[ประเมิณให้คะแนนเล่นๆแบบแฟนบอลคนหนึ่ง] คุณภาพลีกเยาวชน รุ่น 15 ปี ระหว่าง ญี่ปุ่น ไทย เวียดนาม ปี 2018-2019

ปล. ประเมิณเองคนเดียวแบบคร่าวๆ จากการดูหลายๆเกม ถ้าอยากประเมิณด้วย เดี๋ยวรอบหน้าผมทำโพลให้

เอามาลงเฉพาะนัดชิงชนะเลิศ

ลีกเยาวชนญี่ปุ่น
โรงเรียน โอโมริ ยามาดะ พบกับ ชิมิซุ เอส-พัลส์
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอลีกเยาวชนไทย
โรงเรียน อัสสัมชัญ ธนบุรี พบกับ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ลีกเยาวชนเวียดนาม
ซอง ลัม เหงะ อัน พบกับ ทันฮัว 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
องค์ประกอบการจัดการ

(ไม่ว่าใครจะจัดการก็แล้วแต่ในชาตินั้น สมาคมฟุตบอล หน่วยงานรัฐ หรือเอกชน มองภาพสุดท้ายเป็นหลัก)
ความสำคัญ หมายความถึง ความสำคัญต่อพัฒนาการในฝีเท้าของเด็กๆ

■ คุณภาพพื้นสนามหญ้า (ความสำคัญ : มากที่สุด)
ไทย 3 คะแนน
เวียดนาม 8 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน

■ รูปแบบการจัดการแข่งขัน (ความสำคัญ : มาก)
ไทย 9 คะแนน (80ทีม) (รอบแบ่งกลุ่มแบบลีกโซน 80 ทีม > รอบแบ่งกลุ่มแบบแชมเปี้ยนชิพ 16 ทีม > รอบน็อคเอาท์ 8 ทีม)
เวียดนาม 3 คะแนน (8ทีม) (รอบแบ่งกลุ่ม 8 ทีม > รอบน็อคเอาท์ 4 ทีม)
ญี่ปุ่น 8 คะแนน (152ทีม) (รอบแบ่งกลุ่มแบบลีกโซน 152 ทีม > รอบน็อคเอาท์ 32 ทีม)

■ คุณภาพ รูปแบบการเล่นของทีม ความรู้ความสามารถโค้ชเยาวชน แบบภาพรวมทุกทีม(ความสำคัญ : มากที่สุด)
ไทย 4 คะแนน (ระบบคุณภาพทีม การฝึกของโค้ช ทั้ง 80 ทีม มีช่องว่างที่ห่างกันมากจนเกินไป ไม่ใกล้เคียงกัน ทำให้แพ้ชนะด้วยสกอร์ขาด)
เวียดนาม 3 คะแนน (ระบบคุณภาพทีม สูสีกัน แต่ทีมในลีกน้อยจนเกินไป) 
ญี่ปุ่น 9 คะแนน (ระบบคุณภาพทีม การฝึกของโค้ช ทั้ง 152 ทีมสูสีกันมาก ทำให้การแข่งขันสูงและมีคุณภาพ)

■ เวลาที่จัดการแข่งขัน ความเหมาะสมของสภาพอากาศ (ความสำคัญ : มาก)
ไทย 3 คะแนน (จัดการแข่งขันในสภาพอากาศร้อนจัด)
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

■ สถานที่จัดการแข่งขัน (ความสำคัญ : น้อยที่สุด)
ไทย 9 คะแนน (พยายามหมุนเวียนไปทั่วทุกภูมิภาค)
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน

องค์ประกอบคุณภาพการเล่นเป็นทีม

เพรสซิ่ง
■ การเคลื่อนที่เข้าบีบพื้นที่แบบดุดัน ความเข้าใจและเล่นเพรสซิ่งแบบเป็นระบบ พร้อมเพรียงสอดประสานกัน
ไทย 4 คะแนน
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน

■ ความถี่ จำนวนครั้ง ในการเข้าเพรสซิ่งแบบเป็นระบบใน 90 นาที
ไทย 4 คะแนน
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

■ การเคลื่อนที่ และผ่านบอลเมื่อถูกฝั่งตรงข้ามเพรสซิ่งเข้าใส่ ด้วยความนิ่ง หรือการแก้เพรสซิ่งแบบสร้างสรรค์ (ต่อบอลหนีเพรส ไม่สาดบอลมั่วแบบไร้จุดหมาย)
ไทย 6 คะแนน
เวียดนาม 5 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน 

การสร้างสรรค์เกมรุก
■ การครองบอลเหนียวแน่นจากแดนหลังและแดนกลาง Ball possession
ไทย 7 คะแนน
เวียดนาม 5 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน

■ ความหลากหลายในการต่อบอลเข้าทำเกมรุกในแดนคู่แข่ง
ไทย 6 คะแนน
เวียดนาม 4 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

■ การเล่นโต้กลับเร็ว Counter attack (รวดเร็ว ดุดัน)
ไทย 6 คะแนน
เวียดนาม 8 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

■ สปีดเกม น้ำหนัก ความเร็วของ การส่งบอล การเคลื่อนที่
ไทย 5 คะแนน
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

การเล่นเกมรับแบบเป็นทีม
■ วินัยในการเล่นเกมรับ โดยรวม
ไทย 4 คะแนน
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน

■ ความชำนาญในการอ่านทางบอลเพื่อเข้าแย่งบอล เมื่อเล่นเกมรับ
ไทย 4 คะแนน
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

■ ความนิ่งในการเล่นลูกกลางอากาศสำหรับเกมรับแบบเป็นทีม
ไทย 6 คะแนน
เวียดนาม 6 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

องค์ประกอบคุณภาพผู้เล่นส่วนบุคคล

■ ร่างกาย โภชนาการ ความสูง (เนื่องจากเป็นวัย 15 ปี จึงยังไม่รวมกล้ามเนื้อนักกีฬาที่นักเตะจะต้องมีวินัยเริ่มสร้างในช่วงวัย 17-19 ปี)
ไทย 7 คะแนน
เวียดนาม 7 คะแนน
ญี่ปุ่น 8 คะแนน

■ เบสิคการรับบอล จับบอลนุ่มนวล ส่งบอลสั้นยาว แม่นยำ (มาจากการฝึกหนักส่วนตัว)
ไทย 4 คะแนน
เวียดนาม 6 คะแนน
ญี่ปุ่น 9 คะแนน

■ สกิลทักษะส่วนตัว การลากเลื้อย หรือความสามรถเฉพาะตัวในการเอาชนะในสถานการณ์คับขันแบบ 1 ต่อ 1 หรือ 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3
ไทย 8 คะแนน
เวียดนาม 5 คะแนน
ญี่ปุ่น 7 คะแนน

■ วินัย การยกระดับพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ภาพรวม
ไทย 5 คะแนน
เวียดนาม (ไม่รู้)
ญี่ปุ่น 9 คะแนน


เดี๋ยวปีหน้าถ้ายังมีชีวิตอยู่จะมาประเมิณต่อ หวังว่าจะพัฒนายกระดับกันต่อไป เอาจนคะแนนประเมิณสูสีกับญี่ปุ่นนั่นล่ะ ถึงจะพอลืมตาอ้าปากไประดับเอเชียได้ บอลเยาวชนเรา
1. ถ้ายกระดับทุกๆด้านต่อเนื่อง คิดว่ากี่ปี ลีกเยาวชนบ้านเราคุณภาพทุกๆอย่าง จะเทียบเคียงญี่ปุ่น หรือแซงไปได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่