ที่มา
http://www.thaivi.org/libra-เงินใหม่ในฝัน/
การประกาศของ Facebook ที่จะสร้างเงินดิจิตอลชื่อ Libra และนำออกใช้ในต้นปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ทำให้โลก “ตะลึง” คนจำนวนมากเชื่อว่า Libra จะประสบความสำเร็จและจะเป็นการ “ปฏิวัติโลกการเงิน” ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จริงอยู่ว่าคนตะลึงมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ Bitcoin ซึ่งเป็นเงินดิจิตอลรุ่นแรกที่สร้างขึ้นโดยคนที่ชื่อ “ซาโตชิ นากาโมโต” ถูก “ปั่น” ขึ้นมาจนมีราคาสูงมโหฬารซึ่งทำให้คนสนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษากันทั่วโลก คนจำนวนมากคิดว่าในที่สุด Bitcoin จะกลายเป็นเงินสกุลใหม่ที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมันสามารถลดต้นทุนในการดำเนินการเช่นการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่มีต้นทุนสูงเช่นระบบแบ้งค์ เป็นต้น นอกจากนั้น มันยังเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครหรือรัฐบาลไหนสามารถที่จะขโมยหรือออกนโยบาย เช่น พิมพ์หรือสร้างเงินเพิ่มขึ้นมาซึ่งจะทำลายมูลค่าของเงินนั้นได้ อย่างไรก็ตาม นับจนถึงวันนี้ Bitcoin ก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างการยอมรับของสังคมธุรกิจ มีร้านค้าที่จะรับเงินบิทคอยน์น้อยมาก และแม้แต่คนหรือบริษัทที่ต้องการโอนเงินระหว่างกันข้ามประเทศก็ไม่โอนผ่านบิทคอยน์ ดูเหมือนว่าคนที่สนใจและเข้าไปเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์จริง ๆ นั้นก็คือ “นักเก็งกำไร” ที่เข้าไปเทรดบิทคอยน์เท่านั้น
ปัญหาของบิทคอยน์ก็คือ ราคาหรือมูลค่าของบิทคอยน์นั้นผันผวนมาก วันหนึ่งอาจจะเปลี่ยนไปหลาย ๆ เปอร์เซ็นต์ ช่วงเวลาแค่ไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือนราคาอาจจะขึ้นไปเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว ถ้าจะเอามาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ คนที่ซื้อและขายก็จะมีความเสี่ยงมาก เพราะวันที่ตกลงราคาซื้อขายกับวันที่จะต้องชำระเงินห่างกัน มูลค่าที่คิดจากเงินตราของท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานของต้นทุนการผลิตสินค้าจะเปลี่ยนไปมาก ทำให้คนที่เข้าไปทำสัญญาซื้อขายอาจจะขาดทุนหรือกำไรได้โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องของธุรกิจ การที่ราคาบิทคอยน์ขึ้นลงรุนแรงนั้น ก็เป็นเพราะมันไม่ได้มี “พื้นฐาน” ของกิจการรองรับเหมือนอย่างหุ้น หรือมีประเทศที่เป็น “ผู้ออกสกุลเงิน” มารองรับ ราคาของบิทคอยน์ขึ้นอยู่กับ Demand – Supply หรือความต้องการซื้อหรือขายของนักเก็งกำไรโดยที่ไม่มีใครมาแทรกแซงได้
Facebook แก้ปัญหาเรื่องของราคาของ Libra และบอกว่ามันจะเป็นเงินที่มีมูลค่า “มั่นคง” ไม่ผันผวน เพราะมันจะเป็นเงินที่มีทรัพย์สินหนุนหลังเป็น “ตะกร้า” ของสกุลเงินหลัก ๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เยน และเงินหยวนของจีน ดังนั้น ราคาของเงิน Libra ก็ควรจะผันผวนไปตามค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสกุลเงินเหล่านั้น ซึ่งทำให้คนสามารถใช้ Libra ในการกำหนดและตกลงราคาสินค้าได้เหมือนกับเงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินยูโร เป็นต้น โดยที่ไม่ได้มีความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ว่าที่จริงมันน่าจะน้อยลงด้วยซ้ำเพราะมันเป็นค่าเฉลี่ย ไม่ใช่ค่าสูงหรือต่ำที่สุดของเงินสกุลเดียว
