่ บ้านเรือนจะสร้างติดกันเป็นแนวบนตีนเขาจนถึงยอดเขา เส้นทางการสัญจรเป็นแบบถนนสองเลน สวนทางกับจำนวนรถยนต์ที่มีอย่างมากมายในพื้นที่นี้ ประชาชนที่นี่นิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กตระกูลซูซูกิหรือทาทา ด้วยจำนวนรถและประชากรหนาแน่น จึงทำให้สัญญาณไฟจราจรไม่เป็นผลเท่าที่ควร

          เมืองกูวาฮาติ ประเทศอินเดีย ถือเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ ลักษณะเมืองก็เหมือนเมืองหลวงท่าด่านทั่วไป คือการค้าการลงทุนค่อนข้างมีหลากหลายเชื้อชาติ เห็นได้จากการแต่งกาย ซึ่งมีพัฒนาการใกล้คนเมืองมากกว่าชุดพื้นเมืองที่เคยมีมาในอดีต การจราจรภายในเมืองค่อนข้างหนาแน่น ทำให้ชาวคณะเกิดความล่าช้าเป็นชั่วโมงกว่าจะเคลื่อนตัวออกจากเมืองได้
  
         ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าภูฏานเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้าไทยไม่มากนักเฉลี่ยสามปีที่ผ่านมาไม่เกินปีละ 50 ล้านบาท แต่ทั้งสองกลับเป็นมิตรประเทศมาอย่างยาวนาน โดยไทยได้ให้ความช่วยเหลือภูฏานหลายด้าน โดยเฉพาะความรู้เชิงวิชาการด้านการเกษตร และการผลิตสินค้าจากวัตถุดิบภายในประเทศ หรือที่เรียกกันว่าสินค้าโอทอป นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนนักเรียนทุนระหว่างสองประเทศด้วย

          หลังจากที่เดินทางออกจากเมืองเมืองพันโซนลิง ประเทศภูฏาน คณะเดินทางได้วิ่งผ่านเมืองชายแดนเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นเมืองบ้านเกิดของท่านเอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย เป็นเมืองสงบเงียบเน้นการทำการเกษตรเป็นหลัก ในบรรยากาศที่ร่มเย็นยิ่งนัก 

          และในที่สุด คณะคนไทยเดินทางถึงภูฏานแล้ว เพื่อร่วมฉลอง 30 ปีความสัมพันธ์ไทย ภูฏาน ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่มีการขับรถฝีมือคนไทยมาเยือนแผ่นดินภูฏาน หลังจากเดินทางยาวนานมาตลอด 7 วัน จากกรุงเทพมหานคร เข้าเมียนมา ผ่านอินเดีย มาสิ้นสุดที่ภูฏาน ตั้งแต่วันที่ 21 ที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวานนี้ คณะคนไทย นำโดยเอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย พร้อมด้วยผู้ผลิตรถยนต์ไทย รายเดียวของประเทศไทย และคนไทยรวมกว่า 20 ชีวิต ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองทิมพู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศภูฏาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่น และเป็นกันเอง จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของภูฏาน ทำให้ธงชาติไทยได้โบกสะบัดในพื้นแผ่นดินภูฏาน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน

          การเดินทางระยะทาง 3,750 กิโลเมตร 4 ประเทศ เป็นระยะเวลา 8 วัน จากประเทศไทย เข้าเมียนมา ผ่านอินเดีย มาสิ้นสุดที่ภูฏาน ตั้งแต่วันที่ 21-28 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นการเปิดเส้นทางการเดินทางอย่างสมเกียรติ เป็นการสะท้อนถึงความรุ่งเรืองและความเหนียวแน่นในความสัมพันธ์ของสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านความสัมพันธ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนา อันเป็นรากฐานสำคัญของทั้งสองประเทศ ทั้งยังเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างดี ทั้งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการสานสัมพันธ์ฉลองทางการทูต ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของไทย-ภูฏานในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการศาสนา เศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ซึ่งมีความผูกพันธ์และใกล้ชิดทางวัฒนธรรมกันมายาวนานส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของไทย-ภูฏานในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการศาสนา เศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศอีกด้วย

ติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ https://thailandbhutantourism.com/en
แก้ไขข้อความเมื่อ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่