ประเด็นที่ไม่มีร้านค้าหรือคนอยากใช้เงินดิจิตอลนั้น Facebook แก้โดยการชวนบริษัทที่ทำธุรกิจยุคดิจิตอลโดยเฉพาะที่ต้องจ่ายเงินข้ามประเทศ และการค้าขายแบบ E-commerce เช่นอูเบอร์ วีซ่า และอีเบย์ รวมถึงตัว Facebook เองเข้ามาเป็นหุ้นส่วนทำโครงการนี้ โดยที่จำนวนของลูกค้าเป้าหมายนับตั้งแต่วันแรกเองก็กว่า 2000 พันล้านคนเข้าไปแล้วจากผู้ใช้เฟสบุคทั่วโลก ซึ่งนี่ก็เป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้คนน่าจะอยากใช้เงิน Libra เพราะมีร้านค้าหรือธุรกิจที่จะรับมากมายในขณะเดียวกัน การทำธุรกิจจ่ายโอนเงินก็จะง่ายมาก เพราะมันสามารถทำได้โดยตรงผ่าน Facebook และสื่อสังคมต่าง ๆ ของเฟสบุค ว่าที่จริงคนจำนวนมากในปัจจุบันก็ค้าขายหรือทำประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุคอยู่แล้วและทำเรื่องจ่ายเงินและรับเงินผ่านระบบการโอนเงินอื่นอยู่ การที่เฟสบุคมาทำเรื่องนี้เองก็เท่ากับอำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เฟสบุคเพิ่มเติม ดังนั้น โอกาสที่คนจะหันมาใช้ Libra จำนวนมากจึงมีความเป็นไปได้สูง
อีกประเด็นหนึ่งที่คนใช้เงินดิจิตอล เช่น Bitcoin อาจจะเป็นห่วงก็คือ Facebook อาจจะเข้ามาควบคุมและใช้ข้อมูลของคนใช้ Libra มาหาประโยชน์เพื่อตนเอง ในเรื่องนี้ทำให้เฟสบุคตั้งหน่วยงานมาดูแลเงินนี้แทนโดยการจัดตั้งสมาคมลิบราหรือ Calibra ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้หวังผลกำไร หน่วยงานนี้ประกอบไปด้วยองค์กรขนาดใหญ่ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้เงิน Libra ไม่น้อยกว่า 100 ราย และน่าจะมีบทบาทสำคัญในการที่จะควบคุมและส่งเสริมให้คนมาใช้ Libra กันให้มากที่สุดซึ่งในที่สุดก็จะกลับมาสนับสนุนธุรกิจของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม สมาคมนี้ก็ประกาศว่าตนเองเป็นกลางและระบบของ Libra เป็น “ระบบเปิด” ที่จะให้ทุกคนสามารถพัฒนาแอ็ปขึ้นมาทำธุรกรรมกับ Libra ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งในส่วนตัวผมเองนั้น ผมเชื่อว่าธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ของโลกในปัจจุบันมี “เครดิต” หรือความน่าเชื่อถือพอที่จะไม่ทำอะไรผิดจรรยาบรรณ ว่าที่จริงผมเชื่อว่าเมื่อเทียบกับรัฐบาลแล้วผมกลับคิดว่าบริษัทเอกชนบางแห่งเดี๋ยวนี้บางทีได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะพวกเขาไม่มีอำนาจทางการเมืองมาหนุน สิ่งที่ทำให้พวกเขาอยู่ได้ก็คือการยอมรับจากสาธารณชนเท่านั้น เขาจึงไม่กล้าทำอะไรที่ผิดและฝืนความคาดหวังของประชาชน
ด้วยการออกแบบเงิน Libra ที่แก้ปัญหาเงินดิจิตอลแบบเดิมประกอบกับการที่บริษัทยักษ์ใหญ่แบบ Facebook ที่มีทั้งเงินและลูกค้าจำนวนมหาศาลที่มีความต้องการโอนเงินข้ามประเทศซึ่งมีต้นทุนการโอนที่สูงมากนั้น ทำให้โอกาสที่ Libra จะประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อย สิ่งที่ลำบากที่สุดนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องทางธุรกิจ แต่เป็นรัฐบาลต่าง ๆ ที่อาจจะต่อต้านการ “บุกรุก” ของเฟสบุคที่จะเข้ามาให้บริการทางการเงินในประเทศของตนโดยที่รัฐไม่สามารถจะ “ควบคุม” ได้ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เงิน Libra นั้นน่าจะมีไม่น้อยอย่างน้อยก็ในบางส่วนของธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงินข้ามประเทศสำหรับรายย่อยหรือบุคคลธรรมดา เป็นต้น ดังนั้น ผมคิดว่า อย่างน้อย Libra น่าจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง การที่มันจะประสบความสำเร็จแบบ “ถล่มทลาย” และมีคนใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกแบบเดียวกับการใช้ Facebook นั้น เราคงต้องติดตามดูกันต่อไป
และถ้าเป็นอย่างนั้น โลกทางการเงินก็อาจจะเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ เงินดิจิตอล Libra จะกลายเป็นเงินหลักของโลกอีกสกุลหนึ่ง
ในฐานะที่เป็นนักลงทุน ผมเองคิดว่าการมีเงินหรือถือเงินสดในระยะยาวแล้วมีความเสี่ยงไม่ได้น้อยไปกว่าหุ้น เหตุผลก็เพราะว่าเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะทำลายค่าของเงินได้มากมาย ตัวอย่างที่เตือนผมตลอดเวลาก็คือเวเนซูเอลา ซึ่งถ้าคุณเคยเป็นคนรวยเป็นเศรษฐี “พันล้าน” ของเวเนซูเอลาและเก็บเงินทั้งหมดเป็นเงินในธนาคารหรือในพันธบัตร ถึงวันนี้เงินนั้นอาจจะเหลือแค่ไม่ถึงล้านและกลายเป็นคนจนไปแล้วได้ ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมอยากที่จะถือเงินสดไว้หลาย ๆ สกุลถ้าทำได้ แต่ในทางปฏิบัติ การกระจายการถือครองแบบนั้นทำได้ยาก ต้นทุนในการแลกเปลี่ยนเงินตราในปัจจุบันก็แพงมาก ต้นทุนในการติดตามทั้งเรื่องของเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของพอร์ตก็สูง ดังนั้น ถ้าในอนาคต Libra กลายเป็นเงินสกุลที่แพร่หลายและการแลกเปลี่ยนก็มีต้นทุนที่ต่ำมาก ผมเองก็อาจจะอยากฝากเงินหรือลงทุนในเงินสกุลนี้ที่เป็นเสมือนตัวแทนของเงินสกุลหลักอื่น ๆ ของโลกด้วยแทนที่จะถือเงินสกุลเดียว ไม่แน่นะครับ อีกไม่นานเราก็อาจจะได้ใช้เงินใหม่ที่เป็นเสมือน “เงินในฝัน” ในวันนี้
“Libra เงินใหม่ในฝัน” บทความโดย ดร.นิเวศน์
การประกาศของ Facebook ที่จะสร้างเงินดิจิตอลชื่อ Libra และนำออกใช้ในต้นปีหน้านั้นเป็นเรื่องที่ทำให้โลก “ตะลึง” คนจำนวนมากเชื่อว่า Libra จะประสบความสำเร็จและจะเป็นการ “ปฏิวัติโลกการเงิน” ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จริงอยู่ว่าคนตะลึงมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ Bitcoin ซึ่งเป็นเงินดิจิตอลรุ่นแรกที่สร้างขึ้นโดยคนที่ชื่อ “ซาโตชิ นากาโมโต” ถูก “ปั่น” ขึ้นมาจนมีราคาสูงมโหฬารซึ่งทำให้คนสนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษากันทั่วโลก คนจำนวนมากคิดว่าในที่สุด Bitcoin จะกลายเป็นเงินสกุลใหม่ที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมันสามารถลดต้นทุนในการดำเนินการเช่นการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางที่มีต้นทุนสูงเช่นระบบแบ้งค์ เป็นต้น นอกจากนั้น มันยังเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีใครหรือรัฐบาลไหนสามารถที่จะขโมยหรือออกนโยบาย เช่น พิมพ์หรือสร้างเงินเพิ่มขึ้นมาซึ่งจะทำลายมูลค่าของเงินนั้นได้ อย่างไรก็ตาม นับจนถึงวันนี้ Bitcoin ก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างการยอมรับของสังคมธุรกิจ มีร้านค้าที่จะรับเงินบิทคอยน์น้อยมาก และแม้แต่คนหรือบริษัทที่ต้องการโอนเงินระหว่างกันข้ามประเทศก็ไม่โอนผ่านบิทคอยน์ ดูเหมือนว่าคนที่สนใจและเข้าไปเกี่ยวข้องกับบิทคอยน์จริง ๆ นั้นก็คือ “นักเก็งกำไร” ที่เข้าไปเทรดบิทคอยน์เท่านั้น
ปัญหาของบิทคอยน์ก็คือ ราคาหรือมูลค่าของบิทคอยน์นั้นผันผวนมาก วันหนึ่งอาจจะเปลี่ยนไปหลาย ๆ เปอร์เซ็นต์ ช่วงเวลาแค่ไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือนราคาอาจจะขึ้นไปเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัว ถ้าจะเอามาเป็นเครื่องมือในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ คนที่ซื้อและขายก็จะมีความเสี่ยงมาก เพราะวันที่ตกลงราคาซื้อขายกับวันที่จะต้องชำระเงินห่างกัน มูลค่าที่คิดจากเงินตราของท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานของต้นทุนการผลิตสินค้าจะเปลี่ยนไปมาก ทำให้คนที่เข้าไปทำสัญญาซื้อขายอาจจะขาดทุนหรือกำไรได้โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องของธุรกิจ การที่ราคาบิทคอยน์ขึ้นลงรุนแรงนั้น ก็เป็นเพราะมันไม่ได้มี “พื้นฐาน” ของกิจการรองรับเหมือนอย่างหุ้น หรือมีประเทศที่เป็น “ผู้ออกสกุลเงิน” มารองรับ ราคาของบิทคอยน์ขึ้นอยู่กับ Demand – Supply หรือความต้องการซื้อหรือขายของนักเก็งกำไรโดยที่ไม่มีใครมาแทรกแซงได้
Facebook แก้ปัญหาเรื่องของราคาของ Libra และบอกว่ามันจะเป็นเงินที่มีมูลค่า “มั่นคง” ไม่ผันผวน เพราะมันจะเป็นเงินที่มีทรัพย์สินหนุนหลังเป็น “ตะกร้า” ของสกุลเงินหลัก ๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เยน และเงินหยวนของจีน ดังนั้น ราคาของเงิน Libra ก็ควรจะผันผวนไปตามค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสกุลเงินเหล่านั้น ซึ่งทำให้คนสามารถใช้ Libra ในการกำหนดและตกลงราคาสินค้าได้เหมือนกับเงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินยูโร เป็นต้น โดยที่ไม่ได้มีความเสี่ยงเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ว่าที่จริงมันน่าจะน้อยลงด้วยซ้ำเพราะมันเป็นค่าเฉลี่ย ไม่ใช่ค่าสูงหรือต่ำที่สุดของเงินสกุลเดียว
ประเด็นที่ไม่มีร้านค้าหรือคนอยากใช้เงินดิจิตอลนั้น Facebook แก้โดยการชวนบริษัทที่ทำธุรกิจยุคดิจิตอลโดยเฉพาะที่ต้องจ่ายเงินข้ามประเทศ และการค้าขายแบบ E-commerce เช่นอูเบอร์ วีซ่า และอีเบย์ รวมถึงตัว Facebook เองเข้ามาเป็นหุ้นส่วนทำโครงการนี้ โดยที่จำนวนของลูกค้าเป้าหมายนับตั้งแต่วันแรกเองก็กว่า 2000 พันล้านคนเข้าไปแล้วจากผู้ใช้เฟสบุคทั่วโลก ซึ่งนี่ก็เป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้คนน่าจะอยากใช้เงิน Libra เพราะมีร้านค้าหรือธุรกิจที่จะรับมากมายในขณะเดียวกัน การทำธุรกิจจ่ายโอนเงินก็จะง่ายมาก เพราะมันสามารถทำได้โดยตรงผ่าน Facebook และสื่อสังคมต่าง ๆ ของเฟสบุค ว่าที่จริงคนจำนวนมากในปัจจุบันก็ค้าขายหรือทำประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุคอยู่แล้วและทำเรื่องจ่ายเงินและรับเงินผ่านระบบการโอนเงินอื่นอยู่ การที่เฟสบุคมาทำเรื่องนี้เองก็เท่ากับอำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้เฟสบุคเพิ่มเติม ดังนั้น โอกาสที่คนจะหันมาใช้ Libra จำนวนมากจึงมีความเป็นไปได้สูง
อีกประเด็นหนึ่งที่คนใช้เงินดิจิตอล เช่น Bitcoin อาจจะเป็นห่วงก็คือ Facebook อาจจะเข้ามาควบคุมและใช้ข้อมูลของคนใช้ Libra มาหาประโยชน์เพื่อตนเอง ในเรื่องนี้ทำให้เฟสบุคตั้งหน่วยงานมาดูแลเงินนี้แทนโดยการจัดตั้งสมาคมลิบราหรือ Calibra ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่ได้หวังผลกำไร หน่วยงานนี้ประกอบไปด้วยองค์กรขนาดใหญ่ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้เงิน Libra ไม่น้อยกว่า 100 ราย และน่าจะมีบทบาทสำคัญในการที่จะควบคุมและส่งเสริมให้คนมาใช้ Libra กันให้มากที่สุดซึ่งในที่สุดก็จะกลับมาสนับสนุนธุรกิจของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม สมาคมนี้ก็ประกาศว่าตนเองเป็นกลางและระบบของ Libra เป็น “ระบบเปิด” ที่จะให้ทุกคนสามารถพัฒนาแอ็ปขึ้นมาทำธุรกรรมกับ Libra ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งในส่วนตัวผมเองนั้น ผมเชื่อว่าธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ของโลกในปัจจุบันมี “เครดิต” หรือความน่าเชื่อถือพอที่จะไม่ทำอะไรผิดจรรยาบรรณ ว่าที่จริงผมเชื่อว่าเมื่อเทียบกับรัฐบาลแล้วผมกลับคิดว่าบริษัทเอกชนบางแห่งเดี๋ยวนี้บางทีได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะพวกเขาไม่มีอำนาจทางการเมืองมาหนุน สิ่งที่ทำให้พวกเขาอยู่ได้ก็คือการยอมรับจากสาธารณชนเท่านั้น เขาจึงไม่กล้าทำอะไรที่ผิดและฝืนความคาดหวังของประชาชน
ด้วยการออกแบบเงิน Libra ที่แก้ปัญหาเงินดิจิตอลแบบเดิมประกอบกับการที่บริษัทยักษ์ใหญ่แบบ Facebook ที่มีทั้งเงินและลูกค้าจำนวนมหาศาลที่มีความต้องการโอนเงินข้ามประเทศซึ่งมีต้นทุนการโอนที่สูงมากนั้น ทำให้โอกาสที่ Libra จะประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อย สิ่งที่ลำบากที่สุดนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องทางธุรกิจ แต่เป็นรัฐบาลต่าง ๆ ที่อาจจะต่อต้านการ “บุกรุก” ของเฟสบุคที่จะเข้ามาให้บริการทางการเงินในประเทศของตนโดยที่รัฐไม่สามารถจะ “ควบคุม” ได้ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เงิน Libra นั้นน่าจะมีไม่น้อยอย่างน้อยก็ในบางส่วนของธุรกรรมทางการเงิน เช่น การโอนเงินข้ามประเทศสำหรับรายย่อยหรือบุคคลธรรมดา เป็นต้น ดังนั้น ผมคิดว่า อย่างน้อย Libra น่าจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง การที่มันจะประสบความสำเร็จแบบ “ถล่มทลาย” และมีคนใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกแบบเดียวกับการใช้ Facebook นั้น เราคงต้องติดตามดูกันต่อไป
และถ้าเป็นอย่างนั้น โลกทางการเงินก็อาจจะเปลี่ยนไปอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ เงินดิจิตอล Libra จะกลายเป็นเงินหลักของโลกอีกสกุลหนึ่ง
ในฐานะที่เป็นนักลงทุน ผมเองคิดว่าการมีเงินหรือถือเงินสดในระยะยาวแล้วมีความเสี่ยงไม่ได้น้อยไปกว่าหุ้น เหตุผลก็เพราะว่าเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะทำลายค่าของเงินได้มากมาย ตัวอย่างที่เตือนผมตลอดเวลาก็คือเวเนซูเอลา ซึ่งถ้าคุณเคยเป็นคนรวยเป็นเศรษฐี “พันล้าน” ของเวเนซูเอลาและเก็บเงินทั้งหมดเป็นเงินในธนาคารหรือในพันธบัตร ถึงวันนี้เงินนั้นอาจจะเหลือแค่ไม่ถึงล้านและกลายเป็นคนจนไปแล้วได้ ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมอยากที่จะถือเงินสดไว้หลาย ๆ สกุลถ้าทำได้ แต่ในทางปฏิบัติ การกระจายการถือครองแบบนั้นทำได้ยาก ต้นทุนในการแลกเปลี่ยนเงินตราในปัจจุบันก็แพงมาก ต้นทุนในการติดตามทั้งเรื่องของเวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของพอร์ตก็สูง ดังนั้น ถ้าในอนาคต Libra กลายเป็นเงินสกุลที่แพร่หลายและการแลกเปลี่ยนก็มีต้นทุนที่ต่ำมาก ผมเองก็อาจจะอยากฝากเงินหรือลงทุนในเงินสกุลนี้ที่เป็นเสมือนตัวแทนของเงินสกุลหลักอื่น ๆ ของโลกด้วยแทนที่จะถือเงินสกุลเดียว ไม่แน่นะครับ อีกไม่นานเราก็อาจจะได้ใช้เงินใหม่ที่เป็นเสมือน “เงินในฝัน” ในวันนี้